Moving Average : เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

Moving Average

Moving Average หรือ เส้นค่าเฉลี่ย เป็นเส้นที่คำนวณค่าเฉลี่ยของการวิ่งของราคาออกมาจากแท่งเทียน แท่งเทียนจะประกอบไปด้วย COLH หรือ Close Open Low High เส้นค่าเฉลี่ยจะคำนวณออกมาจากแนวเหล่านี้โดยผู้เทรดสามารถเลือกได้ว่าอยากให้เส้นค่าเฉลี่ยคำนวนจากอะไร
อาจจะเป็น Close ของแท่งเทียนอย่างเดียวหรือเอาจาก High ของแท่งเทียนอย่างเดียว ซึ่งผู้เทรดสามารถเลือกปรับได้ตามรูปด้านล่างนี้ครับ


Close = จุดปิดของแท่งเทียน
Open = จุดเปิดของแท่งเทียน
High = จุดสูงสุดของแท่งเทียน
Low = จุดต่ำสุดของแท่งเทียน
Medium Price (HL/2) = เอาค่าระหว่าง High และ Low มาบวกกันแล้วหารด้วย 2
Typical Price (HLC/3) = เอาค่าระหว่าง High,Low และ Close มาบวกกันแล้วหารด้วย 3
Weighted Close (HLCC/4) = เอาค่าระหว่าง High, Low, Close, Close มาบวกกันแล้วหารด้วย 4

 

กลยุทธ์การลงทุนนั้น จะกำหนดเส้นค่าเฉลี่ย ในจำนวนวันที่แตกต่าง กัน ขึ้นอยู่กับ ระยะเวลาการลงทุนของแต่ละบุคคล หรือรอบการเคลื่อนที่ของราคาตัวนั้น
ว่าการกำหนดด้วยเส้นค่าเฉลี่ยเท่าใด ที่น่าจะได้ผลตอบแทนสูงที่สุด ผู้เทรดสามารถตั้งค่าของเส้นค่าเฉลี่ยได้ในช่อง "Period" โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่ใช้กันทั่วไปมีตั้งแต่

     5   วัน   (1 สัปดาห์)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
   10   วัน  (2 สัปดาห์)   ใช้สำหรับการลงทุนระยะสั้น
   25   วัน  (ประมาณ1 เดือน) ใช้สำหรับการลงทุนระยะค่อนข้างปานกลาง
   75   วัน  (ประมาณ1 ไตรมาส) ใช้สำหรับการลงทุนระยะกลาง
   200 วัน  (ประเมาณ 1 ปี)  ใช้สำหรับการลงทุนระยะยาว   

   
ชนิดของเส้น Moving Average

เส้นค่าเฉลี่ยที่เทรดเดอร์นิยมใช้กันมีอยู่ 2 ประเภทคือ
  1. Simple Moving Average (SMA)
  2. Exponential Moving Average (EMA)
Simple Moving Average หน้าที่ของมันคือหาค่าเฉลี่ยของราคา ในช่วงเวลาที่เรากำหนด ส่วน EMA ย่อมาจาก Exponential Moving Average
ซึ่งการทำงานของมันคือ เป็นการหาค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก โดยการให้ความสำคัญกับค่าตัวหนึ่งที่ชื่อ SMOOTHING FACTOR สูตรมันก็มีว่า 2/(n+1)
ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาและถ่วงน้ำหนักให้ค่าสุดท้ายมีความสำคัญเพิ่มขึ้น    

แล้ว SMA กับ EMA ต่างกันอย่างไร?      
  
การเคลื่อนที่ SMA จะช้ากว่า EMA โดยถ้าเราจะเล่นแบบตัดกันแล้วเข้า เราก็ใช้ EMA จะให้ความแม่นยำกว่า ส่วน SMA นั้นนะครับ มันจะเป็นแนวรับแนวต้านให้เราได้ดีกว่า 
เพราะเป็นการคำนวนฐานต้นทุนของนักลงทุนจริงๆแต่สำหรับราคาของคู่เงินบางตัวก็ใช้ EMA ดีกว่า SMA หรือ SMA ดีกว่า EMA มันก็ขึ้นอยู๋กับเราเลือกใช้เพื่อจุดประสงค์อะไร
( โดยส่วนตัวใช้ SMA เป็นแค่แนวรับแนวต้านธรรมดา )

ตัวอย่างการใช้ Moving Average

เส้นค่าเฉลี่ยที่ผมใช้โดยส่วนใหญ่จะมี  EMA 5 10 สองเส้นนี้จะเอาไว้ดูการตัดกัน เพื่อเข้าออเดอร์ และ EMA 55 110 220 สามเส้นนี้จะเอาไว้เป็นแนวรับแนวต้าน

1.) ถ้าราคาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น แล้วมีการปรับตัวลงมา เส้นค่าเฉลี่ย 55 110 220 จะกลายเป็นแนวรับทันที ถ้าราคาไม่สามารถผ่านเส้นเหล่านี้ได้ ราคาก็จะกลับตัวขึ้นไปสู่แนวโน้มขา
ขึ้นเดิมอีกครั้งและถ้าราคาสามารถทะลุผ่านเส้นค่าเฉลี่ย 55 110 220 ลงมาได้ แนวโน้มก็จะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาลงทันที

2.)ถ้าแนวโน้มอยู่ในช่วงแนวโน้มขาลงแล้ว ราคามีการปรับตัวขึ้นไป (ปรับฐาน) เส้นค่าเฉลี่ย 55 110 220 จะกลายเป็นแนวต้านของราคาทันที หรือเราอาจจะเรียกมันว่า
เส้นแนวโน้มขาลง

ตัวอย่างจากแนสโน้มขาขึ้น


ตัวอย่างจากแนวโน้มขาลง




ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ