บทความ

Chart Pattern รูปแบบซ้อนทับ Chart Pattern by Thaiforexschool รูปแบบกราฟหรือ Pattern นั้น คือรูปแบบของราคาที่เคลื่อนที่อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสามารถใช้ในการคาดการณ์ถึงภาวะราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ ทั้งนี้รูปแบบกราฟอาจมีรูปแบบที่ต่างๆขึ้นมาก่อนที่จะเป็นรูปแบบใหญ่ที่เรา วิเคราะห์ไว้ตั้งแต่ต้น ซึ่งจะเชื่อมต่อกันหรืออยู่ภายในรูปแบบใหญ่นั้นเอง รูปแบบกราฟเช่นนี้เรียกว่า “รูปแบบซ้อนทับ” รูปแบบซ้อนทับคือ การที่ราคากำลังจะทำ Pattern อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ในขณะที่กำลังทำส่วนประกอบของ Pattern นั้นอยู่ ราคาได้มีการทำ Pattern ซ้อนขึ้นมา ซึ่งทำให้คาดการณ์ถึงภาวะตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้นได้ยากยิ่งขึ้น หรือจะเรียกอีกนัยคือ ราคากำลังทำPattern หลัก ในขณะที่กำลังทำนั้น ราคาได้มีการทำ Patternรอง ซึ่ง Patternรองนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของ Patternหลัก เกิดขึ้นมากกว่าหนึ่ง Patternที่เป็น Patternรอง และสามารถเกิดได้ทุกรูปแบบของ Chart Pattern   คือ 1. รูปแบบกลับตัว (Reversal Patterns) 2. รูปแบบต่อเนื่อง (Continuous Patterns) 3. รูปแบบที่เป็นไปได้ทั้งสองทาง (Bilateral Patterns) จน หลายครั้งทำให้เราไม่แน่ใจถึง Pat
6.การใช้ Ichimoku เต็มรูปแบบ(ตอนจบ) การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ Ichimoku ก่อนอื่นเราต้องจำชื่อแต่ละเส้นให้ได้ก่อนนะครับ ว่ามันมีลักษณะยังไง มีหลักการแบบไหน เมื่อมันอยู่รวมกันเราจะได้วิเคราะห์ถูก ว่าเส้นนี้คือเส้นอะไร มีความสำคัญอย่างไร เมื่อทุกเส้นมารวมกันจะได้กราฟดังนี้ การเข้า Buy 1.เมื่อ Tenkan sen ตัด Kijun sen ขึ้นไป แล้วแท่งเทียนยืนอยู่เหนือ เส้นทั้งสอง 2. Tenkan sen , Kijun sen , และแท่งเทียน ต้องอยู่บน Senkou Span (kumo หรือ Cloud) 3. Chinkou span ตัด แท่งเทียนในอดีตขึ้นมา Ex.1 อีกหนึ่งความลับของ Ichimoku ก็คือ การดูสัญญาณยืนยัน (Confirmation signal ) เราสามารถดูได้จาก เส้น chinkou span - ราคามีการดีดกลับ จากขาลงกลายเป็นขาขึ้น แต่เราไม่สามารถรู้ได้ว่า มันจะขึ้นจริงหรือหลอก จุดสังเกตแรกที่จะสามารถบอกเราได้ว่ามันกำลังจะขึ้นก็คือ * จุดที่ Chinkou span ( Lagging line ) ตัดแท่งเทียน แล้วก็ตัด Senkou span A ขึ้นไป ดังรูป จุดยืนยันที่สองคือ Chinkou span ตัด Senkou span B ขึ้นไป ดังรูป การเข้า Sell ก็ทำตรงข้ามกับ Buy นะครับ Ex. การเข้า Sell ผมหวังว่าบทความที่ผมได้เขียนคงเป็นประโยชน์แก่เ
5.หลักการของ Chikou Span ใน Ichimoku หลักการของ Chikou Span ที่อยู่ใน Ichimoku Chinkou span ก็ถือ เส้นราคาที่แสดงราคาปิด แต่ถูก Shift ไปด้านหลัง Chikou span มีความสำคัญมากเพราะมันเป็นราคาปัจจุบันเพียงแค่ถูกเลื่อนไปอยู่ช้ากว่าราคาเท่านั้นเอง กฎทั่วไปของ Chinkou span คือ 1. เมื่อ chinkou span ตัดแท่งเทียนขึ้นไป และอยู่เหนือแท่งเทียนนั้น แล้วราคามีการเคลื่อนที่ขึ้น แสดงว่า แนวโน้มกำลังจะขึ้น ดังรูปครับ วงกลมที่ 1 คือ chinkou span เมื่อchinkou span อยู่บนแท่งเทียนในอดีต แล้ว chinkou span มีความชันเป็นบวก แสดงว่าสภาวะกระทิง (Bullish) ราคาจะมีการขึ้นต่อ 2. เมื่อ Chinkou span ตัดผ่านแท่งเทียนแท่งมาและอยู่ต่ำกว่าแท่งเทียนในอดีต แล้วราคาเคลื่อนที่ลง แสดงว่าแนวโน้มกำลังจะลง ดังรูปด้านล่างครับ จากกราฟด้านบน chinkou span ตัดแท่งเทียนในอดีตลง และอยู่ต่ำกว่าแท่งเทียน แสดงว่า สภาวะของตลาดปัจจุบันกำลังจะเป็นขาลง (bearish) จากที่ผมได้กล่าวมาด้านบน เป็นหลักการพื้นฐาน เรายังสามารถใช้ chinkou span เป็นแนวรับ(support)และ แนวต้าน(resistance) ได้อีกด้วย นอกจากนี้ เรายังใช้เส้น chinkou span เพื่อหาจุดกลับตัว
4.หลักการของ Tenkan sen Vs. Kijun Sen เมื่อสองเส้นนี้มันตัดกัน การทำกำไรโดยใช้หลักการตัดกันระหว่าง Kijun sen และ Tenkan sen ผมได้อธิบาย หลักการของ kijun sen และ tenkan sen ใน Ichimoku ไปแล้ว ตอนนี้เราจะเอาทั้งสองเส้นนี้มาใช้ร่วมกันโดยหลักการง่ายๆ คือ 1. เมื่อ tenkan sen ตัด kijun sen ขึ้น แล้วราคาสามารถยืนอยู่เหนือทั้งสองเส้นนี้ได้เป็นสัญญาณ Long (buy) Ex.1 สัญญาณ Buy 2. เมื่อ tenkan sen ตัด Kijun sen ลง แล้วราคาสามารถอยู่ต่ำกว่าทั้งสองเส้นนี้ได้ เป็นสัญญาณ Short(sell) 3. เมื่อราคาได้ทะลุเส้นทั้งสองไปแล้ว ราคามักจะกลับมาทดสอบทั้งสองเส้นนี้อีกครั้ง แต่โดยส่วนใหญ่ราคามักจะมาทดสอบเส้น kijun sen หรือที่เรียกว่า Retest ดูรูปกันเลยครับ **แนะนำนะครับสำหรับการ Retest ให้ใช้เฉพาะ กราฟขาลงเท่านั้น เพราะกราฟขาลงจะแรงกว่ากราฟขาขึ้น Time Frame ที่แนะนำ 15 นาที และ 30 นาที credit  http://richmoneyforex.blogspot.com
3.หลักการทั่วไปของ Kijun Sen ใน Ichimoku หลักการทั่วไปของ Kijun Sen ที่อยู่ใน Ichimoku ใน Ichimoku จะมี Slow ma อยู่หนึ่งเส้น นั่นก็คือ Kijun Sen ซึ่งมี Period ที่มากกว่าเส้น Tenkan Sen Kijun Sen โดยทั่วไปจะใช้เป็นแนวรับแนวต้าน และดูความชัน แต่ความสำคัญของความชันน้อยกว่า Tenkan Sen เมื่อ ราคาทะลุผ่าน Kijun Sen ขึ้นไป และแท่งเทียนสามารถปิดเหนือเส้น Kijun Sen ได้ แสดงว่าแนวโน้มกำลังจะเป็นขาขึ้น เมื่อ ราคาทะลุผ่าน Kijun Sen ลงมา และแท่งเทียนสามารถปิดต่ำกว่า เส้น Kijun Sen ได้ แสดงว่าแนวโน้มกำลังจะเป็นขาลง เมื่อ Kijun Sen มีความชันเป็นศูนย์ ( kijun sen อยู่ในแนวระนาบ ) ถ้าเส้นอยู่ในแนวระนาบยาวๆ (Flat) เส้นนี้จะกลายเป็นแนวรับ/แนวต้านที่มีความแข็งแกร่งพอสมควร แต่โดยส่วนมากผมจะใช้เส้นนี้เพื่อเป็นแนวรับแนวต้าน และเป็นจุด Stop loss เราสามารถเปิดกราฟที่ช่วงเวลาใหญ่ๆเพื่อดูแนวรับแนวต้าน credit  http://richmoneyforex.blogspot.com
2.หลักการทั่วไปของTenkan Sen ใน Ichimoku Tenkan Sen มีลักษณะคล้ายๆกับเส้น Moving Average ที่มี Period น้อยๆ ซึ่งผมได้ตั้ง Tenkan Sen เป็นสีแดง หลักการของเส้นนี้ เป็นหลักการทั่วไปการตัดกันของ ma cross หลักการวิเคราะห์ของ Tenkan Sen -เมื่อราคาตัดผ่านเส้น Tenkan Sen ขึ้นไป แล้วราคาอยู่เหนือ Tenkan Sen และความชันของ Tenkan Sen เป็นบวก แสดงว่า เป็นแนวโน้มขึ้น -เมื่อราคาตัดผ่านเส้น Tenkan Sen แล้วราคาอยู่ต่ำกว่าเส้น Tenkan Sen และความชันของ Tenkan Sen เป็นลบ แสดงว่า เป็นแนวโน้มลง ตัวอย่าง การเข้า Long (Buy) Ex.1 Credit   http://richmoneyforex.blogspot.com
1.หลักการทั่วไปของ Senkou Span ใน Ichimoku หลักการทั่วไปของ Senkou Span ใน Ichimoku Senkou Span เป็นส่วนประกอบของ Ichimoku ซึ่ง Senkou Span จะแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ Senkou Span A และ Senkou Span B Senkou Span ไม่ได้บอกแนวโน้มในอนาคต แต่ Senkou Span จะถูก Shift ไปด้านหน้าของราคา ดังรูป เราจะเห็นว่า Senkou Span ถูก Shift ไปด้านหน้าของราคา เส้นสีเหลืองคือ Senkou Span A และเส้นสีขาวคือ Senkou Span B เส้นประที่อยู่ระหว่าง Senkou Span ทั้งสองเส้น เราจะเรียกกว่า ก้อนเมฆ (Cloud ) หรือเรียกว่า Kumo Kumo เปรียบเสมือนจุดสมดุลของกราฟ เมื่อราคาอยู่ภายใน Kumo มันจะสะสมพลังเพื่อไปในทิศทางใด ทิศทางหนึ่ง ดังรูปด้านล่าง เมื่อราคาอยู่ภายใน Kumo เราต้องรอจนกว่าราคาจะทะลุทางใดทางหนึ่ง ถ้าราคาทะลุ Kumo ขึ้นไปด้านบน ให้ Long (Buy ) และถ้าราคาทะลุ Kumo ลงไปด้านล่าง ให้ Short (sell) เมื่อ Senkou Span เป็น Flat ราบเรียบขนานไปกับพื้นเป็นเส้นตรงยาวๆ หมายความว่า เส้น Senkou Span จะกลายเป็น แนวรับ/แนวต้านในทันที Ex.1 Ex.2 กฎทั่วไปของ Kumo (Senkou Span) ถ้า Senkou Span A อยู่สูงกว่า Senkou Span B ,ให้ Long (buy ) ถ้า
การใช้ Ichimoku , Ichimoku Ichimoku เป็น Indicator ตัวหนึ่งที่อยู่ในโปรแกรม MT4 เมื่อเปิด Ichimoku ขึ้นมา หลายๆคนคงจะงงกับเส้นต่างๆซึ่งอยู่บน Chart เพราะIchimoku มีส่วนประกอบอยู่หลายเส้นมากๆ ซึ่งส่วนประกอบของ Ichimoku มีดังนี้ 1.Tenkan Sen ( สีแดง ) Tenkan Sen แสดงค่าเฉลี่ยของราคาในระหว่างช่วงเวลาแรกจะกำหนดโดยผลรวมของค่าสูงสุดกับค่าต่ำสุดภายในช่วงเวลานี้ Tenkan Sen ถูกกำหนดโดย Tenkan Sen = (Highest high +Lowest low)/2 คำนวณย้อนหลังไป 9 ครั้งในช่วงเวลานั้น(ค่าเริมต้นถูกตั้งค่าไว้ที่ 9 ) 2.Kijun Sen ( สีน้ำเงิน ) Kijun Sen แสดงค่าเฉลี่ยของราคาในระหว่างช่วงเวลาที่สอง หรือ base line ซึ่ง Kijun Sen คำนวณได้จาก (Highest high +Lowest low)/2 คำนวณย้อนหลังไป 26 ครั้งในช่วงเวลานั้น( ค่าเริมต้นถูกตั้งค่าไว้ที่ 26) 3.Senkou Span A ( เส้นสีเหลือง ) แสดงค่ากึ่งกลางของระยะระหว่างสองเส้นก่อนหน้านั้นถูก Shift ไปด้านหน้าโดยค่าของช่วงเวลาที่สอง(26) ซึ่ง Senkou Span A หาได้จาก Senkou Span =( Tenkan Sen + Kijun Sen )/2 ถูก plot ไปข้างหน้า 26 ครั้ง ในช่วงเวลานั้น 4.Senkou Span B (เ
การปรับแต่งและลงอินดี้ที่มีอยู่ในโปรแกรม แก้ค่า ใน indicator  ตรงนี้ส่วนมาก ทุก indicator จะมี TAB แบบนี้ เป็นส่วนใหญ่ บางตัวมีน้อยกว่านี้ เลยเอามาใส่ไว้ซะเลย คงรู้กันแล้ว แต่ว่าไ้่ว้เผื่อคนเล่นใหม่ ด้วยคะ MN พูดว่า: ต่อนะคะ มาใส่ค่าที่ ฮิต ๆ กันนะคะ เอาง่ายๆ ก่อน อ้อ ลืมไปคะ บางครั้งเราอาจ ปิดตัว Navigator ไป แล้วอาจหาไม่เจอนะคะ ถ้าข้างล่างซ้ายไม่มี navigator ให้เปิดจากแฟ้มที่เป็นรูปดาวข้างบน ตัวนี้จะเปิดออกมาคะ MN พูดว่า: จากนั้นใส่ indicator ฮิตๆ กัน คะ อันแรก กด rsi ไม่ต้องเปลี่ยนค่าที่ตั้งมา แต่เพิ่มเส้นตรง TAB Level Add ค่าเพิ่มไปตามนั้นนะคะ กด OK MN พูดว่า: เส้นค่าเฉลี่ย 200 วันคะ อันนี้ แก้ค่า ตาม Tab .ในรูปเป็น 200 นะคะ ถ้าจะเพิ่มเส้น 100 ก็เปิดอันใหม่อีกอัน แล้วไป เลือกสี และเส้นให้หนา ใน Tab ถัดไปคะ อันนี้ก็ลอกคุณดูราฮานมา :03 :03 เส้น 200 นี่ส่วนตัวเอาไว้ดู ราย ชม. เป็นหลักคะ แต่จะไล่ดูรายนาทีว่า จะผ่านแนวต้านเส้นนี้ไม๊ รับอยู่ไม๊ สนุกดีคะ :03 อันนี้แก้เส้นให้หนานะคะ MN พูดว่า: ค่า OSMA คะ ลอกคุณดูราฮาน เหมือนเคย :09 STO กับ MACD ไม่ได้แก้ค่าคะ ครบแล้วคะ MN พูดว่า: ต่อที่ A
เริ่มต้นใช้โปรแกรม MT4  เนื่องจากคนที่ไม่เคยลงทุนมาก่อน คงจะต้องสับสนกับเจ้าโปรแกรม MT4 ตัวนี้ไม่มากก็น้อย เพราะปุ่มค่อนข้างเยอะเหลือเกิน  ผมสารภาพว่า ผมเองก็เคยเป็นคนหนึ่งที่งงเป็นไก่ตาแตก เมื่อตอนเริ่มการลงทุนใหม่ๆ  ผมยังจำวันนั้นได้จนทุกวันนี้เลยครับ  เพราะฉะนั้น เราจะมาเริ่มกันตั้งแต่ต้นเลยครับ ว่าไอ้เจ้าโปรแกรม MT4 ตัวนี้เค้าใช้กันอย่างไร  ตามมาเลยครับ เราจะไปดูกัน - ทำความเข้าใจกับเครื่องมือใน MT4 -  การปรับแต่งและลงอินดี้ที่มีอยู่ในโปรแกรม -  การเพิ่ม Indicator - การเพิ่ม Expert Advisor
มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก แฮ็กเกอร์ ความคิดที่แตกต่างไม่เหมือนกันอาจเป็นชนวนให้เกิดความแตกแยกในสังคมหลายๆประเทศ แต่ถ้าลองคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ล่ะก็ นอกจากจะไม่ทะเลาะเบาะแว้งกันแล้ว เผลอๆอาจทำเงินทำทองให้ อย่างมหาศาล เปลี่ยนสถานะจากคนตกงานไร้อนาคตขึ้นแท่นเป็นสุดยอดมหาเศรษฐีอันดับท็อปๆของ โลกเพียงชั่วข้ามคืน จะว่ากันไปแล้ว คนกล้าคิดต่างอย่างสร้างสรรค์ก็มีอยู่ไม่น้อยในสังคมโลก แต่รายที่คิดต่างมีไอเดียน่าทึ่ง ทั้งๆที่อายุยังน้อย คงไม่มีใครโด่งดังเกินหน้า มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก แฮ็กเกอร์หนุ่มจากฮาร์วาร์ด ผู้ก่อตั้ง Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่สุดของโลก จนโด่งดังเปรี้ยงปร้างไปทั่ว และได้รับการจัดอันดับจากนิตยสารไทม์ให้เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลก ประจำปี 2008 ขณะอายุเพียง 23 ปี โดยปัจจุบันมีผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 400 ล้านคน นับตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 6 ปีก่อน วันที่ 4 ก.พ. ปี 2004 ย้อนกลับไปในวัยเด็ก "มาร์ค" มีชีวิตแสนจะธรรมดา เขาเกิดในครอบครัวอเมริกันเชื้อสายยิว เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ปี 1984 โตมาในย่าน ดอบส์ เฟอร์รี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีพ่อเป็นหมอฟันและนักจิตวิทยา ชีว