แนวทางลงจากดอย วิธีการแก้ดอย (ซีรี่ย์จิตวิทยาการเทรด) EP.4



จากตอนที่แล้ว ที่เราเล่าถึงการติดดอย และวิธีการป้องกันการติดดอย แต่สำหรับบางคนที่ติดดอยอยู่ และอยากจะที่ลงจากดอยนั้น วันนี้เราก็จะมาทำความรู้จักวิธีการลงจากดอย ว่ามี วิธีการใดบางที่ สามาารถที่จะลงจากดอย 

การสำรวจพอร์ตของตัวเองก่อนที่จะแก้พอร์ต 

ก่อนที่ราคาจะแก้ดอยหรือลงจากดอย เราต้องรู้ก่อนว่า พอร์ตของเราเหลือะไรบาง ลบเท่าไหร่ จำนวนไม้ที่ออก Margin เหลือเท่าไหร ตำแหน่งของเราบนดอย  การที่เราสำรวจพอร์ตเราก่อนเพื่อให้เราสามารถประเมิน แนวทางการแก้ไขการติดดอย เมื่อเราประเมินได้แล้ว ค่อยเลือกเครื่องมือหรือรูปแบบสำหรับการแก้ไข พอร์ต 

รูปแบบการแก้พอร์ต ลงดอย 

1.ถือทนใว้ ไม่ขายไม่ขาดทุน  ปล.ไม่เพิ่มออเดอร์
    
       เป็นวิธีที่ง่าย แต่ทำยาก เพราะว่าเราต้องรอจนกว่าพอร์ตจะกลับมาบวก เหมาะสำหรับคนที่เงินในพอร์ดเยอะ และ เหลือ Margin  เยอะ LV ต่ำ 

    👦-เหมาะกับใคร = มือไหม่ หรือ สายซื้อเก็บ  และสำคัญสุด นั้นคือคือกลุ่มคนที่รอได้ หรือสายลงทุน เพราะว่า เราใช้เวลาในการแก้พอร์ต บางทีอาจจะต้องถือ ข้ามเดือน 

     ✅-ข้อดี = มีความปลอดภัยสูง หากคำนวน Margin  หรือ วางแผนดีๆ หรือทำระบบ Close System ก็แทบจะไม่มีทางล้างพอร์ต   

    ❌-ข้อเสีย = รอนาน ทำให้พอร์ตพลาดโอกาสที่จะไปเข้าทำสัญญาณใหม่ๆ และช่วงเวลาที่รอเราก็จะไม่มีกำไรจากพอร์ต เพราะว่า ต้องรอให้ราคากลับมาบวก 

ปล.สิ่งที่ต้องระวังในการถือยาว นั้นค่า swap  หรือดอกเบีย ที่จะถูกคิดทุกวัน หากเข้าฝั้งที่ ค่า swap   เป็นลบ นั้นก็จะทำให้พอร์ด ติดลบเพิ่มทุกวัน 

2.Cutloss เจ็บแต่จบ 

     เป็นวิธีที่ง่าย แต่ทำยาก ยากกว่า ถือทนใว้อีก เพราะว่าเราต้องปิดไม้ที่ขาดทุน นั้นจะมีส่วนของอารมณ์ที่จะเข้ามา จะเกิดความกลัว และความลังเล และเสียดาย เกิดขึ้น และอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำยาก เพราะ ว่าคนเรานั้นกลัวที่แพ้ แต่การ Cutloss  ก็อาจเป็นหยุดการล้างพอร์ตได้ดีมาก อย่างน้อยเราก็มีเงินไปเริ่มใหม่กับสัญญาณเข้าใหม่ โดยไม่ต้องมาภาวนาให้ราคากลับมาในแดนบวก 

   👦-เหมาะกับใคร = สำหรับคนที่มีแผนการเทรดที่ชัดเจน กล้าที่จะปิดและเริ่มใหม่ หรือ คนที่เทรดเป็นระบบ 

   ✅-ข้อดี =   ได้เริ่มใหม่ เทรดไม้ โดยที่ไม่ต้องมา ยึดติดว่าจะกลับมาบวก แพ้ก็คือแพ้ แพ้ก็เริ่มใหม่ 

   ❌-ข้อเสีย = พอร์ตจะติดลบอย่างต่อเหนื่อง ถ้าระบบเทรดไม่ชัดเจน แพ้มากกว่าชนะ หรือ วางแผน RRR ไม่ดี การที่ติดลบหรือแพ้หลายไม้ติดต่อกัน อาจทำให้เกิดความเครียดสะสมได้ และเกิดความกดดันในการเทรดมากขึ้น 

ปล.สำหรับใครที่เลือก Cutloss  ต้องมีระบบที่ชัดเจน อาจต้องมีการทดสอบ จนสามารถที่ที่เทรดแล้ว แพ้กับชนะ รวมกันเป็นบวก นั้นจะทำให้เรากด Cutloss  ได้ง่ายขึ้น 

3.ออกไม้แก้ จบไวแต่เสี่ยงมาก

     สำหรับคนที่ชอบความเร็ว และรับควาเสี่ยงสูงที่จะล้างพอร์ตได้ ก็จะเลือกวิธีการออกออเดอร์มาแก้ 
โดยรูปแบบการแก้นั้น มีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Hedging  หรือการออกไม้แก้ แบบ Martingale ซึ่งทุกวิธีคือการการออกออเดอร์ใหม่ มาเพื่อ cover ออเดอร์ที่แพ้ไป หรือพูดง่ายก็คือ การซื้อถั่วเพื่อให้ได้ราคาที่ถูกกว่า เและเมื่อราคาเปลี่ยนเทรน หรือกลับตัวมาฝั้งที่ตัวเองถือ แล้วจะกลับมาสู่แดนบวกได้เร็วกว่า การถือรอแค่ออเดอร์เดียว 

    👦-เหมาะกับใคร = เหมาะสำหรับ❌คนที่มีความรู้เกี่ยวกับกราฟขั้นสูง และบริหารเงินได้ยอดเยียม และที่สำคัญ คือ รับความเสียงที่จะล้างพอร์ตได้

    -ข้อดี = จบเกมส์ไว หรือ ลงจากดอยไว แถมได้ราคาที่ถูกกว่าออเดอร์แรกที่ติดดอย

    ❌-ข้อเสีย = ความเสียงที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล  โดยความเสี่ยงนั้นก็จะขึ้นอยู่กับ ขนาดออเดอร์ lot ที่ออกมาแก้ แน่นอนว่า ยิ่งออเดอร์ใหญ่ก็จะจบเกมส์ใว แต่หากผิดทาง ออเดอร์ใหญจะเป้นตัวคูณให้เราติดลบหนักกว่ากว่าเก่านั้นเอง 


cr.image
https://www.istockphoto.com/illustrations/picking

 สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม

ใน Blockdit ของเรา

https://www.blockdit.com/posts/6170ed6fc506b70c9e1f5fe4


ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ