วิธีทำงานของเทรดเดอร์ชั้นนำของบริษัท

สัปดาห์นี้ ผม (Dr. Brett S.) ต้องติดต่องานกับองค์กรเทรดต่างๆ จึงต้องพบเจอกับ บริษัทเทรดชั้นนำ รวมทั้ง ตัวเทรดเดอร์มือเอกของบริษัทเหล่านั้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ล้ำค่ามาก, ผมมีข้อสังเกตหลายอันที่ผมเห็นด้วยตาตัวเองมาในหลายวันนี้
  1. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมากจะติดตาม และเทรดในตลาดหลายๆ แห่ง, พวกเขาจะไปยังที่ที่โอกาสกำลังเกิดขึ้น ณ ตอนนั้น, ถ้าขณะใดขณะหนึ่งตลาดหนึ่งกำลังเงียบเหงา ไร้ Volume พวกเขาก็ยังมีตลาดอื่นให้มอง, แตกต่างจากเทรดเดอร์มือใหม่ รายย่อย ที่จะปักหลักอยู่ที่ตลาดแห่งเดียว แต่จะเทรดปริมาณเยอะขึ้นเพื่อพยายามทำให้บัญชีเล็กเติบโตขึ้นได้ แม้ในภาวะที่ตลาดเดิมเหือดแห้ง, เทรดเดอร์มืออาชีพจะมีมุมมองต่อตลาดแบบมุมอง ภาพใหญ่ สู่ภาพย่อย ที่ครอบคลุม (มองภาพจากแนวโน้มของเศรษฐกิจใหญ่ หรือ ทั้งกลุ่มธุรกิจ แล้ว ไปดูบริษัทแต่ละอัน) และพวกเขาจะมีแบบแผน วิธีมองตลาดที่ชัดเจนเพราะทำจนชิน ซึ่งเทรดเดอร์ที่ไร้ประสบการณ์จะไม่มีเรื่องนี้
  2. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมาก จะมองภาพรวม, เนื่องจากพวกเขาติดตามตลาดหลายๆแห่ง พวกเขาจึงระวังความสำพันธ์ระหว่างตลาดเหล่านั้น, สิ่งนี้ทำให้พวกเขาพัฒนาแนวคิดที่เชื่อมตลาดทั้งหลายเข้าด้วยกัน สร้างภาพใหญ่ขึ้นมาเป็นหนึ่งเดียว, ตัวอย่างที่ชัดมากคือ การรู้ว่า อัตราดอกเบี้ยรอบโลกเป็นอย่างไร ที่ไหนถูก ที่ไหนแพง จึงทำให้เห็นง่ายมาก ว่าเงินจะไหลจากไหนไปสู่ที่ไหน, อีกตัวอย่างคือ การรู้ว่าสินทรัพย์หนึ่ง ถูกตั้งราคาไว้เท่านี้ แล้วถ้าเทียบกับสินทรัพย์เดียวกันที่ตลาดอื่น พบว่าราคาไม่ตรงกัน ก็จะเห็นโอกาส, เทรดเดอร์มือใหม่ มักจะเพ่งอยู่กับรูปแบบเล็กๆ จนทำให้ลืมมองสิ่งแวดล้อมข้างๆ ทำให้ขาดการมองภาพใหญ่ และ ไม่มีความคิดเกี่ยวกับราคาที่เหมาะสม หรือ ไม่เหมาะสมแบบที่มืออาชีพมอง
  3. ทุกบริษัทเทรดชั้นนำ มีตำแหน่ง “ผู้จัดการความเสี่ยง” ซึ่งจะคอยติดตามผลงานของ เทรดเดอร์แต่ละคน และ ผลงานรวมของทั้งบริษัท, ผู้จัดการความเสี่ยง จะช่วยปรับขนาดของออเดอร์ ตามความหมาะสมสำหรับเทรดเดอร์แต่ละคน และ จะมีส่วนสำคัญอย่างมาก ในช่วงที่เทรดเดอร์เข้าสู่ภาวะตกต่ำ , หน้าที่บริหารความเสี่ยงนี้หากจะให้เทรดเดอร์แต่ละคนทำด้วยตัวเอง มันจะยากมาก, แต่เทรดเดอร์ระดับมือเอก ก็จะพยายามใช้เวลา และ ความพยายามค่อนข้างเยอะในการบริหารความเสี่ยงนี้ด้วยตัวเองพวกเขาจะรู้ว่าต้องการกำไรสำหรับแต่ลออเดอร์เท่าไหร่ แล้วก็จะใช้ความเสี่ยงที่เหมาะสมลงไป, เป็นเรื่องปกติที่จะเห็น “เทรดเดอร์เล็กๆ จะใช้ความเสี่ยงที่มากกว่า เทรดเดอร์ใหญ่ๆ” (Note ผู้แปล : ตัวอย่างเช่น พอร์ตทุนเท่ากัน มือใหม่มักจะอยากเทรด Lot หนักมากกว่ากันเยอะ เทียบกับมืออาชีพ)
  4. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมาก หวังไม่เว่อร์ (มีเป้าเติบโตที่สมเหตุสมผล) , เรื่องนี้น่าสนใจมาก ผมไม่เคยได้ยินเทรดเดอร์มืออาชีพคุยกันว่า ตั้งเป้าจะทำให้ทุนโตขึ้นเป็นสามเท่าในหนึ่งปี, แต่เป้าหมายขนาดนี้จะได้ยินจาก เทรดเดอร์เล็ก ที่รู้สึกหลังชนฝา จนต้องมีเป้าขนาดนี้เพื่อให้รอดต่อไป และใช้ความเสี่ยงระดับสูงแบบนี้, เทรดเดอร์ชั้นนำ จะมุ่งเน้นอยู่ที่ “ความยั่งยืน” และ ชอบผลตอบแทนที่มาจาก ความเสี่ยงที่ปรับแล้ว, ผมไม่เคยเจอ เทรดเดอร์เล็ก สนใจเรื่อง การปรับความเสี่ยง หรือ Sharp Ratio ของเขา, ยกตัวอย่างเช่น ผมไม่คิดว่า เทรดเดอร์มือใหม่ สามารถอธิบายถึง หลักการของ VAR คืออะไรด้วยซ้ำไป (Note ผู้แปล : VAR : Value at Risk , ขออนุญาตอธิบายคร่าวๆด้วยความเข้าใจอันมีน้อยนิดของผมว่า VAR คือ ค่า(Value) ที่จะมีโอกาสเสี่ยง(Risk) ที่จะสูญเสียไปในช่วงเวลาที่กำหนด เช่น ถ้าพอร์ตเรามี 5% VAR ที่จะเสีย 1ล้าน ในหนึ่งวัน หมายความว่า ในหนึ่งวันพอร์ตเราจะมีโอกาสเสียเงินหนึ่งล้านเป็นโอกาส 5% (โดยเงินทุนรวมในพอร์ตคงจะมีมากกว่า 1 ล้าน เช่นอาจจะมี 500 ล้าน) หรือ กล่าวอีกมุมว่า ตัวเลขนี้แสดงถึงว่า พอร์ตเรามีโอกาสที่จะเสียเงิน 1 ล้าน ภายใน 1 วัน ถ้าเราเทรดติดต่อกัน 20 วัน (1 / 20 = 5% ), ซึ่งค่า VAR นี้นิยมใช้กันมากใน การประเมินความเสี่ยง, ในหนังเรื่อง “Margin Call” ที่พูดถึงกราฟอันหนึ่งไว้ว่า ความเสี่ยงของบริษัท LEHMAN-BROTHERS ได้เกินขอบเขตที่รับได้ของกราฟไปแล้ว อันเป็นจุดเริ่มต้นของการล่มสลายของบริษัทนี้ และ นำไปสู่ Hamburger Crisis ของอเมริกา ในหนังไม่ได้อธิบายว่ากราฟอะไร แต่น่าจะเกี่ยวข้องกับค่านี้ด้วย)
  5. เทรดเดอร์ชั้นนำ จำนวนมาก ใช้จิตวิทยาเป็นจุดแข็งของตัวเอง , เทรดเดอร์มือใหม่มักจะไม่มีประสบการณ์ด้านจิตวิทยาการเทรด, ปกติแล้ว ถ้าเทรดเดอร์ขาด วินัย, การคุมอารมณ์, ฯลฯ พวกเขาก็จะไม่ได้เข้าทำงานในบริษัทเทรดดีๆด้วยซ้ำไป, ที่จริง แม้แต่เทรดเดอร์ที่ยอดเยี่ยม ก็จะมีวัน Draw Down เช่นกัน, แต่พวกเขาจะฝ่าฟันมันไปโดยมุ่งเน้นหาจุดแข็งของตัวเอง (Note ผู้แปล : เหมือนที่พูดถึงไว้ใน บทแปลจิตวิทยาตอนที่ 6 ว่าจะฝ่าฟันช่วงตกต่ำไปได้ ต้องหาจุดแข็งไม่ใช่จมอยู่กับจุดอ่อนและปัญหา) ไม่ใช่พยายามฝ่าโดยการไปพัฒนาอะไรง่ายๆเช่น แผนการเทรดใหม่ๆ, จุดแข็งที่สำคัญนั้นแหละ ที่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ จิตวิทยาการเทรด ซึ่งมือใหม่ไม่มี, “เมื่อผลการเทรดแย่ลง ต้องคิดบวกให้มากขึ้น” นี่แหละคือสิ่งที่มือใหม่ ไม่เข้าใจกัน
บทสรุป : สุดท้ายแล้ว สิ่งที่จะแยกระหว่าง เทรดเดอร์มืออาชีพ กับ มือใหม่ ออกจากกันคือ “วิธีทำงาน” ไม่ใช่ “แผนการเข้าออก”, ถ้าอยากจะเป็นมืออาชีพ ก็ต้องทำงานแบบที่มืออาชีพทำกัน, เทรดเดอร์ชั้นเยี่ยมที่ผมรู้จัก จะใช้เวลาค่อนข้างเยอะในเรื่อง ศึกษาตลาด, สร้างภาพรวมการเทรด และ ติดตามความเป็นไปรอบโลก, เราอาจจะวัด ความเป็นมืออาชีพ ได้จาก อัตราส่วนของเวลาที่ใช้ ระหว่าง เวลาเตรียมตัว กับ เวลาเทรดจริง, เทรดเดอร์ที่เก่งที่สุด ก็เหมือน นักกีฬาที่เก่งที่สุด คือ พวกเขาจะใช้เวลาในการฝึก ขัดเกลาฝีมือตลอดเวลา นอกเวลาแข่งขัน, และระหว่างการฝึกฝน พวกเขาไม่เพียงแค่ใช้ จิตวิทยาในการพัฒนาผลการฝึก แต่พวกเขาถึงขั้นมีจิตวิทยาว่า การพัฒนาผลงานให้ดีขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของความเป็นมืออาชีพ และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปเลย
ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ