กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ thaiforexschool

บทความ

คุณ Lobo2010 เข้ามาตั้งกระทู้ว่า เขาได้ศึกษาเรื่องของแนวรับแนวต้านมาได้สักระยะหนึ่งแล้วและได้สร้างวิธีเทรดของตัวเองขึ้นมาโดยเข้าเทรดจากบริเวณแนวรับ แนวต้านเหล่านี้ แต่ปัญหาของเขาตอนนี้คือ เขาเห็นแต่แนวรับแนวต้านเต็มไปหมดตรงนั้นก็ใช่ ตรงนี้ก็ใช้ได้ มันทำให้เป็นเรื่องยากสำหรับเขาที่จะตัดสินใจเลือกว่า แนวรับแนวต้านไหนสำคัญอันไหนไม่สำคัญ เขาจึงอยากจะได้ความเห็นจากเพื่อน ๆ ร่วมเว็ปว่าควรเลือกแนวรับแนวต้านอย่างไรดี คุณ Moody เข้ามาตอบคนแรกเลยว่า สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เป็นพื้นฐานที่สุดแต่ก็ยากที่สุดเรื่องหนึ่งสำหรับเทรดเดอร์เลยก็ว่าได้ มันต้องใช้เวลาและประสบการณ์ใน การศึกษาเพื่อที่จะเข้าใจมัน สำหรับเขาแล้วเขามีหลักการณ์ในการณ์พิจารณาแนวรับแนวต้านที่สำคัญดังนี้ สร้างโซนขึ้นมาในบริเวณที่ราคาเป็นเทรนและโซนที่ราคาปรับฐาน ตราบเท่าที่คุณยังสามารถแยกสองโซนนี้ออกจากกันได้ คุณจะเจอแนวรับแนวต้านที่เหมาะสมได้ แนวรับแนวต้านที่ราคาเคยทะลุได้เช่น บริเวณที่เคยเป็นแนวรับแต่ปัจจุบันเปลี่ยนแนวต้านเพราะราคาสามารถทะลุได้สำเร็จ พยายามมองหาบริเวณที่ราคาชอบหยุดหลาย ๆ ครั้งหรือไปต่อไม่ได้
วันนี้เป็นบทความสั้นๆ ถึงแม้วันนี้กราฟจะวิ่งแต่บางคนอาจจะถือว่าวันนี้เป็นวันหยุด ไหน ๆ ก็หยุดแล้วก็ลองอ่านบทความนี้ดูผ่าน ๆ เพื่อจะไปสะกิดต่อมความคิดให้เรามีไอเดียใหม่ ๆ สำหรับการเทรดในอนาคตครับ การวิเคราะห์กราฟนั้น ไม่ต้องบอกก็รู้ๆกันอยู่แล้วว่า มีความสำคัญมากแค่ไหนในการลงทุน แต่ผมเชื่อว่า หลายๆคนที่ลงทุนมานานแล้วยังรู้สึกว่า ความสามารถในการลงทุนนั้นไม่ได้มีการพัฒนามากเท่าไหร่นัก เพราะอาจจะลืมวิเคราะห์ตัวเองไป ในแต่ละครั้งหลังจากเทรดเสร็จ ผู้เทรดต้องพยายามตรวจดูว่า ตัวเองมีความผิดพลาดในการลงทุนอย่างไรบ้าง เกิดจากอะไร และจะพยายามแก้ไขอย่างไร … ผมจะยกตัวอย่างให้ดูสักสามข้อที่เห็นอยู่บ่อย ๆ ละกันนะครับ ข้อที่ 1: ตัดสินใจเร็วจนเกินไป หลายๆครั้ง เมื่อผู้เทรดเจอกราฟบางตัวที่ดูแล้วน่าสนใจมากๆ ส่วนใหญ่มักจะรีบซื้ออย่างรวดเร็ว เพราะกลัวว่าจะตกรถก่อนซึ่งอาจจะทำให้ได้เข้าออเดอร์ในตำแหน่งที่ไม่ได้ เปรียบ การตัดสินใจเร็วไปบางครั้งทำให้ผู้เล่นขาดความรอบคอบ ไม่ได้ศึกษากราฟตัวนั้นให้ดีก่อนที่จะลงทุน ข้อที่ 2: ลงทุนนอกกรอบความถนัดของตัวเอง เทรดเดอร์ที่เข้ามาในตลาดใหม่ ๆ
สำหรับคนที่กำลังท้อแท้จากการเทรดที่ไม่ประสบความสำเร็จ เทรดแล้วยังทำไม่ได้ดีเท่าที่หวัง คุณอาจจะคิดว่าตัวเองช่างซวยเหลือเกิน ตัวเองไม่มีความสามารถ บางคนก็พาลโทษไปว่าการเทรดไม่ดีบ้างการเทรดเป็นการพนันบ้าง บทความนี้จะแสดงให้คุณเห็นว่าในโลกใบนี้ไม่ได้มีแค่คุณคนเดียวที่เทรดเสีย  บางคนอาจจะเคยเทรดเสียมากกว่าคุณด้วยซ้ำ ลองอ่านบทความนี้ดูเพื่อเป็นกำลังใจให้กับตนเองนะครับ คุณ mumuy มาตั้งกระทู้ในเว็ป Forex Factory ถามคนในเว็ปว่าคนอื่น ๆ ณ ที่นี้เคยเสียเงินให้กับการเทรดมากที่สุดเท่าไหร่ อย่างเช่นของเขาเขาเสียเงินไปมากที่สุดหลังจากที่ได้กำไรมาย่างมากที่สุดมันเป็นจังหวะที่เขาคิดว่ากราฟกำลังจะกลับตัวแล้วเขาคิดว่าเขากำลังได้เปรียบอยู่ แต่กราฟกลับเปลี่ยนทางแล้วเป็นเทรนเดิมต่อไปและเขาก็ไม่ได้ คัทลอส ด้วย คุณ Master_Forex เข้ามาแชร์ประสบการณ์ของเขา เขาบอกว่าตอนสมัยที่เขาเข้ามาเทรดแรก ๆ หลังจากที่ทำผลงานได้ดีกับ demo เขาเลยคิดว่าจะทำได้ดีในเงินจริงด้วยเขาพยายามจะทำกำไรให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แต่ด้วย margin ที่จำกัดทำให้มัน overlot มากไปและสุดท้ายมันก็กลับมาทำร้ายเขาเองเขาเสียไ
เรื่องมีอยู่ว่าคุณ WARaintOVER เข้ามาตั้งกระทู้ว่า "ตัวเขายังเป็นเด็กใหม่ในวงการ Forex อยู่ เขาเลยอยากจะถามคนในบอร์ดว่า มีที่ไหนมีซิกฟรีดี ๆ ไว้ใจได้บ้างไหมครับ" คุณ WhiteHorse เข้ามาตอบทันทีเลยครับว่า " ซิกฟรีหรอครับ 55+ ผมอยากจะขำเป็นเสียงไดโนเสาร์ ลองคิดกลับกันนะ ถ้าซิกนั้นอะดีจริงแม่นยำและเชื่อถือได้มาก ๆ ที่เขาสละแรงกายแรงใจศึกษาเพื่อให้ได้วิธีที่แม่นยำนั้นมา เขาจะเอามาแชร์ให้คุณจริง ๆ หรอ โลกไม่สวยขนาดจะมีคนใจบุญขนาดนั้นหรอกคุณ" คุณ WilliamDa ก็เข้ามาเสริมว่า " แทนที่คุณจะเอาเวลามาหาซิกเทพ ๆ ทำไมคุณไม่เอาเวลาไปคิดวิธีเทรดดี ๆ ที่เป็นของตัวคุณเอง ไม่มีใครเอาของดี ๆ อย่างนั้นมาแบ่งปันให้คุณหรอก อย่าเสียเวลาอีกเลย" คุณ Breezie เข้ามาพูดในทำนองเดียวกันเลยว่า "ผมละไม่เข้าใจจริง ๆ เลยว่าทำไมเด็กใหม่ที่เข้ามาในโลกแห่งการลงทุนมักจะชอบคิดว่าตัวเองสามารถประสบความสำเร็จได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรเลย เด็กใหม่มักจะชอบตามหาเทพที่และหลงเชื่อโฆษณาแบบ ระบบมหัศจรรย์ ระบบไร้พ่าย ตื่นจากฝันสักทีเถอะ การทำงานอะไรสักอย่างคุณจะต้องลงทุนลงแรงบ้า
วิธีการนี้เป็นการเทรดแบบสั้น Scalper โดยการดูแท่งเทียนที่กราฟ 5 นาที วิธีการนี้เหมาะกับโบรกเกอร์ที่มี Spread น้อยๆ เหมาะกับค่าเงิน EUR/USD , GBP/USD โดยมี สเปรดอยู่ระหว่าง 1-2 จุด โบรกเกอร์ 4 ต่ำแหน่ง และ 10-20 จุด โบรกเกอร์ 5 ตำแหน่ง Stop Loss 5-10 จุด ขึ้นอยู่กับลักษณะของแท่งเทียน Take Profits 5-10 และขึ้นอยู่กับความพอใจของเรา วิธีนี้ใช้ได้ผลครับ ผมชอบ Scalper วิธีนี้ ต้องเข้าเร็วออกเร็ว ดูรูปกันเลยครับ จะอธิบายตามหมายเลขกันเลย หมายเลข 1 เราจะเห็นราคาได้เกิดแท่งสีดำลงมา และปิดที่หมายเลขที่ 2   ที่ตำแหน่งหมายเลขที่ 2 ให้เข้า Sell แล้ว Stop loss ไว้ที่ หมายเลข 1  และ Take Profit 5-10 pips เมื่อราคาปิดลงที่หมายเลข 3 ให้ Sell แล้ว Stop Loss เหนือเส้น EMA เมื่อราคาขึ้นไปที่หมายเลข 4 แล้วไม่ผ่าน EMA 26 Sell อีก 1 ไม้ แล้ว Stop Loss ไว้เหนือ EMA  และ Take Profits ไว้ที่ หมายเลขที่ 3 เมื่อเกิดแท่งเทียนกลับตัวขึ้นมา หมายเลข 6 รอราคาปิด ราคาปิดแบบ Hammer ให้เปิด Buy และ Stop Loss ไว้ที่ หมายเลข 5 หมายเลข 7 8 9 เปิดออเดอร์ Buy ไปเรื่อยๆ แล้ว Stop Loss ไว้ที่ ราคาต่ำสุดของแต่ละแท
อคติในการลงทุนและผลลัพธ์ อคติ ก็คือ ความลำเอียง ดังนั้น อคติในการลงทุนก็คือ "ความลำเอียงในการลงทุน"  และเจ้าอคตินี่มันก็จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อการลงทุนของนักลงทุน โดยทำให้การตัดสินใจในการลงทุนเป็นแบบไม่ตรงไปตรงมา เพราะว่า  "ฉันรู้สึกแบบนี้ และฉันคิดว่ามันจะต้องเป็นแบบนี้"  สุดท้ายผลจากการตัดสินใจต่างๆเหล่านั้น ก็จะย้อนกลับมาที่พอร์ตการลงทุนของเราเอง ซึ่ง ผลกระทบที่ว่านี้ มักจะส่งผลร้ายมากกว่าผลดีซะเป็นส่วนใหญ่ คุณว่าจริงมั้ย? ทีนี้เราลองมาดูว่า อคติในการลงทุนที่ว่านี้มันมีอยู่กี่แบบ และลองเช็คตัวคุณเองว่า คุณมีอคติแบบไหนอยู่บ้าง 1. Loss Aversion  คือ ความเกลียดชังการสูญเสีย นั่นคือ การที่เราต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความสูญเสีย และแสวงหากำไร ในการศึกษาบางอย่างชี้ให้เห็นว่า การสูญเสียนั้นมีพลังเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับการทำกำไร ผลของมันก็คือ เมื่อเรากลัวที่จะสูญเสีย เราก็จะให้ความสำคัญกับการขาดทุนมากมากกว่าการหากำไร (ก็ฉันไม่อยากเสียเงินนี้ไป) ตัวอย่างเช่น ถ้ากำไร 10 บาท กับ ขาดทุน 10 บาท ก็มีผลเท่ากัน แต่คนจะกลัวขาดทุน 10 บาทมากกว่ากลัวไม่ได้กำไร 10 บาท (แน่
Hedging strategy hedging strategy หรือ กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยง  เป็นกลยุทธ์การเทรดเพื่อป้องกันความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน โดยที่จะเปิดออเดอร์ทั้งสองทาง ( Buy-Sell) ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณเทรด EUR/USD คุณเปิดทั้งออเดอร์ Buy และ Sell ไว้อย่างละ 1 ออเดอร์ ออเดอร์ละ 1 lot ดังนั้น ไม่ว่าราคาจะวิ่งไปในทิศทางใด คุณก็จะไม่มีทางได้หรือเสีย ยอดรวมบัญชีของคุณจะความสมดุล หรืออาจกล่าวได้ว่า ความเสี่ยงในการเทรดของคุณเป็น 0 แล้วกลยุทธ์แบบนี้มันน่าสนใจตรงไหนล่ะ ? ที่น่าสนใจก็ตรงที่ กลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยง หรือ Hedging นี้ถูกนำมาใช้เพื่อปกป้องผลกำไร และใช้ประโยชน์ได้เมื่อเวลาที่ราคามีการปรับตัว การป้องกันเงินทุน   ถ้าออเดอร์ที่คุณเปิดมีการป้องกันความเสี่ยง ก็เท่ากับว่าคุณไม่ได้เสี่ยงอะไรเลย แม้ว่าจะมีความผันผวนเกิดขึ้นกับคู่เงินที่คุณเทรด แต่ยอดเงินทุนของคุณก็จะไม่เปลี่ยนไปเลย การป้องกันความเสี่ยงจะถูกนำมาใช้เมื่อมีการเปิดออเดอร์ไปแล้วแล้วเกิดไม่มั่นใจในทิศทางของราคาในอนาคตขึ้นมา ก็จะใช้การ Hedging เพื่อเป็นการป้องกันผลกำไรที่มีอยู่จากออเดอร์ที่เปิดไว้แล้ว ตัวอย่างที่ 1   
อัตราดอกเบี้ยนั้นมีความสำคัญมากต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยน   อัตราดอกเบี้ยสกุลเงินน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดมูลค่าของสกุลเงินต่างๆ อย่างที่เราเห็นเวลาที่เหล่าธนาคารกลางต่างๆออกมาปรับอัตราดอกเบี้ยก็จะมีผลกระทบอย่างมากต่อค่าของสกุลเงินหลักของประเทศนั้นๆ ดังนั้นเราในฐานะเทรดเดอร์สกุลเงิน ก็ควรรู้เรื่องเกี่ยวกับวิธีการที่ธนาคารต่างๆใช้เพื่อกำหนดนโยบายการเงินของตน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเอง สิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางคือเสถียรภาพด้านราคาหรือ  "เงินเฟ้อ" เงินเฟ้อก็คือการที่ราคาสินค้าหรือบริการมีการเพิ่มสูงขึ้น เช่น เมื่อห้าปีที่แล้วคุณจ่ายเงิน 10 บาทเพื่อซื้ออมยิ้ม 1 อัน แต่มาตอนนี้คุณต้องจ่ายเงิน เพิ่มขึ้นเป็น 15 บาท เพื่อที่จะให้ได้อมยิ้มแบบเดียวกันนั้นมา และ การที่อัตราเงินเฟ้อมีการเติบโตขึ้นในระดับปานกลางนั้นจะมาพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แตอัตราเงินเฟ้อที่มากเกินไปจะเป็นอัตราต่อเศรษฐกิจ และนี่ก็คือเหตุผลที่ว่าทำมะนาคารกลางจึงคอยจับตามองดัชนีที่ชี้วัดระดับอัตราเงินเฟ้อ อย่างเช่น ดัชนี CPI และ PEC เป้นต้น