รวมเคล็ดวิชามาร เครื่องมือสารพัดพิษ เอามาใช้ในตลาดเงิน(ฉบับ มือใหม่)

เส้นแนวโน้ม (TREND LINE) หมายถึง ทิศทางของหุ้นที่มีการเคลื่อนที่ไปในแนวทางใดทางหนึ่ง ตามแนวโน้มนั้น ๆ ทำให้เราทราบถึงแนวโน้มของราคาหุ้นในอนาคต เราสามารถนำเส้นแนวโน้มไปหาแนวต้าน, แนวรับ หรือหาทิศทางของราคาได้ในแผนภูมิแบบแท่ง, แผนภูมิแบบแท่งเทียน หรือในแผนภูมิแบบ POINT & FIGURE และเราสามารถนำเอาเส้นแนวโน้มไปใช้ร่วมกับ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคตัวอื่น ๆ ได้ เช่น RSI, MOMENTUM ฯลฯ
การวิเคราะห์แนวโน้ม Trend Line
การวิเคราะห์แนวโน้มสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
 แนวโน้มขึ้น (UPTREND)
 แนวโน้มลง (DOWNTREND)

 แนวโน้มที่เคลื่อนตัวไปทางด้านข้าง (SIDEWAYS TREND)
แนวโน้มขึ้น (UPTREND)
มีรูปแบบที่จุดยอดของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะสูงกว่ายอดเก่า และราคาต่ำสุดของหุ้นที่ลดลงในครั้งใหม่จะสูงกว่าครั้งก่อน โดยเส้นแนวโน้มขึ้น (UPTREND LINE) จะเป็นเส้นตรงที่ลากผ่านจุดต่ำอย่างน้อยสองจุดในแนวขึ้น โดยไม่ควรมีจุดฐานที่ต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขึ้นดังกล่าว ต่อมาหากราคาหุ้นตกทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ เป็นการบอกถึงแนวโน้มหุ้นจะเปลี่ยนเป็นลง
- ราคาหุ้นจะขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่เรื่อยๆ
- มีการย่อลงบ้าง แต่จะกลับขึ้นไปอีก และไม่ทำ Low ใหม่ที่ต่ำกว่าเดิม )
- ระยะการขึ้นมากกว่าลง


แนวโน้มลง (DOWNTREND)
มีรูปแบบที่จุดยอดของราคาที่ขึ้นไปในแต่ละครั้งจะต่ำกว่ายอดเก่า และจุดต่ำสุดของการลดลงครั้งใหม่จะต่ำกว่าครั้งก่อน โดยเส้นแนวโน้มลง (DOWNTREND LINE) จะเป็นเส้นตรงที่ลากผ่านจุดสูงสุดอย่างน้อยสองจุดในแนวลง โดยไม่ควรมีจุดยอดที่สูงกว่าเส้นแนวโน้มลงดังกล่าวต่อมา หากราคาหุ้นทะลุผ่านเส้นแนวโน้มนี้ขึ้นไป เป็นการบอกถึงแนวโน้มหุ้นจะเปลี่ยนเป็นขึ้น
- ราคาหุ้นจะลงไปทำจุดต่ำสุดใหม่เรื่อยๆ
- มีการดีดตัวขึ้นบ้าง แต่จะกลับลงไปอีก และไม่สามารถทำ high ใหม่ที่สูงกว่าเดิม
- ระยะการลงมากกว่าขึ้น




RSI คืออะไร


RSI เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้วัดการแกว่งตัวของราคาหุ้น สำหรับการลงทุนในช่วงหนึ่ง เพื่อดูภาวะการซื้อมากเกินไป
 (OVERBOUGHT) หรือขายมากเกินไป (OVERSOLD) ซึ่ง RSI นี้จะวิ่งอยู่ระหว่าง 0 - 100 โดยใช้ระดับเหนือ 70% 
บอกภาวะ OVERBOUGHT หรือซื้อมากเกินไป มีโอกาศที่ราคาจะปรับตัวลงมา และระดับ
ต่ำกว่า 30% บอกภาวะ OVERSOLD หรือขายมากเกินไป 
มีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวสูงขึ้นไป และยังใช้เป็นสัญญาณเตือนว่า แนวโน้มของราคาหุ้นที่กำลังมีทิศทางขึ้นหรือลงนั้น
 กำลังใกล้จะอ่อนตัวลงหรือยัง โดยมีสัญญาณเตือนที่แสดงออกมาในรูปแบบของการขัดแย้งกัน (DIVERGENCE)
 ระหว่างราคาหุ้นกับ RSI
วิธีใช้งาน RSI
























1) ต่ำกว่าเส้น 30 คืออยู่ในเขต oversold เป็นช่วงแรงขายมากเกินไป ราคาอาจปรับตัวขึ้น แต่บางครั้งถ้าแนวโน้ม
ยังคงเป็นขาลงที่แข็งแกร่งก็ยังไม่สามารถซื้อได้ถ้าแนวโน้มยังลงอยู่
2) เหนือกว่าเส้น 70 คืออยู่ในเขต overbought เป็นช่วงแรงซื้อมากเกินไป
แต่บางครั้งถ้าแนวโน้มยังคงเป็นขาขึ้นที่แข็งแกร่งก็ยังไม่สามารถขายได้ถ้าแนวโน้มยังขึ้นอยู่
3) จะใช้ RSI ดู Overbought, Oversold ได้ดีตอนเป็น sideway 
4) นิยมใช้ดูการทำ Divergence ของระดับราคาหุ้นกับค่า RSI ซึ่งมักจะเป็นช่วงสูงสุดหรือต่ำสุดของตลาด
(ความหมายของ Divergence คือ เมื่อระดับราคาทำจุดสูงสุดใหม่ แต่ RSI ไม่ได้ทำจุดสูงสุดตาม)

ADX ( Average Directional Movement Index)

ADX เป็นสัญญาณประเภทบอกแนวโน้มหรือประเภท trend following การคำนวณสูตรของ ADX 
ยุ่งยากมากที่สุดในบรรดา indicators ที่ผมอ่านมา ดังนั้นผมจะไม่ลงรายละเอียดของสูตรนี้ แต่จะบอกการนำไปใช้เลยแล้วกัน


ADX จะมีอยู่ 3 เส้น ดังนี้คือ

1. เส้น ADX - เส้นนี้ถ้าชี้ขึ้นเรื่อยๆ จะบ่งบอกถึง trend ที่แข็งแกร่ง แต่จะเป็น trend ขึ้นหรือลงให้ดูที่ 2 เส้นถัดไปคือ DI+ 
หรือ DI-
2. เส้น DI+ ถ้าเส้นนี้อยู่สูงกว่า DI- แสดงว่าเป็นแนวโน้มขึ้น
3. เส้น DI- ถ้าเส้นนี้อยู่สูงกว่า DI+ แสดงว่าเป็นแนวโน้มลง

วิธีการใช้งาน

ถ้า ADX < 20 หมายถึงแนวโน้มนั้นยังไม่แข็งแกร่ง อาจอยู่ในภาวะ sideway จนกว่าเมื่อ ADX > 20 ขึ้นไป
 แสดงว่าแนวโน้มนั้นแข็งแกร่งและจะดำเนินไปเรื่อยๆ จนกว่า ADX จะหักหัวลง

ตัวอย่าง รูปด้านบนเป็นกราฟ SET รายวัน ณ วันที่ 3 ม.ค 57
- ให้ดูทางซ้ายของเส้นประสีน้ำเงิน ADX ชันขึ้น > 20 และ DI- > DI+ แสดงให้เห็นว่า SET ยังเป็นแนวโน้มลง
- จนมาถึงเส้นประสีน้ำเงิน(จุด A) ADX เริ่มหักหัวลงแสดงให้เห็นว่าแนวโน้มขาลงเริ่มอ่อนแรง และในเวลาถัดมา
 DI+ ได้ตัด DI- ขึ้นมา(จุด B) แต่ ADX ยังคงลงอยู่ หมายความว่าแนวโน้มขึ้นนี้อาจเกิดเพียงแค่ชั่วคราวเนื่องจาก 
trend ไม่แข็งแกร่ง
- จุดC มีการผงกหัวขึ้นเหมือนจะกลับตัว เส้น DI+ > DI- และตัดกันมาก่อนหน้านี้แล้ว ตรงนี้ผมอยากจะบอกว่าบางตำราให้ซื้อถ้า 
DI+ ตัด DI - ขึ้นไป แต่จากประสบการณ์ควรรอ ADX อีกสักพักให้มากกว่า 20 ก่อนค่อยพิจารณาเข้าซื้อ เพื่อรอ trend ที่แน่นอน
- จุด D คล้ายจุด C แต่กลับกันตรงที่ DI- > DI+ แสดงว่าแนวโน้มขาลงกำลังมา และจุด E เป็นจุด confirm ว่าขาลงแน่นอน
แล้วเพราะ ADX > 20

สโตแคสติกส์ STOCHASTICS

STOCHASTICS เป็นเครื่องมือที่เหมาะกับการใช้ในตลาดที่แกว่งตัวแบบ Sideway โดยเฉพาะนักเก็งกำไรหรือนักลงทุนที่ชอบซื้อขายอย่างรวดเร็ว คนที่ทำให้ Stochatic Indicator ตัวนี้ มีพื้นฐานมาจากข้อสังเกตที่ว่า ขณะที่ราคากำลังสูงขึ้นนั้น
ราคาปิดจะมีแนวโน้มขยับสูงเข้าไปหาจุดสูงสุด High หรือกรอบบนของราคามากขึ้น แต่ในช่วงที่ราคาลดต่ำลงนั้น ราคาปิดก็จะลงมาใกล้กับจุดต่ำสุด Low หรือกรอบล่างของราคามากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นเครื่องมือนี้จึงใช้การวัด สัดส่วนของราคาปิดที่ขึ้นมาสูงกว่า Low ต่อช่วงกว้างของราคาทั้งหมดจาก High ถึง Low ในช่วงเวลา N วันที่ผ่านมา ซึ่งโดยปกติจะเป็น 9 วัน

ถ้าราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก ขึ้น เป็น ลง เรามักจะพบว่าราคาในระหว่างชั่วโมงการซื้อขายอาจจะสูงขึ้น
 แต่ราคาปิดจะอยู่ใกล้เคียงกับราคาต่ำสุดของวัน แต่หากราคาหุ้นกำลังจะเปลี่ยนทิศทางจาก ลง เป็น ขึ้น 
ราคาปิดจะมีราคาใกล้เคียงกับราคาสูงสุดของวัน แม้ว่าในระหว่างชั่วโมงซื้อขายราคาอาจจะลดต่ำลง
ความสัมพันธ์ระหว่างราคาสูงสุด-ต่ำสุดกับราคาปิด ได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นสูตรสมการในการดูแนวโน้มขึ้น 
หรือลงของราคาหุ้นในช่วงสั้น ๆ โดยนำมาใช้ดูว่า ราคาปิดอยู่ที่ระดับกี่เปอร์เซ็นต์ของช่วงราคาที่ซื้อขายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง

สูตรการคำนวณ Stochastics
หลักการเบื้องต้นในใช้ STOCHASTICS
เข้าซื้อเมื่อเส้น Stochastic เข้าเขต Oversold ที่บริเวณระดับต่ำกว่า 20% และควรขายเมื่อเส้น Stochastic 
อยู่เหนือบริเวณระดับ 80% แล้วตกลงมา
ซื้อเมื่อเส้น %K อยู่ตัดขึ้นเหนือเส้น %D ขายเมื่อเส้น%K ตกลงมาต่ำกว่าตัดเส้น %D ลง สังเกตการ Divergences
 เช่น เมื่อราคากำลังทำจุดสูงสุดใหม่แต่ยอดของเส้น Stochastics ลดลงมาต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิมก่อนหน้า

พาราโบลิก PARABOLIC SAR


เครื่องมือพาราโบลิก PARABOLIC SAR

ปัญหาประการหนึ่งที่ทำให้นักลงทุนบางกลุ่มวิจารณ์ว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค (TECHNICAL ANALYSIS) ขาดความน่าเชื่อถือ
 คือ ความล่าช้าเนื่องจากเวลา (TIME LAG) เพราะการเคลื่อนที่ของเครื่องมือเทคนิคชนิดต่าง ๆ จะตามหลังราคาหรือดัชนีเสมอ
 ดังนั้นแนวโน้มที่ได้จึงไม่น่าเชื่อถือ เพราะเกิดจากสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้ว ซึ่งนาย J. WELLES WILDER
 ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้สร้างเครื่องมือเทคนิคตัวใหม่ขึ้นมาที่เรียกว่า พารา-โบลิก (PARABOLIC)


เพื่อลดความล้าหลังของการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยการเพิ่มความเร่งของสัญญาณของแนวโน้ม 
เมื่อราคาสามารถทำยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่ โดยพิจารณาให้ความสำคัญเรื่องราคาและเวลาเป็นหลัก 
และสัญญาณที่ได้เรียกว่า จุดเปลี่ยนแนวโน้ม หรือ STOP AND REVERSAL (SAR) และด้วยเหตุที่ SAR 
มีการเคลื่อนที่คล้ายรูปแบบ PARABOLIC CURVE เครื่องมือตัวนี้ จึงถูกตั้งชื่อว่า PARABOLIC
 ณ จุดนี้เองที่บอกนักลงทุนว่าควรเปลี่ยนสถานภาพ กล่าวคือ ถ้านักลงทุนทำการซื้อและถือหุ้นอยู่ (LONG POSITION) 
และเมื่อเกิด SAR ในวันรุ่งขึ้นอยู่เหนือราคาหุ้น ควรที่นักลงทุนจะขายหุ้นดังกล่าวออกไป หรือในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นผู้ขาย
 (SHORT POSITION) เมื่อเกิด SAR ในวันต่อไปอยู่ต่ำกว่าราคาหุ้นในวันนั้น นักลงทุนควรที่
สำหรับคุณสมบัติการเคลื่อนตัว ถ้าเป็นกรณีซื้อและถือหุ้นอยู่ (LONG POSITION) SAR จะเคลื่อนที่สูงขึ้นทุก ๆ วัน 
ไม่ว่าราคาจะเคลื่อนไปทางใด ส่วนจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับทิศทาง และความแรงของการเคลื่อนไหวของราคา
 (PRICE FUNCTION) ซึ่งโดยปกติถ้าราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้นทำยอดสูงใหม่ SAR จะเคลื่อนที่ตามราคาแต่ในอัตราที่เร็วกว่า 
จนกระทั่ง SAR เคลื่อนที่เข้าใกล้ราคาแล้วกระโดดขึ้นไปอยู่เหนือ ดังนั้นควรที่จะขายหุ้นในวันแรกที่ SAR อยู่เหนือราคาหุ้น
ในทางกลับกัน ถ้าเป็นกรณีขายหุ้น (SHORT POSITION) SAR จะเคลื่อนที่ต่ำลงเรื่อย ๆ 
แต่จะมีอัตราที่เร็วกว่าราคาหุ้นในกรณีที่ราคาทำยอดต่ำใหม่ จนกระทั่งเข้าใกล้ราคาและกระโดดลงไปอยู่ใต้ราคาในที่สุด 

ดังนั้นควรที่จะซื้อหุ้นในวันแรกที่ SAR อยู่ต่ำกว่าราคาหุ้น สำหรับค่า SAR ที่คำนวณจากข้อมูลปัจจุบัน 
จะใช้เป็นค่าที่ชี้แนวโน้มของตลาดหรือราคาหุ้น เพื่อการตัดสินใจในวันรุ่งขึ้น
การคำนวณ
SARt-1 = SARt + AF(EPt - SARt)
SARt-1 คือ ค่า SAR ในวันรุ่งขึ้น
SARt คือ ค่า SAR ในวันปัจจุบัน
EPt คือ ราคาต่ำสุดในวันนั้นกรณีขายหุ้น (SHORT)
และราคาสูงสุด ในวันนั้น กรณีซื้อหุ้น (LONG)

AF คือ ค่าความเร่ง โดยเริ่มต้นที่ 0.02 และเพิ่มขึ้น 0.02 ทุก ๆ ครั้งที่เกิดยอดสูงใหม่ในแนวโน้มขึ้น หรือต่ำใหม่ในแนวโน้มลง 
และจะสะสมไปได้มากที่สุดที่ 0.2 แต่ถ้าไม่เกิดยอดสูงหรือต่ำใหม่ จะใช้ค่าเดิม ไปจนกว่าจะเกิดยอดสูงใหม่หรือต่ำใหม่

สำหรับความถูกต้องของสัญญาณจากเครื่องมือ PARABOLIC จะขึ้นอยู่กับลักษณะการเคลื่อนตัวของราคาหุ้น
 โดยถ้าหุ้นมีแนวโน้มที่ชัดเจนไม่ว่าขึ้นหรือลง (UPWARD OR DOWNWARD) ความน่าเชื่อถือของสัญญาณจะมีมาก
 แต่ถ้าการเคลื่อนที่ของหุ้นมีทิศทางไม่แน่นอนหรือขึ้นลงสลับกัน (SIDEWAYS) ความแม่นยำของสัญญาณก็จะลดลง
ดังนั้นนาย WILDER จึงได้สร้างเครื่องมืออีกตัวหนึ่งขึ้นมา เพื่อช่วยกลั่นกรองความถูกต้องของสัญญาณจาก 
PARABOLIC คือ AVERAGE DIRECTIONAL MOVEMENT (ADX) (รายละเอียดของการคำนวณ
 และการวิเคราะห์ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ DIRECTIONAL MOVEMENT) โดยตัว ADX นี้ถูกกำหนดการเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง
 0 ถึง 100 (ไม่เคลื่อนไหวจนถึงเคลื่อนไหวมาก) โดยบอกถึงว่า ถ้าตัว ADX มีค่ามาก ๆ แล้ว 
ตลาดนั้นหรือหุ้นตัวนั้นมีทิศทางการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้สัญญาณจาก PARABOLIC 
มีน้ำหนักในความน่าเชื่อถือมากตาม นอกจากนั้นนาย WILDER ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ค่าของ ADX 
ที่จะชี้ถึงความน่าเชื่อถือในสัญญาณของ PARABOLIC อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 20 และเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้ค่าของ
 ADX ในการกลั่นกรองสัญญาณของ PARABOLIC คือเมื่อ ADX ไต่ระดับสูงขึ้น

สัญญาณของ SAR :
กรณีน่าเชื่อถือสูง คือ 1, 4
กรณีที่น่าเชื่อถือปานกลาง คือ 2
กรณีที่น่าเชื่อถือน้อย คือ 3
>> จุดที่ควรขาย คือ จุดที่ SAR อยู่เหนือดัชนี หรือราคาหุ้น และเส้น ADX เริ่มไต่ระดับสูงขึ้น ซึ่งก็คือจุด A ในกราฟ
>> จุดที่ควรซื้อ คือ จุดที่ SAR อยู่ใต้ดัชนี หรือราคาหุ้น และเส้น ADX เริ่มไต่ระดับสูงขึ้น ซึ่งก็คือ จุด B ในกราฟ

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ Moving Average


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ