พื้นฐานกลยุทธ์การเทรด : ฉบับสัมพันธ์ใจ (พร้อมใช้งาน)



ถ้าคุณสนใจที่จะลงทุนในการเทรด คุณอาจจะเคยได้ยินวิธีการลงทุนในแบบ Trend และกลยุทธ์การเทรดพื้นฐาน ผมจะอธิบายรูปแบบต่างๆของ Trend ตลาดส่วนใหญ่จะมีทั้งการขึ้นและลงของราคา ถ้าราคาขึ้นมากกว่าลง เราจะเรียกว่า uptrend หรือแนวโน้มขาขึ้น วิธีสังเกตง่ายๆคือ กราฟจะมีการทำจุดสูงสุดใหม่ และจุดต่ำสุดใหม่ที่สูงกว่าจุดเดิมเสมอ ในทางกลับกันถ้าเป็น Downtrend หรือแนวโน้มขาลง กราฟจะทำจุดต่ำสุดใหม่ และจุดสูงสุดใหม่ต่ำกว่าจุดเดิมเสมอ แต่ถ้ากราฟวิ่งอยู่ในกรอบของจุดสูงสุด และจุดต่ำสุดเดิม จะเป็นช่วง Side way

Trend is your friend


ปกติแล้วเราจะเห็นความสอดคล้องของการเคลื่อนไหวของแนวโน้ม (Trend) ซึ่งมันจะขึ้นอยู่กับ Timeframe ที่เลือกเล่น โดยจะแบ่งออกเป็นระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว , ส่วนใหญ่แล้วจะสอดคล้องกัน แต่จะมีบ้างบางทีที่กราฟระยะสั้นจะแสดงทิศทางของแนวโน้มตรงกันข้ามกับกราฟระยะยาว

โดยกฎแล้ว เราแนะนำให้เล่นตามแนวโน้ม เช่น ถ้าเป็นช่วงแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend) ให้เปิด buy และถ้าแนวโน้มเป็นขาลง (Downtrend) ให้เปิด Sell

แต่ถ้าพูดถึงในการเทรด เราจะไม่ยึดติดกับสภาวะของแนวโน้มตลาด เนื่องจากเรามีระยะสัญญากำหนดอายุหมดเวลาเอาไว้ ยิ่งถ้าเราลงทุนในแบบระยะสั้น เรายิ่งเจอความผันผวนมาก ซึ่งแนวโน้มของตลาดจะช่วยอะไรไม่ได้เลย ถ้าคุณจะใช้กลยุทธ์เทรดตามแนวโน้มใหญ่ คุณต้องกำหนดวันหมดอายุสัญญา ระดับ Day , Weekly ขึ้นไป ถ้าเป็นแนวโน้มขาขึ้น ให้ใเล่นขึ้น และถ้าเป็นแนวโน้มขาลงให้เล่นลง

อย่างไรก็ตามเราคุณมีความจำเป็นที่ต้องอ่านแนวโน้มให้ออก ให้ใช้เวลาศึกษาอดีตของสินทรัพย์นั้นๆ ดูกราฟและพฤติกรรมการเคลื่อนไหว จะทำให้คุณเทรดใด้ดีขึ้น

แนวรับและแนวต้าน

สำหรับคนที่เป็นเทรดเดอร์มืออาชีพ ส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จกับการใช้กลยุทธ์นี้ในการลงทุน เมื่อกราฟชนแนวต้าน แล้วมีแนวโน้มที่จะไม่ผ่านแนวต้าน ให้เรา เล่นลง ลงมาเพื่อทายว่าราคาของสินทรัพย์จะลงจากจุดที่เราซื้อ เมื่อหมดระยะสัญญา เมื่อกราฟอยู่ติดแนวรับ และมีแนวโน้มว่าจะรับอยู่ ให้ใช้ กดขึ้น เพื่อทำนายว่ากราฟจะขึ้นไปจากจุดที่เราซื้อสัญญา

อะไรคือแนวรับ ?
แนวรับจะอยุ่ต่ำจากราคาสินทรัพย์ปัจจุบัน และเมื่อราคาสินทรัพย์ลงมาถึงจุดนั้นแล้วเด้งกลับขึ้นไปได้ ราคานั้นๆ จะคือ แนวรับ โดยส่วนมากแล้วแนวรับจะเป็นจุดต่ำสุดเก่า หรือเส้นแนวโน้มเทรนขาขึ้น ถ้าติดแนวรับและผ่านไปไม่ได้ให้ เล่นขึ้น เพื่อทำนายว่าราคาจะขึ้น แต่ถ้าราคาผ่านลงไปได้ ให้เล่นลง เพื่อทำนายว่าราคาจะลงต่อ

อะไรคือแนวต้าน ?
แนวต้านจะอยู่สูงกว่าราคาสินทรัพย์ปัจจุบัน และเมื่อราคาของสินทรัพย์ปัจจุบันวิ่งขึ้นไปแตะจุดแนวต้านแล้วมีการเด้งกลับ ลดลงมาได้ ราคานั้นๆ คือแนวต้าน โดยส่วนมากแล้วแนวต้านจะเป็นจุดสูงสุดเก่า หรือเป็นเส้นแนวโน้มขาลง ถ้าติดแนวต้านแล้วผ่านขึ้นไปได้ให้ เล่นขึ้น เพื่อทำนายว่าราคาจะขึ้นต่อ แต่ถ้าราคาสามารถทะลุผ่านแนวรับลงมา เล่นลง เพื่อทำนายว่าราคาจะลงต่อ

เราจะประยุกต์ใช้สำหรับการเทรดออฟชั่นได้อย่างไร ?


จากรูปภาพเราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนทั้งแนวรับและแนวต้าน เพื่อให้จำได้ง่ายขึ้นขอให้จำแบบนี้

·         แนวรับ คือพื้น เมื่อโยนบอลลงพื้น มันก็จะกระเด้งขึ้น
·         แนวต้าน คือ เพดาน เมื่อปาบอลขึ้นไปชนเพดานมันจะร่วงลงมา

ถ้าอธิบายจากรูปจะเห็นได้ว่า ราคาลงมาติดแนวรับก่อน และเด้งขึ้นไปเจอแนวรับ ก่อนที่จะลงมาเทสแนวรับอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นก็ทะลุแนวต้านขึ้นไป (แนวต้านเก่าจะกลายเป็นแนวรับ) จนถึงแนวต้านใหม่ก็จะลงมาเทสที่แนวรับอีกครั้งหนึ่ง

จิตวิทยาและรอบของการลงทุน

เราได้ทำความรู้จักแนวรับและแนวต้านแล้ว แต่มันยังมีแนวรับแนวต้านอีกแบบที่แสดงที่ใช้ราคาเป็นตัวกำหนดเลย เราเรียกว่าแนวรับแนวต้านจิตวิทยา มันมักจะลงท้ายด้วย เลขลงตัวเล่น 1.3000 , 1.3500 , 1.5000 เป็นต้น คำอธิบายสำหรับเรื่องนี้คือ สมองคนเราถูกดีไซน์ให้ลองดูตลอดเวลา เช่น ถ้าเราเห็นราคาอยู่ที่ 1498 เราจะอยากซื้อเพื่อให้มันขึนไปที่ 1500 ดังนั้นราคาแถวช่วงนี้จะมีการซื้อ-ขายจำนวนมาก เป็นการต่อสู้ระหว่างตลาดหมีและตลาดกระทิงอย่างชัดเจน


ลองดูตัวอย่างจากภาพนี้ เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นกับแนวรับและแนวต้านจิตวิทยา

กลยุทธ์ Break out

นี่ก็เป็นกลยุทธ์อย่างง่ายอีกหนึ่งตัวอย่างที่ นักลงทุนมืออาชีพใช้กันมาก การเบรคเอ๊าท์ คือ การที่ราคาของสินทรัพย์ปัจจุบัน ผ่านแนวรับหรือแนวต้านเดิมออกไปได้ ให้เรารอจังหว่ะในการ เล่นขึ้น ตามในกรณีที่ ราคาสามารถผ่านแนวต้านสำคัญๆได้

ในการเล่นกลยุทธ์นี้เราสามารถเลือกเล่นได้สองแบบดังนี้

1.  เมื่อราคาของสินทรัพย์มีการยืนยันว่า สามารถผ่านแนวต้านไปได้ ให้เราซื้อขึ้น แต่ระวังอย่าซื้อเหนือจุดที่เบรคเอ๊าท์มากไปนัก เทคนิคที่ดีคือ เราต้องดูอดีตของสินทรัพย์นั้นๆ ว่าหลังจาก ทำการเบรคเอ๊าท์ไปแล้วยังสามารถขึ้นต่อได้อีกกี่ แท่ง Candle stick เช่นถ้าคุณดู Time frame 1 ชั่วโมงอยู่ และเห็นว่าหลังจากเบรคเอ๊าท์ยังสามารถขึ้นได้อีกสองแท่ง ให้คุณมารอลงทุนใน Timeframe 30 นาที (เลือกสัญญาอายุ 30 นาที) โอกาสการลงทุนชนะของคุณ ก็จะมากขึ้น เพราะราคาต้องขึ้นต่อไปอย่างน้อยอีก 1 ชั่วโมงเป็นต้น

2.  ถ้าคุณพลาดในการซื้อลง ในช่วง Break out ให้คุณรอราคกลับลงมา รีเทสแนวรับ(แนวต้านเดิมที่ทะลุขึ้นมา) ซึ่งถ้าลงมาสัมผัสแล้ว แนวรับ รับอยู่คุณสามารถซื้อขึ้นได้

กลยุทธ์การเทรด Break out นี้สามารถใช้ได้อย่างง่าย เพราะราคามักจะวิ่งไปในทางที่ทะลุออกอย่างน้อยก็อีกช่วงเวลาหนึ่ง ดังนั้นคุณจะมีเวลาเพียงพอในการวางแผนเพื่อหาจุดเข้าซื้อ ขึ้น และเลือกอายุสัญญาให้เหมาะสมกับจังหว่ะที่เบรคเอ๊าท์ออกมาเครื่องมือและการวิเคราะห์
เราจะพูดถึง indicator ที่ถูกใช้ใน โปรแกรม MetaTrader Terminal ซึ่งสามาถใช้วิเคราะห์แบบออนไลน์ได้ ผมไม่แนะนำให้ท่านใส่ Indicator ให้เต็มหน้าจอจนมองอะไรไม่เห็น Indicator ควรจะเป็นเพียงแค่ตัวช่วยสร้างกลยุทธ์ เพราะ Indicator จะแสดงผลข้อมูลจากพื้นฐานในอดีต แต่ในความเป็นจริงเราจะดูราคาที่แสดงอยู่ตรงหน้าเท่านั้น

อย่างที่เคยกล่าวไว้ตอนแรกว่าในการลงทุนในออฟชั่น เราไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาในหลายๆระบบ เมื่อทดสอบระบบที่ได้ผลดีแล้วสำหรับตัวคุณ ไม่จำเป็นต้องลองระบบอื่นๆ อีก เพราะส่วนใหญ่แล้วเราต้องใช้จิตวิทยาในการลงทุนมากกว่าพึ่งพาการใช้ Indicator

อะไรดีที่สุดสำหรับการสร้างกลยุทธ์ ?
·         เลือก Timeframe ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
·         ตั้งค่า : ใช้ Pin bar , Inside bar , Bar pattern
·         Indicator : Stochastic , EMA , Bollinger Bands, Fibonacci levels

Indicator – Moving Average

Moving average : เป็น Indicator ตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงมาก MA เกิดจากค่าเฉลี่ยราคาของสินทรัพย์ที่ผ่านมา เราสามารถตั้งค่า MA ได้หลายค่าดังนี้ 5, 8 , 20, 150, 200, 365 จำนวนที่เห็นแสดงถึงค่าเฉลี่ยของแท่งเทียนแต่ละแท่ง เช่น MA = 21 หมายถึง เราเอาแท่งเทียนทั้งหมด 21 แท่งมาเฉลี่ยกันเป็นเส้นตรง ดังแสดงในภาพ

ดังที่เห็นในรูป เมื่อนำค่าเฉลี่ยตามจำนวนค่าที่เซทไว้มาทำเป็นเส้นตรงเราจะเห็นแนวโน้มของกราฟ

Moving Average แบ่งออกเป็นหลายชนิดดังนี้
·         Simple
·         Exponential
·         Smooted
·         Liner Weighted

ผมจะไม่ลงรายละเอียดถึงความแตกต่างของแต่ละชนิด เราจะอธิบายเฉพาะแบบ Simple และ Exponential เพราะถูกใช้กันมากในสถาณการณ์จริง

SMA
·         Simple Moving Average จะเป็นค่าเฉลี่ยพื้นฐานของราคาแต่ละแท่ง ตั้งแท่งแรกจนถึงแท่งสุดท้าย

EMA
·         Exponential Moving Average เป็นค่าเฉลี่ยที่จะให้ความสำคัญกับช่วงเวลาหลังๆมากกว่า ซึ่งจะตอบสนองกับช่วงเวลาปัจจุบันกว่า

คุณสามารถเลือกใช้ได้ทั้งสองตัว แล้วแต่ความถนัด แต่สำหรับผม ถนัดที่จะใช้ EMA มากกว่า

Moving Average Crossover
บ่อยครั้งที่นักลงทุนพิจารณาด้วย MA สองเส้นโดยตั้งค่าเวลาที่แตกต่างกัน เพื่อให้ส่งสัญญาณในการซื้อ- ขาย ซึ่งสำหรับตัวผมไม่ค่อยนิยมที่จะใช้แบบนั้นสักเท่าไร เนืองจากจะทำให้พลาดโอกาสสำคัญในการหาจังหว่ะในการเข้าซื้อ

Moving Average  สามารถใช้ในการดูแนวรับ และแนวต้านได้เช่นกัน
สำหรับผมชอบที่จะใช้ EMA ที่ค่า 150 และ 365 , สามารถนำไปใช้ได้ทุก Timeframe เพื่อใช้ดูแนวรับและแนวต้าน วิธีทดสอบให้คุณลองใส่เส้น MA สองเส้นนี้เพื่อดูอดีตพฤติกรรมของราคา และดูว่ามันสามารถแสดงแนวรับแนวต้านได้ดังในรูปได้หรือไม่ (สามารถใช้ได้สำหรับคู่เงินและ Commodities)



เราจะใส่ Moving average ลงใน Platfrom ได้ดังในรูปภาพด้านบนนี้

Indicator – Bollinger bands


ผมจะไม่ไปอธิบายถึง Bollinger band ถ้าคุณอยากรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับระบบนี้จะมีข้อมูลอยู่เต็มไปหมดใน youtube ผมจะเข้าประเด็นไปถึงวิธีใช้งานเลยเพื่อให้คุณเริ่มต้นได้เร็วขึ้น
อันที่จริง เราสามารถประยุกต์ใช้ Bollinger bands ได้หลากหลาย เราสามารถใช้เพื่อสร้างกลยุทร์การเทรดได้โดยการเพิ่ม indicator อื่นๆเข้าไป

เมื่อคุณใส่ indicator เรียบร้อยแล้ว เราจะมาทดสอบกันในคู่เงิน Eur/usd , 1H time frame คุณจะเห็นกรอบของราคา และจุดเข้าออกที่ จุดสีเขียวในภาพ  จากในรูปเราสามารถเลือกจุดเข้าออกได้ 12 จุด ซึ่งอาจจะสร้างกำไรให้คุณได้ แน่นอน สำหรับบางที คุณเทรดตามระบบนี้คุณอาจจะเทรดเสีย แต่ให้แน่ใจได้เลยว่าอัตราการชนะของระบบนี้อยู๋ที่ประมาณ 70%



อย่างที่คุณเห็น Bollinger Bands จะมีสามเส้น เราจะสนใจเฉพาะขอบของ Bonllinger Bands มันจะถูกใช้เป็นแนวรับแนวต้าน ในกรณีที่ ราคาของสินทรัพย์ยังไม่เลือกทางดีนัก (ยังมี่ trend) ให้แน่ใจได้เลยว่า ราคาจะวิ่งอยู่ในกรอบของ BB จะไม่วิ่งทะลุไปทางใดทางหนึ่ง

เพิ่มเติมเพื่อความมั่นใจ ให้คุณลองสังเกต Pin bar หรือ Doji เมื่อกราฟวิ่งเข้าชนแนวรับหรือแนวต้านทางใดทางหนึ่ง อาจจะแสดงพฤติกรรมของ Price action ซึ่งจะช่วยยืนยันการเข้าซื้อของคุณได้ดีขึ้น สำหรับวิธีการตั้งสัญญาการหมดอายุ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลังใช้กราฟ 30 นาทีในการวิเคราะห์ และตัดสินใจซื้อออฟชั่นที่เวลา 11:20 ถ้ากราฟกำลังจะวิ่งขึ้นไปที่ขอบบน คุณจะต้องซื้อ ลง และตั้งเวลาหมดอายุสัญญาไว้ที่ 12:00 เป็นต้น (ต้องตั้งเวลาหมดอายุสัญญาให้เท่ากับ เวลาของแท่งถัดไปที่จะปิด คุณจะซื้อที่ 11:05 , 11.10 , 11:15 หรือ 11:25 ก็ได้ แต่คุณจำเป็นต้องตั้งเวลาหมดอายุสัญญาที่ 12:00)

Indicator – Stochastic Oscillator

สำหรับ Stoch จะใช้เครื่องมือนี้ในการกรองสัญญาณ เพื่อซื้อขายอีกที มันไม่เหมาะที่จะใช้ indicator ตัวนี้เพียงตัวเดียวในการเทรด สำหรับที่มาที่ไปของ Stoch คุณสามารถหารายละเอียดได้มากเช่นกันใน Youtube เราจะเข้าสู่วิธีการใช้งานเลย


Stochastic เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับบอก Overbought , Oversold ถ้าราคาของสินทรัพย์อยู่ในสภาวะ Overbought ราคาจะมีการปรับตัวลงมา แต่ถ้าราคาของสินทรัพย์อยู่ในสภาวะ Oversold ราคาอาจจะมีการปรับตัวขึ้นไป สำหรับการตั้งค่าเราสามารถปรับแต่งได้ตั้งแต่ 1 -100 เพื่อให้เข้าใจง่ายชึ้นเรามาทดสอบการใช้งานด้วยกันดีกว่า


Stochastic เป็น indicator พื้นฐาน ที่ใช้ในการอ่านค่า ถ้าเส้น Stoc อยู่เหนือ 80 ตลาดจะแสดงสภาวะ Overbought
ถ้าเส้น Stoc อยู่ต่ำกว่า 20 ตลาดจะแสดงสภาวะ Oversold

สำหรับ Indicator ตัวนี้ให้พยายามใช้ในสภาวะที่ไม่มีแนวโน้ม (no trend) จะเหมาะสมกว่า  ถ้าจะนำไปประยุกต์ใช้ในช่วงที่มีแนวโน้ม พยายามเลือกใช้ตามสภาวะของเทรน เช่น ถ้าแนวโน้มลง คุณควรรอจนว่า Stoc จะแสดง สภาวะ Overbought เพื่อที่จะซื้อ ลง เป็นต้น ถ้าเป็นแนวโน้มขึ้น คุณควรรอที่สภาวะตลาด Oversold เพื่อที่คุณจะได้ซื้อ ขึ้น เป็นต้น


พวกเราคงรู้จักกันดีสำหรับนิทานเรื่องพินน็อคคิโอเด็กผู้ชายที่จมูกจะยาวขึ้นเมื่อเค้าพูดโกหก สำหรับในตลาดทุนเราอาจจะเรียก Pin bar ว่า Pinocchio ได้เช่นกัน เพราะด้วยความยาวของไส้เทียนนี่เองที่จะบอกได้ว่าตลาดกำลังโกหกอะไรเราอยู่

ในตลาดจริงเมื่อราคาวิ่งตามแนวโน้มไปได้สักระยะหนึ่ง เราจะเริ่มเห็นการย้อนกลับของราคาอย่างรุนแรง โดยเฉพาะถ้ากลับมาแถวๆที่ราคาเปิดซื้อ นั่นหมายถึง ตลาดกำลังจะเริ่มกลับตัวไปในอีกทิศทางหนึ่ง เราจะเห็นการฟอร์มตัว Pin bar ได้ในแนวรับแนวต้านสำคัญๆ หรือแนวรับแนวต้านจิตวิทยา

เราจะใช้แพทเทินนี้ได้อย่างไร และเงื่อนไขอะไรบ้างที่ทำให้เรามั่นใจในการใช้กลยุทธ์นี้
·         รูปแบบมักจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 แท่งเทียน
·         แท่งตรงกลางมักจะมีลำตัวสั้นที่สุด (ราคาเปิด และราคาปิดเกือบเท่ากัน)
·         แท่งตรงกลางต้องมีไส้เทียนยาว ยิ่งยาวยิ่งน่าเชื่อถือ
·         ราคาปิดของแท่งกลาง ต้องอยู่ในราคาปิดของแท่งก่อนหน้า (ห้ามเลยขึ้นมา)


เราจะใช้กลยุทธ์ Pin bar อย่างไรในออฟชั่น ?

สมมติว่าราคาของสินทรัพย์อยู่ในช่วงที่เป็นแนวโน้มขาขึ้น หรือกำลังค่อยๆทำราคาไต่ขึ้นมา แล้วราคามีการร่วงลงไปเพื่อทดสอบแนวรับ เมื่อผ่านแนวรับไปได้ แล้วเกิดการย้อนกลับมาปิดได้ดังรูป ให้คุณรอจังหว่ะเข้าซื้อขึ้น เมื่อแท่งต่อไปทำราคาผ่าน แท่งเก่าได้ จำไว้ให้ดี เราต้องเปิดออเดอร์ตรงข้ามกับหางของ Pin bar

สำหรับรูปแรกเป็นตัวอย่างที่ Timeframe 15 นาทีคุณจะ แต่ละแท่งเทียนจะแสดงเวลาเปิดปิดที่เวลา 15 นาที ซึ่งคุณจะเห็นจุดทีควรจะ ซื้อขึ้น ตามภาพ เทคนิคที่จะใช้เล่นในไบนารี่ออฟชั่นคือ เราควรจะเลือกอายุของสัญญาให้เท่ากับ Timeframe ที่ pin bar แสดงผลออกมา ถ้าคุณวิเคราะห์ที่ 15 นาที คุณก็ควรจะตั้งอายุสัญญาที่ 15 นาที(หรือน้อยกว่า) ถ้าคุณใช้กราฟ 1 ชั่วโมง คุณต้องตั้งอายุสัญญาที่ 1 ชั่วโมง (หรือน้อยกว่า)


ข้อควรระวังคือ เราควรจะเลือกใช้ Pinbar ที่เกิดที่แนวรับ หรือแนวต้านที่สำคัญเท่านั้น ถ้าเกิดเจอ Pinbar อยู่ในกรอบแคบๆ เราไม่ควรจะใช้ในการเทรดด้วยกลยุทธ์นี้

Price action  Doji bar reversal pattern

รูปแบบของ Doji นี้จะเกิดขึ้นได้จากการที่ราคาปิดของสินทรัพย์กลับมาที่ราคาเปิดพอดี หรือเกือบจะพอดี
สำหรับรูปแบบนี้จะบอกได้ถึงความไม่แน่นอนของตลาดที่กำลังจะเกิดขึ้น คุณอาจจะตีความหมายว่า ราคาของสินทรัพย์อาจจะมีโอกาสกลับตัวไปอีกทางหนึ่งที่ตรงข้ามกับแนวโน้มเดิม

เราจะสังเกต Doji ได้อย่างไรบ้าง
1.  มักจะเกิดขึ้นในระหว่างที่มีแนวโน้มเดิม (Trend) ชัดเจน
2.  ราคาเปิดและราคาปิดของแท่ง Doji จะเท่ากัน หรือเกือบจะเท่ากัน จนเห็นรูปร่างเป็นขีด
3.  ก่อนที่ฟอร์มตัวเป็น Doji จะเห็นลำตัวเทียนค่อนข้างยาว วิ่งไปตามแนวโน้มเดิมของตลาด
4.  หลังจากเกิด Doji แท่งถัดไปมักจะเคลื่อนตัวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับแนวโน้มเดิมของตลาด
ถ้าเงื่อนไขเหล่านี้ไม่ครบ อย่าเพิ่งสรุปว่า Doji นี้จะแสดงอาการกลับตัวของตลาดเป็นอันขาด

จากรูปนี้เป็นตัวอย่าง อย่างง่ายที่ใช้สำหรับในการเทรด ให้คุณใช้ Doji bar ในการซื้อ Call option เมื่อราคาสามารถผ่าน จุดสูงสุดของ Doji bar ได้ หรือถ้าเป็นแนวโน้มลง ให้คุณ Put option เมื่อราคาผ่าน Doji bar ลงไปได้

Price action  Inside bar reversal pattern

Inside bar เกิดจากความไม่แน่ใจของ Buyer และ Sellers ในตลาด กำลังต่อสู้กันมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการ เคลื่อนที่แบบรุนแรงของราคาที่ไม่ปกติ และไม่สามารถผ่านแนวรับ หรือแนวต้านได้ จะเกิดการตีกลับของราคาอย่างรวดเร็ว

อะไรที่เป็นความซับซ้อนในการใช้แพทเทินนี้  : ความยากการใช้แพทเทิ้นนี้คือ การที่ราคาเด้งกลับมาอาจจะมีความรุนแรงเท่ากับความรุนแรงที่เคลื่อนที่มาก่อนหน้านี้ ยังไงก็ตามแต่ เราต้องพยายามสังเกตแนวรับและแนวต้านให้ดีเพื่อที่จะได้เทรดให้ทัน



Price Actin Outside bar reversal pattern

Outside bar จะเกิดขึ้นเมื่อราคาของสินทรัพย์วิ่งตามแนวโน้มเดิม จนสุดท้ายเกิดการตีกลับของราคาแบบรุนแรงจนสามารถครอบคลุมราคาที่วิ่งมาได้ทั้งหมด นั่นหมายถึง แนวโน้มเดิมอาจจะกำลังเปลี่ยนทิศทาง
วิธีใช้ยังคงเหมือนเดิม คือมันมักจะเกิดรูปนี้นี้ขึ้นแถวๆ แนวรับหรือแนวต้านที่สำคัญๆ หรือจะเป็นแนว Fibonacci level ต่างๆ

ข้อสำคัญคือ แท่งกลับตัวต้องมีลำตัวยาวมากพอที่จะครอบคลุม การเคลื่อนที่ของราคาที่ผ่านมา วิธีที่จะใช้กลยุทธ์นี้คือต้องซื้อในทิศทางเดียวกับราคาของ Outside bar ที่เคลื่อนไหวไป


อย่างที่คุณเห็นในรูปภาพ ก่อนหน้านี้มีการขึ้นมาของราคา จนกระทั่งเกิด Out side bar ครอบคลุมราคาที่ขึ้นมา ทำให้เราสามารถพอจะทำนายตลาดว่าจะเคลื่อนที่ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับที่เคยเคลื่อนที่มา ให้เราทำการซื้อ ลง เพื่อทำนายว่าราคาจะลงต่อ ถ้าคุณใช้เทคนิคนี้ ระยะสัญญาที่ควรเล่น อาจะเพิ่มเป็น 2 3 เท่าของแท่ง Outside bar เช่น ในกรณีนี้วิเคราะห์ที่ Time frame 1 ชั่วโมง เราควรเลือกอายุสัญญา ประมาณ 2-3 ชั่วโมง เป็นต้น

หวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆเทรดเดอร์ทุกท่านครับ

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ