กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ Fundamental

บทความ

บทความจากแมงเม่าคลับ นำมาปรับใช้การเทรดค่าเงินดูนะครับ พอร์ทเล็กให้เล่นรอบ ส่วนพอร์ทใหญ่เล่นพื้นฐาน … เป็นความคิดที่ไม่เข้าท่า! ช่วงนี้เห็นมีกระแสว่าเงินน้อยให้เล่นรอบขยายพอร์ทไปก่อน พอพอร์ทใหญ่ขึ้นแล้วค่อยไปเล่นพื้นฐานหรือกินปันผล ผมว่าความคิดแบบนี้เป็นการดูถูกวิธีการทำกำไรของทั้งสองแนวทางมาก เพราะเหตุผลหลักๆที่คุณจะร่ำรวยได้จากแนวคิดทั้งสองรูปแบบนี้ไม่ใช่เรื่องของขนาดพอร์ท แต่เป็นความรู้ความชำนาญของตัวเราเองต่างหากครับ อย่าใช้ขนาดของพอร์ทมาเป็นข้ออ้างในการเก็งกำไร การเก็งกำไรไม่ได้เกิดมาหรือมีไว้เพื่อเป็นที่รองรับสำหรับคนที่พอร์ทเล็กเพียงอย่างเดียว มันเป็นวิธีการในการทำกำไรจากตลาดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ว่าคุณจะพอร์ทเล็กหรือพอร์ทใหญ่ พวกมันก็มีกลยุทธ์ที่เอื้ออำนวยต่อขนาดพอร์ทของคุณแทบทั้งนั้น นอกจากนี้แล้ว หลักการเก็งกำไรก็ไม่เคยรับประกันเอาไว้เสียด้วยว่าคุณจะต้องรวยหรือไม่หมดตัวไปเสียก่อนหากว่าพอร์ทของคุณยังเล็กอยู่ ผมเห็นว่าความคิดหนึ่งที่อันตรายเป็นอย่างมากเลยก็คือ คนส่วนใหญ่มักที่จะคิดว่ามีเงินน้อยๆให้เล่นรอบก่อนแล้วพยายามอัดให้หนักเพื่อที่จะขยายพอร์ทสร้างความร่ำรวยให้เร
หลายต่อหลายคนรู้ดีว่าความสำเร็จของนักลงทุนหรือนักเก็งกำไรระดับโลกส่วน ใหญ่ล้วนเกิดขึ้นจากผลของการ “ทบต้น” แทบทั้งสิ้น แต่พวกเขามักไม่รู้ว่าการทบต้นนั้นย่อมต้องมีต้นทุนของมันอยู่ และนี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องมีเพื่อดึงเอาพลังของการทบต้นออกมา 1. ระบบการลงทุนที่มีความเสถียรและมีประสิทธิภาพ น่าเสียดายที่หลายๆคนที่หลงไหลในสมการทบต้นนั้นไม่รุ้ว่าสิ่งที่จำเป็น สำหรับพวกเขาอย่างแรกเลยก็คือระบบการลงทุนหรือแนวทางในการลงทุนที่มีความ เสถียร (Robust) … ระบบการลงทุนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องสัญญาว่าจะทำให้คุณลงทุนถูกที่ถูกทางอยู่ ตลอดเวลาหรือมีกำไรเป็น XXX% เท่าภายในเวลาไม่กี่วันหรือไม่กี่เดือน (ซึ่งอันที่จริงแล้วพวกมันมักถูกสร้างมาเพื่อทำการตลาดในการขายระบบ โดย Curve Fit ระบบกับฐานข้อมูลในอดีตจนมากเกินไปแทบทั้งนั้น) ความสม่ำเสมอของการเติบโตต่างหากที่เป็นหัวใจในการทบต้น ในระยะยาวแล้วระบบการลงทุนที่อึดที่สุดและเสถียรที่สุดคือสิ่งที่มีค่ายิ่ง กว่าทองสำหรับคุณ 2. เวลา แม้การเติบโตของเงินทุนแบบทบต้นไปเรื่อยๆนั้นอาจไม่ต้องการผลตอบแทนที่ หวือหวามากๆแต่มันกลับต้องการช่วงเวลาที่ยาวนานในการบ่มเพาะ
4 ความผิดพลาดซ้ำซากในการลงทุน และวิธีเลี่ยงความผิดเหล่านั้น แปลจากบทความ Four Common Trading Mistakes and How to Avoid Them เขียนโดย Ivan Hoff 1. ซื้อขายหุ้นโดยไม่มีหลักการ ถ้าคุณไม่มีจุดยืน คุณก็ไม่มีแก่นหรือสิ่งใดให้ยึดถือปฏิบัติ ถ้าคุณไม่มีเป้าหมายว่าจะไปที่ใด คุณก็ไม่มีวันไปถึงจุดหมาย… จงกำหนดหลักการ วางแผนการลงทุน และทำตามแผนที่คุณวางไว้เสมอ เพราะถ้าคุณไม่มีแผนการของตนเอง คุณก็จะต้องตกอยู่ในแผนการของคนอื่น “ถ้าคุณไม่เข้าใจว่าทำไมคุณถึงซื้อหุ้นตัวนั้น คุณก็จะไม่รู้ว่าควรขายมันตอนไหน ซึ่งนั่นมักจะทำให้คุณขายหุ้นทิ้งตอนที่ราคาของมันทำให้คุณกลัว ทั้งๆที่โดยส่วนมากแล้ว เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณกลัวราคาหุ้นในขณะนั้น มันคือโอกาสซื้อ ไม่ใช่จุดบ่งชี้ว่าคุณควรขายมันทิ้ง” – Martin Taylor - 2. เข้าซื้อหุ้นไม้ใหญ่เกินไป (Trading too big) การเข้าซื้อหุ้นครั้งเดียวในสัดส่วนที่เยอะของพอร์ต จะทำให้คุณขายหุ้นเพราะความกลัวของคุณ ไม่ใช่เพราะระบบลงทุนของคุณบอกให้ขาย ดังนั้น ก่อนที่จะซื้อหุ้น คุณควรกำหนดจำนวนเงินที่คุณสามารถยอมรับขาดทุนได้ให้อยู่ในระดับที่ไม่เสี่ยงมากไป ตัวอย่างเช่น คุณยอมร
เคล็ดลับ24 ข้อ จากหนังสือ How Buffet Does It ข้อ 1 เลือกความเรียบง่ายมากกว่าความซับซ้อน - บัฟเฟตต์แนะนำว่า “เมื่อลงทุน ทำให้เรียบง่าย ชัดเจน อย่าพยายามหาคำตอบที่ซับซ้อน จากคำถามที่ซับซ้อน” ทำให้ง่าย คือ เป้าหมายของเรา ซื้อหุ้นของบริษัทที่ดี ดำเนินการบริหารโดยคนที่ซื้อสัตย์สุจริตและเชื่อถือได้ ซื้อหุ้นในราคาถูกเมื่อเทียบกับมูลค่าที่แท้จริง คำนวณถึงศักยภาพการดำเนินธุรกิจในอนาคต (มองว่าในอนาคตบริษัทจะยังอยู่ได้อย่างยั่งยืนหรือไม่) อยู่กับอุตสาหกรรมที่เราเข้าใจ - จงมองหาธุรกิจที่ทำอย่างเดียวกันกับที่เคยทำเมื่อทศวรรษที่แล้ว เพราะมันทำให้เขาสามารถคาดเดาอนาคตของบริษัทได้ง่ายขึ้น ส่วนบริษัทที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั้น จะทำให้คุณตัดสินใจผิดพลาดได้ง่าย ข้อ 2 ตัดสินใจลงทุนด้วยตัวคุณเอง - อย่าเชื่อโบรกเกอร์,นักวิเคราะห์ หรือผู้รู้ จงเชื่อตัวคุณเอง แต่ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเราจะปิดหู ปิดตา ไม่รับข้อมูลใดๆจากพวกเขาเหล่านี้ เพียงแต่เมื่อได้ข้อมูลมาให้เรานำมาวิเคราะห์ แยกแยะ และตัดสินใจด้วยเหตุผล รวมทั้งคุณต้องศึกษาประวัติ พื้นฐานของบริษัทมาให้ดีก่อนที่จะลงทุน - ไม่ลงทุนโดยฟังมา
  Carry trade คืออะไร คุณทราบหรือไม่ว่า ยังมีวิธีการเทรดที่สามารถทำกำไรได้ แม้ว่าว่าช่วงเวลานั้นราคาจะไม่เคลื่อนที่เลยก็ตาม วิธีนี้เป็นวิธีที่นิยมมากของพวกบริษัทใหญ่ๆในโลกแห่งการเงิน Curry trade หมายถึง การที่กู้ยืมเงินหรือขายตราสารที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ แล้วนำไปซื้อตราสารทางการเงินที่มีดอกเบี้ยสูงกว่า ในขณะที่คุณจ่ายดอกเบี้ยต่ำในตราสารทาง การเงินที่คุณกู้ยืมหรือขายมา แต่คุณได้ดอกเบี้ยที่มากกว่าในตราสารทางการเงินที่คุณได้ซื้อมา ดังนั้นผลกำไรของคุณก็คือผลต่างของกำไรนั่นเอง  พูดง่ายๆก็คือ “Curry trade คือ การทำการค้าโดยหวังผลต่างของดอกเบี้ย ระหว่างดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย และดอกเบี้ยที่ได้รับ บวก-ลบออกมาเป็นผลกำไร นั่นเอง” ตัวอย่างเช่น คุณได้ทำการกู้ยืมเงินจากทางธนาคารมา $10,000 โดยคุณจะต้องจ่ายดอกเบี้ยให้ทางธนาคารในอัตรา 1% ต่อปี เมื่อได้เงินมาแล้วคุณก็นำเงินนั้นไป ซื้อพันธบัตร ที่จ่ายดอกเบี้ยให้คุณในอัตรา 5% ต่อปี ดังนั้น คุณก็จะเหลือผลกำไรจากผลต่างอัตราดอกเบี้ยนี้ 4% ต่อปี คุณอาจคิดว่า การทำกำไรแบบนี้มันไม่ตื่นเต้น เพราะไม่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ ไม่เหมือนกับการทำกำไรโดย