บทความ

Fibonacci เป็นเครื่องมือเครื่องมือที่ใช้วัดหา แนวรับ –แนวต้านและหาราคาเป้าหมายของราคาในตลาดForex เทรดเดอร์ส่วนใหญ่ใช้กันมากเพราะ Fibonacci ใช้ง่าย และเป็นพื้นฐานที่เราควรจะรู้  สัดส่วนของ fibonacci ได้แก่ 0 (0%) , 0.236(23.6%) ,0.382(38.2%) ,0.500(50%),0.618(61.8%) , 0.764(76.4%) , 1.00(100%), 1.382(138.2%) , 1.618(161.8%) , 2.618(261.8%) และ 4.236(423.6%) ดังรูปด้านล่าง  วิธีการใช้ Fibonacci ก่อนอื่น เรามาตั้งค่า Fibonacci ในโปรแกรม Mt4 ของเราก่อน เลือก Fibonacci โดยเข้าไปที่ Insert >> Fibonacci >> Retracement แล้วก็เอามาลากบนกราฟ โดย Fibonacci แบบเดิมๆ ที่ให้มากับ Mt4 จะไม่มีราคาติดอยู่ที่ระดับต่างๆของ Fibonacci ดังรูปด้านล่าง  - เมื่อเรามี Fibonacci อยู่บน Chart แล้ว ให้ คลิกขวาที่ Chart เลือก Objects List แล้วเลือก Fibo จากนั้นเลือก Edit  - เมื่อคลิกที่ Edit แล้ว ให้คลิกที่ Fibo Levels จากนั้นให้เติมคำว่า =%$ ลงไปต่อท้ายที่ช่อง Descriptions ทุกตัว - เมื่อ ทำเสร็จแล้วจะได้ดังรูป  การใช้ Fibonacci Retracement  1. ใช้เพื่อหาแนวรับแนวต้าน (Support and Resistance)
มีของอยู่ในมือแล้ว พวกเรามักมีปัญหาในการปล่อย หรือติดดอย เพราะไม่มีการเช็คสุขภาพ หรือพลังของคลื่น ว่าเหลือมากน้อยแค่ไหน สมควรจะเสี่ยงถือต่อไป หรือโยนให้คนอื่นถือต่อดี วันนี้มารู้จักกับเครื่องมือวัดพลังคลื่นทั้ง 3 ตัวที่ผมใช้ประจำครับ Stochastic Oscillator  เป็นตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า  Stochastic Oscillator เป็นตัววัดแนวโน้มที่ให้ทิศทางเร็วกว่าเพื่อน แต่ก็นั่นแหละครับ หลอกเก่งกว่าเพื่อนเหมือนกัน เหมาะกับการให้ทิศทางระยะสั้นหรือตลาด sideway มากกว่า  RSI (Relative Strength Index) เป็นเครื่องมือวัดพลังของคลื่น ที่ผมให้น้ำหนักค่อนข้างมาก ผมใช้ยอดคลื่นของมันชี้ตำแหน่งคลื่น 3 และคลื่น b  MACD (Moving Average Convergence Divergence) เป็นเครื่องมืออีกชิ้นที่ช่วยในการตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโน้มของคลื่นได้ดีครับ  การใช้งานเครื่องมือทั้ง 3 ชนิด อ่านตำราแล้วเหมือนจะใช้ต่างกัน แต่ผมมักจะมองภาพรวมทั้ง 3 ตัวด้วยกัน รวมถึงการนับขาตามทฤษฎีอีเลียตเวฟ เพื่อช่วยตัดสินใจเรื่องการเปลี่ยนแนวโ
ผมพยายามลำดับความสำคัญว่า อะไรที่ควรจะเรียนรู้ก่อนในกลุ่มเครื่องมือจำนวนมากที่สามารถพาพวกเราเวียนหัวกันได้ ผมว่าน่าจะเอาสิ่งที่เป็นพื้นฐานที่สุด ที่เข้าใจตรงกันมากที่สุด ก็คือ Fibonacci number นี่แหละ มาให้เราทำความเข้าใจกันก่อน ผมว่าเหมือนกับการป้อนข้อมูลใส่ให้พวกเราเข้าใจว่า สาวๆ หน้ากลมๆ สัดส่วน 30-24-36 ถึงจะสวยนะ ถ้าไม่ใช่ ก็สัก 32-26-36 ก็ยังดี (หุหุ เกี่ยวป่าว?) fibonacci เป็นชื่อเรียกเลขอนุกรมมหัศจรรย์ ที่ตั้งขึ้นตามผู้คิดค้นคือ LEONARDS FIBONACCI ซึ่งสังเกตเห็นว่า ธรรมชาติมีสัดส่วนสัมพันธ์กับตัวเลขนี้ ต่อมาได้มีการประยุกต์นำมาใช้ในการวิเคราะห์ราคาหุ้น เพื่อที่จะใช้ค้นหาแนวโน้ม แนวต้าน แนวรับ สัญญาณซื้อและขาย โดยมีรูปแบบอยู่ 3 ลักษณะ คือ - Fibonacci retracement หาแนวรับแนวต้านราคาในแนวระนาบ - Fibonacci fan หาแนวรับในแนวเฉียง - Fibonacci fan หาแนวรับในแนวดิ่ง หรือระยะเวลา ส่วนใหญ่ที่เห็นใช้กัน ก็เป็นอันแรกครับ ส่วนที่มาของตัวเลข ไม่ขอพูดมากครับ ตำราเยอะแยะ เอาเป็นว่า ผมแนะนำสิ่งที่นำไปใช้งานเลยละกัน ตัวเลขสัดส่วนที่นำมาใช้ ถูกคำนวณมาเป็น % หรือเทียบกับ 1.0 เป็นเลขดังนี
หากคุณไม่สนใจทำความรู้จักมัน คงเหมือนกับคุณนั่งริมทะเลชมคลื่นไปเรื่อยๆ แต่หากคุณรู้ว่า เมื่อไหร่ที่อยู่ดีๆ ชายทะเลกลับหดถอยลงไปอย่างรวดเร็ว แปลว่า กำลังจะเกิดสึนามิ คุณต้องรีบวิ่งหนีจากชายฝั่ง เอาตัวรอดให้เร็วที่สุด แบบนี้ เท่ากับคุณรู้จักธรรมชาติของคลื่น นับเป็นเรื่องดีใช่ไหมครับ อยากรู้จักมันหรือยัง? คิดว่า น่าจะเป็นการเริ่มต้นที่ถูกนะครับ น่าจะเป็นสิ่งที่ควรรู้เป็นอันดับแรก แต่บางคน แค่เห็นก็เมาคลื่นซะแล้ว อย่าเพิ่งครับ นั่นเป็นเพราะคุณหาจุดเริ่มต้นมันไม่ถูก เมื่อคุณเริ่มไม่ถูก อาการเมาคลื่น ก็จะตามมา ผมแนะนำคร่าวๆว่า Elliott Wave ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น 5 ลูก ( 1-2-3-4-5) และลูกคลื่นในขาลง 3 ลูก (a-b-c) ในช่วงขาขึ้นเราเรียกว่า Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า Correction โดยหากเป็นช่วงตลาดหมี ขาลงก็จะกลับกัน คือลง 5 ลูก ขึ้น 3 ลูกแทน และในคลื่นนึง ก็จะประกอบด้วยคลื่นเล็กๆ เสมอ อย่างเช่น คลื่นขา 1 เป็นขาขึ้น จะคลื่นในตัวเป็นคลื่นย่อย 5 คลื่น ขณะที่คลื่น 2 จะเป็นคลื่นขาลง จะมีคลื่นย่อยในตัวเป็น 3 คลื่น ไม่ลงรายละเอียดมากนัก เพราะหนังสือที่ไหนก็มีให้อ่าน แต่จะบอกว่า สิ่งที่งงกันคือบางครั
เคยสงสัยกันใช่ไหมครับ ว่าราคาเป้าหมายเท่านั้นเท่านี้ ที่นักวิเคราะห์ปล่อยออกมา ทำไมมันถึงได้แม่น หรือใกล้เคียงมาก สมัยก่อนผมเห็นใครให้ตัวเลขราคาเป้าหมายไว้ ผมจะไม่ค่อยสนใจ เพราะคิดว่าคงเดากันไปมากกว่า แต่เมื่อราคานั้นเกิดขึ้นจริง ผมย้อนกลับไปดูราคาที่มีบางท่านเคยทำนายไว้ ก็ต้องทึ่งและเริ่มสนใจศึกษามานับแต่นั้น  ผมคงไม่อธิบายยืดยาวเหมือนในตำรา แต่เอาเนื้อๆมาคุยกัน เพื่อความกระชับ สิ่งที่ผมสงสัยมานานเกี่ยวกับตัวเลขมหัศจรรย์นั้น มันเกิดมาจาก หลักจิตวิทยา ความกล้า และความกลัวของคนนี่แหละ อย่างเช่น คุณซื้อของมา 100 บาท เพื่อเอาไว้ขายทำกำไร วันนึงเมื่อคุณพบว่า คุณกำลังขาดทุน เพราะราคาของนั้นกำลังตกลงทุกวัน คุณอาจพอใจที่จะขายแม้ราคาจะเหลือครึ่งเดียว ขณะที่บางท่าน รอให้มันกลับมาเท่าเดิมค่อยขาย หรือบางรายอดทนกว่านั้น จะรอให้ราคามันขึ้นจนกว่าจะกำไร ไอ้ความอดทนต่อสถานการณ์ที่ต่างกันไป ก็มีสถิติที่เก็บได้ กลายเป็นตัวเลข แนวต้าน แนวรับ ทางเทคนิคที่สามารถนำมาใช้คาดการณ์ได้นั่นเองครับ ข้อมูลการลงทุนที่เหมือนกัน ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้เกิดเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค เช่นโปรแกรม MT4, MetaSt
หลายคนอาจจะเคยได้ยินคนเถ้าคนแก่ หรือ อาจจะกระทั่งตัวเองได้เคยซื้อ (ถ้าแก่พอ) ทองคำบาทละ 400 บาท สมัยนั้น (ปี พศ.2516) ทองคำ 1 ออนซ์ ถูกกำหนดตายตัวไว้แค่ 42.22 ดอลล่าร์ อัตราแลกเปลี่ยนประมาณ 20 บาทกว่าๆครับ วันนี้ ราคาระดับหมื่นกว่าบาทแล้ว และอาจจะไปถึง 2หมื่นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เกิดอะไรขึ้นกับทองคำ ใครไม่รู้ประวัติ ก็มาฟังผมเล่าฉบับย่อสุดๆ (เพราะรู้นิดเดียว ฮิฮิ) สมัยก่อน ราวปี 1875-1914 ทองคำถูกใช้เป็นมาตรฐานระบบการเงิน ซึ่งกำหนดความแตกต่างด้วยปริมาณทองคำสำรองระหว่างสกุลเงินของ 2 ประเทศ ระบบนี้มีปัญหาในทางปฏิบัติเพราะต้องสำรองทองคำในปริมาณมหาศาลเพื่อรักษาดี มานด์/ซัพพลายทางการเงินให้มีเสถียรภาพ ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานใหม่หลังสหรัฐตั้งตัวเป็นเจ้าโลกแทนอังกฤษที่เสื่อมอำนาจลง เรียกว่า ข้อตกลงเบรตัน วูดส์ ใน ค.ศ. 1944 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในเวลาต่อมา หนึ่งในสาระสำคัญของเบรตัน วูดส์คือ การตีค่าตายตัวเอาไว้ว่า 35 ดอลลาร์เท่ากับทองคำ 1 ออนซ์ และเงินสกุลทั่วโลกจะผูกค่าเอาไว้นิ่งกับค่าดอลลาร์ อำนาจครอบงำจากดอลลาร์จึงเกิดขึ้น เงิ
การประชุม G-20 คืออะไร การประชุมกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ 20 แห่ง หรือ G 20 (The Group of Twenty Finance Ministers and Central Bank Governors – G20) นั้นคือการประชุมอย่างไม่เป็นทางการที่สนับสนุนให้มีการอภิปรายและหารืออย่างเปิดกว้างและสร้างสรรค์ระหว่างประเทศอุตสาหกรรมและประเทศคู่เจรจา เกี่ยวกับการหาความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ประวัติความเป็นมาของ G-20 กลุ่ม G-20 เป็นการรวมตัวของประเทศกำลังพัฒนาจำนวนหนึ่งที่เป็นสมาชิกองค์การค้าโลกและมีแนวคิดเดียวกันที่จะปัญหาการค้าสินค้าเกษตรของโลก ประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 23 ประเทศได้แก่ อาร์เจตินา โบลิเวีย บราซิล ชิลี จีน คิวบา อียีปต์ กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ไนจีเรีย ปากีสถาน ปารากวะเย ฟิลิปปินส์ แอฟริกาใต้ ไทย เวเนซูเอลา อุรุกวัย ซิมบับเว เปรู และเอกวาดอร์ เพื่อเพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ที่ยังคงต้องการการปกป้องภาคการเกษตรของตนอยู่ให้เปิดเสรีสินค้าเกษตรมากขึ้น สาเหตุสำคัญของการรวมตัวกันของสมาชิกกลุ่ม G-20 เกิดจากความไม่พอใจที่สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ร่
G7 คืออะไร G7 (Group of Seven) คือ กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา 7 ประเทศ ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2518 โดยมีสมาชิกในการประชุมผู้นําครั้งแรกที่ Rambouilletประเทศฝรั่งเศส 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และ ญี่ปุ่น ต่อมาประเทศแคนาดาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชุมที่ San Juan, Puerto Ricoประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ 2519 และสหภาพยุโรป (European Union) ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในการประชุมที่ London ในปี พ.ศ. 2520 ดังนั้น สมาชิกของกลุ่ม G7 ได้ถูกกำหนดให้มี 7 ประเทศ และ 1 กลุ่ม (European Union) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อย่างไรก็ดี ในการประชุมที่เมือง Denver ประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2540 รัสเซียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกและเข้าประชุม ในเรื่องต่าง ๆ ยกเว้นทาง ด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้ใช้ชื่อว่าการ ประชุม G8 การประชุมสุดยอดผู้นํา G7/G8 ได้จัดขึ้นเป็นประจําทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการปัญหา ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่สําคัญ ๆ ของประเทศสมาชิกและปัญหาระหว่างประเทศอื่น ๆ ทั้งนี้ นอกจากการประชุมสุดยอดผู้นําประจําปีแล้ว G7/G8ยังได้จัดการประชุมย่อยของรัฐมนตรีกลุ่มต่างๆ ของประเทศสมาชิก (
วิดีโอที่ 1 วิดีโอที่ 2 วิดีโอที่ 3 วิดีโอที่ 4 วิดีโอที่ 5
เตือนสำหรับนักเทรด Forex ทั้งมือใหม่และมือเก่า อันตราย!!                การเทรด  Forex  ก็เหมือนกับการเล่นหุ้นซึ่งจะมีปัจจัยต่างๆเข้ามาทำให้ค่าเงินเกิดการผันผวน   ดังนั้นต้องคอยติดตามข่าวเศรษฐกิจของทั่วโลกอย่างใกล้ชิดนะครับ   ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ท่านทั้งหลายล้างพอร์ตได้                  สำหรับนักเทรดท่านใดที่ใช้อีเอในการช่วยเทรด ของเตือนนิดหนึ่งนะครับว่า   อีเอจะทำงานได้ดีในสถานนะการปรกติเท่านั้น   เพราะหลักการในการเขียนอีเอมันมาจากสถิติย้อนหลัง   การทำสอบกับข้อมูลย้อนหลังโดยเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าอนาคตจะเกิดเหตุการณ์   อะไรขึ้น   เพราะฉะนั้นต้องคอยติดตามข่าวควบคู่กันไปด้วยจึงจะให้เราสามารถแก้ไข   สถานการณ์ได้ทันท่วงที                   ผมไม่ได้บอกว่าการเทรดด้วยอีเอไม่ดีนะครับ   ผมว่ามันดีมากๆหากอีเอนั้นมาจากเทคนิคของคนที่เทรดเก่ง   และจะต้องเขียนด้วยคนที่เขียนโปรแกรมเก่งด้วย   ซึ่งผมเชื่อว่าต้องมีคนอยากได้อีเอแบบนี้แน่ๆ และสุดท้ายคือ   ผู้ใช้อีเอต้องรู้จักวิธีใช้ เข้าใจสถานการณ์โลกว่าอยู่ในสถานการณ์ไหน   รับรองอยู่ในวงการนี้ได้อย่างสบาย         โชคดีกับการเทรดครับ...
สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามในการเขียน EA สิ่งที่เราคาดหวังจาก Expert Advisor (EA) นั้น นอกจากการความาสามารถในการกำไรให้เราแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่เราต้องการก็คือ  การทำงานที่ถูกต้องโดยไม่เกิดข้อผิดพลาด  ซึ่งหลังจากที่เราเขียน EA เสร็จแล้วเราจะต้องทำการทดสอบด้วย  Strategy Tester  เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานของ EA นั้นสามารถทำงานได้ตรงตามที่เราคาดหวังไว้ ซึ่งการทดสอบ EA วิธีการนี้เป็นเพียงการทดสอบขั้นต้นเท่านั้น เพราะในสภาวะของการใช้งานจริงจะมีปัญจัยที่จะสารมารถที่ทำให้เกิดความผิดพลาดหรือการการงานผิดเพี้ยนจากหลักการที่กำหนดให้ตัว EA คือ ในสถานะการณ์ที่มีความผันผวน เมื่อมีการส่งคำสั่งซื้อ (BUY) หรือส่งคำสั่งขาย (SELL) เราอาจจะไม่สามารถซื้อหรือขายได้ในราคาที่เราต้องการ เพราะในขณะที่เราส่งคำสั่งซื้อ/ขายไปนั้น ราคาได้มีการเปลี่ยน ยกตัวอย่างการส่งคำสั่งซื้อ                     ticket=OrderSend(Symbol(),OP_BUY,lot,price, 3 ,0.0,tp,NULL,255,0,CLR_NONE);      จะเห็นว่าตรงตำแหน่งของเลข 3 คือ จำนวนจุดที่ยอมรับได้เมื่อราคาเปลี่ยนไป เช่น ต้องการซื้อที่ราคา 1.5000 แต่เมื่อส่งคำสั่งไปราคาเปลี่ยนไปเป็น 1.5002