🔥 RSI พื้นฐาน + Advance Part 2 Update !!!📚

ดัชนี Relative Strength Index คือหนึ่งในดัชนีที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ดัชนีนี้อยู่ในกลุ่มของออสซิลเลเตอร์เรียกว่าดัชนีโมเมนตัม
ออสซิลเลเตอร์ส่วนใหญ่ให้สัญญาณที่ต้านกับเทรนด์ในช่องด้านข้าง ดัชนี RSI ใช้งานเป็นดัชนีเทรนด์โดยอัลกอริทึ่มการเทรดบางตัวเช่นกัน โดยดัชนี RSI แสดงให้เห็นถึงตำแหน่งราคาปัจจุบันในสามโซน ได้แก่ โซนที่มีการซื้อมากเกินไป (overbought) ช่องการเทรด หรือในโซนที่มีการขายมากเกินไป (oversold)

การตั้งค่า

การตั้งค่าเริ่มต้น โซนที่มีการซื้อมากเกินไปจะเป็นระดับบนดัชนีเหนือเส้น 70% และโซนที่มีการขายมากเกินไปจะอยู่ในช่วงที่ต่ำกว่า 30% โดยตัวแปรหลักของสูตรการคำนวณ RSI คือกรอบเวลาซึ่งตั้งค่าอยู่ที่ 14 กรอบเวลานี้สามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าได้ตามความจำเป็น (ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์การเทรดหรือความผันผวนของตลาด)
ยิ่งกรอบเวลานานเท่าใด ดัชนียิ่งมีความเฉื่อยมากขึ้นแต่ดัชนีก็สูญเสียค่าความอ่อนไหวต่อการเคลื่อนที่ของราคาอีกด้วย การตั้งค่าที่แนะนำสำหรับกรอบเวลาอยู่ที่ 5.14 และ 21

จุดเข้าตำแหน่ง

การหาจุดเข้าตำแหน่งซื้อขายโดยการใช้งานดัชนี RSI มีหลายวิธี หนึ่งในจุดเข้าตำแหน่งที่ดีที่สุดคือการรอจนกว่าเทรนด์จะกลับทิศทาง เช่น จากโซนที่มีการขายมากเกินไปและตัดผ่านเส้นระดับ 30%
กล่าวคือ เราจะไม่เทรดสวนทางกับเทรนด์ (เพราะว่ามันมักอันตรายเกินไป) แต่เราจะพบจุดเข้าตำแหน่งซื้อขณะที่เทรนด์ใหม่มีการกลับตัวแล้วตามตัวอย่างด้านล่างนี้ และเราจะพบจุดเข้าตำแหน่งขายหลังจากที่ราคาทะลุเส้นระดับ 70% และกำลังออกจากโซนที่มีการซื้อมากเกินไป ระยะเวลาครบกำหนดการซื้อขายที่แนะนำอยู่ที่ 1-2 แท่งเทียน

การเบนออก (Divergence)

ลักษณะที่สำคัญของออสซิลเลเตอร์ทุกตัวรวมถึง RSI คือ ออสซิลเลเตอร์สามารถให้สัญญาณการวกกลับของเทรนด์ที่อาจเกิดขึ้นได้ เมื่อใดที่ดัชนีให้สัญญาณการขยับลดลงแต่ราคายังคงขยับขึ้นต่อไปหรืออยู่ในระดับเดิม (กล่าวคือเกิดการเบนออกระหว่างกราฟราคาและดัชนี) จะเป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่าเทรนด์ดังกล่าวกำลังอ่อนกำลังแรงลง ในกรณีนี้ คุณต้องเตรียมพร้อมสำหรับการเริ่มต้นของเทรนด์ในทิศทางตรงกันข้าม


เมื่อกำลังเทรดแบบสัญญาณเบนออกนี้ นักเทรดควรคำนึงว่าเทรนด์ในทางตรงกันข้ามอาจจะไม่เริ่มขึ้นเร็วๆนี้ ดังนั้น การตั้งค่าช่วงเวลาสิ้นสุดควรอยู่ที่ 5-10 แท่งเทียน นอกจากนี้ อย่าลืมว่าการเบนออกไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยครั้งและนักเทรดที่ยังขาดประสบการณ์อาจต้องอาศัยเวลาในการแยกความแตกต่างบนกราฟให้เป็น

การใช้งานดัชนี


เพื่อให้ได้รับสัญญาณที่แม่นยำยิ่งขึ้น เราขอให้ผสมผสานการใช้งานดัชนี RSI กับเครื่องมือการวิเคราะห์ทางเทคนิคตัวอื่นๆ ดัชนีนี้ใช้งานได้สมบูรณ์แบบควบคู่ไปกับระดับราคาและรูปทรงการวกกลับของแท่งเทียน
นอกจากนี้ ดัชนี RSI ใช้งานได้ดีกับออสซิลเลเตอร์ Stochastic และดัชนีโซนอื่นๆ เช่น Bollinger Bands ซึ่งเราจะกล่าวเน้นถึงในบทความถัดๆ ไป


คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยง
ข้อมูลที่ให้บริการไม่ใช่คำแนะนำในการลงทุน สำหรับการใช้งานข้อมูลดังกล่าว คุณคือผู้รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียวในการตัดสินใจลงทุนและยอมรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวเนื่องกับผลลัพธ์ธุรกรรมทางการเงินของคุณ


ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ