กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ เศรษฐกิจโลก

บทความ

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเชิงรุกของสหรัฐฯ ครั้งนี้ และภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯพุ่งสูง ส่งผลกระทบหลายอย่าง และ เกือบแทบทุกตลาด ซึ่งวันนี้เราจะมาดูกันว่า มีสิทรัพใหนบ้างที่โดนผลกระทบ 1.ตลาด Cryptocurrency 😢 น่าจะเป็นข่าวใหญ่มากสำหรับการเทขายเหรียญ BTC หลังจากที่มีการ ปรับขึ้นอัตราดอก ทำให้คนเริ่มที่เอาเงินออกมาไปลงทุนกับทรัพย์ที่ปลอดภัยกว่า จึงทำให้ ราคาเหรียญ BTC ต่ำสุด นั้นคือ 26700.00 เป็นเงินไทยประมาณ  914,742.00 บาทต่อเหรียญ และด้วยเหรียญหลักร่วงลงอย่างแรง จึงทำให้เหรียญในตลาดทั้งหมด ร่วงตาม และ เคสที่หนักสุดก็น่าจะเป็นล่มสลายของ Terra โดย UST ร่วงลง 0.67 ต่อ 1 เหรียญ และ Luna ราคาร่วงถึง 99.95%  2.ตลาดหุ้นร่วง💲 ราคาหุ้นก็ร่วงหนักมากจากผลมาจากความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯพุ่งสูง และและยังมีความกังวล ว่า ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งล่าสุดที่ 0.5% อาจไม่เพียงพอ  จึงทำให้ดัชนี S&P 500 ร่วงลง 1.7% นอกจากหุ้นทั่วโลกแล้ว หุ้นไทยก็ได้รับผลกระทบไปด้วย ราคาลงมาต่ำสุดที่ราคา 1578  จาก ภาวะเงินเฟ้อสหรัฐฯ 3.ทองคำ 🔔 เป็นธรรมชาติของราคาทอง หากมีการปรับขึ้น ดอกเบี้ย ราคาทองคำก็จะถูกเทขาย ตามเหมือนก
เชื่อว่าหลายคนที่เทรดมา ก็คงคุ้นเคยข่าวที่ขึ้นต้น ด้วย FOMC ซึ่งเป็นข่าวที่แทบจะทุกตลาดให้ความสำคัญ เพราะมีผลต่อการเคลื่อนเที่ของราคา วันนี้เราจะมาทำความรู้จักไปพร้อมกันๆ  FOMC คืออะไร 👍 FOMC หรือในชื่อเต็มคือ  Federal Open Market Committee คือ คณะกรรมการตลาดเสรีกลาง เป็นหน่วยงานในระบบธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve System) หรือที่เรียกว่า FED หรือพูดง่ายก็คือ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) หน่วยงานในระบบธนาคารแห่งประเทศไทย 📉 FOMC ทำไมถึงสำคัญต่อการเคลื่อนของราคา📈 FOMC เป็นคนกำหนดนโยบายทางการเงิน โดยให้ความสำคัญกับการดำเนินการผ่านตลาดการเงิน (Open Market Operations) และเป็นผู้กำหนดการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายโดยตรง รวมไปถึง การบริหารจัดการเป้าหมายของอัตราการว่างงาน , เป้าหมายเงินเฟ้อ และ ซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดการเงินเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ นั้นจึงทำให้การสื่อสารของ FOMC ผ่านรายงานการประชุม หรือการให้สัมภาษณ์ของคณะกรรมการจึงเป็นสิ่งที่นักลงทุนส่วนใหญ่สนใจ เพราะจะเป็นการบอกถึงทิศทางที่จะดำเนินนโยบายการเงิน 📌 เราสามารถเข้าไปติดตามข่าวได้ที่เว็บ https://www.fo
  สำหหรับข่าวนอกกจาก ข่าวนอนฟาร์ม หรือการประกาศการปรับขึ้น อัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางแล้ว ยังมีอีกหนึ่งข่าวที่น่าสนใจมาก นั้นคือข่าว CPI and Core หรือ รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน วันนี้เราจะทำความรู้จักและการตีความข่าว ⛛ CPI and Core CPI คืออะไร  ⛛ CPI คือข่าว รายงานดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core Consumer Price Index (CPI)) จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงในราคาสินค้าและบริการต่างๆ ที่ไม่รวมถึงสินค้าประเภทอาหารและพลังงาน ดัชนีราคาผู้บริโภคนี้จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงจากมุมมองของผู้บริโภค ดัชนีนี้เป็นวิถีทางที่สำคัญที่จะวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มการจัดซื้อและภาวะเงินเฟ้อ ส่วน Core CPI เป็น  ผู้บริโภคพื้นฐาน ที่จะไม่นับรวมสินค้าประเภทอาหารสดเข้ามา เพราะเป็นสินค้าที่มีราคาผันผวนสูงไปตามช่วงเวลาระยะสั้นๆ  ใช้ในการวิคเคราะห์สถานการณ์การเงินของประเทศ รวมถึงนโยบายของรัฐบาล ⛛หมวดหมู่สินค้าที่นำมาคำนวณมีอยู่ด้วยกัน 8 หมวด ได้แก่ 1.ค่าเช่าบ้าน (Housing) 2.เครื่องนุ่งห่ม (Apparel) 3.อาหารและเครื่องดื่ม (Food and Beverages) 4.ค่ารักษาพยาบาล (Medical Care) 5.ค่ายานหานะการขนส่ง (Transportation) 6.การสื่
GOLD&OIL& DOLLAR ดอลล่าร์/น้ำมัน/ทองของคู่กัน             👀  จากปัจจัยและสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลก สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวเคลื่อนและเป็นแรงขับทำให้ธุรกิจเกิดการหมุนเวียนก็คือน้ำมัน เพราะมันใช้ในชีวิตประจำวัน ในด้านสาธารณูปโภค การขนส่ง การเกษตร และอื่นๆ ราคาน้ำมันจะขึ้นจะลง ล้วนแล้วแต่สะท้อนสภาวะเศรษฐกิจในช่วงนั้นแทบทั้งสิ้น                👀  โดยพื้นฐานแล้วทองคำและน้ำมันนั้นจะถูกซื้อขายกันด้วยเงินสกุลดอลล่าร์เป็นหลัก ดังนั้นสิ่งแรกที่เป็นพื้นฐานในการเชื่อมถึงความสัมพันธ์ระหว่างทองคำและน้ำมันก็คือ  มูลค่าของดอลล่าร์   ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ หากมูลค่าของดอลล่าร์อ่อนค่าลง ทองคำและน้ำมันก็จะจะเพิ่มขึ้น                👀  ถ้าเช่นนั้น ทองคำกับดอลล่าร์มันก็น่าจะเคลื่อนไหวกันไปในทิศทางเดียวกันใช่มั้ย ??? ป่าวเลย....ปัญหาคือมันก็ยังมีปัจจัยอื่นๆที่เข้ามาส่งผลกระทบอีกในเรื่องของ เรื่อง Demand Supply ซึ่งมันแตกต่างจากทองคำตรงที่ น้ำมันนั้นจะมีองค์กรลับที่คอยเข้ามาควบคุมปริมาณการผลิตส่วนใหญ่ของโลกที่ เรียกกันว่า OPEC    เพราะฉะนั้นถ้าคนในกลุ่มนี้เค้าคุยกันรู้เรื่อง ช่วยกันลดกำลังการผลิตอย่างพ
Inflation Hedge เมื่อเฟดขึ้นดอกเบี้ย ทองคำจะลงจริงหรือ?                เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่า  ทองคำ มักสัมพันธ์กับเงินเฟ้อ เมื่อไหร่ที่เงินเฟ้อเริ่มสูง ทองก็มักจะบินสูงตามอย่างที่ใครๆหลายคน คนเฒ่าคนแก่มักจะพูดว่า ข้าวยากหมากแพง อะไรๆก็แพง ทองก็ยิ่งแพงแสนแพงนั่นแหละ                 แล้วกับสถาบันการเงินระดับโลกล่ะ อย่างเฟด FED   เรากลับให้นิยามทองคำว่าเป็น Inflation Hedge หรือที่แปลว่า สินทรัพย์ที่ใช้ป้องกันเงินเฟ้อ อ้าว.....ฟังแล้วงงละสิ มันเป็นยังไง ไหนเล่าสิ มาแอดจะเล่าให้ฟังนะ                ส่วนใหญ่แล้ว FED หรือธนาคารกลางสหรัฐ เวลาจะขึ้นดอกเบี้ย หลายคนมักเข้าใจว่ามันจะส่งผลลบต่อราคาทองคำ ทองจะลง แล้วทีนี้มันก็เลยเป็นที่ตั้งข้อสงสัยกันว่า  แบบนี้ถ้าเงินเฟ้อมา ทองคำก็ต้องเป็นขาลงใช่มั้ย  เพราะเดี๋ยวเค้าก็จะขึ้นดอกเบี้ย ใช่สิดอกเบี้ยธนาคารกับดอกเบี้ยที่แท้จริงนั้นมันต่างกันไงละ อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง = อัตราดอกเบี้ย ณ ปัจจุบัน – อัตราเงินเฟ้อ หากเฟดขึ้นดอกเบี้ย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อคงที่ จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นบวก แบบนี้ทองจะโดนทุบ  หรือหากเฟดขึ้นดอกเบี้ย 1% แต่อัต
Digital Yuan : DCEP เงินหยวนดิจิทัล คืออะไร??              หลังจากที่เราได้รู้จัก คำว่า สกุลเงินดิจิตัล(Central Bank Digital Currency: CBDC)  กันไปแล้ว และในปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปมาก วิวัฒนาการของเราได้เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะวงการการเงินที่กำลังมุ่งหน้าสู่สังคมไร้เงินสด จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ทำไมธนาคารกลางทั่วโลกต่างเร่งศึกษาและพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลเป็นของตนเอง และจีนก็เป็นประเทศแรกๆ ในโลกที่เดินหน้าทดลองการออกใช้สกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางสำหรับประชาชน (Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC) ที่เรียกกันว่า                                                         “หยวนดิจิทัล (Digital Yuan: e-CNY)”   : DCEP                เงินหยวนดิจิตัล ภาษาจีนเรียกว่า ซู่จื้อ เหรินหมินปี้ โดยมีชื่อเป็นทางการว่า DCEP (Digital Currency Electronic Payment) โดยธนาคารกลางจีนเริ่มศึกษาโครงการนี้มาตั้งแต่ปี 2557 และทดลองนำร่องในหลายเมืองใหญ่ตั้งแต่กลางปี 2563 คือเซินเจิ้น, เฉิงตู, สยงอัน และซูโจว โดยจีนตั้งเป้าที่จะใช้ สกุลเงินใช้ DCEP ในการแข่งขันกีฬาโอลิม
CBDC สกุลเงินดิจิทัล คืออะไร??              ปัจจุบันโลกของเราเปลี่ยนแปลงไปมากและได้เริ่มก้าวเข้าสู่สังคมดิจิตอลอย่างเต็มรูปแบบ โดยเฉพาะวงการ การเงินที่กำลังมุ่งหน้าสู่สังคมที่ไร้เงินสด จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า ธนาคารกลางทั่วโลกต่างเร่งศึกษาและพัฒนาเงินสกุลดิจิทัลเป็นของตนเอง                Central Bank Digital Currency : CBDC   คือ สกุลเงินดิจิตัล ที่ออกโดยธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ  ยกตัวอย่างเช่น ของไทย ก็เหมือนเงินบาท หรือธนบัตรที่ออกโดยแบงก์ชาติ เพียงแต่อยู่ในรูปแบบ “ดิจิทัล” เป็นการใช้ระบบการชำระเงินจากธนาคารกลางที่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินมีต้นทุนที่ถูกลง และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะในเทคโนโลยีแบบกระจายศูนย์ (Distribution Ledger Technology: DLT) หรือบล็อกเชน (blockchain) ที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการเงินอย่างหลากหลาย และการใช้ในระดับรายย่อย (Retail) หรือก็คือ การนำมาจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวันของเรานั่นเองแถมยังถูกกฎหมาย และช่วยลดต้นทุนไปได้เยอะทีเดียว และที่สำคัญสามารถนำไปชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย                ซึ่ง ตรงกันข้ามกับคริปโทเคอร์เรนซี เช่น
Strange currency of the world สกุลเงินแปลกๆในโลกที่เราอาจไม่เคยเห็น                ในสมัยก่อนการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตรา ยังไม่มีการผลิตเหรียญกษาปณ์และธนบัตรเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน และทองก็ยังเป็นโลหะที่หายากและมีค่ามากเกินกว่าจะใช้แลกเปลี่ยนของกินของใช้ในชีวอตประจำวัน คนสมัยจึงมักจะใช้ของมีค่าที่เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนแทน ซึ่งถ้าในบ้านเราก็มีการใช้เหรียญพดด้วง เบี้ย หอย ต่างๆนาๆ มาก่อน แต่วันนี้ แอดจะพาเพื่อนๆไปดูสกุลเงินแปลกๆ ของโลก ที่ไม่น่าเชื่อว่าแบบนี้ก็มีด้วย!!? จริงดิ !!! มา มาดูกัลลเถอะ ! 1.หอยเบี้ย           อันนี้เราน่าจะค้นเคยกันดีอยู่ ว่าในอดีตหอยเบี้ยถูกใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนกันอย่างแพร่หลาย ทั้งในประเทศไทย จีน แอฟริกา และซาอุดิอาระเบีย 2.เงินหินแห่งหมู่เกาะแยป           เงินหินเหล่านี้ทำจากหินปูนถือว่าเป็นของมีค่ามากบนหมู่เกาะมาซิโดเนีย ซึ่งเวลาจะย้ายต้องเอาไว้สอดตรงกลางแล้วช่วยกันแบก ซื้อขายแต่ละทีนี่หนักน่าดู 3.หนังกระรอก           ในอดีตที่ผ่านมามีการใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าในรัสเซีย และปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นบ้างในประเทศฟิลแลนด์ 4.เง
 -- ข่าวตัวเลขเศรษกิจต่างประเทศ นั้นเป็นอีกหนึ่งเครืองมือสำคัญของคนที่ลงทุนในต่างประเทศหรือคนเทรด Forex ,ทองคำ  เพราะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ขับเคลือนราคาของตลาด และเป็นการบ่งบองถึงเสถียรภาพประเทศนั้น สำหรับคนที่เทรด Forex นี้คือเรื่องพื้นฐานที่ต้องรู้ นอกจาก เทคนิค หรือ Money Management  การมีความรู้เรื่อง ข่าวตัวเลขเศรษกิจ ก็จะทำให้เรา เทรดได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น หรืออาจจะหาจังหวะในการทำกำไรจาก ข่าวตัวเลขเศรษกิจ Forex Factory คืออะไร ❓ Forex Factory  คือเว็บไซต์ชั้นนำในการรายงานข่าว Forex และช่วยสรุปผลกระทบจากข่าวนั้น และแสดงตัวเลขเศรษกิจ แบบ Realtime  รวมไปถึงจัดความสำคัญของตัวเลขเศรษกิจ ทำให้คนเข้าไปงานนั้น เข้าใจได้ง่ายไม่ซับซ้อน Forex Factory ตั้งค่าโซนเวลา ⏰ เนื่องด้วยเว็บ Forex Factory เป็นเว็บที่แสดง ข่าวตัวเลขเศรษกิจต่างประเทศ ทั่วโลก ซึ่งโซนเวลาของแต่ล่ะประเทศก็จะไม่เหมือนกัน ฉนั้นก่อนที่เราจะไปอ่านตัวเลข  เราต้องไปตั้งค่าโซนเวลาให้เป็นของประเทศไทยก่อน  ขั้นตอนที่ 1 คลิกที่แถบเวลา  ขั้นตอนที่ 2 ตั้งค่าตามด้านล่าง GMT+7 : Bangkok DST : Off Time Format : 24 Hour จากนั้นกด Save แล
 แนวโน้มทางเทคนิคของเงินเยน:                           👋   JPY ดัชนีมองว่าราคาอยู่ในช่วง Falling Wedge ใกล้จะเบรคเอ๊าท์หรือยัง?                          👋 AUD / JPY โมเมนตัมขาขึ้น มีแนวโน้มที่จะไปต่อใกล้จุดสูงสุดของปี 2020                          👋   CHF / JPY อาจจะลดลงใกล้จุดยืนแถว 105 หลังจากไม่สามารถทะลุจุดสูงสุดล่าสุดได้ JPY การคาดการณ์ทางเทคนิคของเงินเยน :                      เงินเยนของญี่ปุ่น อาจจะเบรคเอ๊าท์ในไม่ช้านี้ จากรูปแบบ Falling Wedge โดยเป็นแบบ converging การบรรจบกันระหว่างแนวรับและแนวต้าน รูปแบบดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากราคาทำจุดต่ำสุดของเดือนกันยายนเอาไว้ และต่อมาก็พุ่งสูงขึ้นในเดือนตุลาคม การพุ่งขึ้นทะลุเพดานเป็นสัญญาณของการกลับตัวบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของเงินเยน เป้าหมายสำหรับขาขึ้นอยู่ที่จุดสูงสุดของวันที่ 30 ตุลาคม  MACD ตัดขึ้นเหนือเส้นสัญญาณ JAPANESE YEN CUSTOM AGGREGATE INDEX AUD / JPYการคาดการณ์ทางเทคนิค :                          ออสเตรเลียดอลลาร์ อยู่เหนือจุดสูงสุดในรอบหลายปีเมื่อเทียบกับเงินเยน แต่เป็นผลดีจากการเข้าทำกำไร จากคู่สกุลเงิน  AUD / JPY
ทองคำ (XAU / USD) การวิเคราะห์ราคาและชาร์ท                         👋 ทองคำ ติดอยู่ระหว่างเส้นค่าเฉลี่ยตรงกลางระหว่างขึ้นและลง                          👋 ผู้ค้าส่วนใหญ่ยังคงบาย แต่มีการซื้อขายผสมกันไป                          การประชุม FOMC ในวันวันพฤหัสบดี ตี2  น่าจะเป็นโอกาสสุดท้ายที่จะสร้างความตื่นเต้นให้กับตลาดการเงินในปีนี้เนื่องจากนักลงทุนเริ่มนิ่งก่อนที่จะหยุดพักตามฤดูกาล ความเสี่ยงยังคงแกว่งไปมา ขึ้นๆลงๆ แต่กรอบการเคลื่อนไหวมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ  การประชุมและคำแถลงของนาย เจอโรม พาวเวล ประธานเฟด คาดว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงนโยบายใด ๆ แต่มีแนวโน้มที่จะควบคุมอัตราดอกเบี้ยและเงินดอลลาร์จะลดลง เพื่อให้การฟื้นตัวของสหรัฐค่อยเป็นค่อยไป อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ข้อมูลล่าสุดเป็นเชิงบวกเล็กน้อยกับการกลับมาของเศรษฐกิจที่จะต้องใช้เวลานานมากและอัตราดอกเบี้ยต่ำจะยังคงใช้เวลาอีกหลายปี                          ทองคำ มีการซื้อขายที่ระดับ เส้นฟิโบ 38.2% ที่ราคา 1836.9 โดยเส้นค่าเฉลี่ยรายวัน MA 20 และMA 200 ตัดกัน 20- / 200-sdma ในวันที่ 5 ธันวาคมแสดงให้เห็นว่า  เป็นขาลงระยะสั้น โดยหากเส้น 50-dsma (เส้
 EUR / USD แนวทางทางเทคนิค :                         👉 EUR / USD ยืนเหนือจุดสูงสุดในรอบใหม่                          👉 การเซ็ทอัพราคาใหม่ เพื่อสร้างรูปแบบแพทเทรินในการไปต่อ                          👉 ราคา 1.2500 กำลังจะมาถึงในไม่ช้านี้                          EUR / USD ถูกกระตุ้นให้มีการซื้อขายสูงขึ้นหลังจากการเจรจาต่อรองที่ผ่านมา เงินยูโรระเบิดพุ่งขึ้นเหนือจุดสูงสุดของเดือนกันยายนทำให้อยู่ในตำแหน่งที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นเพื่อที่จะไปต่อ อย่างไรก็ตามอาจมีการดึงกลับ รีบาว์นในช่วงสั้นๆ เพียงเล็กน้อย ประมาณที่ราคา 1.2000                          จนถึงตอนนี้   EUR / USD  ยังคงขยับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่ใช่การพุ่งขึ้นป็นเเส้นตรงเพียงอย่างเดียว แต่อาจมีการดึงกลับหรือรีบาว์นในช่วงสั้นๆ อยู่  จากกราฟแนวต้านใหญ่ถัดไปจะอยู่ ที่ประมาณ 1.2500 ซึ่งอยู่ไม่ไกลมากแล้ว ในอีกทางหนึ่งอาจมีแรงผลักดันให้ลงไปต่ำกว่าจุด 1.2011 EUR/USD กราฟรายวีค EUR/USDกราฟรายวัน Written by Paul Robinson เรียบเรียงโดย หญิงอ้วนฉุ
  AUD/USD ออสเตรเลียดอลลาร์:การวิเคราะห์ทางเทคนิค , IGCS – ประเด็นพูดคุย:                         👌 จากการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า ดอลลาร์ออสเตรเลีย จะยังคงขึ้นต่อไปเรื่อยๆซึ่งมีทิศทางที่ดีกว่าดอลลาร์สหรัฐในอีก 12 เดือนข้างหน้านี้                          👌 อย่างไรก็ตามกรอบเวลารายวันบอกเป็นนัยว่าอาจมีการดึงกลับในระยะสั้นๆ                            A UD/USD  ออสเตรเลียดอลลาร์ พุ่งขึ้นไป 37% จากเดือนมีนาคม โดยเริ่มแข็งค่ามาได้สักระยะ เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่าในปี 2021  อาจมีการเบรคเอ๊าท์และสัมพันธ์กับคู่สกุลเงินทางด้านการค้า AUD/USD กราฟรายเดือน                          จากกราฟ AUD / USD ในช่วง 24 ปีที่ผ่านมา โดยคู่สกุลเงินส่วนใหญ่จะมีการวิ่งหมุนเวียนเป็นวัฎจักรใน 8 ปี โดยมีจุดต่ำสุดที่สำคัญในต้นปี 2544 ปลายปี 2551 และ 2559   การเคลื่อนไหวของราคาล่าสุดมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับที่เห็นในช่วงต้นของวัฏจักรกระทิง ในช่วงเดือนกันยายน 2001 และบ่งบอกถึงการเพิ่มขึ้น AUD / USD โดยมีราคาฝั่งลงแนวต้านทางจิตวิทยาที่ 0.7500                          RSI ที่ตัดผ่านแ
  GBP / USD ข้อมูลพื้นฐาน:                         👋  ความชัดเจนในวันอาทิตย์                          👋  BOE ดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลง แต่จับตาดูการประเมินผล BREXIT                            👋  GBP / USD จับตามอง ความชัดเจนในวันอาทิตย์                          สัปดาห์ที่เห็นได้ชัดเจนจากความเสี่ยงของ Brexit ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญโดยนายกรัฐมนตรีจอห์นสันของอังกฤษเตือนว่า มีความเป็นไปได้สูงมากที่อังกฤษจะต้องเริ่มทำการค้ากับ EU ภายใต้เงื่อนไขของ WTO (ไม่มีการทำข้อตกลง) โดยเริ่มวันที่ 1เดือนมกราคมปีหน้า นาง นางฟอน เดอร์ เลเยน รู้สึกถึงการไม่มีการข้อตกลงดูจะมีความเป็นไปได้มาก  โ ดยมีฝั่งเจ้ามือ ที่รับแทงว่ามีแนวโน้มที่จะไม่มีข้อตกลงอยู่ที่ 58% เพิ่มขึ้นจาก 33% ในสัปดาห์ก่อนหน้า    อย่างไรก็ตามหากการตัดสินใจไม่เป็นไปตามที่คาดไว้  GBP / USD จะดิ่งลงไปที่ 1.3000  BOE อัตราดอกเบี้ยไม่เปลี่ยนแปลง แต่จับตาดูผลการประเมินของ BREXIT:                            เนื่องจาก BoE ขยาย QE เพิ่มขึ้นอีก 150 ล้านปอนด์ ในการประชุมครั้งก่อนและคาดหวังเพียงเล็กน้อยในการประชุมครั้งนี้ การให้ความสำคัญ