4 กระบวนท่าพิชิตกำไร Forex ของ Price Action Trader


รูปแบบกราฟแท่งเทียนมีตั้งเยอะ เราต้องใช้อันไหนบ้าง ?
คำถามด้านบนคงเป็นคำถามคาใจเทรดเดอร์หลาย ๆ คน เพราะ หนังสือหรือเว็ปไซต์ส่วนใหญ่ มีรูปแบบกราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern) ให้ดูเยอะมาก ๆ และไม่ได้มีแค่นั้น ยังมีทั้งรูปแบบกระทิง (Bullish Pattern) และหมี (Bearish Pattern) อีกต่างหาก ถึงจะบอกแบบนั้น แต่ผมเชื่อว่าต้องมีเทรดเดอร์หลายคนที่ งง และไม่รู้จะเริ่มจากอันไหน ทำให้ไม่สามารถ Focus ได้เพียงพอ สรุป เราไม่เก่งอะไรสักอย่าง หนำซ้ำอาจจะทำให้เราขาดทุนอีกด้วย บทความนี้ผมจะมาไขความกระจ่างให้ทุกท่านกันครับ กับ 4 กระบวนท่าพิชิตกำไร Forex ของ Price Action Trader
จากประสบการณ์ของผมบอกได้เลยว่า ตอนเริ่มศึกษาเรื่อง รูปแบบกราฟแท่งเทียน ผมก็ งง เหมือนทุกท่านแหละครับ เพราะ มันเยอะมาก จนเลือกใช้ไม่ถูก แถมพอเอาไปดูในกราฟจริง ๆ มันก็เกิดตามรูปแบบนั้นหมดนะ พอเจอ Bullish Pattern ทำไมมันลง พอเจอ Bearish Pattern ทำไมมันดันวิ่งขึ้น ที่ผมกล่าวมานี้เชื่อว่าหลายท่านต้องเคยเจอ เลยทำให้เข็ดกับการใช้ กราฟแท่งเทียนเทรด หันไปใช้ indicator ดีกว่า
จากเหตุการณ์เหล่านั้น ผมก็ได้ศึกษาเพิ่มเติมในหลาย ๆ แหล่ง ในต่างประเทศ นำมาทดลองใช้ ลองผิด ลองถูกอยู่นาน (มากกว่า 2 ปี) จนพบว่า จริง ๆ แล้ว รูปแบบแท่งเทียนที่มีจำนวนมากเหล่านั้น เราเลือกนำมาใช้เพียงไม่กี่รูปแบบก็สามารถทำกำไรได้เป็นอย่างดี ซึ่งทั้งหมดผมรวบรวมให้ทุกท่านในบทความนี้แล้วครับ

กระบวนท่าที่ 1 : Pin Bar 

  • แท่งเทียน Pin Bar มาจาก Pin ที่แปลว่า เข็ม สาเหตุเพราะ แท่งเทียนมีลักษณะคล้ายกับเข็ม (ดูที่รูปด้านล่าง)
  • แท่งเทียน Pin Bar จะเรียกอีกชื่อว่า Hammer หรือ ค้อนก็ได้ (แล้วแต่จะเรียกเลยครับ)
  • ลักษณะสำคัญของแท่งเทียน Pin Bar คือ มีหางที่ยาว และมี body ที่เล็ก
  • รูปแบบนี้เป็นรูปแบบของการเกิด False-break ระหว่างวัน
  • ตัวอย่างเช่น การเกิด Bullish Pin Bar จะเกิดเมื่อมีแรงขายกดราคาอย่างต่อเรื่อง แต่ต่อมาก็มีแรงซื้อสวนกลับขึ้นมาจนแรงขายต้านไม่อยู่ ทำให้แรงซื้อชนะ และจบวันด้วยการเกิดแท่งเทียน Pin Bar ขึ้น (พูดง่าย ๆ ก็คือ กระทิงชนะหมี) กลับกันใน Bearish Pin bar
  • ถึงแม้แท่งเทียนลักษณะนี้จะมีจุดร่วมเป็น รูปร่างที่คล้ายกัน คือ มีหางยาว body เล็ก คล้ายเข็ม แต่ความแรงของแต่ละรูปแบบที่เกิดนั้นไม่เท่ากัน ซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่เราต้องพิจารณาด้วย

กระบวนท่าที่ 2 : Inside bar 

  • inside bar จุดเด่นคือ เป็นแท่งเทียนคู่ แท่งแรกยาวกว่า แท่งที่สอง (ดูที่รูปด้านล่าง)
  • แท่งแรกที่ยาวกว่าเราเรียกว่า “Mother Bar” แท่งที่สองที่สั้นกว่า จะอยู่ในบริเวณของแท่งแรก จึงเรียกว่า inside bar
  • inside bar มีอีกชื่อเรียกก็คือ Harami จะเรียกแบบไหนก็ได้แล้วแต่สะดวกเลยครับ
  • รูปแบบนี้เป็นรูปแบบของการลังเล หรือ แรงของกระทิงกับหมีมีเท่า ๆ กัน (ตลาดยังไม่ตัดสินใจเลือกทาง)
  • การเกิด Bullish inside bar คือ แท่งเทียนแท่งที่ 3 ทะลุ ราคาสูงสุด (High) ของ Mother Bar
  • การเกิดรูปแบบนี้ตีความได้ว่า กระทิงชนะหมี (แรงซื้อชนะแรงขาย) และตลาดตัดสินใจเลือกวิ่งขึ้น
  • การเกิด Bearish inside bar คือ แท่งเทียนแท่งที่ 3 หลุด ราคาต่ำสุด (Low) ของ Mother Bar
  • การเกิดรูปแบบนี้ตีความได้ว่า หมีชนะกระทิง (แรงขายชนะแรงซื้อ) และตลาดตัดสินใจเลือกวิ่งลง

กระบวนท่าที่ 3 : Inside bar false-break

  • inside bar false-break เรียกสั้น ๆ ว่า False-Break
  • ลักษณะจะคล้ายกับ inside bar ที่กล่าวไว้ด้านบน แต่จำนวนแท่งที่พิจารณาจะมากกว่า ดูที่รูปด้านล่าง แสดงลักษณะ Bearish False-Break
  • ลักษณะทั่วไปคือ มี 4 แท่ง 2 แท่งแรก คือ inside bar แท่งที่ 3 คือ แท่งที่ตลาดเลือกทาง (False-Break) แท่งที่ 4 แท่งสุดท้าย คือ แท่งที่ตลาดตัดสินใจเคลื่อนที่ไปอีกทาง (ทิศทางจริง)
  • จุดสำคัญ คือ แท่งที่ 3 ซึ่งเป็นแท่งที่ตลาดวิ่งทะลุไปยังทิศทางนั้น จะทำให้เราเข้าใจผิดคิดว่า ตลาดได้ตัดสินใจไปยังทิศทางนั้นแล้ว แต่สุดท้ายตลาดกลับวิ่งสวนทาง
  • ในสถานการณ์จริง การวิเคราะห์แท่งเทียน False-break นี้ ต้องใช้คู่กับ ปัจจัยอื่น ๆ ด้วยเสมอ เพราะ ไม่อย่างนั้นจะทำให้เราตีความผิด คิดว่าเป็น สัญญาณจาก inside bar

กระบวนท่าที่ 4 : Engulfing 

  • Engulfing แปลว่า กลืนกิน ซึ่งตรงกับลักษณะรูปแบบสัญญาณของแท่งเทียนนี้
  • ลักษณะของแท่งเทียน Engulfing นั้นเหมือนชื่อเรียกเลยครับ นั่นก็คือ แท่งเทียนจะกลืนกินแท่งเทียนก่อนหน้า (มีขนาดใหญ่กว่าจนคลุมพื้นที่แท่งเทียนก่อนหน้า) ดูลักษณะแท่งเทียนที่รูปด้านล่าง
  • รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ตลาดตัดสินใจเลือกทางระหว่างวัน
  • ตัวอย่างการเกิด Bullish Engulfing ราคาเปิด (Open) จะถูกกดดันจากแรงขายในช่วงแรก แต่ต่อมามีแรงซื้อเข้ามามากทำให้ราคาถูกดันขึ้นไปจนราคาปิด (Closed) ปิดสูงกว่าราคาเปิด (แสดงถึงความเป็นกระทิง – Bullish) จนแท่งเทียนมีอาณาเขตครอบคลุมแท่งเทียนก่อนหน้า (ลักษณะกลืนกินแท่งเทียนก่อนหน้า) นั่นเอง (กลับกัน Bearsigh Engulfing)
  • รูปแบบ Engulfing เป็น อีกรูปแบบของ Price Action ที่ให้โอกาสชนะสูง (Winning Probability) ซึ่งขึ้นอยู่กับ ขนาดของแท่งเทียน กลืนกิน และ จุดที่เกิดสัญญาณ ปัจจัยทั้งหมดจะช่วยเพิ่มโอกาสให้กับสัญญาณนี้
คาดว่าทุกท่านที่ได้อ่านจะทราบกันแล้วนะครับว่า 4 รูปแบบแท่งเทียน ที่สามารถใช้เป็น Signal ในการเทรด Forex นั้นมีอะไรกันบ้าง ทั้ง 4 รูปแบบที่ผมรวบรวมมาให้นั้น เป็นรูปแบบที่เกิดขึ้นบ่อยและมีความแม่นยำสูง แต่มีข้อแม้ว่า ทุก Signal ที่ผมกล่าวไปนั้น ต้องใช้ควบคู่กับการวิเคราะห์ปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย ลำพังเพียงกราฟแท่งเทียนอย่างเดียวยังไม่ให้ความแม่นยำในการวิเคราะห์แต่อย่างใดครับ จะเห็นได้ชัดว่า เราไม่จำเป็นต้องรู้จักรูปแบบแท่งเทียนมากมายนั้นทั้งหมด (เลือกมาใช้บางตัวก็พอ) เราก็สามารถทำกำไรในตลาด Forex ได้เช่นกันครับ
สิ่งหนึ่งที่ผมอยากจะฝากสำหรับใครที่ยังขาดทุนอยู่ หรือ เคยล้างพอร์ตมาก่อน ก็คือ ฝึกจาก 1 รูปแบบ จาก 4 รูปแบบนี้ให้เชี่ยวชาญก่อน (Master the Strategy) เพราะ การดูพร้อมกันทุกรูปแบบจะทำให้การ Focus ของคุณต่ำลง และให้ผลไม่ดีซึ่งอาจทำให้กลับไปขาดทุนซ้ำได้ (นี่เป็นอีกสาเหตุที่ทำไมหลายคนเปลี่ยนกลยุทธ์บ่อย ๆ แต่ก็ไม่ทำกำไร) สำหรับบทความนี้ขอฝากไว้เท่านี้ครับ ขอให้ทุกท่านที่ติดตาม Znipertrade โชคดีมีกำไรและสนุกกับการเทรดครับ
หากท่านเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ รบกวนช่วย กด Like ติดตาม Fanpage หรือ Comment ใต้บทความ หรือ Share ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านด้วยนะครับ ขอบคุณมากครับ 

ขอบคุณบทความดีๆจาก

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ