ปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มในตลาดระยะยาว

 
ปัจจัยหลักที่มีผลต่อแนวโน้มในตลาดระยะยาว
มีปัจจัยพื้นฐานหลายอย่างที่จะช่วยให้ เราเห็นถึงแนวโน้มระยะยาวของค่าเงินสกุลหลักได้ว่าเข็งแรงหรืออ่อนแอ ซึ่งในบทความนี้เราจะรวมปัจจัยสำคัญหลักๆที่มีผลต่อสกุลเงินหลักไว้
มุมมองและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
เราเริ่มต้นกันแบบง่ายๆด้วยเรื่องของ เศรษฐกิจและมุมมองจากผู้บริโภค, ภาคธุรกิจและหน่วงงานรัฐบาล ซึ่งก็เป็นเรื่องง่ายๆที่จะเข้าใจได้ว่าถ้า ผู้บริโภครับรู้ได้ว่าเศรษฐกิจในประเทศของพวกเขาแข็งแกร่ง พวกเขาก็จะมีความสุขและรู้สึกปลอดภัย ก็ทำให้พวกเขาใช้เงินกันได้อย่างสบายใจ
ในส่วนของภาคธุรกิจเช่นกัน เมื่อเศรษฐกิจดีผู้คนต่างพากันใช้เงินอย่างไม่ต้องกังวลก็ทำให้สินค้าขายดี กิจการก็มีรายได้เพิ่มมากขึ้น บริษัทอาจนำเงินที่ได้มานี้ในการขยายกิจการ หรือจ้างหนักงานเพิ่ม เพื่อเพิ่มกำลังผลิตให้มากขึ้น
และเมื่อมีการใช้จ่ายกันมากขึ้นทั้งในภาคผู้บริโภคและภาคธุรกิจ ก็ทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นจากเงินภาษีบางอย่างที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเมื่อทุกฝ่ายเริ่มใช้เงินก็จะมีผลกระทบในเชิงบวกต่อระบบเศรษฐกิจ
และในทางตรงกันข้าม สภาวะเศรษฐกิจที่อ่อนแอก็มักจะมาพร้อมกับการที่ผู้บริโภคไม่อยากจะใช้จ่าย เงิน ภาคธุรกิจก็ไม่อยากจะทำการใดๆเพิ่มเติม หรืออาจจะลดกำลังการผลิตลง และส่งผลทำให้มีคนตกงานเพิ่มขึ้นด้วย เมื่อไม่มีการใช้จ่ายในประเทศรัฐบาลก็ขาดรายได้จากส่วนนี้ แต่รัฐบาลยังต้องใช้จ่ายเงินอยู่ และนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมมุมมองและความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจจึงได้มีผลโดยตรงต่อตลาดเงิน
เงินทุนหมุนเวียน (Capital Flows)
ในโลกยุคใหม่นี้ มีอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนประกอบที่ช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น รวมถึงด้านการลงทุนด้วย ซึ่งไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในโลกใบนี้คุณก็สามารถดูข้อมูลการลงทุนได้เพียง แค่คลิ๊กเข้าไปดู ดารลงทุนในตลาดหุ้นนิวยอร์กหรือลอนดอน ดัชนีนิกเกอิ หรือฮั่งเส็ง หรือตลาดอัตราแลกเปลี่ยน
Capital flows จะวัดปริมาณเงินทุนที่หมุนเวียนเข้า-ออกของประเทศหรือระบบเศรษฐกิจจากการซื้อ-ขายในการลงทุน และสิ่งที่สำคัญที่คุณต้องติดตามในส่วนนี้ก็คือความสมดุลในการหมุนเวียนของเงินทุน (Capital balance) ว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ
ถ้าประเทศมีความสมดุลของเงินทุนเป็นบวก ก็หมายความว่ามีการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศมากกว่าการลงทุนจากใน ประเทศออกไปต่างประเทศ และความสมดุลในเชิงลบก็จะเป็นทางตรงกันข้ามคือ เงินทุนออกไปนอกประเทศมากกว่าที่จะเข้ามาในประเทศนั่นเอง
เมื่อต่างประเทศต้องการจะเข้ามาลงทุนใน ประเทศมากขึ้นก็จะเพิ่มความต้องการในสกุลเงินของประเทศให้เป็นที่ต้องการของ นักลงทุนชาวต่างชาติ และนักลงทุนต่างชาติก็ต้องขายเงินสกุลของพวกเขาเพื่อมาซื้อสกุลเงินท้องถิ่น ของประเทศที่พวกเขาต้องการลงทุน ความต้องการนี้ก็จะผลักดันทำให้ค่าเงินมีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่งมันก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ง่ายๆคือ อุปสงค์ และ อุปทาน (supply and demand)
และในทางตรงกันข้าม ถ้ามีความต้องการในสกุลเงินน้อย หรือมีอุปทานสูงกว่าความต้องการ สกุลเงินก็มีแนวโน้มที่จะอ่อนแอ เมื่อนักลงทุนต่างชาติไม่เข้ามาลงทุนในประเทศ และนักลงทุนภายในประเทศหอบเงินไปลงทุนในต่างประเทศก็จะทำให้นักลงทุนต่างพา กันขายสกุลเงินท้องถิ่นแล้วไปซื้อสกุลเงินของประเทศที่ตนต้องการจะลงทุน ก็จะทำให้มูลค่าของเงินท้องถิ่นนั้นลดลง
เงินทุนต่างประเทศจะไหลเข้าไปอยู่ในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูง และมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีการเติบโตที่ดีในตลาดการเงิน นักลงทุนรักตลาดหุ้นที่เฟื่องฟู อัตราดอกเบี้ยสูง และเมื่อมีความต้องการลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นๆค่อยๆสูงขึ้นตามไปด้วย
การซื้อขายและดุลการค้า
เราอยู่ในตลาดโลกที่มีการซื้อขายแลก เปลี่ยนกัน ประเทศจะขายสินค้าตัวเองให้กับประอื่นๆที่ต้องการ (ส่งออก) และในขณะเดียวกันก็ซื้อสินค้าที่ต้องการจากประเทศอื่นๆด้วย (นำเข้า) ลองดูรอบๆตัวเรา เราก็จะเห็นสินค้าหลายอย่างที่มาจากต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า เสื้อผ้า ของเล่น และอื่นๆ และเวลาที่เราซื้อของเราก็ต้องจ่ายเงินถูกมั้ยคะ นั่นก็คือการจ่ายเงินซื้อของจากต่างประเทศเงินเราก็จะออกไปอยู่ต่างประเทศ ด้วยเช่นกัน
ตัวอย่างเช่น ผู้นำเข้าสหรัฐฯและผู่ส่งออกคือจีน สหรัฐก็ต้องนำเข้า(แลก)เงินหยวนเพื่อจ่ายให้จีน และจีนก็ต้องแลกเงินหยวนเป็นยูโรเมื่อจีนต้องการซื้อของจากยุโรป นี่ก็คือการซื้อขายแลกเปลี่ยนที่มาพร้อมกับการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในการไหลเวียนของสกุลเงินที่เข้า-ออกจากต่าง ประเทศ
ดุลการค้า (หรือความสมดุลของการค้าหรือการส่งออกสุทธิ) เป็นตัววัดอัตราส่วนของการส่งออก-นำเข้าของระบบเศรษฐกิจ มันแสดงให้เห็นถึงความต้องการในสินค้าและบริการของประเทศมาจนถึงสกุลเงินใน ที่สุด ถ้าการส่งออกสูงกว่าการนำเข้า ก็จะทำให้เกิดการเกินดุลการค้า ซึ่งดุลการค้าก็จะเป็นบวก ต้าการนำเข้าสูงกว่าการส่งออก ก็ทำให้เกิดการขาดดุล และดุลการค้าก็จะเป็นลบ

นำเข้า > ส่งออก > เกินดุลการค้า = บวก (+) ดุลการค้า

นำเข้า > ส่งออก > ขาดดุลการค้า = ลบ (-) ดุลการค้า


การขาดดุลการค้ามีโอกาสที่จะผลักดันให้มูลค่าของสกุลเงินลดลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ

Net importers  (ผู้นำเข้าสุทธิ)
ประเทศที่นำเข้ามากกว่าส่งออก ก่อนอื่นผู้นำเข้าจะต้องขายสกุลเงินของตนเองเพื่อซื้อสกุลเงินของผู้ประกอบ การต่างประเทศที่มีสินค้าที่ตนต้องการ 
เมื่อมีการขาดดุลการค้า สกุลเงินท้องถิ่นของประเทศนั้นๆจะถูกขายเพื่อไปซื้อสกุลเงินต่างประเทศที่ ขายสินค้า เพราะอย่างนี้ สกุลเงินของประเทศที่ขาดดุลการค้าจึงมีความต้องการน้อยกว่าเมื่อเทียบกับ สกุลเงินของประเทศที่มีการเกินดุลการค้า

Net Exporters (ผู้ส่งออกสุทธิ)
ประเทศที่ส่งออกมากกว่านำเข้า สกุลเงินของพวกเขาจะถูกซื้อมากขึ้นโดยประเทศที่สนใจในการซื้อสินค้าส่งออก ของประเทศ เมื่อมีความต้องการมากขึ้นก็จะช่วยให้สกุลเงินของพวกเขามีคามากขึ้น ซึ่งทั้งหมดก็เนื่องมาจากความต้องการในสกุลนั่นเอง และสกุลเงินที่เป็นที่ต้องการสูงก็มีค่าสูงกว่าสกุลเงินที่มีความต้องการ น้อย
นโยบายของรัฐบาลในปัจจุบันและอนาคต
อย่างที่เราเห็นกันว่า นักลงทุนจะจับตาดูการแถลงการณ์เกี่ยวกับนโยบายต่างของรัฐบาลในแต่ละประเทศ ว่าเป็นอย่างไรมีปัญหาอะไร และมีแนวโน้มในการแก้ไขปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ รวมถึงวิธีการฟื้นฟูหรือมีวิธีพัฒนาการเติบโตอย่างไร
ความไม่ แน่นอนของรัฐบาลในปัจจุบันหรือการเปลี่ยนแปลงการบริหารงานในปัจจุบันนั้นมี ผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจของประเทศที่และแม้กระทั่งประเทศเพื่อนบ้าน และผลกระทบต่อเศรษฐกิจใดมากที่สุดมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่ออัตราแลก เปลี่ยนด้วย เพราะอย่างนี้ เราในฐานะนักลงทุนในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนจึงไม่ควรที่จะละเลยข่าวสารพวกนี้ ด้วย


Credit:http://www.thaiforexschool.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ