Inside bar VS Outside bar



Inside bar VS Outside bar

    Inside bar คือ รูปแบบหนึ่งของ Price action  ถ้าจะแปลกันตามตัว ก็คือ "บาร์ที่อยู่ในบาร์ "  อันนี้เราเอาเป็นหลักในการจำค่ะซึ่งในที่นี้เราหมายถึงแท่งเทียนบอกแบบนี้อาจจะนึกภาพกันไม่ออกอาจคิดว่ามันยากแต่จริง ๆ แล้วไม่ยากค่ะเรามาดูลักษณะทางกายภาพของเจ้า Inside bar กันเลยนะคะว่าหน้าตาเป็นแบบไหน


Inside bar


กฎของการเป็น Inside Bar
1. ไม่จำกัดสีว่าจะเป็น Bull หรือ Bear candle
2. Mother bar จะเกิดขึ้นก่อนและอยู่หน้า Inside bar
3. Inside bar จะเกิดเป็นแท่งต่อจาก Mother bar  ไม่จำกัดว่าจะต้องกี่แท่งอาจมีแท่งเดียวหรือหลายแท่งก็ได้
4. Inside bar จะมีความยาวรวมของทั้งตัวเทียนและใส้เทียนอยู่ในระยะของ Mother bar

    ร้อง อ๋อ ! กันรึยังคะ เพราะไอ้หน้าตาแบบนี้เราจะเจอกันบ่อยมาก แต่อาจไม่ได้สังเกตุ มันก็คือ แท่งเทียนที่มีขนาดเล็กกว่าและวิ่งไปมาอยู่ในกรอบราคาของแท่งเทียนก่อนหน้านั่นเอง ซึ่งเราจะเหมารวมเอาไส้เทียนด้วยนะค่ะ
    Inside bar เป็นรูปแบบหนึ่งของการพักตัวของราคา ในกรอบราคาแคบๆ คือ วิ่งแค่ในระยะของแท่งใหญ่กว่าที่อยู่ก่อนหน้าเท่านั้นเอง เหมือนราคากำลังเลือกทางที่จะไป แต่ไม่รู้จะไปไหน ก็เลยวิ่งอยู่ในกรอบราคาเดิมนี่่ก่อนละกัน  เราจะเห็นแท่งเทียน ทั้ง bull และ bear candle วิ่งสลับกันไปมา ไม่จำกัดว่าต้องกี่แท่ง ถ้ายังวิ่งอยู่ในกรอบราคาของแท่งแม่ มันก็คือ Inside bar ในการหาจังหวะเข้าเทรดในขณะที่ราคาพักตัวก็เป็นเรื่องที่เสี่ยงอยู่พอสมควร เพราะฉะนั้น เราจึงควรที่จะรอค่ะ  รอให้เกิดการ Breakout ออกมาจากระยะของ Mother bar ก่อน แล้วเราก็เข้าออเดอร์ตามทางที่Breakout ออกมา และตั้ง SL ไว้ที่ เหนือ หรือใต้ราคาที่ปลายแท่งอีกข้างหนึ่งของ Mother bar  นิดหน่อยเราลองมาดูกราฟจริงกันนะคะว่ามันเป็นยังไง ในตัวอย่างคือ EU M30 วันที่ 19/09/55


Inside bar


    จากภาพด้านบน จะเห็นตัวอย่างการเข้าออเดอร์และเซ็ท SL ในการเทรด Inside bar กันแล้วนะคะ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า Inside bar คือ Price action รูปแบบหนึ่ง ซึ่งก็เหมือนการเทรด Breakout ธรรมดาทั่วไป แต่นี่คือการ Breakout ในกรอบราคาของแท่งเทียนเท่านั้นเองค่ะอย่างไรก็ตาม เราก็ต้องอย่าลืมเรื่องพื้นฐานอื่นๆด้วยนะคะ ในการเทรดแบบนี้ เราหาจุดเข้าได้ แต่มันไม่ได้บอกว่าจะไปถึงไหนเราก็ต้องอาศัยพื้นฐานอื่นเข้ามาช่วยในการหาเป้าหมายราคาด้วย เช่น แนวรับ แนวต้าน ,Fibonacci ,Trend line หรือ ชาร์ตเพทเทิร์นถึงตอนนี้ก็คงพอจำหน้าค่าตาเจ้า Inside bar กันได้บ้างนะคะ เห็นมั้ยคะว่าไม่ยากเลย ที่เหลือก็แค่ฝึกฝนค่ะ ลองมองหาดูในกราฟที่ท่านเทรด รับรองว่ามีแน่ แค่อยู่ตรงไหนเท่านั้นเอง ใช้ได้ทุกกราฟ ทุกทามเฟรมค่ะทีนี้มีตัวอย่างที่นาสนใจอยากให้ได้ดูกันค่ะ เป็น Inside bar ของกราฟ EU M30 วันที่ 13/09/55 ช่วงกลางคืนถึงเช้าของวันที่ 14/09/55  ลองมาดูกราฟกันค่ะ


Inside bar


    จากภาพแสดง Inside bar ในสภาวะที่ตลาดผันผวน ซึ่งเราจะเจอได้บ่อยๆในตลาด Forex ดังนั้น เราก็ต้องให้ความยืดหยุ่นเค้าหน่อย ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจด้วยนะคะ ถ้าเป็นแบบในกรณีนี้ ก็ปล่อยเค้าก่อนค่ะ รอต่อไป  จะกี่แท่งก็ช่างค่ะ รอจนกว่าจะ Breakout จริงๆ ค่อยเข้าออเดอร์จะดีกว่า มันจะใช้เวลานานเท่าไหร่ก็ช่าง “ถ้าไม่แน่ใจในการเสี่ยง การกอดทุนไว้ก็ไม่เลวนะคะ” Inside bar จะมีศัตรูคู่แค้นอยู่ ชื่อว่า Fakey setup  แหม แค่ชื่อก็ไม่น่าคบแล้วใช่มั้ยล่ะคะ และยังมีญาติสนิทชื่อ Outside bar ด้วย ซึ่งถ้ารู้จัก Inside bar แล้ว Outside bar ก็ง่ายเลยค่ะ เด่วเรามาเจาะลึกเจ้า Fakey setup และ Outside bar กันในตอนต่อไปดีกว่านะคะ เดี๋ยวยาวเกินไป จะเบื่อจะง่วงกันซะก่อน ช่วงที่ตลาดผันผวนเช่นนี้ ราคามีการพักตัวบ่อยๆ เหมือนว่าบางทีกราฟก็งง ๆ อยู่ว่านักลงทุนจะให้ไปทางไหนกันแน่ ก็หวังว่าการดู Inside bar อาจพอช่วยได้บ้าง ลองดูนะคะ  

Outside bar
    เราได้รู้จัก Inside bar กันไปแล้ว คราวนี้เรามารู้จักญาติสนิทเจ้า Inside bar กันบ้าง มันคือ “Outside Bar” นั่นเองค่ะ เจ้า Outside bar นี่ก็คือ Price Action รูปแบบหนึ่ง เทรดเดอร์ส่วนใหญ่คุ้นเคยแต่กับ Inside bar ไม่ค่อยมีใครพูดถึง Outside bar กันเท่าไหร่ ทั้งที่หน้าตาของมันคล้ายกันมาก แค่มี Mother bar ปิดท้ายอยู่ข้างหลัง "และเจ้าตัว  Mother bar นี่แหละค่ะที่ทำหน้าที่เป็น  Outside bar และเป็นตัวส่งสัณญาณบอกเหตุเราว่าเหตุการณ์ต่อไปจะไปในทิศทางใด พอจะนึกภาพกันออกแล้วใช่มั้ยล่ะคะ ทีนี้เรามาดูรูปร่างหน้าตาเจ้านี่กันเลยดีกว่าค่ะ"


outside bar


กฎการเป็น Outside bar
1. ไม่จำกัดสีว่าจะเป็น Bull หรือ Bear candle
2. Outside bar จะเกิดทีหลังและมีความยาวของแท่งเทียนและตัวไส้ครอบคลุมแท่งเทียนแท่งก่อนหน้า
3. ไม่จำกัดว่าแท่งเทียนที่โดนครอบคลุมโดย Outside bar จะต้องมีกี่แท่ง อาจจะมีแท่งเดียว หรือหลายแท่งก็ได้

    เป็นยังไงคะ หน้าตาของเจ้า Outside bar ละม้ายคล้ายกันกับ Inside bar มั้ยล่ะคะ  ต่างกันแค่ตำแหน่งของตัว Mother bar จากที่เคยอยู่ข้างหน้า มาอยู่ด้านหลัง แล้วพอมาเป็น Outside bar แล้ว เราไม่เรียกว่า Mother bar แล้วนะคะ เราเรียกว่า “Outside bar” ซึ่งถ้าจะแปลกันตรงๆตัวเลย เพื่อช่วยจำก็คือ บาร์ที่อยู่ด้านนอก หรือ มีระยะหลุดออกมาจากบาร์อื่นๆ ซึ่งในที่นี้เราหมายถึงแท่งเทียนค่ะ Outside bar ก็จะแยกออกมาได้อีก สองประเภทนะคะ คือ Bullish Outside bar และ Bearish Outside bar ในการแยกประเภทก็ง่ายมากค่ะ คือดูตามสีของแท่ง Outside Bar แค่นั้นเองถ้าเป็นสีของ Bullish ก็คือ Bullish Outside bar และถ้าเป็น สีของ Bearish ก็คือ Bearish Oustside bar โดยที่ไม่มีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมเลย ตัวแท่งเทียนจะเล็กจะใหญ่ก็ได้ค่ะ ง่ายมั้ยคะ ไม่ยากใช่มั้ยคะ ทีนี้เราก็ต้องมารู้จักวิธีการใช้งานเจ้า Outside bar นี่กันก่อนว่าจะทำยังไงดีเมื่อเราเจอมันในกราฟของเรา เรามาดูตัวอย่างกราฟจริงกันเลยค่ะ จากตัวอย่างจะเป็นกราฟ EU M30 วันที่ 25-26/09/55


outside bar


    เป็นยังไงกันบ้างคะ พอจะคุ้นหน้าเจ้า Outside Bar กันบ้างรึยัง จริงๆแล้วมันอยู่กับเราตลอดเลย แต่เราไม่เคยสังเกตุมันเท่านั้นเอง อาจจะเพราะมันไม่ใช่ “ซุปตาร์ บาร์” เลยไม่มีคนสังเกตุ ฮ่าๆ แต่ถ้าเรารู้จักว่าจะใช้มันยังไง มันก็มีประโยชน์นะคะ   หลักการดู และการใช้ก็ง่ายแสนง่าย อย่างที่เห็นในภาพด้านบน
  • ถ้าเกิดหลังจากที่ตลาดมีการพักตัว เป็น side way ก็จะแสดงการเลือทางของราคา ว่าจะไปทางไหน  ถ้าเป้นแท่ง Bullish Outside bar ก็ขึ้น แต่ถ้า Bearish Outside bar ก็ลง
  • ถ้าเกิด Bullish Outside bar เกิดในขาลงก็เตือนว่า จะเลิกลงแล้วนะ จะขึ้นแล้วจ้า
  • และถ้า Bearish Outside bar เกิดในขาขึ้น ก็เตือนว่าจะไม่ขึ้นต่อละ หมดแรงแล้วจ้า จะลงแล้ว
  • ถ้าเกิดในเทรนเดิม คือ Bullish outside bar เกิดในขาขึ้น ก็บอกได้ว่า ตลาดไปต่อในเทรนเดิม คือขึ้นต่อไปอีก
  • และถ้า Bearish Outside bar เกิดในขาลง ก็บอกได้ว่า จะลงต่อไปนั่นเอง
    Outside bar จะใช้ได้ผลดีมากถ้าใช้ควบคู่กับการดูเทรน เพราะฉะนั้น ก็ลองหาเทรนไลน์มาลากเอาไว้ในกราฟด้วยก็ดีนะคะ การจะหาเป้าหมายราคา ก็ต้องมีตัวช่วยค่ะ เพราะ Outside bar บอกได้แค่ว่ากราฟจะไปทางไหน แต่ไม่ได้บอกระยะ TP เราก็อาจจะใช้ Fibonacci หรือการวิเคราะห์ อื่นๆ เป็นตัวช่วยหา TP  หลัการเปิดออเดอร์ก็เปิดที่ราคาปิด แล้วไป SL ไว้ที่ปลายอีกด้านของแท่งเทียนค่ะ เห็นมั้ยคะไม่ยากเลยกับหลักการเทรดง่ายๆ ที่เหลือก็แค่ฝึกฝนค่ะ ลองหา Outside bar ในกราฟที่เทรดอยู่รับรองว่ามีแน่นอนค่ะ  :) แค่จะมีตอนไหนเท่านั้นเอง ลองดูนะคะเพื่อนๆ ขอให้สนุกกับการเทรด Outside bar ค่ะ

ขอบคุณข้อมูลจาก

Credit:thaiforexschool.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ