เจาะลึก Price Action Signal ตอนที่ 2 : Inside Bar

เจาะลึก Price Action Signal ตอนที่ 2 : Inside Bar

Price Action ดูยังไง เทรดตรงไหน ? 
มี Signal อื่นที่เทรดแล้วได้กำไรอีกไหม ?
อยากได้ Price Action Signal แบบอื่นอีก มีไหม ?




มีครับ…อยากได้อีก ผมก็จัดให้!
มาถึงตอนที่ 2 ของ ซีรี่ย์ Price Action Signal กันแล้วนะครับ ผมจะมาไขข้อข้องใจให้กับเทรดเดอร์ทุกท่านเหมือนเดิมครับว่า ไม่จำเป็นต้องมี indicator ก็เทรดให้กำไรได้ บทความนี้ผมจะพาทุกท่านไปพบกับ Price Action Signal ที่มีชื่อว่า inside bar แบบเจาะลึก รับประกันว่าอ่านจบจะเข้าใจเทคนิคการเทรดด้วย inside bar อย่างแน่นอน และที่สำคัญผมแนะนำให้เอาเทคนิคต่าง ๆ ในบทความนี้ไปใช้ได้เลยครับ!!

ก่อนจะไปพบ เทคนิคการเทรดแบบเน้น ๆ หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์ สามารถ Comment บอกความรู้สึก หรือ สิ่งที่ได้รับจากบทความ หรือ Share ให้เพื่อน ๆ ได้อ่านสิ่งดี ๆ ที่คุณอ่าน ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ 

รู้จักลักษณะของ inside bar (Inside Bar Anatomy)

  • จุดประสงค์ของหัวข้อนี้มีแค่อย่างเดียวครับ คือ คุณต้องแยกให้ออกว่าแท่งเทียนแท่งไหน เป็นแท่งเทียน inside bar
  • แปลว่า ถ้าคุณจะแยกให้ออก คุณต้องรู้ก่อนว่า inside bar มีหน้าตายังไง เราจะมาดูกันครับว่า inside bar มีหน้าตายังไง
  • ลักษณะของ inside bar จะประกอบด้วยแท่งเทียนอย่างน้อย 2 แท่ง โดยแท่งแรกจะมีขนาดใหญ่ เรียกว่า Mother Bar และ แท่งที่ 2 จะมีขนาดเล็ก เรียกว่า inside bar จุดสำคัญ คือ แท่งที่ 2 จะต้องเล็กกว่าแท่งแรก (อยู่ภายในแท่งแรก) จึงจะเรียกว่า inside bar เพื่อให้เห็นภาพชัดเจน ดูรูปประกอบได้เลยครับ
inside-bar
  • inside bar ไม่จำเป็นต้องมี 2 แท่งเสมอไป จะมี 3 หรือ 4 แท่ง ก็เรียก inside bar ได้เช่นกันครับ แต่ความแรงของสัญญาณจะอ่อนลง ยิ่งจำนวนแท่งเทียนที่ประกอบกันเป็น inside bar น้อย (2-3 แท่ง) แปลว่า ตลาดยังมีโมเมนตัมที่แข็งแกร่ง

จิตวิทยาของ Inside Bar Signal

  • inside bar เกิดจาก ความลังเลของตลาดว่าจะวิ่งไปทางไหน จึงเกิดการพักตัวชั่วคราว ทำให้เกิดแท่งเทียน Mother Bar และ inside bar ขึ้น
  • ตราบใดที่ราคายังวิ่งไม่พ้นกรอบของ Mother Bar แปลว่า ตลาดยังเกิดความลังเลอยู่
  • หากเราดูใน Time Frame ต่ำ ๆ อย่าง H1 จะเห็นว่า ราคาวิ่งแกว่งไปมาระหว่างวันอย่างชัดเจน (ดูรูปด้านล่าง)
inside-bar-day
price-movement-h1
  • การแกว่งของราคาระหว่างวัน อย่างเช่นใน Time Frame H1 จะเดาทิศทางได้ยาก แต่เมื่อ Zoom Out ไปที่ Time Frame Day จะเห็นรูปแบบของ Signal และ แนวรับ อย่างชัดเจน ง่ายกว่าการไปเดาใน Time Frame ระดับต่ำ ๆ
  • นี่จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ผมจึงแนะนำเทรดเดอร์ที่เพิ่งฝึกใช้ Price Action ในการเทรดให้ฝึกใน Time Frame Day เป็นหลักก่อน พอชำนาญแล้วค่อยข้ามไปเทรดใน TF ระดับต่ำ เพราะ คุณจะเห็น Signal ที่มีน้ำหนักในการตัดสินใจ ได้อย่างชัดเจนนั่นเองครับ
  • จุดสำคัญที่ผมอยากจะให้ทุกท่านจำให้แม่นก็คือ Inside Bar Signal เราจะเทรดเมื่อเกิดการ Breakout เท่านั้น เพราะ การ Breakout ไปทางใดทางหนึ่งนั่นหมายถึง ตลาดเลือกทางแล้ว นั่นเองครับ

2 เทคนิคเทรด Forex ด้วย inside bar

ผมเชื่อว่าหัวข้อนี้ เป็นหัวข้อที่ทุกคนรอคอย เพราะ อยากรู้แล้วว่า inside bar นั้นเทรดยังไง หรือ inside bar เหมาะกับการเป็น Signal หรือไม่ ในหัวข้อนี้ผมจะมาอธิบายให้ทุกท่านได้เห็นภาพกันชัด ๆ ครับว่า เราจะใช้ inside bar ทำกำไรในตลาด Forex กันอย่างไร

เทคนิคที่ 1 : เทรด inside bar ที่ Key Levels  

  • การเทรดลักษณะนี้จะคล้ายกับการเทรด Pin Bar ในบทความ เจาะลึก Price Action Signal ตอนที่ 1 : Pin Bar แต่ต่างกันตรงที่เราเปลี่ยนจาก Pin Bar Signal เป็น Inside Bar Signal ครับ
  • วิธีการของเทคนิคนี้ก็คือ หา Key Levels ให้เจอ วิธีหา Key Levels มีอธิบายอย่างละเอียดในบทความ 3 เทคนิคอ่าน “แนวรับ-แนวต้าน” ให้แม่นด้วย Price Action จากนั้น เทรดฝั่งที่ราคาเกิดการวิ่งทะลุ (Breakout)
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้น ให้หา Key Support ใน Time Frame ระดับ Week จากนั้น ลดระดับมาที่ Time Frame Day โดยจะเปิด Buy Order เมื่อราคา Breakout High ของ Mother ได้สำเร็จ (ดูตัวอย่างในรูป)
  • ถ้าเป็นแนวโน้มขาลง ให้หา Key Resistance ใน Time Frame ระดับ Week จากนั้น ลดระดับมาที่ Time Frame Day โดยจะเปิด Sell Oder เมื่อราคา Breakout Low ของ Mother Bar ได้สำเร็จ (ดูตัวอย่างในรูป)
inside-bar-key-support
inside-bar-key-resistance

เทคนิคที่ 2 : inside bar follow trend

  • เทคนิค inside bar follow trend เป็นเทคนิคที่ใช้ง่าย ไม่ซับซ้อน แต่มีข้อแม้ว่าต้องใช้ตอนช่วงที่เกิด Trend เท่านั้น
  • วิธีการคือ ดู Trend ที่เกิดขึ้น จากนั้น รอให้ราคาย่อ (ใน uptrend) หรือ รีบาวน์ (ใน downtrend) ทำการเปิด Order เมื่อราคา Breakout Mother Bar ฝั่งเดียวกับ Trend
  • ตัวอย่างเช่น ถ้าแนวโน้มเป็นขาขึ้น เราจะเปิด Order เมื่อราคา Breakout High ของ Mother Bar (ดูตัวอย่างในรูป)
  • ถ้าแนวโน้มเป็นขาลง เราจะเปิด Order เมื่อราคา Breakout Low ของ Mother Bar (ดูตัวอย่างในรูป)
inside-bar-downtrend
inside-bar-uptrend

สรุป inside bar เป็น Price Action ที่เรียบง่าย ไม่ซับซ้อน ประกอบด้วยแท่งเทียนอย่างน้อย 2 แท่ง จุดสำคัญคือ ต้องอยู่ใน Mother bar range แท่งเทียนของ inside bar แสดงถึงความลังเลของตลาด (ตลาดยังไม่เลือกทาง) สิ่งสำคัญที่ผมอยากแนะนำหากใครจะนำ inside bar signal ไปใช้ ก็คือ คุณต้องเทรด inside bar ใน Day ครับ เพราะ อย่างที่ผมอธิบายไว้ด้านบนจะเห็นว่า ถ้าเรา Zoom in เข้าไปยัง Time Frame เล็ก เราจะไม่เห็น inside bar signal แต่อย่างใด แต่จะเห็น

เพียงราคาแกว่งไปมาแทน และ สัญญาณที่เกิดในระดับ TF ต่ำ ๆ ยังมีความแม่นยำน้อยกว่าสัญญาณที่เกิดใน TF Day หรือ H4 อีกด้วย นี่แหละครับสิ่งที่ผมอยากฝาก เชื่อว่าในบทความนี้ทุกท่านจะได้เทคนิคการเทรด inside bar signal กันแล้วนะครับ ลองเอาไปใช้กันดูนะครับ

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ