ทฤษฎีดาว ( Dow Theory)



ทฤษฎีดาว ( Dow Theory) 
 ทฤษฎี ดาว (Dow Theory) ถูกคิดค้นขึ้นโดย Charles Henry Dow ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นบิดาแห่งการวิเคราะห์ทางเทคนิค เมื่อเกือบ 100 ปีที่แล้ว แต่กฏและหลักการของดาว ยังคงใช้ได้ตราบจนถึงปัจจุบัน แต่หลักการนี้มิได้พูดถึงเพียงการวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ การเคลื่อนที่ของราคาหุ้น แต่สิ่งนี้ถือเป็นปรัชญาของตลาดหุ้น ที่อิธิบายถึงพฤติกรรมของตลาดหุ้นที่ยังคงเหมือนเดิม เกิดขึ้นซ้ำๆ เฉกเช่นเดียวกัน เมื่อตลาดหุ้นเมื่อ 100 ปี ที่แล้ว ดาว ได้พัฒนาการวิเคราะห์ตลาดหุ้นจนเกิดทฤษฎ๊ในช่วงปลายศตวรรตที่ 19 จนกระทั่งเขาได้เสียชีวิตในปี 1902 ซึ่งเขาเป็นส่วนหนึ่งของเจ้าของและเป็นบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ The wall street journal แม้ว่าเขาไม่ได้เขียนหนังสือของตัวเองก็ตาม แต่เขาก็ได้เป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือหลายเล่มในการการให้ความเห็นด้านการ เก็งกำไรและกฎ Industrial average หลัง จากที่ดาวได้เสียชีวิตแล้ว ก็มีหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับทฤษฎีของเขามากมาย เช่น The ABC of stock speculation , The stock market barometer 
ทฤษฎีดาว (Dow Theory) 
  
ตลาดขาขึ้น-ขั้นที่ 1 - สะสม 
 ฮา มิลตัน(Hamilton) กล่าวไว้ว่าในช่วงแรกของตลาดขาขึ้นมักจะไม่แตกต่างจากตลาดในช่วงขาลงแต่คน ใหญ่ยังมองในแง่ลบและทำให้แรงซื้อยังคงชนะแรงขายในช่วงแรกของขาขึ้น ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ไม่มีใครถือหุ้นประกอบกับไม่มีข่าวดีทำให้ราคาประเมิน ของหลักทรัพย์ถึงจุดต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาเช่นนี้เป็นช่งงที่ผู้ที่ลงทุนอย่างฉลาดจะเริ่มสะสมหุ้นและเป็นช่วง ที่ผู้ทีมีความอดทนและใจเย็นพอที่จะเห็นประโยชน์ของการเก็บหุ้นไว้จนกระทั่ง ราคาดีดกลับ บางครั้งหุ้นมีราคาถูกแต่กลับไม่มีใครต้องการ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ วอเร็นบัฟเฟตได้กล่าวไว้ในช่วงฤดูร้อนของปี 1974 ว่าตอนนี้ได้เวลาที่จะซื้อหุ้นแล้ว แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ ในระยะแรกของตลาดขาขึ้น ราคาหุ้นจะเริ่มเข้าใกล้จุดต่ำสุด แล้วค่อยๆยกตัวขึ้น และเป็นการเริ่มต้นของขาขึ้น หลังจากที่ตลาดยกตัวสูงขึ้นและดิ่งกลับลงมา จะมีแรงขายออกมาเป็นการบอกว่าขาลงยังไม่สิ้นสุด ในช่วงนี้เองที่จะต้องวิเคราะห์อย่างระมัดระวังว่าการปรับตัวลงมีนัยยะสำคัญ หรือไม่ หาไม่มีนัยยะสำคัญ จุดต่ำสุดของการลงจะยกตัวสูงขึ้นจากจุดต่ำสุดเดิม สิ่งที่ตามมาคือตลาดตะเริ่มสะสมตัวและมีการแกว่งตัวน้อย หลังจากนั้นจึงเริ่มปรับตัวสูงขึ้นและหากราคาเคลื่อนที่ขึ้นเหนือจุดสูงสุด เดิม จะเป็นการยืนยันการเริ่มต้นของแนวโน้มขาขึ้น 
  
ตลาดขาขึ้น -ขั้นที่ 2 -การเคลื่อนไหวครั้งยิ่งใหญ่ 
 ขึ้น ที่ 2 มักจะเป็นช่วงที่มีระยะเวลานานที่สุด และมีการปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด ระยะเวลานี้จะเป็นช่วงที่กิจการต่างๆกำลังเริ่มฟื้นตัวมูลค่าหลักทรัพย์จะ เพิ่มขึ้น รายได้และกำไรเพิ่มขึ้นจึงก่อให้เกิดความมั่นใจมากขึ้น ช่วงนี้จึงถือว่าเป็นข่วงที่สามารถทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีผู้เข้ามาลงทุนตามแนวโน้มของตลาดมากขึ้น 
ตลาดขาขึ้น -ขึ้นที่ 3 - เกินมูลค่า 
 ระยะ ที่ 3 ของตลาดขาขึ้น เป็นระยะที่มีการเก็งกำไรมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะตลาดเฟ้อ (ดาวได้คิดทฤษฎีนี้ขึ้นมาเมื่อประมาณ 100 ปีก่อน แต่เหตการณ์เช่นนี้ยังคงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยในปัจจุบัน) ในขั้นสุดท้ายนี้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในตลาด ค่าที่ประเมินสูงเกินไป และความมั่นใจมีมากจนเกินปกติ จึงเป็นช่วงที่เรียกได้ว่าเป็นส่วนกลับของขั้นที่ 1 
ตลาดขาลง - ขั้นที่ 1 - กระจาย 
 เมื่อ การสะสมเป็นขั้นที่ 1 ของขาขึ้น การกระจายก็คือขั้นแรกของขาลง นักลงทุนที่ฉลาดจะไหวตัวทันว่า ธุระกิจต่างๆในปัจจุบันไม่ได้ดีอย่างที่เคยคิด และเริมขายหุ้นออกแต่คนอื่นๆยังคงอยู่ในตลาดและพอใจในการซื้อที่ราคาที่สูง จึงเป็นการยากที่จะบอกว่าตลาดกำลังเข้าสู่ขาลง อย่างไรก็ตาม จุดนี้ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการกลับตัว เมื่อตลาดปรับตัวลง คนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อว่าตลาดเข้าสู่ขาลงและยังมองตลาดในแง่ดีอยู่ ดังนั้นเมื่อตลาดปรับตัวลงพอประมาณ จึงมีแรงซื้อกลับเข้ามาเล็กน้อย ฮามิลตันกล่าวว่าการกลับตัวขึ้นในช่วงขาลงนี้จะค่อยข้างรวดเร็วและรุนแรง ดังเช่นที่ฮามิลตันได้วิเคราะห์ไว้เกี่ยวกับการกลับตัวที่ไม่มีนัยยะสำคัญ นี้ ว่าส่วนที่ขาดทุนไปจะได้กลับคืนมาในระยะเวลาเพียงไม่กี่วันหรือสัปดาห์ การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วเช่นนี้เป็นการตอกย้ำว่าขาขึ้นของตลาดยังไม่สิ้นสุด อย่างไรก็ตาม จุดสูงสุดใหม่จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าจุดสูงสุดเดิม และหลังจากนั้น หากราคาสามารถทะลุผ่านจุดต่ำสุดเดิม นั่นเป็นการยืนยันถึงขั้นที่ 2 ของตลาดขาลง 
ตลาดขาลง - ขั้นที่ 2 - การเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ 
 เช่น เดียวกับตลาดในขาขึ้น ขั้นที่ 2 เป็นขั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงของราคามากที่สุด ช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่แนวโน้มเด่นชัดและกิจการต่างๆเริ่มถดถอย ประมาณการรายได้และกำไรลดลง หรืออาจขาดทุน เมื่อผลประกอบการแย่ลง แรงายจึงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
ตลาดขาลง - ขั้นที่ 3 - สิ้นหวัง 
 ณ จุดสูงสุดของตลาดขาขึ้น ความดาดหวังมีมากจนถึงขั้นมากเกินไปในตลาดขาลงขั้นสุดท้าย ความคาดหวังทั้งหมดหายไป มูลค่าที่ประเมินต่ำมาก แต่ยังคงมีแรงขายอย่างต่อเนื่องเพราะทุกคนในตลาดพยายามจะถอนตัวออก เมื่อข่าวร้ายเกี่ยวกับธุรกิจ มุมมองทางเศรษฐกิจตกต่ำ จึงไม่มีใครต้องการซื้อ ตลาดจะยังคงลดต่ำลงจนกระทั่งข่าวร้ายทั้งหมดได้ถูกซึมซับแล้ว เมื่อราคาสะท้อนถึงผลกระทบจากเหตการณ์ไม่ดีต่างๆแล้ว วัฏจักรก็เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง 
บทสรุปของทฤษฎีดาว(Dow Theory) 
 จุด ประสงค์ของดาวและฮามิลตัน คือ การหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้มและสามารถจับการเคลื่อนไหวครั้งใหญ่ได้ พวกเขารู้ดีว่าตลาดถูกขับเคลื่อนโดยอารมณ์ของตลาดและการเกิดปฏิกิริยาเกิน (Overreaction) จริง ทั้งในด้านบวกและด้านลบ พวกเขาจึงมุ่งความสนใจไปที่การมองหาแนวโน้มในการเคลื่อนไหวไปดามแนวโน้ม แนวโน้มจะยังคงอยู่จนกระทั่งจะสามารถพิสูจน์ได้แน่ชัดถึงแนวโน้มใหม่ ทฤษฎี ดาวช่วยให้นักลงทุนเรียนรู้ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ตั้งข้อสมมติฐานและคาดการณ์ล่วงหน้า การตั้งข้อสมมติฐานเป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับนักลงทุน เพราะการคาดเดาของตลาดเป็นเรื่องยาก ฮามิลตันเองยอมรับว่าทฤษฎีดาวนี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบ ในขณะที่ทฤษฎีนี้สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ ทฤษฎีนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการพัฒนาแนวทางการวิเคราะห์ของนักลงทุน การ อ่านเกมส์ตลาดเป็นศาสตร์ที่ได้จากประสบการณ์ตรงจากตลาด ดังนั้นกฏของฮามิลตันและดาวจึงมีข้อยกเว้นพวกเขามีความเชื่อว่าความสำเร็จ เกิดจากการศึกษาที่จริงจังและการวิเคราะห์ที่มีทั้งความสำเร็จและความผิด พลาด ความสำเร็จเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าหลงระเริง ขณเดียวกัน ความผิดพลาด ถึงแม้จะเจ็บปวด แต่จะให้บทเรียนที่มีค่า การวิเคราะห์ทางเทคนคเป็นศิลปะอย่างหนึ่งซึ่งสามารถพัฒนาได้โดยการฝึกฝน เรียนรู้จากความสำเร็จและล้มเหลวด้วยการมองไปข้างหน้า  ผม หวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆนะครับ เพื่อนๆ สามารถประยุกต์ ทฤษฎีดาว (Dow Theory ) เข้ากับวิธีของเทรดของเพื่อนๆได้นะครับ เพื่อนๆสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับทฤษฎีดาว (Dow 
  
 ทฤษฎี ดาว (Dow Theory)เกิดจากการรวบรวมและเรียบเรียงข้อความจากบรรณาธิการในหนังสือพิมพ์ "The wall street journal" ซึ่ง Charles Henry Dow และเพื่อนที่เป็นหุ้นส่วนชื่อ Edward Jones เป็นผู้ก่อตั้งหนังสือพิมฉบับนั้น เมื่อปี ค.ศ. 1882 Charles Henry Dow เป็นผู้เขียนบทบรรณาธิการ เขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์การเงิน ที่เมื่อก่อตั้งหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าว ต้องการเขียนรายงานข่าวเศรษฐกิจการเงิน ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีดัชนีอะไรทั้งสิ้น ดาวจะรายงานถึงตลาดหุ้นว่าดีหรือเลวอย่างไรขึ้นหรือลงแค่ไหน ก็เป็นเรื่องยากที่จะสื่อให้ผู้อ่านได้รู้ เขาจึงคิดดัชนีตัวหนึ่งขึ้นมา โดยใช้ชื่อเขาและหุ้นส่วน เรียกว่าดัชนีดาวโจนส์ โดยใช้หุ้นชั้นนำ (bluechip) จำนวนหนึ่งมาคำนวณเป็นดัชนีไว้เป็นตัวอ้างอิง จะได้สื่อกับผู้อ่านได้ว่า วันนี้ดัชนีดาวโจนส์ขึ้นหรือลงมากน้อยเพียงใด Image ปกติ ดาวเป็นนักวิเคราะห์การเงิน ซึ่งถ้าเป็นในสมัยนี้ก็ถือว่าเป็นนักวิเคราะห์ที่อิงปัจจัยพื้นฐาน เขาได้เขียนบทบรรณาธิการอยู่หลายปี และได้นำตัวเลขดัชนีดาวโจส์มาทำเป็นกราฟเพื่อรายงานให้ผู้อ่านได้เห็นภาพ พจน์ และแล้วดาวก็ได้สังเกตการเคลื่อนที่ของดัชนีดาวโจนส์ที่ได้นำเสนอผู้อ่าน เป็นกราฟ ว่ามันมีรูปแบบที่แสดงความสำพันธ์ของราคาและปริมาณการซื้อขายกับแกนวันเวลา ว่ามันมีรูปแบบ(Price Pattern) ที่คาดคะเนแนวโน้มได้ เขาจึงได้เขียนบทวิเคราะห์วิจารณ์หุ้นด้วยกราฟ จึงนับได้ว่าดาวเป็นบิดาของการวิเคราะห์ทางเทคนิคของฝ่ายตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้ในประเทศญี่ปุ่นก็มีผู้ที่ใช้กราฟแท่งเทียน ( Candlestick Chart) ในการวิเคราะห์ราคาข้าวและพืชผลทางการเกษตรกันแล้ว  ต่อ มาเมื่อดาวเสียชีวิตลง เพื่อนๆและแฟนประจำคอลัมน์ในของเขาได้ช่วยกันรวบรวมบทบรรณาธิการนั้นขึ้นมา ใหม่ จนกลายเป็น ทฤษฎีดาว (Dow Theory) ตาม ความคิดของดาวนั้น เขามองการขึ้นลงของหุ้นเปรียบเสมือนการขึ้นลงของน้ำทะเล กล่าวคือ ช่วงที่น้ำกำลังขึ้นนั้นคลื่นที่ซักเข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะถูกขยับสูงกว่าสูง กว่าคลื่นครั้งก่อนๆ ในทางกลับกัน ช่วงที่น้ำทะเลเริ่มลดลง ลูกคลื่นที่เข้าหาฝั่งแต่ละลูกจะค่อยๆมีระดับทีี่ลดลง การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นก็มีลักษณะเดียวกับการเคลื่อนไหวของกระแสน้ำในทะเล ตอนขาขึ้นระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้นจะสูงกว่าระยะทางที่หุ้นตกลง แต่ตอนขาลงระยะทางที่หุ้นตกลงจะยาวกว่าจะระยะทางที่หุ้นวิ่งขึ้น จากแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้ถูกพัฒนาเป็นลำดับ เนื่องจากวัฒนธรรมการเผยแพร่ความรู้แบบตะวันตกทำให้เกิดกลุ่มที่มีความเชื่อ ทางทฤษฎีนี้มากมายจนถึงทุกวันนี้ และมีผู้ที่เชื่อว่าทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ก็เป็นทฤษฎีที่แตกสาขามาจากทฤษฎีดาว(Dow Theory)นั่นเอง เพียงแต่ ทฤษฎีคลื่น Elliott Wave ได้ขยายความละเอียดลึกลงไป จนผู้ที่ไม่ได้ศึกษาอย่างลึกซึ้งและนำความรู้ที่เพียงบางส่วนมาใช้ จะให้เกิดความผิดพลาดได้อย่างมาก Image   เมื่อ H= High จุดสูงสุด L = Low จุดต่ำสุด Dow ได้แบ่งแนวโน้มราคาหุ้นเป็น 3 ประเภทตามระยะเวลา คือ 1. แนวโน้มใหญ่ ( Primary trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะยาว 2.แนวโน้มรอง (Secondary or Intermediate trend) ซึ่งเป็นแนวโน้มระยะกลาง 3.แนวโน้มย่อย (Minor trend ) ซึ่งเป็นแนวโน้มของราคาระยะสั้นๆ เป็นการเคลื่อนไหวของราคาประจำวัน  ทฤษฎีดาว (Dow Theory)ได้กล่าวไว้ว่า 
1.แนวโน้มใหญ่ (Primary Trend) 
  
หรือแนวโน้มระยะยาว ปกติจะใช้เวลา 1 ปี หรือ 200 วันขึ้นไปอาจจะยาวนานถึง 4 ปี 
Uptrend (แนวโน้มขึ้น ) 
 ทฤษฎีดาว (Dow Theory) 1. Low ใหม่ จะสูงกว่า Low เก่า (จุด L2 สูงกว่า L1) และ L3 ก็สูงกว่า L2 เช่นเดียวกัน 2.High ใหม่ จะสูงกว่า High เก่า ( จุด H2 สูงกว่า H1) และ H3 ก็สูงกว่า H2 เช่นเดียวกัน 3. ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นจะยาวกว่าระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลง ( ระยะระหว่าง L1 ถึง H2 จะยาวกว่าระยะระหว่าง H2 ถึง L2)  ก่อนเปลี่ยนแนวโน้ม จุดต่ำสุดและสุดสูงสุดใหม่กับเก่า อาจจะอยู่ในระดับเดียวกัน Dow Theory 
แนวโน้มลง Down Trend 
  Image1. Low ใหม่จะต่ำกว่า Low เก่า ( จุด L2 ต่ำกว่า จุด L1) และ จุด L3 ก็อยู่ต่ำกว่า L2 เช่นเดียวกัน 2. High ใหม่ จะอยู่ต่ำกว่า High เก่า ( จุด H2 อยู่ต่ำกว่า จุด H1) และ จุด H3 ต้องอยู่ต่ำกว่า H2 เช่นเดียวกัน 3.ระยะที่ราคาหุ้นวิ่งลงจะยาวกว่าระยะทางที่ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไป ( H1L2 มากกว่า L2H2) 
2.แนวโน้มรอง (Secondary หรือ Intermediate Trend) 
  
เป็น แนวโน้มระยะกลางที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์หรือหลายเดือน 25วัน ถึง 200 วัน แนวโน้มรองนี้รวมตัวกันแล้วก่อนให้เกิดเป็นแนวโน้มใหญ่ อันประกอบด้วยแนวโน้มรองขึ้น และแนวโน้มรองลง 
ตอนหุ้นขึ้น แนวโน้มรองจะยาวกว่าแนวโน้มรองลง 
ตอนหุ้นขาลง แนวโน้มรองขึ้นจะสั้นกว่าแนวโน้มรองลง 
3.แนวโน้มย่อย (Minor Trend) 
  
เป็น ส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการแกว่งตัวของราคาในระยะสั้นรายวัน แต่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ในหลักวิชาแล้วนักวิเคราะห์ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ มองเพียงเป็นส่วนประกอบของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่เท่านั้น 
ผม ขอเสริมนะครับ ในส่วนนี้ ถ้าเรานำทฤษฎีนี้มาใช้กับตลาดฟอเร็ก Forex Market แนวโน้มใหญ่ที่เราควรจะมองคือ Month week แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลาง คือ Daily แนวโน้มย่อยคือ ต่ำกว่า 4 H 
พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม 
การ เคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆแนวโน้มจะเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental factors) และจะปรากฏเป็นจิตวิทยามวลชน (mass psychology)ที่จะอธิบายแต่ละช่วงของแนวโน้มอันประกอบเป็นแนวโน้มใหญ่ ซึ่งแนวโน้มใหญ่มี สองชนิดคือ แนวโน้มขาลงหรือตลาดกระทิง (bull market) และแนวโน้มขาลงหรือ ตลาดหมี (bear market ) และแต่ละแนวจำแนกออกเป็น 3 ระยะ (phase) ดังนี้คือ 
ตลาดกระทิง (Bull Market) 
1. ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase) 
เมื่อ ราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีบ่งชี้ตกต่ำถึงที่สุด เกิดเนื่องจากภาวะหุ้นตกต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนมูลค่าซื้อขายน้อยลงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในช่วงนี้หุ้นหลายตัวจึงไม่คึกคักเพราะหาคนขายยากเนื่องจากขายหมดแล้วหรือ ขาดทุนมาก จึงเก็บไว้เป็นการลงทุนในระยะยาว ส่วนคนซื้อก็น้อยเพราะเข็ดเขี้ยว 
ระยะ นี้เป้นรอยต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) ครั้งสำคัญ สภาวะการณ์ต่างๆไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่อืมครึม เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่ดี ผลกำไรของบิษัทออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ช่วงนี้นี่เองที่นักลงทุนมองเห็นการณ์ไกล สายป่านยาว หรือทุนหนา เริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ซื้อไล่ขึ้น แต่จะซื้อเมื่อหุ้นปรับตัวลงมาถึงราคาเป้าหมาย (Target Price) แรงซื้อนี้ทำให้หุ้นขยับขึ้นลงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนจ้องซื้อ 
ทุก ครั้งเมื่อหุ้นตกถึงระดับนี้ เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง หรืออื่นๆ จะเลงร้ายถึงขีดสุด จนเป็นระยะที่นักลงทุนคิดว่าไม่มีอะไรเสียหายมากกว่านี้อีกแล้ว อย่างมากก็เสียเวลารอคอยเท่านั้น เป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่เห็นการณ์ไกลหรือนักลงทุนหน้าใหม่ จังหวะนี้นับว่าน่าลงทุนที่สุดระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของแนวโน้มใหญ่ขาลง (Final phase of the bear market) 
2.ระยะกักตุนหุ้น (Correction Phase) 
ใน ระยะนี้มูลค่าซื้อขายจะเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาหุ้นแต่ละตัวมีแนวโน้มขยับฐานเพิ่มสูงขึ้นทีละนิด ข่าวดีเริ่มมีให้เห็น เศรษฐกิจทั่้วไปดูดีขึ้น ผลการดำเนินการของบริษัทได้เรียกร้องความสนใจของนักลงทุน ส่งผลให้จำนวนนักลงทุนและมูลค่าการซื้อขายสูงมากขึ้นเป็นลำดับ 
3. ช่วง "ตื่นทอง (Boom Phase)" 
ช่วง นี้หุ้นแทบทุกตัวจะขยับขึ้นในอัตราที่สูงและติดต่อกันหลายวัน บางหุ้นขยับขึ้นไปติดเพดาน มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้นหลายสิบเท่า จำนวนคนในตลาดสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นระยะที่ข่าวดีรวมทั้งข่าวลือจะประดังเข้ามาไม่ขาดระยะ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ผลกำไร ของบริษัทที่คาดว่าเพิ่มขึ้น จังหวะนี้เองที่บริษัทในตลาดถือโอกาสเพิ่มทุนขนานใหญ๋ นักเก็งกำไรเข้ามามากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวและกองทุนเริ่มทยอยออก เนื่องจากส่วนใหญ่เริ่มมีกำไรในอัตราที่พอใจแล้ว สื่อมวลชนเริ่มลงข่าวออกมา วิจารณ์ว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในที่สุดช่วงนี้เองที่แนวโน้มเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลง 
ตลาดหมี (Bear Market) 
1.ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase) 
เป็น ระยะแรกของตลาดหมี อันเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่ทำการแจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ เนื่องมาจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากจนเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานจะอำนวยให้ นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหว เพราะเห็นว่าราคาขึ้นมาสูงเกินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก่อนจะเป็นตลาดหมี (Bear Market) จะมีสัญญาณเตือนโดยมีการแกว่งตัวระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันมาก ตอนราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดสูงขึ้นแต่มูลค่าของการซื้อขายกลับลดลง แสดงว่าไปได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นต่ำลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้พยายามขายลดพอร์ต (port) ลง 
2.ระยะขวัญเสีย (Panic Phase) 
ระยะ นี้นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะไปไม่ไหว ข่าวต่างๆเริ่มออกมาทางลบ ข่าวลืมประเภทไม่ดีเริ่มแพร่หลาย เป็นเหตุให้ราคาหุ้นตกอย่างแรง คนเล่นหุ้นที่ขายตัดขาดทุน (Cut loss) ไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ชอบเก็งกำไรราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีก็ยังตกลงมาเหมือนกัน เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่ช้ากว่าเท่านั้น หลังการตกของราคาหุ้นครั้งใหญ่อาจมีการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นชั่วคราว (Rebound) ช่วงนี้ห้ามเข้าไปซื้อเด็ดขาด ถ้ายังไม่อยากขาดทุนหนัก 
3.ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase) 
ขณะ ที่หุ้นมีราคาต่ำมาก อาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (book value) หรือราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะทั่วไปยังไม่ดีขึ้นก็ตาม แต่นักลงทุนก็จะไม่ยินดียินร้ายกับข่าวลืมหรือข่าวจริง ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ระยะที่สามของแนวโน้มใหญ่ขาลงนี้คาบเกี่ยวกับระยะแรกของแนวโน้มขาใหญ่ขึ้น (accumulation)ซึ่งเกิดการประลองกำลังกันของความกล้าและความกลัวในใจของตัว เอง เพราะระยะนี้ถ้าไม่สังเกตอย่าใกล้ชิด จะวิเคราะห์ยากมากจนดูแทบไม่ออก 
ใน การเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นนั้น แนะนำว่าให้หัดมองภาพรวมของตลาดก่อนว่ามีทิศทางใด โดยใช้หลักการของทฤฤฎีดาว (Dow Theory) และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม ควบคู่ไปกับการใช้ Indicators เพื่อเป็นจุดชี้วัด ยืนยันสัญญาณในการเทรด Indicators ที่แนะนำ คือ Relativa Strength Index (RSI) , MACD , Moving Average (MA) ครับ 
  
ผมหวังว่าบทความเรื่องทฤษฎีดาว (Dow Theory) คงจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ นะครับ เพื่อนๆสามารถติดตามบทความเกี่ยวกับ ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ในหมวดหมูของบทความหัวข้อ  Credit:www.9professionaltrader.blogspot.com   
  

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ