Volatility คืออะไร?


ถ้าพูดถึง Volatility หลายคนอาจจะยังงงๆว่ามันคืออะไร แต่ถ้าพูดถึง Variance(ความแปรปรวน) หรือ Standard Deviation(SD;ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) หลายๆคนที่ศึกษาวิชาสถิติมาบ้างอาจจะคุ้นๆ ซึ่งผมจะขอกล่าวถึงตัว Variance ก่อนแล้วกันครับ
Variance หรือ ค่าความแปรปรวน คือ ค่าที่วัดความห่างของแต่ละข้อมูล ว่าห่างจากค่ากลางหรือค่าเฉลี่ยมากแค่ไหน ในทางหุ้น ก็คือ ราคาเหวี่ยงจากค่าเฉลี่ยมากแค่ไหน(MA นั่นเอง) แสดงว่า ยิ่งความความแปรปรวนมากเท่าไหร่ ราคาก็จะวิ่งออกจากค่าเฉลี่ยมากเท่านั้น แต่ค่านี้ไม่ได้บอกว่ามันจะวิ่งทางเดียวกับค่าเฉลี่ยนะครับ ซึ่งถ้าอยากรู้ว่ามันจะวิ่งไปทิศทางใดคงไม่มีใครตอบได้ครับ(ถ้ารู้คงรวยไปแล้ว 555) ซึ่งเราอาจจะต้องเรียนรู้วิธีบริหารความเสี่ยงเพิ่มเติม เพราะคงไม่มีใครสามารถใช้ข้อมูลเพียงด้านเดียวในการตัดสินใจซื้อหุ้นถูกมั้ยครับ แสดงได้จากสมการค่าความแปรปรวนด่านล่างนี้ครับ
แล้ว Volatility คืออะไรหล่ะ? มันคือค่าที่ใช้วัดความห่างของข้อมูลเช่นเดียวกับค่าความแปรปรวน แต่ต่างกันนิดหน่อยครับ สังเกตสมการต่อไปนี้ครับ
058b5f501d9a5a9d7706b9985e5ff889 เมื่อ T คือ ระยะเวลา(ปี)
จากสมการจะเห็นว่า ค่า Volatility คือค่าที่นำ Standard Deviation(SD) มาปรับด้วยเวลาครับ (*note:SD คือค่า Variance ในรูปของรากที่สองครับ) ซึ่งในทาง finance จะมีการพัฒนาในรูปแบบโมเดลอื่นๆต่อไปด้วยครับ ถ้ามีโอกาศจะมานำเสนอในเวลาต่อไป
แล้วเวลาเราเล่นหุ้น(หรือ FOREX ก็ตาม) เราจะรู้ได้อย่างไรว่าหุ้นตัวไหนมี Variance หรือ Volatility สูง (อย่าลืมนะครับ High risk High “Expected” return) ถ้าใน Hedge Fund พวกเขาคงมีการเก็บข้อมูลหลายๆแบบเพื่อให้ได้มาไม่ยากครับ เช่น ส่งคำสั่งออเดอร์เล็กๆเพื่อเก็บข้อมูลตลาด เป็นต้น แต่ถ้าเป็นรายย่อยๆ การที่จะทำอย่างนั้น คงต้องเงินมหาศาล(ไม่น่าไหวนะครับ จิงไหม? 555) ผมจึงนำเสนอ indicator ตัวหนึ่งครับ ชื่อของมันคือ Average True Range(ATR)
ATR คือ indicator  ที่พัฒนาโดย  คุณJ. Welles Wilder, Jr. เพื่อเอาไว้ใช้ในตลาด commodities(เช่น ทอง น้ำมัน เป็นต้น) ซึ่ง ATR อย่างง่าย จะแตกต่างจาก SD นิดหน่อยเพราะเป็นการวัดระยะห่างจากค่าสูงสุดไปยังค่าต่ำสุด(High-Low) ต่อไปเรามาดูสมการจริงๆของมันกันดีกว่าครับ
8b849a07cc6fa12d28d73a1d0db00548
เมื่อให้ 5d8c4f6cf4fabdeefadc65aff080510f เป็น ATR เริ่มต้น
และเมื่อ True Range = Max[ ( High – Low ) , abs( High – ราคาปิดก่อนหน้า ) , ( Low – ราคาปิดก่อนหน้า ) ]  ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ค่า TR จะนำค่า 3 ค่ามาเทียบกันและใช้ค่าสูงสุดนั่นเอง ไม่ว่าตลาดจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง ถ้าราคามีการแกว่งสูง ค่า ATR ก็จะสูงนั่นเอง แม้ ATR จะไม่ใช้การวัด volatility อย่างแท้จริง แต่ในเชิงความหมายก็สามารถนำมาปรับใช้ได้ดี ซึ่ง คุณJ. Welles Wilder, Jr. ได้ให้คำแนะนำว่าควรใช้ที่ระยะ 14 วัน(ค่าปกติใน MT4 อยู่แล้วครับ) สำหรับคนที่สงสัยว่า เราใช้ค่าน้อยหรือมากกว่า 14 วันได้มั้ย ตอบเลยครับว่าได้ มันไม่ต่างกันหรอกครับ แต่อยากแนะนำให้ใช้ 14 วันครับ เพราะมันไม่ได้แตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญหรอกครับ
สุดท้ายอยากฝากไว้ครับ indicator เป็นเพียงเครื่องมือให้เราไว้ใช้ปรับการเทรดของเรา ไม่ใช่ตัวชี้วัดในการซื้อหรือขายครับ หากคุณใช้ indicator เพื่อเข้าซื้อแล้วพลาด มันไม่ได้พลาดเพราะ indicator ครับ มันเป็นเพราะตัวคุณเอง สิ่งสำคัญในการเทรดคือกลยุทธ์ครับ ขอบคุณครับ 🙂

Credit Picture : thaiwarrant 
แหล่งที่มา : forexthai.in.th

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ