G7 คืออะไร

G7 คืออะไร


G7 (Group of Seven) คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 7 ประเทศ ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2518
โดยมีสมาชิกในการประชุมผู้นําครั้งแรกที่ Rambouilletประเทศฝรั่งเศส 6 ประเทศ
ได้แก่
สหรัฐอเมริกา
อังกฤษ
ฝรั่งเศส
เยอรมนี
อิตาลี
และ ญี่ปุ่น
ต่อมาประเทศแคนาดาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชุมที่ San Juan, Puerto Ricoประเทศสหรัฐอเมริกา
ในปี พ.ศ 2519 และสหภาพยุโรป (European Union) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชุมที่ London ในปี พ.ศ. 2520 ดังนั้น สมาชิกของกลุ่ม G7 ได้ถูกกำหนดให้มี 7 ประเทศ และ 1 กลุ่ม (European Union) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ดี ในการประชุมที่เมือง Denver ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2540 รัสเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าประชุม ในเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นทาง ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ใช้ชื่อว่าการ ประชุม G8
การประชุมสุดยอดผู้นํา G7/G8 ได้จัดขึ้นเป็นประจําทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการปัญหา ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สําคัญ ๆ ของประเทศสมาชิกและปัญหาระหว่างประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้ นอกจากการประชุมสุดยอดผู้นําประจําปีแล้ว G7/G8ยังได้จัดการประชุมย่อยของรัฐมนตรีกลุ่มต่างๆ ของประเทศสมาชิก (network of supporting ministerial forums) อันได้แก่
– กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (trade ministers)
– กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (foreign ministers)
– กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (finance ministers)
– กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อม (ministers of the environment)
– กลุ่มรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (employment ministers)
เป็นประจํา ปีละ 1-4 ครั้ง แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่ม
การที่ G7/G8 จัดการประชุมสุดยอดผู้นํานั้นมีเป้าหมาย เพื่อที่จะ
1. จัดเตรียมการจัดการเศรษฐกิจโลกร่วมกัน
2. ไกล่เกลี่ยความกดดันที่เกิดจากการพึ่งพากันระหว่างประเทศต่างๆ ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ปัจจัยภายนอกได้เข้ามามีอิทธิพลต่อนโยบายเศรษฐกิจของแต่ละประเทศมากขึ้น
3. สร้างความเป็นผู้นําทางการเมือง โดยที่ได้รับความร่วมมือจากผู้นําของแต่ละประเทศแทนที่จะเป็นเพียงแค่จากระดับรัฐมนตรีหรือคณะทํางาน
แนวการทํางานที่ผ่านมาของ G7/G8 สามารถจําแนกเป็นประเภทกว้างๆได้ดังนี้
1. การจัดการเศรษฐกิจระดับมหภาค การค้าระหว่างประเทศและความสัมพันธ์ของประเทศ สมาชิกที่มีต่อกลุ่มประเทศที่กําลังพัฒนา โดยทางกลุ่มได้พิจารณาปัญหาระหว่างตะวันออกและ ตะวันตกในเรื่องของ ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ พลังงานและผู้ก่อการร้ายด้วย
2. ปัญหาทางเศรษฐกิจจุลภาค เช่น การจ้างงาน,เทคโนโลยีสารสนเทศ, สิ่งแวดล้อม, อาชญากรรมและสิ่งเสพติดและความมั่นคงทางการเมือง ตั้งแต่สิทธิมนุษยชนไปจนกระทั่งความ ปลอดภัยจากอาวุธสงครามในระดับภูมิภาค เป็นต้น
3. เรื่องเร่งด่วนต่าง ๆ เช่น การให้ความช่วยเหลือรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2536 และ Ukraine ใน เดือนตุลาคม พ.ศ. 2537 ฯลฯ รวมทั้งปัญหาเฉพาะกิจเป็นเรื่องเรื่องไป โดยมีการจัดตั้งคณะปฏิบัติ การ (Task Forces or Working Groups) เพื่อมุ่งความสนใจเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น คณะปฏิบัติ งานในเรื่อง การฟอกเงินผ่านกระบวนการค้ายาเสพติดคณะทํางานด้าน Nuclear Safety และคณะ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติ (Transnational Organized Crime) G7ใน ปัจจุบัน
ในปัจจุบัน G7/G8 ถือว่าเป็นกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สําคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง เพราะมีสมาชิกเป็น ประเทศมหาอํานาจทางเศรษฐกิจ ในทวีปต่าง ๆ ทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น นโยบายและโครงการที่เกิด ขึ้นจากการประชุมได้เน้นไปในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อทุกประเทศ ทั้งที่เป็นสมาชิกและไม่ได้เป็นสมาชิก นอกจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการเงินแล้ว G7/G8 ยังได้ให้ความสํ าคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในด้านอื่น ๆ ด้วย เช่น การเมือง สิ่งแวดล้อม สาธารณสุข การศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ยาเสพติด ความไม่สงบระหว่างประเทศหรือภายใน ประเทศใดประเทศหนึ่ง และปัญหาผู้ก่อการร้าย ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อระบบ เศรษฐกิจได้เช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอันใดให้สําเร็จได้นั้นจะต้องขจัด ปัญหาในด้านอื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อปัญหาเศรษฐกิจด้วยสําหรับในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะ โครงการทางด้านเศรษฐกิจและการเงินเท่านั้นโครงการด้านเศรษฐกิจและการเงินที่กําลังดําเนินงานการประชุมสุดยอดผู้นําที่ผ่านมาและการประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของ ประเทศสมาชิก ซึ่งจัดขึ้นประมาณปีละ 3-4 ครั้ง เพื่อติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่าง ๆ มี สาระสําคัญของแนวนโยบายโดยย่อใน 4 ประเด็นดังนี้
1. การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและมั่น
คงของประเทศสมาชิกอยู่เสมอโดยการกําหนดนโยบายเศรษฐกิจมหภาคและ Structural
Policiesเช่น การให้ความสําคัญและลงทุนในธุรกิจที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ ๆ เน้นความร่วมมือ
ด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G8
2. การพัฒนาเศรษฐกิจโลก (Development in the Global Economy)เพิ่มสมดุลและสเถียร
ภาพของการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก โดยการพัฒนาระบบเศรษฐกิจที่สําคัญของโลกให้มีความ
ทัดเทียมกัน และให้ความสําคัญกับเศรษฐกิจของตลาดเงินใหม่และของรัสเซียด้วย
3. การปรับปรุงฟื้นฟูสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IFIs International FinancialInstitutions)
และส่งเสริมการปรับโครงสร้างระบบการเงินโลก (InternationalFinancial Architecture)
– เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศซึ่งจะลดผลกระทบที่อาจเกิดจาก
ความล้มเหลวของระบบการเงินภายในประเทศใดประเทศหนึ่งที่จะส่งผลถึงระบบการเงินโลกใน
อนาคต โดยเน้นไปที่การปฏิรูป IMF,World Bank, และภาครัฐ ของประเทศต่าง ๆ
4. การยกระดับประเทศยากจนที่มีหนี้สินสูง (Enhanced Highly Indebted Poor
Countries(HIPC) Initiative)- สนับสนุนให้ประเทศเจ้าหนี้ยกเลิกหนี้สินให้แก่ประเทศกลุ่มนี้-
พัฒนาโครงการ Poverty Reduction Strategy Papers (PRSPs)
โดยสรุปก็คือกลุ่ม จี 7 (Group of Seven) คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก เป็น การรวมกลุ่มของประเทศอุตสาหกรรมซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นกลุ่มประเทศร่ำรวยกันอยู่แล้ว ได้แก่ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และแคนาดา โดยมีจุดประสงค์ก็ เพื่อสร้างความเจริญก้าวหน้าระหว่างประเทศสมาชิกและส่งเสริมการค้าเสรี ปัจจุบันมีรัสเซียเข้าร่วม จึงกลายเป็นกลุ่ม G8 ไปแล้ว แต่รัสเซียยังถูกจำกัดจึงไม่ได้เข้าประชุมด้วยทุกครั้ง ดังนั้นบางครั้งจึง เรียกว่า จี7 + รัสเซีย
กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำดังกล่าว จัดให้มีการประชุมด้านเศรษฐกิจและการเมืองระดับผู้ นำรัฐบาลเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ยังไม่รวมการประชุมย่อยๆ อีกมากมายด้วย โดยมีการผลัดกันเป็นเจ้าภาพในหมู่สมาชิกเรียงลำดับตามตัวอักษร (ตามภาษาอังกฤษ)ทั้งนี้ การประชุมประจำปีมักจะเน้นไปที่การจับตาดูความเคลื่อนไหว กระแสการต่อต้านโลกานุวัตร และเน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจร่วมกัน
กลุ่ม จี 7 รวมตัวกันครั้งแรกในปี 1975 เมื่อกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมที่ใช้ระบอบประชาธิปไตย 6 ประเทศได้ประชุมเป็นครั้งแรก ซึ่งได้แก่ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่นและ สหรัฐอเมริกา และเมื่อแคนาดาเข้ามาร่วมในปี 1976 ก็เปลี่ยนเป็นกลุ่ม จี 7 และก็กลายเป็น จี 8 ใน ที่สุดเมื่อรัสเซีย มาร่วมด้วย ในปี 1997 ด้วยการผลักดันของ บิล คลินตัน อดีตประธานาธิบดี สหรัฐฯ จี 7 ได้กลายมาเป็นกลุ่ม จี 8 เมื่อรัสเซียเข้าร่วมประชุมด้วย ส่วนหนึ่งต้องขอบคุณ บอริส
เยลต์ซิน ประธานาธิบดีของรัสเซียในขณะนั้น ซึ่งได้ดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจและแสดงความเป็น กลาง ในการเคารพการขยายของกลุ่มของนาโตไปยังยุโรปตะวันออก
อย่างไรก็ตาม “จี 7″ ยังคงจำกัดสมาชิกโดยไม่ให้รัสเซีย เข้าร่วมด้วย เนื่องจากทางกลุ่มยัง เห็นว่าหมีขาวยังไม่พัฒนามาก เพียงพอที่จะเข้าร่วมการหารือเศรษฐกิจโลกได้อย่างเต็มรูปแบบ เพราะยังมีปัญหาเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศ โดยการประชุมครั้งก่อนๆที่ผ่านมา ได้มี วุฒิสมาชิกสหรัฐฯ โจ ลิเบอร์แมน และจอห์น แมคเคน ถึงกับเรียกร้องให้รัสเซีย ถอนตัวจากจี 8 ออกไปก่อน จนกว่าประธานาธิบดี วลาดิมีร์ ปูติน จะสร้างความมั่นใจได้ว่ารัสเซียมีความ เป็น ประชาธิปไตยและมีเสรีภาพทางการเมืองอย่างแท้จริง
ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา จี 7 มีสถานภาพเป็น สมาคมที่ทรงพลังมหาศาลในระบบ เศรษฐกิจโลก แต่ปัจจุบัน กลุ่มประเทศมหาเศรษฐีนี้กำลังเผชิญกับสิ่งท้าทายที่จี 7 ยังทำไม่ได้ เช่น ความพยายามในแก้ปัญหาราคาน้ำมันดิบโลกที่แพงขึ้น รวมทั้งการบีบให้จีนลดค่าเงินหยวน ขณะที่ นักเศรษฐศาสตร์จำนวนไม่น้อยมองว่า จี 7 ก็มิได้เป็นผู้มีอำนาจจริง ในแวดวงเศรษฐกิจโลกแล้ว เนื่องจากเอเชีย ยุโรปตะวันออก อีกทั้งภูมิภาคต่างๆ กำลังจะเป็นเจ้าแห่งการผลิตของโลกมากขึ้น เรื่อยๆ

credit www.ลงทุนทอง

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ