Correlation Trading การเทรดค่าความสัมพันธ์ของค่าเงิน (ตอน 1)

Correlation Trading การเทรดค่าความสัมพันธ์ค่าเงิน(ตอน 1)

Correlation คืออะไร?

                Correlation คือค่าความสัมพันธ์ทางสถิติของชุดตัวเลข 2 ชุด ตัวอย่างเช่น ควายฝูงหนึ่งมีสมาชิกฝูงเพิ่มขึ้น 1 ตัว และนกกระยางที่หากินบริเวณนั้น มีสมาชิกฝูงเพิ่มขึ้น 2 ตัว เมื่อควายคลอดลูก 1 ตัว นกกระยางก็จะเพิ่มขึ้น 2 ตัวเท่ากัน หรือในอีกกรณีหนึ่ง ปริมาณเสือดาวเพิ่มขึ้น 1 ตัวต่อปีจะทำให้กวางลดลง 3 ตัวต่อปี เมื่อปริมาณเสือดาวเพิ่มขึ้นปริมาณกวางก็จะลดลง ซึ่งเป็นการบอกความสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามกันนั่นเอง

                ดังนั้นการเทรดโดยใช้ค่าความสัมพันธ์ของค่าเงิน หรือที่เรียกว่า Correlation Trading มันคือ การหาคู่เงินที่มีความสัมพันธ์กันสูง แล้วหาว่าคู่เงินไหนที่แตกต่างกัน และมีค่าความสัมพันธ์กันต่ำจะเน้นไปเทรดที่คู่เงินนั้น   ตัวอย่างเช่น อเมริกา (USD) กับ แคนาดา(CAD) เป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจพึ่งพาอาศัยกัน ทำให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินสอดคล้องกัน แต่จะมีเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน ซึ่งการเคลื่อนไหวจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันอยู่เสมอ หาก ค่าเงิน USD มีราคาสูงขึ้น ในขณะที่ค่าเงิน CAD ปรับตัวขึ้นไม่มากนัก ทั้งๆที่ค่าเงินสองค่านี้เคยเคลื่อนไหวเหมือนกันมาก ๆ การ Buy CAD แล้ว Sell USD จะเป็นการทำกำไรจากความเคลื่อนไหวค่าเงินที่มีความสัมพันธ์นี้ แบบนี้เป็นต้น

                การเทรดค่าความสัมพันธ์ของค่าเงิน Correlation Trading นั้นมีอยู่หลายแบบ แต่แอดจะพูดถึงพื้นฐานเบสิคก่อน เพื่อเป็นการปรับพื้นฐานก่อนเทรดจะได้ไม่งงกัน

การคำนวณค่า Correlation

ค่า Correlation เป็นค่าทางสถิติ สามารถคำนวณได้โดยใช้หลักการทางคณิตศาสตร์ โดยมีสูตรดังนี้


ที่มา: https://study.com/academy/lesson/pearson-correlation-coefficient-formula-example-significance.html


                การอ่านค่าความสัมพันธ์มักจะอ่านเป็นเปอร์เซ็นต์ เช่น ค่าความสัมพันธ์ 0.89 ก็คือ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันที่  89 % เมื่อเราได้หลักการในการอ่านค่าแล้ว เราก็ต้องมาดูว่าสามารถนำมาปรับใช้ในการเทรด Forex ได้อย่างไร โดยอาจจะใช้ค่าความสัมพันธ์ที่มี 2 ชุดหรือ 3 ชุด ขึ้นไป หรืออาจจะมากกว่าในการเปรียบเทียบ  ซึ่งประเภทของความสัมพันธ์จะแบ่งเป็นดังนี้

            1.ความสัมพันธ์ในทางทฤษฎี ซึ่งก็อาจจะไม่สัมพันธ์กันในทางตัวเลขก็ได้  เช่น USD กับ CAD 

           2.ความสัมพันธ์แบบคู่ เช่น ค่าเงินบางตัว กับค่าเงินบางตัวที่เอื้อต่อกันและกัน

            3.ความสัมพันธ์แบบกลุ่ม เช่น การรวมตัวกันเทรดในกลุ่มที่ตัวเองเลือก

            4.ความสัมพันธ์แบบ กลุ่มหรือเรียกวว่า Currency Basket คือกลุ่มราคาของสินทรัพย์เดียวกันควรจะมีทิศทางคล้ายกัน 

อย่าไปคิดมากเรื่องสูตรนะ แค่นำเอามาเสนอ ให้มีหลักการมีฐานความรู้เบื้องต้นเท่านั้น แต่การอ่านค่าความสัมพันธ์ของค่าเงินนั้น ไม่ได้ยุ่งยากมากขนาดนี้หรอก อาศัย วิเคราะห์ข่าวและตัวเลขทางเศรษฐกิจเป็นส่วนใหญ่ โดยเนื้อหารูปแบบการวิธีเทรดจะขออธิบายใน ตอนที่ 2 

สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎 ใน Blockdit ของเรา

https://www.blockdit.com/posts/6135d217c5060d0c57702140


ขอบคุณขอมูลจาก thaibrokerforex




ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ