High Frequency Trading คืออะไร HFT?


algo2_headerแล้ว HFT คืออะไรกันแน่?

HFT หรือ HWA FONG RUBBER เป็นผู้ประกอบธุรกิจหลักในการผลิต และจำหน่ายยางนอก ยางในสำหรับรถจักรยาน รถจักรยานยนต์ และรถขนส่งขนาดเล็ก…. ไม่ใช่นะครับ 😀
HFT ที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ คือ High Frequency Trading ที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจว่า คือระบบการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยความเร็วสูง ซึ่งเป็นอีกขั้นหนึ่งของ Algo Trading ที่อาศัยความเร็ว ในการซื้อขายหลักทรัพย์ (ในระดับหนึ่งในพันหรือหนึ่งในล้านของหนึ่งวินาที) เป็นเครื่องมือหลัก ในการทำกำไรและสร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุน ในปัจจุบันยังไม่มีองค์กรใดกำหนดนิยามที่เป็นสากล ของ HFT ขึ้นมา แต่โดยทั่วไปแล้ว HFT มักมีคุณสมบัติ ต่อไปนี้[1]
  1. ใช้คอมพิวเตอร์ ในการตัดสินใจ สร้างคำสั่งซื้อขายโดยม่ต้องพึ่งการตัดสินใจจากมนุษย์
  2. ใช้เทคโนโลยีประมวลผลความเร็วสูง ที่ออกแบบมาเพื่อลดระยะเวลาในการตอบสนองของระบบ ต่อข้อมูลต่าง ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  3. มีการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบความเร็วสูง กับตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้สามารถส่งคำสั่งซื้อขายได้อย่างรวดเร็ว บางกรณีถึงกับนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปวางไว้ ในสถานที่เดียวกัน หรือใกล้เคียงกับ เครื่องแม่ข่ายของตลาดหลักทรัพย์
  4. มีอัตราการส่งคำสั่งและการยกเลิกคำสั่งซื้อขายที่สูงกว่าปกติ โดย ESMA (European Securities and Market Authority) ได้กำหนดไว้ในมาตราที่ 4(1)(40) ของเอกสาร MiFID II ว่าการส่งคำสั่งซื้อขาย ในอัตราเฉลี่ยที่มากกว่า ๒ คำสั่งต่อวินาที หรือ ๗๕,๐๐๐ คำสั่งต่อวัน ถือว่าเข้าข่ายการซื้อขายแบบ HFT
ในต่างประเทศ จำนวนบัญชีที่มีการซื้อขายหลักทรัพย์แบบ HFT มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมา และจากข้อมูลสถิติในปี ค.ศ. ๒๐๑๕ ปริมาณการซื้อขายที่เกิดจาก HFT นั้นมีจำนวนมากถึง ๕๕% ของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ทั้งหมดในประเทศสหรัฐฯ และ ประมาณ ๔๐% ของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในทวีปยุโรป[2]
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจเกิดคำถามขึ้นในใจ ว่าทำไมการใช้ซื้อขายผ่าน HFT ถึงต้องการความเร็วในระดับหนึ่งในล้านของหนึ่งวินาที ทำไม HFT ถึงต้องส่งคำสั่งมากกว่า ๗๕,๐๐๐ คำสั่งต่อวัน? ทำไมปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย HFT ถึงมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และ ถ้า HFT เข้ามาในเมืองไทยจริง ๆ จะเกิดผลกระทบอะไรกับตลาดหุ้นของเราบ้าง?
20140929_08.56.20.000_20000ms_eGOOGL.1
เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ กับการซื้อขายหลักทรัพย์
คุณรู้มั้ยครับ ว่าเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เข้ามามีบทบาทกับการซื้อขายหลักทรัพย์ ตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
หลายท่านอาจจะเข้าใจว่า เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ เพิ่งเข้ามามีบทบาทในการซื้อขายหลักทรัพย์ ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่จริง ๆ แล้ว เทคโนโลยีเหล่านี้ อยู่กับตลาดหลักทรัพย์ มายาวนานกว่านั้นครับ โดยในประเทศสหรัฐอเมริกา  มีการนำเอาเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1970 หรือกว่า 45 ปีมาแล้ว
โดยตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ซึ่งเป็นตลาดหลักทรัพย์อิเล็กทรอนิสก์แห่งแรกของโลกเปิดทำการในปี ค.ศ. 1971 โดยในช่วงเริ่มต้นเทคโนโลยีถูกนำไปใช้ในเรื่องของการแลกเปลี่ยนและแสดงข้อมูลราคาหลักทรัพย์เท่านั้น (โดยการส่งคำสั่งซื้อขายยังทำผ่านทางโทรศัพท์) ต่อมา ในปี ค.ศ. 1976 ตลาดหลักทรัพย์ NYSE ได้เริ่มเปิดให้นักลงทุนรายใหญ่สามารถส่งคำสั่งซื้อขายในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ผ่านระบบ DOT (Designated Order Turnaround) ซึ่งถูกพัฒนาต่อเนื่องจนเป็นระบบ SuperDOT ในปี ค.ศ. 1984
View of traders on the floor of the New York Stock Exchange, New York, New York, 1970s. (Photo by Bernard Gotfryd/Getty Images)
หลังจากนั้นไม่นาน การเขียนโปรแกรมเพื่อซื้อขายอัตโนมัติ (Program Trading) ก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่กองทุนต่าง ๆ โดยกลยุทธ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในยุคนั้นคือ “Portfolio Insurance” ที่ต้องการลดสัดส่วนการครอบครองหุ้นโดยการขายหุ้นหรือชอร์ตฟิวเจอร์ เมื่อตลาดหุ้นปรับตัวลดลง เพื่อป้องกันไม่ให้มูลค่าการลงทุนในหุ้นปรับตัวลดลงตาม ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิด Snowball Effect และส่งผลให้ตลาดหุ้นอเมริกาปรับตัวลดลง -22.6% ในวันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม ค.ศ 1987 จนได้รับฉายาว่า Black Monday[1] (ผู้อ่านท่านใดต้องการทราบว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างในวันนั้น ส่งข้อความมากันเยอะๆ นะครับ ถ้ามีคนต้องการมากพอ ผมจะเขียนเล่าลำดับเหตุการณ์ของ Black Monday ให้ทุกท่านได้อ่านกัน)

black-monday-1987

ผลพวงจาก “Black Monday”

เหตุการณ์ Black Monday ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎระเบียบ และการใช้เทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากการที่ผู้ดูแลสภาพคล่อง (Market Maker) ไม่สามารถรับมือกับจำนวนคำสั่งซื้อขายจำนวนมาก ที่โถมเข้ามาในวันที่ตลาดตื่นตระหนก จนผู้ดูแลสภาพคล่องหลายราย ไม่ยอมรับโทรศัพท์เพื่อรับคำสั่งซื้อขายจากลูกค้า เหมือนในวันนั้นได้
black_monday
หลังจากนั้น ตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ เริ่มมีการซื้อขายอัตโนมัติผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยในปีเดียวกันนั้นเอง ตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ได้เปิดให้บริการระบบ SOES (Small Order Execution System) ที่เปิดให้นักลงทุนรายย่อยสามารถส่งคำสั่งซื้อขายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกับผู้เล่นรายใหญ่ ซึ่งนี่ถือเป็นจุดกำเนิดของ Electronic Day Trader ที่ทำให้นักลงทุนทั่วไป สามารถซื้อขายหลักทรัพย์ในความเร็วสูงได้เป็นครั้งแรก 
ต่อมาได้เกิดตลาดหลักทรัพย์ทางเลือก (ATS – Alternative Trading System) ที่ให้บริการซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นอีกหลายราย (เช่น INCA, Island และ Bloomberg Trade Book) ส่งผลให้นักลงทุนสามารถซื้อขายหลักทรัพย์ได้สะดวกขึ้น มีการเปิดบริษัทเพื่อหากำไรจากส่วนต่างราคาระหว่างวันเพิ่มมากขึ้น (ซึ่งผู้เล่นเหล่านี้ ถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกของยุค HFT)  จนส่งผลให้มีปริมาณการซื้อขายผ่านระบบดังกล่าวมากขึ้น มีการแข่งขันเพื่อตัดราคาในการซื้อขายมากขึ้น ส่วนต่างระหว่างราคาซื้อและราคาขาย (Bid-Ask Spread) ลดลง ตลาดมีสภาพคล่อง (Liquidity) มากขึ้น
ซึ่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้ต้นทุนในการซื้อขายหลักทรัพย์ (Transactional Cost) ของนักลงทุนทั่วไปลดลง จนในปี ค.ศ. 1998 กลต. ของประเทศสหรัฐฯ ได้ออกกฎระเบียบที่มีชื่อว่า Regulation ATS เพื่อควบคุม ดูแลการซื้อขายหลักทรัพย์ในระบบดังกล่าวให้มีความยุติธรรม และโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 กลต. ของประเทศสหรัฐฯ ได้ออกกฎระเบียบ Regulation NMS ที่ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีในตลาดทุน โดยกฎระเบียบนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้ HFT แพร่หลายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการกฎดังกล่าวเอื้อให้ HFT สามารถทำกำไรจากความแตกต่างของระบบการซื้อขายต่าง ๆ ได้อย่างเต็มที่ ทั้งจากความเร็ว กฎเกณฑ์การซื้อขายและค่าธรรมเนียมในการทำรายการที่แตกต่างกัน
SEC_Money_Market_Funds-0d5ce
การซื้อขายผ่านระบบดังกล่าวดำเนินไปได้ด้วยดีกว่าสิบปี และรู้กันเฉพาะในวงแคบ จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ Flash Clash[2] ที่ทำให้ดัชนีหลักทรัพย์ในประเทศอเมริกาปรับตัวลดลงกว่า 10% ภายในเวลาเพียงครึ่งชั่วโมงในวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2010 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาที่อาจเกิดจากการใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการซื้อขายหลักทรัพย์อีกครั้ง และ HFT ก็เป็นหนึ่งในผู้ร้าย ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดเหตุการณ์นี้ เช่นเดียวกันกับที่ Program Trading เคยตกเป็นผู้ต้องสงสัยในกรณีของ Black Monday
ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2012 ก็เป็นอีกครั้งที่ HFT ทำให้เกิดความผันผวนขึ้นในตลาดเมื่อระบบซื้อขายหลักทรัพย์ของ Knight Capital ซึ่งเป็นผู้เล่น HFT รายใหญ่รายหนึ่ง เกิดข้อผิดพลาดจนทำให้ราคาของหุ้นที่ Knight Capital เป็นผู้ดูแลสภาพคล่องหลายตัวเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติในช่วงเปิดตลาด และส่งผลให้บริษัทขาดทุนเป็นจำนวนสูงถึง $440 ล้านเหรียญ ในเวลาเพียง 30 นาที[3]

ihE66GYYukoA

บทสรุปจุดกำเนิด HFT

HFT นั้นไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด แต่อยู่คู่กับการซื้อขายหลักทรัพย์มาตั้งแต่สมัยที่มนุษย์เริ่มนำเอาระบบอิเล็กทรอนิสก์มาใช้ในการส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ อย่างไรก็ตาม HFT เพิ่งได้รับความสนใจจากสาธารณชนเมื่อไม่นานมานี้ หลังจากที่ HFT ตกเป็นผู้ต้องหาที่ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดขึ้นหลายครั้ง ตั้งแต่กรณีของ Flash Cash ในปี 2010 และกรณีของ Knight Capital ในปี 2012 รวมไปถึงข้อเท็จจริงที่ว่าปริมาณการซื้อขายของ HFT ในตลาดต่าง ๆ มีสัดส่วนที่สูงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้สิ่งที่เราเคยเข้าใจเกี่ยวกับตลาดเปลี่ยนแปลงไป
ในตอนต่อไปผมจะพาทุกท่านไปรู้จักกับกลยุทธ์ที่ HFT ใช้ ว่ามีรูปแบบใดบ้าง และแต่ละกลยุทธ์นั้น มีผลกระทบกับตลาดอย่างไร แล้วพบกันใหม่ในตอนหน้าครับ!
High-Frequency Trading (HFT) คือ ระบบเทรดที่สร้างด้วย algorithm ที่ซับซ้อน จากการวิเคราะห์ market condition และพฤติกรรมราคาของสินค้า หาจังหวะในการเคลื่อน หรือสถานะการเปลี่ยนแปลง จากภาวะต่างๆ การอยู่ใกล้กับตลาด ระยะทางการเชื่อมต่อสั้น ระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ทำให้ HFT สามารถเข้าถึง information จากการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ไวกว่า client อื่นๆ จากนั้นใช้ความเร็ว ที่สูงระดับ microseconds ในการเข้าทำกำไร เปิดปิดออร์เดอร์

สร้างรอบความถี่ที่มากในการส่งคำสั่งเปิดปิดสถานะ เน้นการทำกำไรขนาดเล็กต่อออร์เดอร์ แต่ด้วยความเร็วและจำนวนการส่งคำสั่งที่สามารถจับคู่ได้มาก ทำให้สร้าง payoff ต่อวันจำนวนมหาศาลได้

HFT มีข้อดีแล้วข้อเสียข้อดี เช่น ข้อดีคือ การสร้าง liquidity ให้กับตลาดเพิ่มขึ้น แต่ตามธรรมชาติ HFT มักจะทำงานในตลาด ในสินค้าที่มีสภาพคล่องสูงในระดับหนึ่งอยู่แล้ว แต่ volume ที่มากนำมาซึ่งค่าธรรมเนียมที่มาก และการขยายตัวให้กับ exchange market ด้วยทำให้หลายตลาดทั่วโลกยินยอมเปิดรับ HFT เข้ามา




HFT เน้นการเล่นกับ volatility ที่เกิด เพราะความเร็วการเข้าถึงข้อมูลและการทำงานส่งคำสั่งระดับ  microseconds  ทำให้ได้เปรียบมากกว่าการเทรด ของคนธรรมดา หรือจากระบบคอมพิวเตอร์ปกติ กลยุทธ์การเทรดแบบนี้ เล่นกับภาวะอารมณ์ของคน การตอบสนองของตลาด ไม่ได้สนใจหรือขึ้นกับแนวโน้มและทิศทาง บางครั้งอาจจะทำให้เกิดการตีความที่ผิดของเทรดเดอร์ ถ้าไม่เข้าเรื่อง volatility และ energy ของราคา ตรงนี้เป็นข้อจำกัด เป็นข้อควรระวัง การเทรดตลาดที่มี HFT ออกปฏิบัติการ

ยังไม่นับรวมกบยุทธ์การ spoofing ล่อเหยื่อ การตั้ง Bid หรือ Offer เทียมและทำการ cancel ด้วยความเร็วที่สูง ในวินาทีสุดท้าย หลังจากมี volume จาก player อื่นๆเข้ามาตาม จากนั้นก็ดักทำกำไร จาก order ที่หลงกลตามเข้ามาเป็นต้น 




นอกจากนี้ยังมีประเด็น flash crash ที่เกิดในปี 2010-2014 ในหลายตลาด โดยเฉพาะใน 6 พค. 2010 ตลาด DJ30 การตกลงรุนแรง 1000 จุด ในไม่กี่นาที แบบที่ไม่เคยเจอ เป็น flash cash ครั้งใหญ่ จากนั้นมีการเกิด mini flash crash ตามมาอีกหลายครั้งในอเมริกา และยุโรป รวมถึงตลาดคอมโมดิตี้อย่างทองคำ




http://www.wsj.com/articles/u-k-man-arrested-on-charges-tied-to-may-2010-flash-crash-1429636758


มีการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย และดำเนินคดีทางกฏหมายกัน จนระยะหลังต้องมีระเบียบ มีกฏ ข้อบังคับกัน ไม่ได้ยอมให้ HFT ทำงานอิสระเพราะหลายตลาด เช่น สหรัฐมี กฏระเบียบออกมาคุม มากพอสมควรเช่น การสร้างระบบป้องกัน 
flash cash อันเกิดจาก error ของ HFT เพื่อหยุดการซื้อขายได้เร็ว ลดความเสียหายผลกระทบกับ ผู้เล่นรายอื่นๆ รวมถึงการตั้ง Tick size คุมอัตราการเปลี่ยนแปลงราคา เพื่อลดความถี่ของการยิงออร์เดอร์จาก HFT  รวมถึงการไม่ให้สิทธิ์แบบ co location โดยตรงกับ บริษัท HFT เฉพาะ เพื่อทำให้เกิดการกระจาย ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลราคาในตลาดอย่างเป็นธรรม ลดการใช้ความได้เปรียบจากความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น




HFT ปัจจุบันความเร็วนี่ไป 150 microseconds แล้ว (ตัวเลขจาก Johannesburg Stock Exchange)
ลองอ่านบทความนี่จะพบ หลายประเทศเริ่มศึกษาและเปิดให้ HFT firm เข้าไปเทรดได้ อย่างที่ Mexico, Turkey, South Africa เพราะพวกนี้จะเพิ่ม volume การซื้อขายต่อวันให้ตลาด ยังรวมค่าธรรมเนียมจำนวนมากที่ตลาดจะได้รับ แน่นอนว่าตลาดแบบจีนที่คนกล่าวหาว่ามันเป็น บ่อน ขนาดใหญ่ กับยังไม่มีนโยบายเปิดรับ ผู้ล่าอย่าง HFT ให้เข้าไปดำเนินการ

หลายประเทศขยับตัวในเรื่องนี้ ตามประเทศใหญ่ๆหรือตลาดเงินหลักของโลกที่เปิดให้ HFT เข้าไปดำเนินการเทรดได้ หลายปีมาแล้ว

ญุี่ปุ่นเองเป็นอีกตัวอย่าง Tokyo Stock Exchange มีการเติบโตของการซื้อขายมากกว่าเมื่อ 5 ปีก่อนหลายเท่า คิดเป็น 44% ของการจับคู่คำสั่งซื้อขายทั้งหมดในตลาด TSE




อนาคตการต่อของอุตสาหกรรมการเทรดด้วยคอมพิวเตอร์นี้ โตทุกปี ขยายอณาจักรออกไปเรื่อยๆ เพราะในสหรัฐ ปัจจุบันมีการควบคุมและมีการออกกฏระเบียบที่มากเรื่อยๆ จากประเด็นร้อนที่เกิดกับตลาดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ HFT firm พยายามขยายออกไปยัง Stock Exchange ขนาดใหญ่ที่ตามทวีปต่างมากขึ้น


http://www.bloomberg.com/news/articles/2015-07-12/flash-boys-welcome-world-exchanges-woo-high-frequency-traders

ผมคิดว่า HFT ใน Forex ก็มีนะ แต่เพื่อนๆก็ลองไปหาดูนะครับ เพราะเรื่องนี้อยู่ที่คนจะศึกษาค้นคว้า

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ