อ่านกราฟไม่เก่งก็กำไร ด้วยสูตร
Money Management
👰 กลับมาพบกันอีกเช่นเคยกับบทความๆดีๆที่มีให้อ่านกันไม่รู้จักเบื่อ มาครับวันนี้แอดพาทุกท่านไปคำนวนตัวเลขเพื่อใช้ในการเทรดกันฮะ ไม่สับสนวุ่นวาย ไม่ยากเกินไปแน่นอน รับรองได้ มาครับตามมาดูมาอ่านกันดีกว่า ว่ามันใช้ยังไง และดีอย่างไร บทความนี้มีคำตอบครับ
👯💆 ส่วนใหญ่แล้ว เทรดเดอร์หน้าใหม่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับ การวางแผนคำนวนทุนกำไรเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะเทรดแค่ได้กำไรก็จบ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมันยากมาก เพราะการเทรดมีทั้งได้กำไรและขาดทุน การคำนวน MM (Money Management) จึงจัดว่าสำคัญ
👯💆เพราะเราไม่สามารถ เทรดแล้วทำกำไรได้ทุกครั้ง เราจะต้องมองการเทรดให้เป็นเกมในระยะยาว การรักษาเงินทุนของเราจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เราต้องเลือกเข้าเทรดในจุดที่ใช่และมีการบริหารความเสี่ยงที่ถูกต้อง และสิ่งที่ต้องรู้ในการบริหารความเสี่ยงในการลงทุน มีดังนี้
ขั้นตอนในการทำ Money Management
1. การอ่านและวิเคราะห์กราฟจากเครื่องมืออินดิเคเตอร์ เพื่อดูทิศทางในการเข้าออเดอร์ เช่น ดู EMA ,BB FIBO, CHANNEL เป็นต้น
2. คำนวนน R:R (Reward to Risk Ratio) คือความคุ้มค่าในการลงทุนแต่ละครั้ง เป็นการคำนวณเปรียบเทียบระหว่างกำไรที่เราจะได้รับมา หารกับผลขาดทุนที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ถ้าไม้นั้นออกมาแพ้ การคำนวณค่า R:R คือเอาระยะกำไรหรือ TP มาหารด้วยระยะขาดทุนหรือระยะ SL
โดยทั่วไป R:R ควรจะต้องมากกว่า 2 ขึ้นไปถึงจะถือว่าคุ้มค่า แต่ว่าค่านี้ก็ไม่ใช่สูตรสำเร็จ เพราะถ้าหากเราที่ใช้กลยุทธ์ที่มี %Win Ratio สูง ๆ ค่า R:R ของเราก็อาจจะปรับลดลงได้
3. Win Rate เปอร์เซ็นโอกาสในการชนะของแผนการลงทุน ค่า Win rate จะได้มาจากการเก็บสถิติของคุณด้วยเทคนิคใดเทคนิคหนึ่งที่คุณใช้อยู่ ซึ่งคำนวณจากจำนวนครั้งที่คุณชนะหารด้วยจำนวนการเทรดทุกไม้ของคุณ
- เพราะโดยทั่วไป % Win Rate ของคนที่ใช้กลยุทธ์เทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) จะอยู่ประมาณ 40% +/- เท่านั้น (เทรด 10 ครั้ง = ชนะ 4 ครั้ง / แพ้ 6 ครั้ง)
4. Correlation การกระจายความเสี่ยง เราจะไม่เทรดในคู่เงินที่มีแนวโน้มหรือทิศทางไปในทางเดียวกันหลายๆคู่ ยกตัวอย่างการเทรด คู่ EUR และ GBP ซึ่ง 2 สกุลเงินนี้อยู่ในตลาดยุโรปทั้งคู่ ถ้าเราเทรดชนะเราก็จะได้กำไร 2 เท่า แต่ถ้าเราเทรดแพ้เราก็จะขาดทุนเป็น 2 เท่าเช่นเดียวกัน
5. Position sizing การออก lot ให้เหมาะสมกับเงินทุน การคำนวณ Position sizing นี้มีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน
- fixed fractional หรือว่าการออกไม้ด้วยเปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงที่เท่ากันทุกไม้ ข้อดีก็คือถ้าเกิดเราแพ้ติดต่อกันหลายๆไม้ จำนวนเงินที่เราจะออกไม้จะค่อยๆน้อยลงแต่ในขณะเดียวกันถ้าเผื่อเราชนะติดต่อกันหลายๆไม้ เราจะสามารถออก lot ด้วยขนาดใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆทำให้เราได้กำไรทบต้นขึ้นไปอีก
- Fixed sizing คือการออก lot โดยการใช้จำนวนเงินหรือว่าระยะ TP SL เท่ากันทุกไม้ไม่ว่าพอร์ตเราจะโตขึ้นหรือว่าเล็กลง ข้อดีของการใช้วิธีนี้คืออัตราการเติบโตของพอร์ตเราจะมีแรงเหวี่ยงที่น้อยกว่า แต่ข้อเสียของวิธีนี้ก็คือว่าเราจะมี draw down ที่สูงกว่าถ้าเผื่อเรา SL ติดกันหลายๆไม้
- Fixed fractional sizing โดยวิธีนี้จะทำการออก lot ในจำนวนไม้เท่าๆกัน มีการปรับเปลี่ยนการออกไม้ของเราเมื่อพอร์ตเราโตขึ้นหรือว่าเล็กลงถึงค่าที่เรากำหนดไว้เป็นขั้นบันได
6. Expectancy คือค่ากำไรที่เราคาดหวังจากระบบเทรด ซึ่งค่านี้จะบ่งบอกว่าระบบเทรดของคุณที่ใช้อยู่ปัจจุบันมีโอกาสได้กำไรหรือขาดทุนมากกว่ากัน โดยเราจะต้องเก็บข้อมูลจากสถิติที่เราเทรดจริงหรือว่าจากที่เรา Back Test ก็ได้ในจำนวนที่มากพอเพื่อมาคำนวณหาค่าค่านี้
7. Recovery Rate คือโอกาสที่จะกู้พอร์ตให้กลับมาเท่าทุน ซึ่งถ้าเกิดว่าเราเทรดแพ้หลายๆไม้ติดต่อกัน โอกาสที่เราจะสามารถนำเงินกลับมาเท่าทุน จะเริ่มยากขึ้นไปเรื่อยๆ
8. Capital Management คือการจัดสรรเงินทุนให้เหมาะสมและถูกต้อง ข้อนี้สำคัญมากเพราะถ้าเราไม่รู้หรือคำนวณไม่เป็น สุดท้ายเมื่อเรามีเงินทุนไม่พอเราก็จะมีโอกาสที่จะล้างพอร์ตได้ในระยะยา การคำนวณคือ เราจะต้องเอา minimum ในการออกไม้ อยู่ที่ 0.01 เอาค่านี้มาคูณกับระยะ SL ที่เราจะเข้า
สนับสนุนบทความนี้ด้วยการส่งเพชร 💎ส่งดาว🌟 และกดติดตามใน Telegram เพื่อรับข้อมูลข่าวสารการเทรดฟรี : https://t.me/tradertanclub
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น