กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Fibonacci

บทความ

Elliot Wave ทฤษฎี Elliott Wave สร้างขึ้นโดย Ralph Nelson Elliott ซึ่งเขาได้พัฒนามาจากทฤษฎีดาว Down Theory โดยเนื้อหาบทสรุปของทฤษฎีนี้คือ Pattern ของราคาหุ้น , Forex มันจะมีพฤติกรรมเป็น ลักษณะลูกคลื่นซึ่งสามารถแจงรายละเอียดในหลักการได้ดังนี้ 1. ถ้ามีแรงกระทำย่อมีแรงโต้ตอบ ซึ่งอนุนามในการเล่น forex คือ เมื่อ ราคา forex มีขึ้น มันก็ต้องมีลงและเมื่อมันถึงจุดนึงแล้ว มันก็พร้อมจะขึ้นในรอบต่อไป ซึ่งภาษาที่นักวิเคราะห์หุ้นทั้งหลายเขาเรียกว่า ราคารีบาวน์ ( Rebound ) และราคาปรับฐาน( Retrace ) 2. Elliott Wave ประกอบด้วยลูกคลื่นในขาขึ้น 5 ลูก (1-2-3-4-5) และลูกคลื่นขาลง 3 ลูก ( a-b-c ) ในขาขึ้นเราเรียกว่า Impulse ส่วนขาลงเราเรียกว่า Correction 3.ในหนึ่งรอบหรือ Cycles ของ Elliott Wave นั้นจะเป็น Series ของ Impulse และ Correction ... จากนิยามข้างต้นสามารถแสดงด้วยกราฟดังด้านล่าง และแนะนำว่าคุณต้องจำ Pattern นี้เอาไว้ให้แม่นยำ wave 1-2-3-4-5-a-b-c จากกราฟจะเห็นว่าจุดสูงสุดของรอบจะอยู่ที่คลื่นที่ 5 ส่วนจุดเริ่มต้นคือคลื่นลูกที่ 1 ในช่วงที่ราคา Forex เป็นขาขึ้น การขึ้นยังไม่มีแรงเท่าที่
เทคนิคแบบ Price Action ดูยังไง ว่าต้องเทรดตรงไหน ?  ถ้าไม่มี indicator จะเทรดได้จริง ๆ หรอ ? ถ้างั้นบอกมาเลยดีกว่า ว่าต้องเข้าตรงไหน ถ้า Price Action มันเทรดได้จริง ๆ อย่างที่ว่ามา …ได้ครับ ผมจะบอกให้!! บทความนี้ผมจะมาชี้ให้ทุกท่านเห็นกันเลยว่า Price Action Signal นั้นใช้ยังไง เทรดตรงไหน เข้าตรงไหน แบบเจาะลึก พร้อมตัวอย่างประกอบ รับรองว่าอ่านจบจะรู้ทันทีเลยว่า Price Action มันใช้ได้จริง!! และผมแนะนำให้คุณเอาเทคนิคนี้ไปใช้ได้เลยครับ ผมไม่หวงวิชา ไม่งั้นคงไม่มาเขียนบอกกันตรง ๆ อย่างนี้หรอก จริงไหมครับ พร้อมหรือยังครับ ถ้าพร้อมไปครับ ไปดูกัน!! ก่อนจะไปพบ เทคนิคการเทรดแบบเน้น ๆ หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ สามารถ Comment บอกความรู้สึก หรือ สิ่งที่ได้รับจากบทความ หรือ Share ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านสิ่งดี ๆ ที่คุณอ่าน ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ  รู้จักลักษณะของ Pin Bar (Pin Bar Anatomy) ที่ผมเอาหัวข้อนี้มาก่อน เพราะ ต้องบอกเลยครับว่า เรื่องนี้สำคัญมาก!! เทรดเดอร์หลายคนยังไม่รู้เลยว่า Pin Bar หน้าตาแบบไหน หรือ บางทียังแยกไม่ออกเลยว่าแท่งไหนเป็น Pin Bar เพื่อให้เราเข้า
  บทความนี้ ผมจะมาไขข้อข้องใจของเทรดเดอร์หลาย ๆ คน เรื่อง Divergence ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ ให้รู้กันไปเลยว่า…คราวหน้าถ้าเจออีกต้องใช้ยังไง!!  Divergence เป็นสัญญาณบอกความขัดแย้งระหว่างราคากับโมเมนตัม พูดง่าย ๆ คือ ราคาไปทาง แต่โมเมนตัมกำลังไปอีกทาง เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะใช้การดู Divergence จาก indicator เป็นหลัก เช่น ดูจาก indicator RSI. หรือ Stochastic ฯลฯ สัญญาณ Divergence จะเป็นตัวบอกว่า ราคากำลังอ่อนแรงและจะเปลี่ยนทิศทาง มีเทรดเดอร์หลายคนมาถามผมว่า… ทำไมกราฟเกิด Divergence แล้วราคายังวิ่งต่อล่ะ แอดมิน !? ผมขอบอกตรงนี้เลยครับว่า…คุณกำลังเข้าใจเรื่อง Divergence ผิด!! ผิดยังไงอ่ะ !? ดังนั้นจุดสำคัญที่คุณต้องจำให้ขึ้นใจ ก็คือ Divergence จะเกิดใน Trend สาเหตุก็เพราะ Divergence เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการอ่อนแรงของ Trend และ โมเมนตัม นั่นเอง แปลว่า ถ้าดูในช่วงที่ราคาวิ่งออกข้าง (Sideway) จะไม่เจอ เพราะ ราคายังไม่มีโมเมนตัม เอาแน่เอานอนไม่ได้ นี่เป็นข้อแรกที่คนเข้าใจผิด เขาจึงพยายามหา Divergence Signal ในช่วง Non-trend และสุดท้ายก็ขาดทุน เพรา
แนวรับ-แนวต้าน รู้ไปช่วยให้เราได้กำไรหรอ ?  ผมเชื่อว่าทุกท่านต้องเคยได้ยินคำว่า “แนวรับ-แนวต้าน” กันมาแล้ว เพราะ ในข่าวการเงินที่รายงานเกี่ยวกับตลาดหุ้น หรือ ตลาดต่างประเทศ ที่มีนักวิเคราะห์ออกมาวิเคราะห์ตลาดจะพูดถึง แนวรับ-แนวต้าน เสมอ หรือไม่ ก็ต้องเคยอ่านเจอในหนังสือการวิเคราะห์ทางเทคนิคกันมาบ้าง สงสัยกันไหมครับว่ารู้ไปทำไม ? รู้ไปแล้วเราได้กำไรหรอ ? ผมขอบอกตรงนี้เลยครับว่า… ใช่ครับ!! รู้แล้วได้กำไร  ผมกล้าบอกเลยว่า ถ้า Price Action Trader อย่างเรา ๆ ไม่รู้จัก แนวรับ-แนวต้าน ไม่มีทางเทรดได้กำไรแน่นอน จริง ๆ ต้องบอกว่า ต้องไม่ใช่แค่รู้เท่านั้นครับ แต่ต้องใช้อย่างโชกโชนกันเลยทีเดียว!! เพราะอะไรรู้ไหมครับ…เพราะ  แนวรับ-แนวต้าน นี่แหละ ตัวเพิ่มความแม่นชั้นดี ให้กับ  Price Action Signal  ของเราเลย แถมยังเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายเรื่อง  Trend  อีกด้วย เพราะ Trend จะอยู่ หรือ Trend จะไป ขึ้นกับราคาที่ Action กับ แนวรับ-แนวต้านนี่แหละ!!  เห็นแบบนี้พอจะรู้หรือยังครับ ทำไมมันถึงสำคัญนัก ถ้างั้นเราไปดู 3 เทคนิคการอ่าน “แนวรับ-แนวต้าน” ให้แม่นด้วย Price Action กันครับ ก่อนจะไปพบกับ 3 เทค
ในหลายๆ บทความที่ผ่านมา ผมได้ใช้เครื่องมือทางเทคนิคที่มีชื่อเกี่ยวข้องกับ “Fibonacci” (ฟี โบ นา ชี่) และพบว่ามันมีความ “บังเอิญ” อย่างน่าตกใจ เราลองมาดูต้นกำเนิดและไขความลับของ Fibonacci ไปพร้อมๆ กันนะครับ Fibonacci เป็นชื่อของนักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี มีชีวิตอยู่ราวปีค.ศ. 1170 – 1250 ชื่อเต็มของเขาคือ Leonardo Pisano Bigollo บิดาของเขาชื่อ Guglielmo Bonaccio ในสมัยนั้น มักนิยมเรียกชื่อกันตามชื่อเมืองและชื่อของบิดา (สมัยนี้เราก็ยังเรียกเพื่อนๆ ตามชื่อของบิดากันอยู่ใช่ไหมครับ) ชื่อของเขาจึงกลายเป็น Leonardo Pisano filius Bonacci หมายถึง ลีโอนาร์โดแห่งเมืองปิซาที่เป็นลูกของโบนัคชิโอ (filius Bonacci เป็นภาษาละติน แปลว่า ลูกของโบนัคชี) เนื่องจากว่าชื่อมันยาว เขาก็เลยได้ชื่อเล่นว่า Fibonacci ที่เราคุ้นเคยกันในปัจจุบันนั่นเอง Fibonacci เกิดที่อิตาลี แต่ได้รับการศึกษาแถวๆ อัฟริกาเหนือ เนื่องจากผู้เป็นพ่อของเขาต้องย้ายไปทำงานเป็นศุลกากรที่เมืองท่า Bugia ทำให้ Fibonacci ได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากชาวมัวร์ (Moors) และชาวอารบิค (ตัวเลข 0, 1, 2, …, 9 ที่เราใช้กันทุกวันนี้ก็เป็นตัวเลขอ
เครื่องมือที่ช่วยหาเป้าหมาย fibonacci retracement สามารถบอกได้ถึงระดับช่วงพักตัวและการหาเป้าหมาย โดยจะแบ่งเป็นช่วงๆได้ดังนี้ ช่วงจุดพักตัว ระดับของ fibonacci มักจะอยู่แถวๆระดับ 23.6 38.2 50.0 61.8 78.6 ทั้ง 5 ระดับนี้มักจะเป็นจุดแนวรับ แนวต้านที่ดีของการพักตัว (ทั้งระดับขาขึ้นและขาลง) fibonacci ใช้หาเป้าหมายในอนาคตนั้น มักจะอยู่แถวๆระดับ 161.8 261.8 423.6 เสมอๆ ผมได้ทดลองใช้มานานพอสมควร จึงแนะนำว่ามีแค่สองหลักง่ายๆแค่นี้ครับ มองระดับการพักตัว และมองหาเป้าหมายตามที่บอก วิธีการลาก fibonacci retracement - หาแนวโน้มขาลงให้ลากจากต่ำสุดไปหาสูงสุดของแนวโน้มอดีต (ที่จบแนวโน้มนั้นแล้ว) - หาแนวโน้มขาขึ้นให้ลากจากสูงสุดลงมาต่ำสุดของแนวโน้มอดีต (ที่จบแนวโน้มนั้นแล้ว) การลากเมื่อพักตัวในระดับ 23.6 38.2 50.0 61.8 78.6 เป็นระดับทดสอบ เมื่อผ่านไปได้ก็จะสามารถเห็นเป้าหมายที่ระดับ 161.8 การพักตัวของแนวโน้มนั้นๆ บอกได้ถึงการพักตัว (สะสมแรง) แล้วดีดไปต่อ การหาการพักตัวและเป้าหมายขาขึ้น หลักการต้องหมดหลุดแนวโน้มรอบนั้นๆก่อน ถึงจะเริ่มลากเพื่อหาเป้าหมาย ดูตามรูปครับ เป็นรูปเดียวกั
Fail Fibonacci เราคงรู้จักการ Breakout ที่เกิดกับแนวรับแนวต้านกันดีอยู่แล้ว และเช่นเดียวกันในการใช้ Fibonacci ก็สามารถเกิด Breakout ได้เหมือนกัน ในภาพคือ กราฟ GBP/USD ใน TF 4 ชั่วโมง ซึ่งราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง และราคามีการดีดตัวกลับขึ้นมา เราจึงใช้ Fibonacci มาเป็นเครื่องมือเพื่อช่วยในการหาจุดเข้าเปิดออเดอร์ใหม่ว่าจุดไหนจะเป็นจุดที่ดีที่สุด เราลาก Fibonacci  จากสวิงไฮที่ 1.5383 ถึงสวิงโลว์ที่ระดับ 1.4799 สังเกตได้ว่าราคาวิ่งหยุด และไต่อยู่ที่ระดับ 50.0% ขอ Fibonacci  และนี่ก็คือ ระดับที่เราน่าจะถือโอกาสเปิดออเดอร์เซล แต่ถ้าคุณไม่ได้เปิดออเดอร์ในจังหวะนี้ คุณก็อาจจะตกรถได้ แต่เดียวก่อน นอกจากนั้นคุณก็ต้องอย่าลืมเรื่องการจัดการกับความเสี่ยงด้วย เพราะบัญชีของคุณอาจจะเจอกับสภาวะการที่เลวร้ายได้หากว่าคุณไม่ได้มีการจัดการกับความเสี่ยง ลองดูตัวอย่างต่อไปนี้ การกลับตัวในสวิงโลว์จุดต่ำสุดของแนวโน้มขาลง และตลาดเริ่มที่จะดีดตัวกลับไปหาสวิงไฮ และจากกรณีแบบนี้สอนอะไรเราได้บ้าง ? ในขณะที่ Fibonacci Level ช่วยให้คุณประสบความสำเร็จในการเทรดได้มากขึ้น แต่ก็เช่นเดียวกับเครื่องมือ