2 เทคนิคพิชิตตลาด Forex



หากเราจะทำกำไรในตลาดนี้เราต้องวิเคราะห์ข้อมูลเป็นและเรียนรู้การเคลื่อนไหวของตลาด ซึ่งมีด้วยกันอยู่ 2 เทคนิค

เทคนิคที่ 1 : วิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental Analysis)

ตลาด Fx ก็มีปัจจัยพื้นฐานคล้ายกันกับหุ้น แต่ต่างกันตรงที่ ปัจจัยพื้นฐานของตลาดนี้ ไม่ได้ดูที่ผลประกอบการแต่อย่างใด ปัจจัยพื้นฐานของตลาด Fx จะดูกันที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่าง ๆ โดยเราสามารถติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่มีผลต่อคู่เงินได้ ทางเว็ปไซต์ www.forexfactory.com หรือ www.investing.com และ Website อื่น ๆ ในส่วนของตัวเลขเศรษฐกิจนั้นเราจะไม่เน้น

ดังนั้น ผมจะยกตัวเลขเศรษฐกิจที่สำคัญมาบางส่วนนะครับ
  • อัตราดอกเบี้ย (Interest rates) : เมื่อประเทศใดขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้นมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น 
  • การจ้างงาน (Employment) : ข่าวที่มีผลกระทบกับคู่เงินหลายคู่คือ Non-Farm Payroll หรือ การจ้างงานนอกภาคเกษตรของ USA. ตัวเลขนี้จะประกาศทุกวันศุกร์แรกของเดือน ถ้าตัวเลขการจ้างงานดีกว่าคาด ค่าเงินก็จะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
  • ยอดค้าปลีก (Retail Sales) : หากยอดค้าปีกดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ค่าเงินจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
  • ข้อมูลที่พักอาศัย (Housing Starts) : ข้อมูลการก่อสร้างที่พักอาศัยใหม่ ซึ่งจะรายงานทุกเดือน หากตัวเลขข้อมูลที่พักอาศัยดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ ค่าเงินจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น
  • ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (Gross Domestic Production : GDP) : หากตัวเลข GDP ที่ประกาศออกมาแย่กว่าที่คาดการณ์ไว้ ค่าเงินจะมีแนวโน้มอ่อนค่าลง
fundamental
ภาพจาก : greekshares.com

เทคนิคที่ 2 : วิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค (Technical Analysis)

ใน ZniperTrade ผมจะเน้นไปที่การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค เพราะ เป็นวิธีการวิเคราะห์ที่เรียบง่าย  และเมื่อนำไปประกอบกับเทคนิคอื่น เราจะสามารถสร้างกลยุทธ์การเทรดที่สามารถทำกำไรในระยะยาวได้ (ที่สำคัญเป็นเทคนิคที่ผมใช้ดูและใช้เทรดในตลาดมากที่สุด) 
การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคจะใช้การดูการเคลื่อนไหวของราคาเพื่อ
“คาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาในอนาคตที่มาจากการเคลื่อนไหวของราคาในอดีต”

3 หลักการของการวิเคราะห์ทางเทคนิค

  • ราคาเป็นผลรวมของทุกปัจจัยในตลาด (Price Discount Everything) : การวิเคราะห์ทางเทคนิคเชื่อว่าราคาที่เคลื่อนไหวในตลาดนั้น เป็นผลรวมของทุกปัจจัยไว้แล้วไม่ว่าจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่เป็นตัวเลขเศรษฐกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย, การจ้างงาน, GDP ฯลฯ และ ความโลภ-ความกลัว ของผู้คนในตลาด สาเหตุเพราะ เมื่อคนในตลาดรู้ข้อมูล ไม่ว่าจะรายเล็ก-รายใหญ่ ก็จะเกิดการ Action กับตลาด และการ Action เหล่านี้จะส่งผลไปที่การเคลื่อนไหวของราคาในตลาดนั่นเอง
  • ประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยเดิม (History Repeat Itself) : ถ้าจะให้พูดง่าย ๆ ก็คือ พฤติกรรมของคนจะเหมือนเดิม นั่นก็คือ เมื่อมีข้อมูลผู้คนก็จะ Action กับข้อมูลนั้นในรูปแบบเดิม ๆ เมื่อการกระทำของผู้คนในตลาดซ้ำเดิม แปลว่า เราสามารถใช้การเคลื่อนไหวของราคาที่เกิดขึ้นซ้ำเดิมเป็นเบาะแสในการทำกำไรได้
  • ตลาดมีโครงสร้างเฉพาะตัว (Market Have Structure) : หลักการข้อนี้ก็คือ ตลาดมีโครงสร้างที่แน่นอน และโครงสร้างที่ว่านี้ก็คือ แนวโน้ม (Trend) การวิ่งขึ้น (Impulse) การย่อลง (Retracement) แนวรับ-แนวต้าน (Support-Resistance) หรือ การวิ่งออกข้างแบบไร้แนวโน้ม (Sideway)
หลักการทั้ง 3 ข้อของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ที่ใช้สำหรับศึกษาพฤติกรรมของตลาดผ่านการเคลื่อนไหวของราคา มีหลายแขนง มีทั้งแขนงที่นำราคาไปพัฒนาเป็น indicator เช่น RSI., Stochastic Oscillator, Moving Average, MACD ฯลฯ

แต่ที่เราจะเน้นกันก็คือ ในส่วนของ Price Action ซึ่งเป็นการดูพฤติกรรมราคาผ่าน กราฟแท่งเทียน (Candlestick) ทั้งการวิเคราะห์แนวโน้ม, การวิเคราะห์แนวรับ-แนวต้าน หรือแม้แต่หาสัญญาณเข้า (Entry Signal) เราจะดูผ่านกราฟแท่งเทียนเปล่า ๆ หรือมี indicator เป็นองค์ประกอบน้อยมาก
technical-analysis
ภาพจาก : s.thestreet.com

6 สิ่งที่ Technical Analysis บอกเรา 

  1. บอกราคา (Price) : การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะบอกราคาในรูปของ Chart ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบ แต่ในที่นี้เราจะพูดถึงราคาในรูปแบบ กราฟแท่งเทียน (Candlestick) เท่านั้น
  2. บอกแนวโน้ม (Trend) : เมื่อนำราคามาเรียงต่อกันใน Chart จะเกิดแนวโน้ม ทำให้เราสามารถเห็นแนวโน้มของราคาเพื่อทำนายอนาคตที่ราคาจะวิ่งไป (สำคัญมากในการเก็งกำไร)
  3. บอกโมเมนตัม (Momentum) : โมเมนตัมของราคาจะเป็นความแข็งแกร่งของราคาในทิศทางนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาอยู่ในแนวโน้มขาลง โมเมนตัมจะเป็นตัวบอกความแข็งแกร่งของแนวโน้มขาลงนั้น
  4. บอกอารมณ์ตลาด (Sentiment) : จาก 3 ข้อข้างบน เมื่อนำมาประกอบกัน จะทำให้เรารู้อารมณ์ของตลาดว่า ณ ตอนนี้ ตลาดกำลังอยู่ในช่วงของความกลัว หรือ ความโลภ ได้
  5. บอกความผันผวน (Volatility) : ความผันผวนคือ ระยะการแกว่งของราคาในช่วงเวลานั้น ๆ ซึ่งเราจะสังเกตได้ง่าย หากใช้ศาสตร์ของ Technical Analysis ความผันผวนจะเป็นอีก 1 สิ่งที่สำคัญในตลาด Forex เพราะ จะเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจเทรดหรือไม่เทรดได้
  6. บอกปริมาณการซื้อขาย (Volume) : ในศาสตร์ของ Technical Analysis นั้น จะมีการบันทึกทั้งราคาและปริมาณการซื้อขาย แต่ในตลาด Fx เราจะไม่นำปริมาณการซื้อขายมาวิเคราะห์ เพราะ ในตลาดนี้มี Volume ที่สูงอยู่แล้ว และ ปัจจัยการเคลื่อนไหวเราจะเห็นได้ในราคาทั้งหมด
บทความนี้เราได้รู้จักปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ตลาด Fx กันแล้ว โดยเฉพาะ ปัจจัยทางเทคนิค ซึ่งการวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคนี้เรียกได้ว่ามีความสำคัญมากเพราะ เราจะใช้เทคนิคนี้วิเคราะห์กันโดยส่วนใหญ่  95%

โดยบทความต่อไปใน ZniperTrade จะเน้นไปที่เทคนิคการวิเคราะห์แบบ Price Action โดยเฉพาะเลยครับ ใครที่สนใจจะเข้ามาเก็งกำไรในตลาด Forex ห้ามพลาดเด็ดขาด เพราะ เทคนิคที่ผมจะให้เป็นเทคนิคที่สามารถทำกำไรได้โดยไม่ต้องเฝ้าหน้าจอตลอดทั้งวัน และ สำหรับใครที่เคยขาดทุนจนล้างพอร์ตมาก่อนบอกได้เลยว่ายิ่งห้ามพลาดอย่างยิ่ง เพราะ ผมจะให้เทคนิคหยุดขาดทุน หยุดล้างพอร์ต เปลี่ยนไปเป็นการทำกำไรอย่างสม่ำเสมอ



ขอบคุณบทความดีๆจาก

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ