Crypto Scams อาชญากรรมในวงการคริปโต ตอน 2


 Crypto Scams  อาชญากรรมในวงการคริปโต ตอน2

            มาต่อกันจากความเดิมตอนที่แล้วยังคงมีอีกหลายวิธีที่พวก scams ทั้งหลายใช้ในการหลอกล่อ หรือล่อลวงเทรดเดอร์ให้ตกหลุมพลาง ด้วยวิธีการที่ง่ายๆแต่ก็มีคนหลงเชื่อกันเยอะทีเดียว

3.Altcoins Pump and Dump

            คือ การสร้างกระแสปั่นราคาเหรียญให้สูงขึ้นด้วยการซื้อเหรียญมาเก็บไว้เป็นจำนวนมาก แล้วเอามาปล่อยในราคาสูงๆ เพื่อกวาดเอากำไรจากการขายกลับมา โดยทั่วไปแล้ว อัลท์คอยน์ (altcoin) หรือเหรียญทางเลือก จัดเป็นเหรียญที่มีมูลค่าไม่สูงและมีสภาพคล่องต่ำ เหล่าแฮกเกอร์มักเลือกหยิบเหรียญใหม่ๆ หรือไม่ได้เป็นที่นิยมเช่นนี้ขึ้นมาสร้างกระแสปั่นราคา เพราะไม่ต้องใช้เงินมากในการซื้อเหรียญมาเก็บไว้ ส่วนเหรียญบิตคอย์ยนั้น บอกเลยว่าน้อยมากที่แฮกเกอร์จะเลือกมาปั่นราคาเพราะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อมาเก็บไว้เมื่อเทียบกับเหรียญทางเลือกอื่น

            การปั่นกระแสราคาเหรียญในปัจจุบันมักจะเน้นไปการประโคมข่าว เพื่อเรียกแขกให้เข้ามาซื้อเหรียญที่ตัวเองปั่นกันมากๆ วิธีที่ใช้ก็คือบอกต่อข่าวลือในโลกโซเชียล สร้างปรากฏการณ์ FOMO ให้มากที่สุด เพื่อกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้อยากซื้อ เมื่อคนอยากซื้อมากขึ้นจนราคาเหรียญพุ่งไปถึงจุดสูงสุดแล้ว แฮกเกอร์ก็ค่อยปล่อยเหรียญที่ซื้อเก็บไว้ออกมาขายเอาเงินไปนั่นเอง

วิธีสังเกต :

            สังเกตว่ามีเหรียญที่ไม่รู้จัก เกิดราคาพุ่งขึ้นหรือเป็นกระแสขึ้นมาอย่างไม่มีแนวโน้มมาก่อนหรือเปล่า ถ้าใช่ก็อย่าเพิ่งรีบเข้าซื้อเชียว ไม่ดอยก็เงินหายกันละทีนี้

4. Malware

            คือ การเจาะเข้าระบบบัญชีการใช้งาน แล้วโอนเงินทั้งหมดออกจาก wallet ผู้ที่ถูกแฮกจะเอาเงินกลับคืนมาไม่ได้ โดยทั่วไปแล้ว มักมาในรูปของไฟล์หรือลิงก์ที่ส่งมาในอีเมล ข้อความ หรือช่องทางอื่นๆ หรือส่งมาในรูปของซอฟต์แวร์ที่เรียกว่า exploit kits

วิธีสังเกต :

            หลีกเลี่ยงการเปิดไฟล์หรือลิงก์ที่ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จักทุกกรณี ไม่งั้นอาจโดนขโมยเหรียญจนหมดไม่รู้ตัว   และอย่าลืมแบ็กอัพไฟล์สำคัญอยู่เสมอๆ

5. Fake ICOs

            ICOs (Initial Coin Offerings) คือ การระดมทุนอย่างหนึ่ง มักใช้กับบริษัทขนาดเล็กหรือสตาร์ทอัพ วิธีการก็คือองค์กรมีแผนพัฒนาหรือสร้างสินค้า บริการ หรือแอพพลิเคชันขึ้นมาสักอย่างหนึ่ง โดยออกเหรียญขายให้กับคนที่สนใจและเห็นว่าโปรเจ็กต์นั้นจะประสบความสำเร็จ (ในที่นี้ก็คือนักลงทุน) หากนักลงทุนสนใจก็ซื้อเหรียญ ICOs ด้วยการจ่ายเหรียญคริปโต 

            ข้อดีของ ICOs คือขั้นตอนไม่ซับซ้อน และระดมทุนจากนักลงทุนได้ทุกพื้นที่ทั่วโลกที่ระบบอินเตอร์เน็ตเข้าถึง แน่นอนว่านี่เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่แฮกเกอร์เลือกทำ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ได้แก่

            - Exit Scams หลอกเอาเงินมาแล้วหายไปเลย

            - Bounty Scams หลอกล่อนักลงทุนว่าหากร่วมลงทุนด้วยจะได้รับผลตอบแทนที่ดี

            - Whitepaper Plagiarism ก็อปปี้ whitepaper ของโครงการอื่นมาอ้างเป็นของตัวเอง 

            - URL Scams สร้างเว็บไซต์ปลอม โดยทำทีว่าจะพัฒนาโปรเจ็กต์บางอย่าง เพื่อหลอกล่อให้คนมาร่วมทุน

วิธีสังเกต :

            - เคลมว่าจะได้ผลตอบแทนมูลค่าสูงมาก , หน้าเว็บไซต์ดูเป็นมืออาชีพเกินกว่าจะเป็นฝีมือของผู้เริ่มโปรเจ็กต์ใหม่ๆ  มีคำอธิบายโปรเจ็กต์ ใช้พวก buzzword  และไม่มีตัวอย่างลิงก์หรือโควตที่ทำให้เห็นผลงานหรือโปรโตไทป์ที่จะพัฒนา  

            - ให้นักลงทุนโอนเหรียญเข้า wallet ส่วนตัวแทนที่จะโอนเข้าระบบเอสโครว์

            - ค้นหาขื่อผู้เสนอโปรเจ็กต์ แล้วพบว่าไม่ได้มีประสบการณ์เกี่ยวข้องกับสายงานดังกล่าวเลยแม่แต่น้อย

👉👉👉รู้แบบนี้แล้วก็ระมัดระวัง และคิดให้ละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจลงมือซื้อเหรียญกัน รักและห่วยใย 

ขอบคุณข้อมูลจาก thematter

"สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม  ใน Blockdit ของเรา

https://www.blockdit.com/posts/61c67ca805d91e0d2bd93959


ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ