Theory SEPA กลยุทธ์การเทรดแบบ SEPA ตอน 1

 Theory SEPA กลยุทธ์การเทรดแบบ SEPA ตอน1

        หลายคนอาจเคยได้ยินเกี่ยวเกี่ยวกลยุทธ์การเทรดนี้มาบ้างหากคุณอยู่ในตลาดหุ้นมาก่อน และส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้จัก SEPA ว่ามันคืออะไร เทรดแบบไหน  วิธีการลงทุนของเทรดเดอร์ (หรือนักลงทุน) ส่วนใหญ่ในตลาดหุ้น มักจะเต็มไปด้วยความสลับซับซ้อน บางคนอาจบอกว่าให้ดูที่ค่า PE หรือ ROE ทุกครั้งเวลาจะเข้าซื้อ แต่ประเด็นคือ  ซื้ออะไร ซื้อเมื่อไหร่ และขายเมื่อไหร่ สามอย่างนี้เองที่มีนักลงทุนไม่กี่คนเท่านั้นที่จะยอมบอกให้ แต่ไม่ใช่สำหรับมาร์ค มิเนอร์วินี (Mark Minervini) ผู้บัญญัติแนวทางการลงทุนแบบ SEPA จนมีสาวกติดตามทั่วโลก

        มาร์ค มิเนอร์วินี (Mark Minervini) ชายหนุ่มที่ไม่ได้คาบช้อนเงิน ช้อนทองมาเกิด และเรียนจบเพียงแค่ชั้นมัธยมเท่านั้น  หลังจากลงทุนในหุ้นแบบลองผิดลองถูก มามากกว่า 7 ปี เขาได้ใช้ระบบเทรดแบบ SEPA  เข้าร่วมแข่งขันและชนะกลายเป็นแชมป์ใน U.S Investing Championship ปี 1997 โดยสร้างผลตอบแทนได้ 155% โดยการลงทุนในหุ้นอย่างเดียว ไม่มีพวกอนุพันธ์เลย

        แนวทางการลงทุนแบบ SEPA จะมีความคล้ายคลึงวิธีการแบบ CANSLIM (ของวิลเลียม โอนีล) ตรงที่เป็นการประยุกต์ใช้ปัจจัยพื้นฐานร่วมกับชาร์ทราคาหุ้น เพื่อให้ได้หุ้นชั้นดี ในราคาที่ดี พร้อมหาจุดขายได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเปรียบเสมือนการอุดรอยรั่วของ "จุดอ่อน" ที่การใช้ปัจจัยพื้นฐานหรือปัจจัยทางเทคนิคอย่างเดียวต้องเผชิญ ซึ่งมุ่งเน้นที่จุดเข้าซื้อเป็นสำคัญ

ซื้อตอนย่อ

        อุปสรรคสำคัญของการซื้อตอนที่ราคาหุ้นทำจุดสูงสุดใหม่ คือการย่อตัว  หลายครั้งที่เราเห็นว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาเป็นขาขึ้นอย่างสวยงาม ราคาทำจุดสูงสุดใหม่ครั้งแล้วครั้งเล่า แต่เมื่อเราเข้าซื้อ หุ้นกลับร่วงหนักราวกับรู้ว่าเราเป็นบุคคลต้องคำสาป SEPA จึงเน้นการซื้อหุ้นก่อนที่ราคาจะขึ้นแรง โดยสังเกตจากสองส่วนสำคัญคือ พฤติกรรมราคา และ ปริมาณการซื้อขาย


แนวคิดในการเข้าซื้อหุ้นก็คือ 

        หากราคาหุ้นมีลักษณะกลับตัวจากจุดต่ำ พร้อมกับมีแรงซื้อเพิ่มเข้ามาแบบมีนัยยะสำคัญ ก็เป็นไปได้ว่าราคากำลังจะกลับตัวในไม่ช้า แต่ทั้งนี้ก็ต้องมาพร้อมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานประกอบด้วย เช่น กำไรที่โตขึ้น บริษัทมีสินค้าใหม่ๆ ขยายธุรกิจใหม่ หรือมีต้นทุนการผลิตต่ำลง ฯลฯ

การขายและความเสี่ยง

        หุ้นขาขึ้นทุกตัวมักมีช่วงเวลาที่จบรอบเสมอ สำหรับกลยุทธ์แบบ SEPA จุดขายหรือจุดออก ที่ง่ายที่สุดก็คือ "ขายเมื่อราคาหลุดเส้นค่าเฉลี่ย MA20 " และการควบคุมความเสี่ยง แม้กลยุทธ์นี้จะสร้างผลกำไรมหาศาลให้คุณมิเนอร์วินีได้ในเวลาไม่กี่ปี (เงิน 1 แสนเหรียญจะเติบโตขึ้นเป็น 30 ล้านเหรียญในเวลาเพียง 5 ปีเท่านั้น) แต่ก็ต้องมีการคุมความเสี่ยงอยู่เสมอนั่นก็คือ money management นั่นเอง

ติดตามตอนต่อไปเกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงและบทสรุปวิธีการเทรดต่อได้ในบทความหน้า              

กับกลยุทธ์การเทรดแบบ SEPA ตอน2 


ขอบคุณข้อมูลจาก finnomena

ขอบคุณข้อมูลจาก investing.in.th

"สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตาม  ใน Blockdit ของเรา

https://www.blockdit.com/posts/617f92166ad6ab298dcb1759


ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ