ตลาดหมี และ ตลาดกระทิง คือ อะไร

ตลาดหมี และ ตลาดกระทิง คือ อะไร





ตลาดหมี และ ตลาดกระทิง คือ อะไร

นักการเงินได้บัญญัติศัพท์ขึ้นมา เพื่อแสดงถึงสภาวะของตลาดหุ้น ซึ่งมีทิศทางขึ้นหรือลง อย่างชัดเจน โดยได้นำสัตว์ 2 ชนิดมาเป็น สัญลักษณ์ได้แก่ กระทิง และ หมี
ตลาดกระทิง (bull market)  คือ สภาพตลาดหุ้นที่ราคาหุ้นพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นช่วงเวลาที่นักลงทุนโปรดปรานมากที่สุด ทิศทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและนอกประเทศเป็นไปในทางที่ดี ราคาหุ้นและดัชนีหลักทรัพย์โดยรวมล้วนสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สาเหตุที่เรียกว่า ตลาดกระทิง เนื่องจาก กระทิงจะโจมตีคู่จ่อสู้ด้วยการขวิดเขา จากด้านล่างขึ้นบน เหมือนกราฟดัชนีในช่วงนี้ที่พุ่งขึ้นด้านบน
ตลาดหมี (bear market) เป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายของนักลงทุน ดัชนีหลักทรัพย์และราคาหุ้นลดลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นไปในทางทิศทางลบ
สาเหตุที่เรียกว่าช่วงเวลาซึ่งตลาดหุ้นดิ่งลงต่ำอย่างต่อเนื่องว่าตลาดหมี เพราะ เวลาที่หมีโจมตีคู่ต่อสู้ จะใช้กรงเล็บตะปบ จากด้านบนลงล่าง เหมือนช่วงเวลาที่กราฟหุ้นดิ่งลงต่ำนั่นเอง
แล้วจะรู้ได้อย่างไร ตอนนี้เราอยู่ในตลาดกระทิง หรือ ตลาดหมี
  1. ดูแนวโน้มทางเทคนิค
ง่ายที่สุดคือ ลาก Trend Line หรือ เส้นแนวโน้ม ซึ่งในตำราบอกว่า ตลาดหุ้นมีแนวโน้มอยู่แค่ 3 แนวโน้ม นั้นก็คือ Uptrend (ขาขึ้น), Downtrend (ขาลง) และ Sideway (แกว่งตัวออกข้าง) ยิ่งอยากรูปแนวโน้มระยะยาวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องดูกราฟในระยะยาวมากขึ้นเท่านั้น ผมยกตัวอย่าง ตลาดหุ้นไทย ณ วันนี้ โดยลาก Trend Line นับตั้งแต่หลังวิกฤต Subprime ปี 2009 ให้ดูตามภาพนะครับ
ความแตกต่างระหว่าง ตลาดกระทิง VS. ตลาดหมี ความแตกต่างระหว่าง ตลาดกระทิง vs. ตลาดหมี ความแตกต่างระหว่าง ตลาดกระทิง VS. ตลาดหมี Screen Shot 2558 09 05 at 6
ตั้งแต่ปี 2009 จนถึงกลางปี 2015 ที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยอยู่ในขาขึ้นภาพใหญ่ จนกระทั่งหลุดเส้นแนวโน้มขาขึ้นตรงระดับ 1,480 จุด ไปแล้ว ดังนั้น ตอนนี้ไม่ใช่ขาขึ้นครับ แต่จะเป็นแกว่งตัวออกข้าง หรือกลายเป็นขาลง คงต้องไปวิเคราะห์มุมอื่น หรือติดตามไปอีกซักระยะ เราถึงรู้ว่า อยู่ในแนวโน้มใด
  1. อัตราการเติบโตของตัวเลขเศรษฐกิจที่แท้จริง
ในตลาดขาขึ้นนั้น อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะใกล้เคียง หรือเต็มศักยภาพของประเทศนั้นๆ ทางตรงกันข้าม ตลาดขาลง เราจะบบ อัตราการเติบโตที่ชะลอตัวลง หรืออาจถึงขั้นติดลบ โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่ใช้ดูนั้น
National Economic หรือ ตัวเลขเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ซึ่งหลักๆ เราจะการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย GDP Growth ปีนี้ เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว อย่างที่สองก็คือ อัตราเงินเฟ้อ ซึ่งในตลาดขาขึ้น หรือเศรษฐกิจเฟื้องฟู ตัวเงินเงินเฟ้อ จะอยู่ในระดับที่สูง เนื่องจากความต้องการใช้สินค้ามีมาก ราคาสินค้าจึงขยับขึ้นเรื่องๆ แต่หากอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวด้วยสาเหตุจากความต้องการจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง ก็แสดงว่า เศรษฐกิจกำลังอยู่ในแนวโน้มชะลอตัวครับ
  1. Corporate Finance Performance – ความแข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียนในภาพรวม
หลักๆที่ต้องดูก็คือ กำไรสุทธิของบริษัทโดยภาพรวมแล้วดีขึ้น หรือแย่ลง แต่แค่นั้นยังไม่พอครับหากจะแปลมาเป็นกลยุทธ์การลงทุน เราต้องดูว่า ถ้าดีขึ้นแล้ว ดีขึ้นกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไหม? ถ้าไม่ดีกว่าที่เขาประเมิณไว้ ตลาดหุ้นหรือราคาหุ้น ก็อาจตอบรับในทิศทางลบได้เช่นกัน หรือถ้าแย่ลง แล้วไม่แย่กว่าที่นักวิเคราะห์เขาทำการประเมิณ ตลาดก็อาจตอบรับในทิศทางเชิงบวกได้
สาเหตุเป็นเพราะว่า ตลาดหุ้น และราคาหุ้น มันไม่ได้สะท้อนผลกำไรในอดีตครับ มันเกิดจากการคาดการณ์ผลกำไรในอนาคต อย่างที่ผมบอกตอนต้นไง จะกำไรในอนาคต ต้องเดาครับว่า จะมีคนอื่นมายอมซื้อที่ราคาแพงกว่าที่เราซื้อ หรือเปล่า ดังนั้น ทุกคนในตลาดกำลังคาดการณ์และทำนายอนาคตครับ
  1. ดูอารมณ์ตลาด (Sentiment) โดยรวม
อย่างที่ Peter Lynch ผู้จัดการกองทุนระดับโลกเคยตั้งทฤษฎีขำๆที่มีชื่อว่า “Cocktail Theory” หรือทฤษฎีจับอารมณ์ตลาดในงานเลี้ยงนั้นเอง เขาแบ่งภาวะตลาดออกเป็น 4 ช่วงครับ
4.1 ในงานเลี้ยง คนส่วนใหญ่จะสนใจคุยหัวข้ออื่น เพราะเป็นช่วงที่ทุกคนเข็ดจากตลาดหุ้น เพราะตลาดหุ้นได้ลงมาหนักแล้ว คนส่วนใหญ่ขาดทุน แต่ผู้จัดการกองทุนบอกว่า เจอหุ้นถูกๆเต็มตลาดไปหมด
4.2 เริ่มมีคนส่วนน้อยในงานเลี้ยงที่เดินมาคุยกับผู้จัดการกองทุนในเชิงบ่นว่า ตลาดผันผวนอย่างโน้นอย่างนี้ เสี่ยงแค่ไหนถ้าเข้าไปก่อนหน้า เสร็จแล้วก็เปลี่ยนประเด็นไปคุยเรื่องอื่น
4.3 ทุกคนในงานหันมาหาผู้จัดการกองทุนและเริ่มถามหาวิธีเลือกหุ้น หาหุ้นเด็ด แม้แต่หมอฟันยังถามเรื่องหุ้นเลย ซึ่งนั้นแปลว่า แทบทุกคนมีการลงทุนในหุ้นไม่เยอะก็น้อย ถ้าเจอแบบนี้แสดงว่าตลาดวิ่งมาจนไกลสุดทางแล้วครับ
4.4 ทุกคนในงานเดินมาบอกผู้จัดการกองทุนว่า ทำไมไม่เลือกหุ้นตัวนั้นตัวนี้เข้าพอร์ต ถ้าเจอแบบนี้ ปาร์ตี้ตลาดหุ้นใกล้จบแล้วครับ
สรุปนะครับ ดูแนวโน้มทางเทคนิค สัญญาณเศรษฐกิจมหภาค จากนั้นตามมาด้วย ดูตัวเลขผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวม และจบด้วยการตามดูอารมณ์ของมวลชน ณ ตอนนั้น

ถ้ามันเป็นตลาดหมี ก็แปลว่า เราควรถือ เงินสด ให้เยอะกว่า สินทรัพย์เสี่ยง
ถ้ามันเป็นตลาดกระทิง ก็แปลว่า เราควรถือ สินทรัพย์เสี่ยง ให้เยอะกว่า เงินสด

ขอบคุณบทความดีๆจาก http://www.setmai.com/ , http://www.aommoney.com/ 



ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ