บทความ

Multiple Time Frame Analysis  ก็คือการวิเคราะห์คู่เงินเดียว ราคาเดียวกันในหลาย Time Frame หรือในกรอบเวลาที่แตกต่างกันนั่นเอง อย่าลืมว่าแต่ละคู่เงินมีหลายกรอบเวลา อย่างกราฟรายวัน รายชั่วโมง 15 นาทีหรือแม้แต่ 1 นาที ซึ่งหมายความว่านักลงทุนอาจมีความเห็นที่แตกต่างกันในการเทรดคู่เงินเดียว กัน และความเห็นของพวกเขาทั้งสองก็เป็นความเห็นที่ถูกต้องเหมือนกัน อย่างเช่น พรนภา อาจจะเห็นว่า EUR/USD นั้นอยู่ในแนวโน้มขาลงในกราฟ 4 ชั่วโมง แต่อัครเทพ นั้นเทรดในกราฟ 5 นาที และเห็นว่าราคายังวิ่งอยู่ในกรอบราคาขึ้นๆลงๆ  และความเห็นของพวกเขาทั้งสองต่างก็ถูกต้อง   และด้วยเหตุนี้เองที่สร้างปัญหาให้การ เทรดเกิดความสับสนในบางครั้ง เมื่อมองดูราคาที่กราฟ 4 ชั่วโมง เห็นว่ามีสัญญาณขายแล้วก็ไปดูที่ กราฟรายชั่วโมงแล้วเห็นว่าราคายังค่อยๆปรับตัวขึ้น  แล้วทีนี้จะทำอย่างไร ??  ให้ยึดกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งเป็นหลัก ใช้สัญญาณจากกรอบเวลานั้นในการเทรดโดยไม่ต้องสนใจกรอบเวลาอื่นหรือว่าอย่าง ไร ??? ในบทความนี้เราจะพูดถึงว่าคุณควรโฟกัส ไปที่กรอบเวลาไหน เทรดเดอร์แต่ละคนควรเลือกเทรดในกรอบเวลาใดกรอบเวลาหนึ่งที่เหมาะ
พันธบัตรหรือตราสารหนี้ เป็นตราสารการเงินที่เป็นสัญญาแสดงความเป็นหนี้ระหว่างผู้ออก และผู้ถือตราสารหนี้ (หรือที่เรียกว่า“ผู้ลงทุน”) ตรา สารหนี้ต้องมีกำหนดอายุและอัตราดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์อื่นๆเป็นจำนวนที่แน่ นอน โดยระบุวันที่ชำระดอกเบี้ยและเงินต้นล่วงหน้าตั้งแต่เมื่อออกตราสารนั้น และในระหว่างที่ยังไม่ครบกำหนดอายุ รวมถึงวันไถ่ถอน นอกจากนี้ ตราสารหนี้ยังสามารถซื้อขายโอนเปลี่ยนมือกันได้ ผู้ ออกตราสารหนี้คือผู้กู้เงินจากผู้ที่ซื้อตราสารหนี้ ดังนั้น ผู้ออกจึงเป็น “ลูกหนี้” ในขณะที่ผู้ซื้อ คือ “ผู้ให้กู้” หรือ “ เจ้าหนี้” นั่นเอง ซึ่งแตกต่างจากตราสารทุนหรือหุ้นสามัญที่ผู้ถือตราสารทุนนั้นจะลงทุนในส่วน ของผู้ถือหุ้น และมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการนั้นๆ ไม่ใช่เป็นเจ้าหนี้ ตรา สารหนี้ เป็นคำศัพท์กว้างๆ แต่ที่ท่านอาจคุ้นเคยมากกว่า คือ “พันธบัตร” และ “หุ้นกู้” โดยพันธบัตรมักใช้เรียกตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ส่วนหุ้นกู้จะถูกเรียกใช้เมื่อออกโดยบริษัทเอกชน ในต่างประเทศจะใช้คำว่า “Bond” สำหรับตราสารหนี้ทั่วไปทั้งที่ออกโดยรัฐบาลและเอกชน แต่จะมีในบางกรณีที่อาจจะเร
  ปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มในตลาดระยะยาว มีปัจจัยพื้นฐานหลายอย่างที่จะช่วยให้ เราเห็นถึงแนวโน้มระยะยาวของค่าเงินสกุลหลักได้ว่าเข็งแรงหรืออ่อนแอ ซึ่งในบทความนี้เราจะรวมปัจจัยสำคัญหลักๆที่มีผลต่อสกุลเงินหลักไว้ มุมมองและการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราเริ่มต้นกันแบบง่ายๆด้วยเรื่องของ เศรษฐกิจและมุมมองจากผู้บริโภค, ภาคธุรกิจและหน่วงงานรัฐบาล ซึ่งก็เป็นเรื่องง่ายๆที่จะเข้าใจได้ว่า ถ้า ผู้บริโภครับรู้ได้ว่าเศรษฐกิจในประเทศของพวกเขาแข็งแกร่ง พวกเขาก็จะมีความสุขและรู้สึกปลอดภัย ก็ทำให้พวกเขาใช้เงินกันได้อย่างสบายใจ ในส่วนของภาคธุรกิจเช่นกัน เมื่อเศรษฐกิจดีผู้คนต่างพากันใช้เงินอย่างไม่ต้องกังวลก็ทำให้สินค้าขายดี กิจการก็มีรายได้เพิ่มมากขึ้น บริษัทอาจนำเงินที่ได้มานี้ในการขยายกิจการ หรือจ้างหนักงานเพิ่ม เพื่อเพิ่มกำลังผลิตให้มากขึ้น และเมื่อมีการใช้จ่ายกันมากขึ้นทั้งในภาคผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ก็ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินภาษีบางอย่างที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเมื่อทุกฝ่ายเริ่มใช้เงินก็จะมีผลกระทบในเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจ และในทางตรงกันข้าม สภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอก็มักจะมาพร้อมกับ
  ปัจจัยหลักๆที่สำคัญในการลงทุนในมุมมอง ของผม (i_sarut ผู้เขียนบทความ) ก็คือ หลักการ, ความรู้, EQ และ ประสบการณ์ ผมว่าปัจจัย 4 อันนี้มีความสำคัญเท่าๆกันหมด จะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ (แต่สามารถมีมากกว่า 4 อย่างได้) ถ้าคุณอยากประสบความสำเร็จในการลงทุน เราต้องมีองค์ประกอบเหล่านี้ และต้องพัฒนาไปทุกๆด้านครับ ข้อที่ 1: หลักการ (Principle) อยู่ที่ว่าคุณเทรดแนวไหน ก็ให้นำหลักการของสายนั้นมาใช้ ดูกราฟก็เชื่อกราฟ (Technical Analysis) ดูพื้นฐานก็เชื่อพื้นฐานครับ (Fundamental Analysis) หรือจะเป็นแนวผสมก็ได้ ผมสังเกตว่าเดี๋ยวนี้คนเล่นแนวผสมมีเยอะมากครับ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดหรือประหลาดอะไร ใครถนัดใช้เครื่องมืออะไรก็ใช้ไปครับ แต่ขอให้คุณลงทุนอย่างมีความสุข และได้กำไรก็เพียงพอแล้วครับ ที่สำคัญคืออย่าขาดทุนนะครับ ผมชอบประโยคนึงของพี่คลายเครียด ที่เขียนไว้ในหนังสือ VSOP ว่า “ ถ้า เราใช้หลักการไหนแล้วยัง ได้เงินได้กำไรอยู่เรื่อยๆ ก็ให้ใช้หลักการนั้นต่อไป แต่ถ้าใช้แล้วไม่ได้เงินก็ให้ลองเปลี่ยนแนวดู จนกว่าจะเจอแนวทางที่ลงตัว” แต่ทั้งนี้ ทุกคนควรจะมีหลักการลงทุนเป็นของตัวเองนะครับ
นโยบายงบประมาณ   คือการจัดการใส่สวนของรายได้ (ภาษี) และค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในประเทศหรือรัฐ นโยบายงบประมาณ  ยังรวมถึงนโยบายภาษี ในแต่ละปีเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะลงคะแนนเสียงสำหรับงบประมาณตามรายได้และการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถนำเสนอในสามรูปแบบ -  งบประมาณสมดุล -  งบประมาณขาดดุล -  งบประมาณเกินดุล ดุลงบประมาณ (รายได้ – รายจ่าย) คือการประเมินผลของนโยบายงบประมาณที่ดำเนินการระหว่างปี  ความสมดุลนี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ ระยะเวลาของการเจริญเติบโตจะมีผลในเชิงบวกต่องบประมาณสมดุล ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะมีผลในเชิงลบต่องบประมาณสมดุล นโยบายงบประมาณในช่วงภาวะถดถอย ในภาวะถดถอยงบประมาณที่ได้ในเกือบทุกกรณีจะขาดดุล  ที่จริงรัฐบาลหาทางที่จะกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของประชาชนเฟื่อฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจ ในทฤษฎีของเคย์เนเซียน (JM Keynes 1936) งบประมาณแบบนี้ดูเหมือนว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ (เพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น) แต่ในบางกรณีการขาดดุลงบประมาณอาจเนื่องมาจากการที่รายได้จากภาษีลดลง (การเก็บภาษีในอัตราที่ลดลง) เราจึงต้องแยกความแตกต่างว่าเป็
สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดมาซักระยะหนึ่งแล้ว ต่างก็น่าจะพอรู้จัก Indicators หรือเครื่องไมเครื่องมือต่างๆที่เรสามารถนำมาช่วยในการวิเคราะห์กราฟได้พอสมควรแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการปรับใช้เครื่องเมือต่างต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้เข้าใจถึงจุดเด่นและจุดด้อยของเครื่องมือแต่ละอย่าง และให้คุณสามารถเลือกใช้ Indicator แต่ละชนิดให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด Indicators แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ Leading indicator  เป็นตัวชี้วัดที่ให้สัญญาณก่อนที่จะเกิดเทรนใหม่  หรือ ก่อนที่ราคาจะมีการกลับตัว Lagging indicator  เป็นตัวชี้วัดที่ให้สัญญาณหลังจากที่เทรนใหม่เกิดขึ้นแล้ว หรือหลังจากที่ราคามีการกลับตัวแล้ว  เพื่อเป็นการยืนยันการกลับตัวหรือการเปลี่ยนเทรนของราคา และคุณควรรู้ว่าแนวโน้มใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว คุณอาจจะคิดว่าถ้าเป็นอย่างนั้น  การใช้ Leading indicators ก็อาจทำให้คุณรวยได้ เพราะคุณสามารถได้กำไรจากการเข้าเทรดตั้งแต่ต้นเทรน ซึ่งมันก็ถูก  ถ้าคุณสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่มีสัญญาณและ Indicator นั้นให้สัญญาณที่ถูกต้องทุกครั้ง แต่ในความเป็นจริงสัญญาณมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่ถ้าคุณใช้  Leading indicator ก็จะ
Fail Fibonacci เราคงรู้จักการ Breakout ที่เกิดกับแนวรับแนวต้านกันดีอยู่แล้ว และเช่นเดียวกันในการใช้ Fibonacci ก็สามารถเกิด Breakout ได้เหมือนกัน ในภาพคือ กราฟ GBP/USD ใน TF 4 ชั่วโมง ซึ่งราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และราคามีการดีดตัวกลับขึ้นมา เราจึงใช้ Fibonacci มาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการหาจุดเข้าเปิดออเดอร์ใหม่ว่าจุดไหนจะเป็นจุดที่ดีที่สุด เราลาก Fibonacci  จากสวิงไฮที่ 1.5383 ถึงสวิงโลว์ที่ระดับ 1.4799 สังเกตได้ว่าราคาวิ่งหยุด และไต่อยู่ที่ระดับ 50.0% ขอ Fibonacci  และนี่ก็คือ ระดับที่เราน่าจะถือโอกาสเปิดออเดอร์เซล แต่ถ้าคุณไม่ได้เปิดออเดอร์ในจังหวะนี้ คุณก็อาจจะตกรถได้ แต่เดียวก่อน นอกจากนั้นคุณก็ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดการกับความเสี่ยงด้วย เพราะบัญชีของคุณอาจจะเจอกับสภาวะการที่เลวร้ายได้หากว่าคุณไม่ได้มีการจัดการกับความเสี่ยง ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ การกลับตัวในสวิงโลว์จุดต่ำสุดของแนวโน้มขาลง และตลาดเริ่มที่จะดีดตัวกลับไปหาสวิงไฮ และจากกรณีแบบนี้สอนอะไรเราได้บ้าง ? ในขณะที่ Fibonacci Level ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการเทรดได้มากขึ้น แต่ก็เช่นเดียวกับเครื่องมือ