Crypto Scams อาชญากรรมในวงการคริปโต ตอน 1


Crypto Scams  อาชญากรรมในวงการคริปโต ตอน 1

            ต้องยอมรับว่าการเทรดคริปโตได้รับความสนใจและเป็นที่น่าจับตามองไม่น้อย  เมื่อมีคนหันมาลงทุนกันมากเรื่อยๆ ก็เป็นแรงดึงดูดเหล่าอาชญากรไซเบอร์ ได้มากขึ้นอีกทาง 

จากการอ้างอิงตามรายงานของวงการคริปโต พบว่า เมื่อตอนปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เหล่าแฮกเกอร์ในแวดวงคริปโตฯ ได้ฟอกเงินไปทั้งหมด 432 ล้านดอลลาร์ 

โดยการฟอกเงินจำนวน 56% นั้นมาจากการแฮกบน DeFi ซึ่งถือเป็นจำนวนเงินที่มากเมื่อเทียบกับสองปีที่ผ่านมา และยังไม่รวมอาชญากรรมรูปแบบอื่นในกลุ่มคนเทรดคริปโตฯ ที่เจอกันอยู่เสมอ

            วันนี้แอดเลยจะพามาทำความรู้จักอาชญากรรมไซเบอร์ในแวดวงคริปโตหรือ Crypto scams  ที่เหล่าแฮกเกอร์มักใช้กัน มาดูกันว่ามีวิธีไหนบ้างที่แฮกเกอร์ใช้บ่อย และมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีกมากในปีนี้ อือหืม ระวังๆตัวกันไว้ด้วยน๊าา 

1. DeFi rug pulls

            rug pull คือ กลวิธีการโกงรูปแบบหนึ่งที่พบได้มากบนระบบ DeFi โดยหลอกให้เอาเงินมาลงทุนไว้ในแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัล หรือ DEX (Decentralized Cryptocurrency Exchange) จากนั้นก็เอาเงินโอนออกไปจนหมด 

โดยตรวจสอบหรือติดตามไม่ได้ว่าสุดท้ายเงินที่หายไปนั้นไปอยู่ในกระเป๋าใคร  สาเหตุที่เกิด rug pulls บนแพลตฟอร์ม DEX มากนั้นก็เพราะระบบดังกล่าวเปิดรับผู้ใช้งานทุกคนและไม่มีการตรวจสอบ ทำให้เหล่าแฮกเกอร์ใช้เป็นช่องทางเข้ามาหาเงินได้ง่าย 

วิธีสังเกต :

            ลองสังเกตดูว่าราคาของเหรียญนั้นพุ่งขึ้นเร็วเกินไปภายในเวลาอันสั้นหรือไม่ เพราะแฮกเกอร์อาจใช้วิธีนี้ เพื่อสร้างปรากฏการณ์ FOMO จนคนต้องรีบลงทุนกับเหรียญดังกล่าว

2. NFT Scams

            NFT (Nonfungible Tokens) ถือเป็นอีกหนึ่งกระแสที่ได้รับความสนใจในตอนนี้ โดยทั่วไปแล้ว NFT ไม่จำกัดว่าต้องเป็นงานศิลปะเท่านั้น 

แต่อาจรวมถึงเอกสารเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย รถยนต์ หรืออะไรก็ได้ หากมีคนชอบและยินดีจ่ายเงินซื้อ ก็สามารถทำเงินให้เจ้าของได้  สิ่งนี้เองที่ทำให้ NFT ตกเป็นอีกหนึ่งเป้าหมายของแฮกเกอร์ วิธีการแฮก NFT

เช่น

        - Replica Store ถือเป็นวิธีโกงเงินในโลกออนไลน์รูปแบบหนึ่ง โดยจะสร้างเว็บไซต์ปลอมที่มีหน้าตาเหมือนเว็บไซต์ทางการขึ้นมา แล้วพยายามหลอกล่อผู้ใช้งานให้ล็อกอิน เพื่อเอาข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลบัตรเครดิต เป็นวิธีที่แฮกเกอร์มักใช้แฮกกับเว็บไซต์ขายของออนไลน์ ซึ่งรวมไปถึงช่องทางการขาย NFT ที่มักโดนลอกเลียนแบบเว็บไซต์

        - Giveaways/Airdrops แฮกเกอร์จะหลอกกลุ่มคนที่ชื่นชอบ NFT มากๆ โดยดูว่าตอนนี้เหรียญคริปโต NFT ของใครกำลังเป็นที่นิยม แล้วส่งลิงก์เสนอให้เหรียญคริปโตหรือ NFT ฟรีๆ 

        - Brand Impersonation ถือเป็นอีกช่องทางที่แฮกเกอร์พยายามเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ได้มากที่สุด นั่นก็คือ สร้างกรุ๊ปหรือคอมมูนิตี้เลียนแบบ official brand มักเจอได้ในเทเลแกรมหรือดิสคอร์ด 

วิธีสังเกต :

            ตรวจสอบเว็บไซต์หรือกรุ๊ปทางการของแบรนด์ก่อน โดยค้นหาในกูเกิล ทวิตเตอร์  และดูโลโก้ที่แบรนด์ใช้ว่าเป็นโลโก้ของ official brand หรือไม่

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://thematter

"สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม  ใน Blockdit ของเรา

https://www.blockdit.com/posts/61c527c05e5764fce18e2d41

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ