มาทำความรู้จักกับ แนวรับและแนวต้าน
แนวรับ(Support) คือ จุดที่เป็นจุดกลับตัวของกราฟ แล้วราคาได้ลงมาทดสอบอีกครั้ง เราจะใช้จุดนั้นเป็นแนวรับ ถ้าราคาลงมาทดสอบจุดนั้นแล้วไม่สามารถผ่านลงไปได้ แนวรับนั้นจะกลายเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง (Strong Support) โดยราคาจะลงมาทดสอบอย่างน้อย 2 ครั้ง (Double Bottom) หรือ 3 ครั้ง (Triple Bottom) ถ้าราคาไม่สามารถผ่านแนวรับเหล่านี้ได้ มันก็จะกลับตัวขึ้นไปอีกครั้ง
แนวรับมีอยู่ 2 แบบ คือ
1.แนวรับหลัก (Major Support )
2.แนวรับรอง (Minor Support)
แนวรับหลัก (Major Support)จะเป็นจุดกลับตัวของกราฟ จากแนวโน้มขาลงกลายเป็นขาขึ้น ส่วนแนวรับรอง(Minor Support) จะเป็นจุดสูงสุดหรือ ต่ำสุดของกราฟ ที่เกิดการสวิงของราคา
ภาพตัวอย่างแนวรับ
แนวต้าน (Resistance) คือ จุดที่เป็นจุดกลับตัวของกราฟแล้วราคากลับขึ้นไปทดสอบอีกครั้ง ถ้าราคาทดสอบจุดที่เป็นแนวต้านแล้วไม่ผ่านสามารถผ่านได้ จุดนั้นจะกลายเป็น แนวต้านที่แข็งแกร็ง (Strong Resistance) โดยที่ราคาจะไปทดสอบ 2 ครั้ง ( Double Top ) หรือ 3 ครั้ง (Triple Top )
แนวต้านก็แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ Major Resistance และ Minor Resistance
ภาพตัวอย่าง แนวต้าน Resistance
ต่อไปเรามาดูกันครับ ว่าเราจะสามารถหาแนวรับแนวต้านได้จากอะไรบ้าง ผมจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทนะครับ
1. การหาแนวรับ-แนวต้าน จาก จุดสูงสุด High และ จุดต่ำสุด Low เก่าๆจุดกลับตัวของกราฟ
ดูจากรูปกันเลยครับ
ดูแนวรับแนวต้านของEUR จากราคาปัจจุบันกันเลยครับ
จะสังเกตว่า จุดกลับตัว และจุดสูงสุด และต่ำสุดของกราฟในอดีตสามารถใช้เป็นแนวรับและแนวต้านได้
2.หาแนวรับแนวต้านจากการคำนวณ
เราจะใช้ราคาปิด (Close) ราคาสูงสุด (High) และ ราคาต่ำสุด (Low) ของเมื่อวานมาคำนวณครับ
โดยเอาเม้าไปชี้ที่แท่งเทียน Daily ครับ ดังรูป
เมื่อได้ค่าแล้วก็นำมาใส่สูตรดังนี้ครับ C=Close H=High L=Low
P=Pivot
S=Support
R=Resistance
Calculate
P=(H+L+C)/3
นำ P มาคำนวนหา แนวรับและแนวต้าน
Support แนวรับ
S1=P-0.382(H-L)
S2=P-0.500(H-L)
S3=P-0.618(H-L)
Resistance แนวต้าน
R1=P+0.382(H-L)
R2=P+0.500(H-L)
R3=P+0.618(H-L)
ตัวอย่างการคำนวน แนวรับแนวต้านของอียู กราฟวันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2553
จากกราฟราคาของวันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน 2553 ราคาต่ำสุด L=1.3559 ราคาสูงสุด H= 1.3683 ราคาปิด C=1.3633
P = (1.3683+1.3559+1.3633)/3 = 1.3625 , H-L=0.0124
S1=1.3625-0.382(0.0124)=1.3577
S2=1.3625-0.500(0.0124)=1.3563
S3=1.3625-0.618(0.0124)=1.3548
R1=1.3625+0.382(0.0124)=1.3672
R2=1.3625+0.500(0.0124)=1.3687
R3=1.3625+0.618(0.0124)=1.3701
เมื่อได้ค่าแล้วก็จดบันทึกไว้ หรือเอาไปติดไว้บนกราฟก็ได้ โดยใช้เครื่องมือ Horizontal Line ใส่ราคาลงไป จะได้ดังรูป
แต่ไม่ต้องคำนวณให้ยุ่งยากหรอกครับ ลองโหลด Indicator เกี่ยวกับ แนวรับและแนวต้านเอาไปใช้กันนะครับ DownLoad Support and Resistance Indicators
อีกหนึ่งวิธีคือ ใช้เว็บคำนวนครับ
http://www.pivotpointcalculator.com/
Actionforex เป็นเว็บที่ให้ความรู้ได้ดีครับ ผมศึกษาวิธีการวิเคราะห์กราฟ ลากเทรนไลน์จาก บทวิเคราะห์ของ Actionforex
3. หาแนวรับ-แนวต้านจาก Fibonacci
หาแนวรับแนวต้านจาก Fibonacci Retrace
การหาแนวรับ จาก Fibonacci Retracement ก่อนอื่นเลยเราต้องใช้ Fibonacci วัดจาก Low ไปหา
High ของคลื่นปัจจุบัน แล้วหาแนวรับจากระดับการปรับฐานของ Fibonacci ที่ ระดับ 78.6 61.8 50.0 38.2 23.6 และ 0 % ดังรูป
และแนวต้านที่อยู่เหนือระดับ Fibonacci 100 % แนวต้านจะอยู่ที่ระดับ 138.2, 161.8 ,261.8,และ 423.6 % ดังรูปด้านล่าง
หาแนวต้านจาก Fibonacci Retracement โดยการวัดขาลง
- หาแนวรับแนวต้านจาก Fibonacci Fan
ดูรูปด้านล่างนะครับ
ตัวอย่างการใช้ Fibonacci Fan วัดหาราคาแนวรับ(ราคาปรับฐาน)ของราคาขาขึ้น
วิธีการวัด ใช้เอา Fibonacci Fan ไปที่จุด Low แล้วลากไปไว้ที่ High
ตัวอย่างใช้ Fibonacci Fan เพื่อหาแนวต้านของราคาขาลง (ราคาปรับฐาน)
Fibonacci Fan เปรียบเสมือนเส้นแนวโน้ม แต่เป็นเส้นแนวโน้มที่ระดับต่างๆของ Fibonacci
4. การหาแนวรับแนวต้าน โดยใช้ Trendline
เทรนไลน์ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ใช้หาแนวรับแนวต้านได้ดีทีเดียว โดยแนวต้านที่ได้จากการลากเทรนไลน์ เราจะเรียกว่า Resistance Trendline และแนวรับที่ได้จากการลากเทรนไลน์เราจะเรียกว่า Support Trendline
การหาแนวรับจาก Support Trendline
การหาแนวรับจาก Trendline เราจะวัดจากจุดต่ำสุดเก่า เทียบกับจุดกับต่ำสุด ณ ปัจจุบัน
ตัวอย่างการลากเทรนไลน์เพื่อหา Support Trendline (แนวรับ )
ตัวอย่างการหาแนวต้านจากการลากเทรนไลน์ (Resistance Trendline)
ลองฝึกการลากเทรนไลน์นะครับ แล้ว เพื่อนๆจะรู้ว่า แค่เทรนไลน์ก็สามารถทำให้เราเทรดได้ ทำให้เรารู้ว่า จุดกลับตัวอยู่ตรงไหน แนวรับแนวต้านอยู่ตรงไหน ลองศึกษาจากเว็บต่างประเทศ หรือจาก Youtube ก็ได้นะครับ Keyword : Trendline
ความรู้เพิ่มเติ่ม
ศึกษาระบบแนวรับแนวต้านได้ที่นี่คลิ๊ก
เลือกแนวรับแนวต้านอย่างไรดี?
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น