3 ค่าทางสถิติที่คุณต้องสนใจ ถ้าอยากให้พอร์ตพุ่งทะยาน
เบื่อการขาดทุนหนัก ไม่อยากล้างพอร์ตอีกแล้วต้องทำไง ?
คุณเคยมีคำถามนี้เกิดขึ้นในหัวกันมั่งไหมครับ
ผมเชื่อว่าหลายต้องตอบว่า มี อย่างแน่นอน
ในมุมมองผม มันเป็นอะไรที่น่าสงสัยว่า
พวกเทรดเดอร์เก่ง ๆ เขาเทรดจนรอด แล้วสร้างพอร์ตจนรวยได้ไงกัน (วะ) ?
พอคำถามมันผุดขึ้นมาในหัว ผมก็ต้องไปหาคำตอบสิครับ
ว่าพวกเขาทำได้ไง พวกเขามีเคล็ดลับหรือมีวิธีอย่างไร
ที่ทำให้พวกเขาไม่ต้องกลับไปล้างพอร์ต
กลับไปขาดทุนหนักจนปวดใจ
วันนี้…คุณไม่ต้องไปหาเองแล้วครับ !!
เพราะ ผมไปศึกษาค้นคว้า พร้อมกับทดลองทำให้ดูด้วยว่า
เจ้าเทคนิคนี้มันได้ผลหรือเปล่า
จะรอช้าอยู่ทำไม ไปดูกันเลยครับ!!
บทความ 3 ค่าทางสถิติที่คุณต้องสนใจ ถ้าอยากให้พอร์ตพุ่งทะยาน นี้ เป็นบทความที่ผมจะมาเผยสิ่งที่คุณต้องให้ความสนใจ เพื่อที่จะได้รอดจากการขาดทุนหนัก รอดจากการล้างพอร์ตในตลาด Forex และถ้าคุณให้ความสนใจ 3 สิ่งนี้มากพอ คุณจะไม่มีทางกลับไปขาดทุนหนักอีกต่อไป (ไม่ใช่เทรดได้ทีละมาก ๆ แล้วก็เสียครั้งละมากกว่า) พอร์ตของคุณจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่น่าพอใจ พร้อมจะลุยด้วยกันหรือยังครับ ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย !!
ก่อนจะไปพบกับ 3 ค่าทางสถิติที่คุณต้องสนใจ ถ้าอยากให้พอร์ตพุ่งทะยาน หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ Share บทความนี้ ให้กับเพื่อน ๆ ของคุณอ่านด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
เบื่อการขาดทุนหนัก ไม่อยากล้างพอร์ตอีกแล้วต้องทำไง ?
คุณเคยมีคำถามนี้เกิดขึ้นในหัวกันมั่งไหมครับ
ผมเชื่อว่าหลายต้องตอบว่า มี อย่างแน่นอน
ในมุมมองผม มันเป็นอะไรที่น่าสงสัยว่า
พวกเทรดเดอร์เก่ง ๆ เขาเทรดจนรอด แล้วสร้างพอร์ตจนรวยได้ไงกัน (วะ) ?
พอคำถามมันผุดขึ้นมาในหัว ผมก็ต้องไปหาคำตอบสิครับ
ว่าพวกเขาทำได้ไง พวกเขามีเคล็ดลับหรือมีวิธีอย่างไร
ที่ทำให้พวกเขาไม่ต้องกลับไปล้างพอร์ต
กลับไปขาดทุนหนักจนปวดใจ
วันนี้…คุณไม่ต้องไปหาเองแล้วครับ !!
เพราะ ผมไปศึกษาค้นคว้า พร้อมกับทดลองทำให้ดูด้วยว่า
เจ้าเทคนิคนี้มันได้ผลหรือเปล่า
จะรอช้าอยู่ทำไม ไปดูกันเลยครับ!!
บทความ 3 ค่าทางสถิติที่คุณต้องสนใจ ถ้าอยากให้พอร์ตพุ่งทะยาน นี้ เป็นบทความที่ผมจะมาเผยสิ่งที่คุณต้องให้ความสนใจ เพื่อที่จะได้รอดจากการขาดทุนหนัก รอดจากการล้างพอร์ตในตลาด Forex และถ้าคุณให้ความสนใจ 3 สิ่งนี้มากพอ คุณจะไม่มีทางกลับไปขาดทุนหนักอีกต่อไป (ไม่ใช่เทรดได้ทีละมาก ๆ แล้วก็เสียครั้งละมากกว่า) พอร์ตของคุณจะเติบโตอย่างต่อเนื่องจนเป็นที่น่าพอใจ พร้อมจะลุยด้วยกันหรือยังครับ ถ้าพร้อมแล้วมาเริ่มกันเลย !!
ก่อนจะไปพบกับ 3 ค่าทางสถิติที่คุณต้องสนใจ ถ้าอยากให้พอร์ตพุ่งทะยาน หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ Share บทความนี้ ให้กับเพื่อน ๆ ของคุณอ่านด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ค่าทางสถิติที่ 1 : Risk of Ruin ตัวทดสอบความหายนะของพอร์ต
- Risk of Ruin เป็น 1 ในค่าทางสถิติสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องรู้ เพราะ เจ้าค่านี้มันเป็นตัวบอกว่า วิธีที่คุณใช้เทรดอยู่ในตอนนี้มีโอกาสที่จะทำให้คุณล้างพอร์ตมากแค่ไหน !!
- แค่เริ่มหัวข้อก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมครับ คุณคงคิดในใจ มันมีวิธีเช็คล่วงหน้าด้วยหรอว่า ไอ้วิธีที่ใช้อยู่เนี่ย ถ้าใช้ไปเรื่อย ๆ ถึงกับต้องล้างพอร์ตเลย ? คำตอบคือ มีครับ
- ผมจะอธิบายให้เบื้องต้นว่า ถ้าคุณจะเอาตัวรอดในตลาด Forex ค่า Risk of Ruin ของคุณต้องเป็น 0 เท่านั้น !! ถ้ามากกว่านี้แปลว่า คุณกำลังเปิดประตูโอกาสให้กับการล้างพอร์ตอยู่ครับ
- คำถามที่คุณอาจกำลังสงสัย ก็คือ ชักอยากรู้แล้วสิ ว่าเจ้าค่านี้มันดูยังไง ? เดี๋ยวผมจะบอกให้ครับ
- วิธีดูค่าทางสถิติค่านี้ เราต้องคำนวณผ่านสูตร (เป็นสูตรง่าย ๆ กดเครื่องคิดเลขนิดหน่อยก็ได้แล้ว)
- เรามาดูสูตรที่ใช้ตรวจสอบความหายนะของพอร์ตกันดีกว่าครับ
- สูตรข้างบนคือ สูตรที่ใช้วัดความหายนะของพอร์ต ถ้าแทนค่าลงไปในสูตรแล้วกดเครื่องคิดเลขนิดหน่อย ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะคือ โอกาสที่จะเจ๊ง อย่างที่ผมบอกไว้ ถ้าจะเอาตัวรอดในตลาด Forex แห่งนี้ โอกาสที่คุณจะเจ๊งต้องเท่ากับ 0 เท่านั้น ห้ามมากไปกว่านี้เด็ดขาด !!
- ถ้าใครอ่านสูตรแล้ว งง เดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างให้ดูง่าย ๆ ละกันนะครับ
- ตัวอย่าง สมมติ เทรดเดอร์คนหนึ่งเทรดมาทั้งหมด 100 ครั้งแล้ว สถิติในพอร์ตของเขา คือ ชนะ 56 ครั้ง แพ้ 44 ครั้ง เสี่ยงครั้งละ 20 % แปลว่า เสียติดกันได้ 5 ครั้ง คำถามก็คือ โอกาสเจ๊งของเทรดเดอร์คนนี้เท่ากับเท่าไร ?
- คำตอบก็คือ 30% ครับ วิธีที่เทรดเดอร์คนนี้ใช้อยู่มีโอกาสที่เขาจะเจ๊งอยู่ 30% ถามว่าเยอะไหม เยอะมากครับ !!
- คำถามต่อมาก็คือ ถ้าเทรดเดอร์คนนี้อยากเทรดด้วยวิธีเดิมที่ใช้อยู่ ทำอย่างไรที่โอกาสเจ๊งจะเป็น 0 ?
- คำตอบนั้นง่ายมากครับ ลดความเสี่ยงต่อครั้งลง อย่างในตัวอย่างนี้ เสี่ยงครั้งละ 20% ถ้าลดลงมาเหลือ 5% แปลว่า เสียติดกันได้ทั้งหมด 20 ครั้ง (Unit เปลี่ยนไปแล้วครับ)
- เห็นไหมครับ โอกาสเจ๊งของเทรดเดอร์คนนี้ก็ลดลงจนเหลือ 0 แล้ว ตอนนี้ก็เทรดด้วยวิธีนี้ได้สบาย
- แต่ประเด็นที่ผมอยากจะสื่อก็คือ สมการทางสถิตินี้ จะมองแค่โอกาสเจ๊งของพอร์ตจากวิธีที่เราใช้เท่านั้น โดย Risk : Reward กำหนดไว้ที่ 1 : 1 สำหรับ Price Action Trader อย่างเรา ๆ จะไม่เน้นเทรดที่ Risk : Reward = 1 : 1 ดังนั้น สูตรนี้อาจจะไม่ครอบคลุมเท่าไร (ใช้ได้คร่าว ๆ เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องยึดติดครับ) สูตรนี้จะเหมาะสำหรับคนเล่นสั้นเล่น Day Trade เหมาะกับกลยุทธ์ที่ความแม่นมากกว่า 60%
- ในมุมมองผม Price Action Trader อย่างเรา ๆ จะเน้นที่ ค่าทางสถิติที่ 2 ครับ ป่ะ ไปดูกันต่อเลยครับ
- ใครที่อยากรู้วิธีปิดประตูเจ๊งเพิ่มเติม ผมแนะนำบทความ 3 เคล็ดลับปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ตของคุณ ครับ
- Risk of Ruin เป็น 1 ในค่าทางสถิติสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องรู้ เพราะ เจ้าค่านี้มันเป็นตัวบอกว่า วิธีที่คุณใช้เทรดอยู่ในตอนนี้มีโอกาสที่จะทำให้คุณล้างพอร์ตมากแค่ไหน !!
- แค่เริ่มหัวข้อก็น่าสนใจแล้วใช่ไหมครับ คุณคงคิดในใจ มันมีวิธีเช็คล่วงหน้าด้วยหรอว่า ไอ้วิธีที่ใช้อยู่เนี่ย ถ้าใช้ไปเรื่อย ๆ ถึงกับต้องล้างพอร์ตเลย ? คำตอบคือ มีครับ
- ผมจะอธิบายให้เบื้องต้นว่า ถ้าคุณจะเอาตัวรอดในตลาด Forex ค่า Risk of Ruin ของคุณต้องเป็น 0 เท่านั้น !! ถ้ามากกว่านี้แปลว่า คุณกำลังเปิดประตูโอกาสให้กับการล้างพอร์ตอยู่ครับ
- คำถามที่คุณอาจกำลังสงสัย ก็คือ ชักอยากรู้แล้วสิ ว่าเจ้าค่านี้มันดูยังไง ? เดี๋ยวผมจะบอกให้ครับ
- วิธีดูค่าทางสถิติค่านี้ เราต้องคำนวณผ่านสูตร (เป็นสูตรง่าย ๆ กดเครื่องคิดเลขนิดหน่อยก็ได้แล้ว)
- เรามาดูสูตรที่ใช้ตรวจสอบความหายนะของพอร์ตกันดีกว่าครับ
- สูตรข้างบนคือ สูตรที่ใช้วัดความหายนะของพอร์ต ถ้าแทนค่าลงไปในสูตรแล้วกดเครื่องคิดเลขนิดหน่อย ผลลัพธ์ที่ได้ก็จะคือ โอกาสที่จะเจ๊ง อย่างที่ผมบอกไว้ ถ้าจะเอาตัวรอดในตลาด Forex แห่งนี้ โอกาสที่คุณจะเจ๊งต้องเท่ากับ 0 เท่านั้น ห้ามมากไปกว่านี้เด็ดขาด !!
- ถ้าใครอ่านสูตรแล้ว งง เดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างให้ดูง่าย ๆ ละกันนะครับ
- ตัวอย่าง สมมติ เทรดเดอร์คนหนึ่งเทรดมาทั้งหมด 100 ครั้งแล้ว สถิติในพอร์ตของเขา คือ ชนะ 56 ครั้ง แพ้ 44 ครั้ง เสี่ยงครั้งละ 20 % แปลว่า เสียติดกันได้ 5 ครั้ง คำถามก็คือ โอกาสเจ๊งของเทรดเดอร์คนนี้เท่ากับเท่าไร ?
- คำตอบก็คือ 30% ครับ วิธีที่เทรดเดอร์คนนี้ใช้อยู่มีโอกาสที่เขาจะเจ๊งอยู่ 30% ถามว่าเยอะไหม เยอะมากครับ !!
- คำถามต่อมาก็คือ ถ้าเทรดเดอร์คนนี้อยากเทรดด้วยวิธีเดิมที่ใช้อยู่ ทำอย่างไรที่โอกาสเจ๊งจะเป็น 0 ?
- คำตอบนั้นง่ายมากครับ ลดความเสี่ยงต่อครั้งลง อย่างในตัวอย่างนี้ เสี่ยงครั้งละ 20% ถ้าลดลงมาเหลือ 5% แปลว่า เสียติดกันได้ทั้งหมด 20 ครั้ง (Unit เปลี่ยนไปแล้วครับ)
- เห็นไหมครับ โอกาสเจ๊งของเทรดเดอร์คนนี้ก็ลดลงจนเหลือ 0 แล้ว ตอนนี้ก็เทรดด้วยวิธีนี้ได้สบาย
- แต่ประเด็นที่ผมอยากจะสื่อก็คือ สมการทางสถิตินี้ จะมองแค่โอกาสเจ๊งของพอร์ตจากวิธีที่เราใช้เท่านั้น โดย Risk : Reward กำหนดไว้ที่ 1 : 1 สำหรับ Price Action Trader อย่างเรา ๆ จะไม่เน้นเทรดที่ Risk : Reward = 1 : 1 ดังนั้น สูตรนี้อาจจะไม่ครอบคลุมเท่าไร (ใช้ได้คร่าว ๆ เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องยึดติดครับ) สูตรนี้จะเหมาะสำหรับคนเล่นสั้นเล่น Day Trade เหมาะกับกลยุทธ์ที่ความแม่นมากกว่า 60%
- ในมุมมองผม Price Action Trader อย่างเรา ๆ จะเน้นที่ ค่าทางสถิติที่ 2 ครับ ป่ะ ไปดูกันต่อเลยครับ
- ใครที่อยากรู้วิธีปิดประตูเจ๊งเพิ่มเติม ผมแนะนำบทความ 3 เคล็ดลับปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ตของคุณ ครับ
ค่าทางสถิติที่ 2 : Expectancy ตัววัดประสิทธิภาพของกลยุทธ์
- ค่าทางสถิตินี้ จะให้ภาพที่กว้างกว่า Risk of Ruin เพราะ มองเรื่อง Risk : Reward ร่วมด้วย
- เรามาดูกันครับว่า Expectancy มีสูตรยังไง เป็นสูตรง่าย ๆ (ง่ายกว่า Risk of Ruin ซะอีก) ไม่ซับซ้อนอะไรเลย
- Expectancy = [% Win x (Risk : Reward Ratio) – (% Loss)]
- ประเด็นของสูตรนี้ คือ ค่าที่คำนวณออกมาต้องมากกว่า 0 ถ้ามากกว่า 0 แปลว่า วิธีที่เราใช้เทรดอยู่สามารถทำกำไรได้ในระยะยาว พูดง่าย ๆ ก็คือ ใช้ไปแล้วไม่เจ๊ง สามารถทำให้พอร์ตเติบโตได้ นั่นเองครับ
- ผมจะยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้ดูเพื่อความเข้าใจนะครับ
- ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์คนเดิม เทรดมาแล้ว 100 ครั้ง ชนะ 50 ครั้ง แพ้ 50 ครั้ง โดย แต่ละครั้งเค้าตั้ง Risk : Reward ที่ 1 : 2 ทุกครั้ง คำถามก็คือ วิธีที่เค้าใช้เทรดนี้สามารถทำให้พอร์ตโตในระยะยาวได้หรือเปล่า ?
- วิธีดูนั้นง่ายมากครับ เอาไปแทนในสูตรได้เลย Expectancy = [ 50% x (2) – (50%)] = 50 %
- ดูจากค่าที่ได้ คือ 50% เป็นบวก ก็บอกได้แล้วครับว่า วิธีที่เขาใช้นั้นถ้าใช้ต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้พอร์ตเติบโตได้ในระยะยาว
- ส่วน % ที่มากกว่า ก็หมายความว่า มีโอกาสที่จะทำให้พอร์ตเติบโตได้มากกว่า นั่นเองครับ
- สำหรับ Price Action Trader อย่างเรา ๆ จะเน้นดูที่ค่า Expectancy มากกว่า Risk of Ruin นั่นก็เพราะ Risk : Reward ของเรามากกว่า 1 : 2 นั่นเองครับ
- ส่วนเรื่องตัวเลขนั้นอาจไม่ต้องยึดติดมาก ให้เน้นดูที่ค่ามากกว่า 0 ครับ สาเหตุที่ผมบอกเช่นนี้ ก็เพราะ ค่าเหล่านี้ เปลี่ยนแปลงตลอดในช่วงที่เราเทรด บางช่วง % Win จะลด บางช่วง % Win จะเพิ่ม แต่ถ้าโดยรวมแล้ว Expectancy ยังเป็น + อยู่ ก็หายห่วงครับ (ถ้าติดลบ ก็ต้องกลับไปแก้ไขวิธีที่ใช้กันใหม่ครับ)
- ค่าทางสถิตินี้ จะให้ภาพที่กว้างกว่า Risk of Ruin เพราะ มองเรื่อง Risk : Reward ร่วมด้วย
- เรามาดูกันครับว่า Expectancy มีสูตรยังไง เป็นสูตรง่าย ๆ (ง่ายกว่า Risk of Ruin ซะอีก) ไม่ซับซ้อนอะไรเลย
- Expectancy = [% Win x (Risk : Reward Ratio) – (% Loss)]
- ประเด็นของสูตรนี้ คือ ค่าที่คำนวณออกมาต้องมากกว่า 0 ถ้ามากกว่า 0 แปลว่า วิธีที่เราใช้เทรดอยู่สามารถทำกำไรได้ในระยะยาว พูดง่าย ๆ ก็คือ ใช้ไปแล้วไม่เจ๊ง สามารถทำให้พอร์ตเติบโตได้ นั่นเองครับ
- ผมจะยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้ดูเพื่อความเข้าใจนะครับ
- ตัวอย่างเช่น เทรดเดอร์คนเดิม เทรดมาแล้ว 100 ครั้ง ชนะ 50 ครั้ง แพ้ 50 ครั้ง โดย แต่ละครั้งเค้าตั้ง Risk : Reward ที่ 1 : 2 ทุกครั้ง คำถามก็คือ วิธีที่เค้าใช้เทรดนี้สามารถทำให้พอร์ตโตในระยะยาวได้หรือเปล่า ?
- วิธีดูนั้นง่ายมากครับ เอาไปแทนในสูตรได้เลย Expectancy = [ 50% x (2) – (50%)] = 50 %
- ดูจากค่าที่ได้ คือ 50% เป็นบวก ก็บอกได้แล้วครับว่า วิธีที่เขาใช้นั้นถ้าใช้ต่อไปเรื่อย ๆ จะทำให้พอร์ตเติบโตได้ในระยะยาว
- ส่วน % ที่มากกว่า ก็หมายความว่า มีโอกาสที่จะทำให้พอร์ตเติบโตได้มากกว่า นั่นเองครับ
- สำหรับ Price Action Trader อย่างเรา ๆ จะเน้นดูที่ค่า Expectancy มากกว่า Risk of Ruin นั่นก็เพราะ Risk : Reward ของเรามากกว่า 1 : 2 นั่นเองครับ
- ส่วนเรื่องตัวเลขนั้นอาจไม่ต้องยึดติดมาก ให้เน้นดูที่ค่ามากกว่า 0 ครับ สาเหตุที่ผมบอกเช่นนี้ ก็เพราะ ค่าเหล่านี้ เปลี่ยนแปลงตลอดในช่วงที่เราเทรด บางช่วง % Win จะลด บางช่วง % Win จะเพิ่ม แต่ถ้าโดยรวมแล้ว Expectancy ยังเป็น + อยู่ ก็หายห่วงครับ (ถ้าติดลบ ก็ต้องกลับไปแก้ไขวิธีที่ใช้กันใหม่ครับ)
ค่าทางสถิติที่ 3 : % Win ที่มาจาก การเทรดจำนวนมาก ๆ
- เรื่อง % Win นี่เป็นเรื่องที่เทรดเดอร์หลายคนเข้าใจผิดอย่างมากครับ
- สมมติถ้าผมบอกว่า วิธีที่ผมใช้เทรดนั้นมีโอกาสชนะ 60% เทรดเดอร์หลายคนจะเข้าใจว่า วิธีที่ผมใช้เทรดครั้งนั้น มีโอกาสถูก 60% และ มีโอกาสผิด 40% ขึ้นอยู่กับโชคว่า ครั้งนั้นจะถูกหรือผิด
- ผมขอบอกเลยว่า ความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ !! การวัดผลการเทรดเราไม่ได้นับที่การเทรดแต่ละครั้ง ครับ แต่เราวัดที่การเทรดจำนวนมาก ๆ เช่น เทรดจำนวน 20 ครั้ง 50 ครั้ง หรือ 100 ครั้ง ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Series trades หรือ Big Sample
- อย่างในบทความนี้ทั้ง ค่า Risk of Ruin และ Expectancy จะเห็นว่า ผมจะยกตัวอย่างจากการเทรด 100 ครั้ง เสมอ และบอกว่า เทรดเดอร์คนนั้นเทรดชนะมากี่ครั้งและเทรดแพ้มากี่ครั้ง ไม่ได้บอกว่า แต่ละครั้งเขามีโอกาสถูกเท่าไร แต่อย่างใดครับ
- ความเข้าใจเรื่องการวัด % Win แบบนี้ จะทำให้เราไม่ต้องไปยึดติดกับผลลัพธ์การเทรดแค่ไม่กี่ครั้ง (2-3 ครั้ง) เพราะ มันวัดอะไรไม่ได้เลย จำนวนครั้งการเทรดของคุณต้องมากกว่านี้ครับ จึงจะวัดได้
- ในเมื่อคุณต้องวัดการเทรดเป็นจำนวนครั้งมาก ๆ นั่นแปลว่า คุณต้องมีการบริหารจัดการพอร์ตให้สามารถวัดผลได้ และ ไม่เจ๊งไปก่อนที่จะวัดผลของมัน พูดง่าย ๆ ก็คือ พอร์ตคุณต้องแพ้ติดกัน 2-3 ครั้งแล้วยังไม่เจ๊ง
- วิธีเดียวที่คุณจะวัดความสามารถของกลยุทธ์และโอกาสเจ๊งในพอร์ตได้ คุณต้องรู้จักการบริหารเงินทุนหรือที่เราเรียกติดปากกันว่า Money Management (MM) ครับ
- สำหรับ Price Action Trader อย่างเรา ๆ ที่ไม่ได้เทรดบ่อย ๆ ผมแนะนำให้วัดผล 6 เดือนครั้งครับ คุณจะเห็นภาพการเทรดของคุณได้อย่างชัดเจน และ ไม่รู้สึกกดดันอีกด้วย เพราะ คุณมีเวลาในการเทรด มีเวลาปรับปรุง การวัดผล 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ลืมไปได้เลยครับ เรามาเทรดเพื่อทำให้พอร์ตเติบโต ไม่ได้มาทำงานประจำ การวัดผลบ่อย ๆ จะทำให้คุณเครียดและการเทรดจะแย่ลงมาก ๆ ครับ (ที่ผมรู้เพราะ ผมเคยทำมาก่อน)
- สรุปก็คือ % Win วัดโดยดูจากจำนวนครั้งที่ชนะ จากการเทรดหลาย ๆ ครั้ง ต้องเป็น 10-20 ครั้งขึ้นไป และสำหรับ Price Action Trader ไม่จำเป็นต้องวัดผลบ่อย ให้วัดอย่างน้อย 6 เดือนครั้ง ผลลัพธ์จะออกมาดีกว่าการวัดสั้น ๆ ครับ
- เรื่อง % Win นี่เป็นเรื่องที่เทรดเดอร์หลายคนเข้าใจผิดอย่างมากครับ
- สมมติถ้าผมบอกว่า วิธีที่ผมใช้เทรดนั้นมีโอกาสชนะ 60% เทรดเดอร์หลายคนจะเข้าใจว่า วิธีที่ผมใช้เทรดครั้งนั้น มีโอกาสถูก 60% และ มีโอกาสผิด 40% ขึ้นอยู่กับโชคว่า ครั้งนั้นจะถูกหรือผิด
- ผมขอบอกเลยว่า ความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิดครับ !! การวัดผลการเทรดเราไม่ได้นับที่การเทรดแต่ละครั้ง ครับ แต่เราวัดที่การเทรดจำนวนมาก ๆ เช่น เทรดจำนวน 20 ครั้ง 50 ครั้ง หรือ 100 ครั้ง ภาษาอังกฤษจะเรียกว่า Series trades หรือ Big Sample
- อย่างในบทความนี้ทั้ง ค่า Risk of Ruin และ Expectancy จะเห็นว่า ผมจะยกตัวอย่างจากการเทรด 100 ครั้ง เสมอ และบอกว่า เทรดเดอร์คนนั้นเทรดชนะมากี่ครั้งและเทรดแพ้มากี่ครั้ง ไม่ได้บอกว่า แต่ละครั้งเขามีโอกาสถูกเท่าไร แต่อย่างใดครับ
- ความเข้าใจเรื่องการวัด % Win แบบนี้ จะทำให้เราไม่ต้องไปยึดติดกับผลลัพธ์การเทรดแค่ไม่กี่ครั้ง (2-3 ครั้ง) เพราะ มันวัดอะไรไม่ได้เลย จำนวนครั้งการเทรดของคุณต้องมากกว่านี้ครับ จึงจะวัดได้
- ในเมื่อคุณต้องวัดการเทรดเป็นจำนวนครั้งมาก ๆ นั่นแปลว่า คุณต้องมีการบริหารจัดการพอร์ตให้สามารถวัดผลได้ และ ไม่เจ๊งไปก่อนที่จะวัดผลของมัน พูดง่าย ๆ ก็คือ พอร์ตคุณต้องแพ้ติดกัน 2-3 ครั้งแล้วยังไม่เจ๊ง
- วิธีเดียวที่คุณจะวัดความสามารถของกลยุทธ์และโอกาสเจ๊งในพอร์ตได้ คุณต้องรู้จักการบริหารเงินทุนหรือที่เราเรียกติดปากกันว่า Money Management (MM) ครับ
- สำหรับ Price Action Trader อย่างเรา ๆ ที่ไม่ได้เทรดบ่อย ๆ ผมแนะนำให้วัดผล 6 เดือนครั้งครับ คุณจะเห็นภาพการเทรดของคุณได้อย่างชัดเจน และ ไม่รู้สึกกดดันอีกด้วย เพราะ คุณมีเวลาในการเทรด มีเวลาปรับปรุง การวัดผล 1 สัปดาห์ หรือ 1 เดือน ลืมไปได้เลยครับ เรามาเทรดเพื่อทำให้พอร์ตเติบโต ไม่ได้มาทำงานประจำ การวัดผลบ่อย ๆ จะทำให้คุณเครียดและการเทรดจะแย่ลงมาก ๆ ครับ (ที่ผมรู้เพราะ ผมเคยทำมาก่อน)
- สรุปก็คือ % Win วัดโดยดูจากจำนวนครั้งที่ชนะ จากการเทรดหลาย ๆ ครั้ง ต้องเป็น 10-20 ครั้งขึ้นไป และสำหรับ Price Action Trader ไม่จำเป็นต้องวัดผลบ่อย ให้วัดอย่างน้อย 6 เดือนครั้ง ผลลัพธ์จะออกมาดีกว่าการวัดสั้น ๆ ครับ
หัวข้อพิเศษ : ตัวอย่างพอร์ตที่ผมใช้เทรดจริงโดยวัดตามค่าสถิติที่กล่าวในบทความ
- รูปข้างบนเป็น ผลงานการเทรดจริง (เงินจริง) 1 ในพอร์ตของผมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่ 1 มีนาคม – 31 สิงหาคม 2559)
- พอร์ตนี้ของผม เริ่มต้นด้วยเงินทุน 750 $ ในรอบ 6 เดือน ทำกำไรได้ทั้งหมด 616.51 $ คิดเป็นประมาณ 80% +
- เทรดทั้งหมด 25 ครั้ง (เฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
- % Win อยู่ที่ 44 % และ Risk : Reward อยู่ที่ 1 : 2
- ผมจะไม่ใช้สูตร Risk of Ruin นะครับ เพราะ วิธีที่ผมใช้นั้น มี Risk : Reward ที่ 1 : 2
- Expectancy = [44% x (2) – (56%)] = 32%
- วิธีที่ผมใช้เทรด ซึ่งก็คือ Price Action ให้ค่า Expectancy เป็น + (ให้ค่าที่ 32%) จะเห็นว่าวิธีนี้สามารถทำให้พอร์ตเติบโตได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน
- สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ทุกท่านดู ก็คือ % Win ของผมไม่เยอะ อยู่ที่ประมาณ 50% แต่จะเห็นว่า ผมสามารถทำให้พอร์ตเติบโตได้มากกว่า 80% ในช่วงเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น พร้อมกับปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ตไปแล้ว
- สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ผมให้ความสำคัญกับ Risk : Reward มากกว่า % Win และจะเห็นว่าผมเคยเทรดแพ้ติดกันถึง 5 ครั้ง (แต่ยังไม่ล้างพอร์ตและพอร์ตกลับมาเติบโตด้วย) สาเหตุก็เพราะการใช้ Risk : Reward นี่แหละครับ
- เห็นได้ชัดว่าผมไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าหน้าจอก็สามารถทำกำไรให้พอร์ตเติบโตได้ดีเลยครับ ไม่จำเป็นต้องวัดผลบ่อย ๆ ความเครียดน้อยกว่าด้วย เพราะ เทรดเพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้งเท่านั้นเอง เวลาที่เหลือเอาไปทำอย่างอื่นได้เยอะเลยครับ
สรุป ทั้ง 3 ค่าทางสถิติเป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องรู้ ถ้าอยากเอาตัวรอดในตลาด Forex แห่งนี้ จนสามารถทำกำไรได้ตามที่ต้องการ อย่างแรกที่คุณต้องทำก็คือ ปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ต แล้วเทรดเพื่อสร้างกำไรให้พอร์ตเติบโต ทั้งหมดนี้สามารถออกแบบได้ ถ้าหากคุณเข้าใจวิธีการครับ ในบทความนี้ผมนำตัวอย่าง 1 ในพอร์ตที่ผมใช้เทรดจริงมาให้ดูเพื่อเน้นย้ำว่า ความเข้าใจในเรื่องของสถิติเกี่ยวกับพอร์ตก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเทรดเดอร์ที่ยังเข้าใจผิดอยู่ เพราะ ความเข้าใจที่ถูกต้องจะนำคุณไปยังเป้าหมายที่คุณต้องการได้อย่างแน่นอนครับ มาลุยไปด้วยกันครับ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านที่ติดตาม ZniperTrade.com โชคดีมีกำไรนะครับ
ขอบคุณบทความดีๆจาก
- รูปข้างบนเป็น ผลงานการเทรดจริง (เงินจริง) 1 ในพอร์ตของผมในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่ 1 มีนาคม – 31 สิงหาคม 2559)
- พอร์ตนี้ของผม เริ่มต้นด้วยเงินทุน 750 $ ในรอบ 6 เดือน ทำกำไรได้ทั้งหมด 616.51 $ คิดเป็นประมาณ 80% +
- เทรดทั้งหมด 25 ครั้ง (เฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
- % Win อยู่ที่ 44 % และ Risk : Reward อยู่ที่ 1 : 2
- ผมจะไม่ใช้สูตร Risk of Ruin นะครับ เพราะ วิธีที่ผมใช้นั้น มี Risk : Reward ที่ 1 : 2
- Expectancy = [44% x (2) – (56%)] = 32%
- วิธีที่ผมใช้เทรด ซึ่งก็คือ Price Action ให้ค่า Expectancy เป็น + (ให้ค่าที่ 32%) จะเห็นว่าวิธีนี้สามารถทำให้พอร์ตเติบโตได้ในระยะยาวอย่างแน่นอน
- สิ่งหนึ่งที่ผมอยากให้ทุกท่านดู ก็คือ % Win ของผมไม่เยอะ อยู่ที่ประมาณ 50% แต่จะเห็นว่า ผมสามารถทำให้พอร์ตเติบโตได้มากกว่า 80% ในช่วงเวลาเพียง 6 เดือนเท่านั้น พร้อมกับปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ตไปแล้ว
- สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ผมให้ความสำคัญกับ Risk : Reward มากกว่า % Win และจะเห็นว่าผมเคยเทรดแพ้ติดกันถึง 5 ครั้ง (แต่ยังไม่ล้างพอร์ตและพอร์ตกลับมาเติบโตด้วย) สาเหตุก็เพราะการใช้ Risk : Reward นี่แหละครับ
- เห็นได้ชัดว่าผมไม่จำเป็นต้องนั่งเฝ้าหน้าจอก็สามารถทำกำไรให้พอร์ตเติบโตได้ดีเลยครับ ไม่จำเป็นต้องวัดผลบ่อย ๆ ความเครียดน้อยกว่าด้วย เพราะ เทรดเพียงอาทิตย์ละ 1 ครั้งเท่านั้นเอง เวลาที่เหลือเอาไปทำอย่างอื่นได้เยอะเลยครับ
สรุป ทั้ง 3 ค่าทางสถิติเป็นสิ่งสำคัญที่เทรดเดอร์ต้องรู้ ถ้าอยากเอาตัวรอดในตลาด Forex แห่งนี้ จนสามารถทำกำไรได้ตามที่ต้องการ อย่างแรกที่คุณต้องทำก็คือ ปิดประตูเจ๊งให้กับพอร์ต แล้วเทรดเพื่อสร้างกำไรให้พอร์ตเติบโต ทั้งหมดนี้สามารถออกแบบได้ ถ้าหากคุณเข้าใจวิธีการครับ ในบทความนี้ผมนำตัวอย่าง 1 ในพอร์ตที่ผมใช้เทรดจริงมาให้ดูเพื่อเน้นย้ำว่า ความเข้าใจในเรื่องของสถิติเกี่ยวกับพอร์ตก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับเทรดเดอร์ที่ยังเข้าใจผิดอยู่ เพราะ ความเข้าใจที่ถูกต้องจะนำคุณไปยังเป้าหมายที่คุณต้องการได้อย่างแน่นอนครับ มาลุยไปด้วยกันครับ สุดท้ายนี้ขอให้ทุกท่านที่ติดตาม ZniperTrade.com โชคดีมีกำไรนะครับ
ขอบคุณบทความดีๆจาก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น