Candlestick จิตวิทยาแห่ง Demand&Supply(ตอนที่ 2)

จากตอนที่แล้วเราได้รู้จัก Candlestick ทั้ง Bullish และ Bearish รวมทั้งความหมายแต่ยังไม่ได้พูดถึงการนำไปใช้

ในคร้งนี้เราจะกล่าวถึงว่ามีใครบ้างที่อยู่ใน Candlestick

ใน Candlestick จากที่เรารู้มันคือ Demand&Supply ซึ่งจริงๆแล้วก็จะมีคนอยู่สองกลุ่ม คือ Buyer และ Seller อยู่ใน Candlestick เสมอ

สองกลุ่มนี้ในแต่ละวันพวกเขาจะทำสงความ ซื้อๆ ขายๆ กันเหมือนในสมรภูมิรบแต่เป็นสนามรบในตลาดหุ้นเท่านั้นเอง

การรบก็จะมี แพ้ ชนะ และเสมอ จึงทำให้เกิด Bullish Candlestick และ Bearish Candlestick และอีกตัวนึงที่ยังไม่ได้พูดถึงคือรูปแบบของการเสมอกัน ก็คือ Doji Candlestick


รูปแบบแรกที่จะนำเสนอคือ Candlestick ที่หางยาวๆลงมา ในลักษณะนี้จะเป็นทั้ง Bullish หรือ Bearish ก็ได้แต่เราจะพิจารณาในส่วนของหางยาวๆของ Candlestick เท่านั้นและมันคือจิตวิทยาที่สำคัญ

ลองดูรูปด้านล่างครับ

Buyer In Control

ในความหมายและนัยสำคัญของลักษณะนี้ คือ Buyer ไม่ยอมให้ราคาโดน Seller กดลงที่จุดต่ำสุดเพราะมีการดันราคาจาก Buyer ขึ้นในตอนที่ Seller ทิ้งทุกราคาลงมา นั่นบ่งบอกและมีความน่าจะเป็นว่าราคาจะไม่ลงต่อ 
ในการอ่านเมื่อเราเจอภาพแบบนี้ในหุ้นตัวเราสนใจ ให้เราวิเคราะห์จากสิ่งที่ต้องให้น้ำหนักกับแท่งเทียนลักษณะนี้คือ
  1. การเกิดตรงเส้นแนวรับสำคัญ
  2. เกิดตรงเส้น EMA(50) หรือ EMA(200)
  3. เกิดตรงบริเวณที่ RSI เข้าเขต Oversold 
เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำเกิดการกลับตัวจากที่ราคาย่อตัวลงมาหรือจากเทรนขาลงของราคาไปเป็นทิศทางขาขึ้น
ลองไปดูตัวอย่างกันครับ

จากตัวอย่างจะเห็นว่าราคาย่อลงมาจากจุดสูงสุดที่พิจารณาติดต่อกันสามวันเรา จะเรียกว่า Consecutive Down Day และเกิด Candlestick หางยาวๆลงมาทดสอบที่เส้น EMA(50) ดังที่เห็น Buyer ไม่ยอมให้ราคาลงต่ำกว่านี้เลยเกิดเป็น Candlestick อย่างที่เห็นแล้ววันต่อมาราคาก็ขึ้นโดย Buyer In Control ในวันที่สี่ และจะเกิดรูป Swing Point Low(SPL) ขึ้นในวันที่สี่
สรุปเราสามารถเตรียมตัวเข้าในวันที่สี่โดยการสังเกตการขึ้นลงของราคาในวัน นั้นแล้วระหว่างวันราคาไม่มีท่าทีจะปิดต่ำกว่าราคาเปิดสามารถเข้าได้เลย
Note : Consecutive Down Day และ Swing Point Low จะอธิบายในบทต่อไป

รูปต่อไปครับ

Seller In Control


ในความหมายจะตรงกันข้ามกับ Buyer In Control กรณีนี้ Buyer ไม่สามารถต่อสู้กับ Seller ได้และ Seller กำลังกดราคาไม่ให้ขึ้นไปสูงกว่านี้จากรูปเกิด Candlestick หัวยาวๆขึ้น นัยสำคัญคือราคามีโอกาสไม่ขึ้นต่อแล้ว
ในการอ่านเมื่อเราเจอภาพแบบนี้ในหุ้นตัวเราสนใจ ให้เราวิเคราะห์จากสิ่งที่ต้องให้น้ำหนักกับแท่งเทียนลักษณะนี้คือ

  1. การเกิดตรงเส้นต้านสำคัญ
  2. เกิดตรงเส้น EMA(50) หรือ EMA(200)
  3. เกิดตรงบริเวณที่ RSI เข้าเขต Overbought 
เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการกลับตัวจากที่ราคาขึ้นไปหรือจากเทรนขาขึ้นของราคาไปเป็นทิศทางขาลง
ลองไปดูตัวอย่างกันครับ
จากรูปพอจะอธิบายได้ว่าราคาเกิด Candlestick หัวยาวๆตรงเส้นแนวต้านสำคัญเหตุเพราะ Seller ไม่ยอมให้ราคาขึ้นไปมากกว่านี้และหลังจากเกิด Candlestick รูปแบบนี้ก็มักจะเกิด Consecutive Up Day แล้วตามด้วย Swing Point High(SPH) หลังจากนั้นราคาลงต่อในวันที่สี่
สรุปการเกิดลักษณะ Candlestick รูปแบบหัวยาวๆได้ว่าเราสามารถวิเคราะห์ว่าราคามีความเป็นไปได้ที่จะไม่ขึ้นต่อหรืออาจจะย่อลงมาปรับฐาน 
Note : Consecutive Up Day และ Swing Point High จะอธิบายในบทต่อไป
ในบทนี้เราก็ได้รู้หลักการและจิตวิทยาการ ซื้อ-ขาย จาก Candlestick ที่มีลักษณะ หางยาวๆ หัวยาวๆ ว่าเกิดการต่อสู้กันระหว่าง Buyer และ Seller นี่เป็นหลักสำคัญที่เราจะต้องเข้าใจและอ่าน Candlestick ให้เป็นเพราะหลังจากนี้ในบทต่อไป จะศึกษา Candlestick ในรูปแบบต่างๆ 
แต่บทนี้เป็นหลักการต่อยอดสู่บทต่อไป การเราเข้าใจมันจะทำให้เราแทบไม่ต้องจำหรือจำให้น้อยสุดกับรูปแบบต่างๆของ Candlestick ที่มีหลากหลายรูปแบบ
เมื่อเราเข้าใจได้ดี เราจะมีความคมในการวิเคราะห์และได้เปรียบคู่ต่อสู้ที่อยู่ในยุทธจักรแห่งโลกของตลาดหุ้น
"เมื่อมี Passion ต่อสิ่งใดแล้ว ให้ลึกซึ็งกับสิ่งนั้นแล้วหนทางจักปรากฏ"

By StockMoneyGear

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ