ความรู้และราคาน้ำมันในปัจจุบัน ปี 2559


แชร์ ความรู้และราคาน้ำมันในปัจจุบัน ปี 2559 
ขอขอบคุณข้อมูลจากสมาชิกเว็บพันทิพย์นะครับ >>>http://pantip.com/topic/34801345? 
เห็นช่วงนี้ราคาน้ำมันกำลังผันผวน เลยขออณุญาตตั้งกระทู้แชร์ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันสำหรับมือใหม่หรือคนที่ไม่มีพื้นฐาน
ราคาน้ำมันเปนเรื่องซับซ้อน เลยขอแชร์ความรู้ทั้งทางด้านเทคนิคและทางการตลาดครับ
ผมเองทำงานทางด้านนี้เลยมีความรู้อยู่บ้าง แต่ถ้าตกหล่นหรือมีอะไรที่ไม่ถูกต้องก้อท้วงมาได้นะครับ
หรืออยากรู้เรื่องอะไรก้อบอกมาได้ครับ

Hydrocarbon


น้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นสารเคมีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีส่วนประกอบสำคัญคือ Carbon และ Hydrogen ทำให้บางครั้งเราเรียกมันว่า Hydrocarbon
โดย Carbon จะเปนแกนกลางและ Hydrogen จะเกาะอยู่ด้านนอก ขนาดของโมเลกุลจะขึ้นอยู่จำนวน Carbon โดยขนาดโมเลกุลเล็กจะมีสถานะเป็น Gas ใหญ่ขึ้นมาก้อเปน Oil ส่วนด้านที่ใหญ่ที่สุดจะเปนของแข็ง เช่นยางมะตอย
Hydrocarbon ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เปน Hydrocarbon ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยกักเก็บอยู่ในชั้นหินใต้ดิน โดยมีสารตั้งต้นเกิดจากซากพืชซากสัตว์ที่ทับถม เมื่อเวลาผ่านไปก้อกลายเปนชั้นหินและจมลึกไปเรื่อยๆ เมื่อเจอกับความร้อนใต้พิภพ (ยิ่งลึกก้อยิ่งร้อน) สารตั้งต้นพวกนี้ก้อเกิดการย่อยสลายกลายเปน Hydrocarbon ขึ้นมา

ดังนั้นแล้ว Hydrocarbon ที่เกิดขึ้นจะขึ้นอยู่กับสารตั้งต้นนั้นและสภาวะแวดล้อม มนุษย์เราเลยไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับการกำเนิดของมันเลย มันก้อมีของมันอยู่อย่างนั้น
แต่เมื่อมีการสำรวจค้นพบ Hydrocarbon ขึ้นมา เราเลยเอามันมาใช้ประโยชน์ และพัฒนาเทคโนโลยีของเราให้เข้ากับทรัพยากรที่เรามีอยู่ อย่างเช่นเครื่องยนต์สันดาปภายใน เปนต้น


สรุป Hydrocarbon มันมีอยู่ของมันเอง ดังนั้นแต่ละที่จะมีอยู่ไม่เท่ากัน บางที่มีเยอะ บางที่ก้ออาจไม่มีเลย
สำหรับ Hydrocarbon ที่เป็นของเหลว (oil) นั้นจะเก็บและขนส่งได้ง่ายกว่า ส่วน Hydrocarbon ที่เปน gas นั้น ถ้าจะใช้งานในระดับอุตสาหกรรม จำเปนต้องมีการวางท่อจากแหล่งผลิตไปที่สถานที่ที่จะใช้ ตัวอย่างคือท่อส่งในอ่าวไทยที่ต่อจากแหล่งผลิตในอ่าวไทยไปขึ้นที่ระยองและอำเภอขนอม เปนต้น


บ่อยครั้งเราเลยเหนการเผา gas ทิ้งระหว่างที่ผลิตน้ำมันขึ้นมา ทั้งนี้อาจจะเปนเพราะไม่มีท่อ หรือไม่มี demand ในการใช้ gas นั้น ตัวอย่างในรูปคือหลุมผลิตบนฝั่งในประเทศอเมริกา


Reservoir


แหล่งกักเก็บ (Reservoir) คือชั้นหินใต้ดินที่มีที่ว่างเป็นรูพรุนหรือรอยแยก (นึกถึงภาพฟองน้ำ) และในที่ว่างนี้ก้อมี Hydrocarbon อยู่ (นึกถึงภาพเอาฟองน้ำไปจุ่มน้ำมัน)
นอกจากที่ว่างในการกักเก็บแล้ว แหล่งกักเก็บต้องมีคุณสมบัติอีกอย่างคือความสามารถในการปิดผนึก (Seal ability) ทำให้ Hydrocarbon ที่ไหลเข้ามาไม่ไหลออกไปไหน การผนึกนี้อาจเกิดจากรูปร่างของชั้นหิน การบิดงอหรือรอยแยกของชั้นหินใต้ดิน การทับซ้อนกันของหินที่มีคุณสมบัติต่างกัน เปนต้น


แหล่งกักเก็บส่วนใหญ่ในโลกนี้เปนชั้นหิน Sand Stone ซึ่งหินชนิดนี้จะมีรูพรุนอยู่มาก Hydrocarbon จะเก็บและไหลผ่านรูพรุนนี้
รองลงมาคือแหล่งกักเก็บที่เปนชั้นหิน Carbonate หินชนิดนี้จะมีรูพรุนน้อย แต่มีรอยแยกขนาดใหญ่อยู่ในชั้นหิน รอยแยกนี้มีขนาดใหญ่กว่ารูพรุนในชั้นหิน Sand stone มาก ทำให้เก็บ Hydrocarbon ได้ดีกว่า และ Hydrocarbon ยังไหลผ่านได้ดีกว่าด้วย
แหล่งกักเก็บที่เปนชั้นหิน Carbonate มีจำนวนน้อยกว่า แต่ปริมาณการผลิต Hydrocarbon ในปัจจุบันมาจากแหล่งกักเก็บประเภทนี้มากกว่า ส่วนใหญ่คือแหล่งในตะวันออกกลาง

Sand Stone


Carbonate


แรกเริ่มแต่ก่อนนั้น Hydrocarbon บางส่วนไหลขึ้นมาเองจากชั้นกักเก็บใต้ดินขึ้นมาที่ที่ผิวโลก ทั้งในรูปแบบ gas และ oil ทำให้มนุษย์รับรู้การคงอยู่ของมัน
ต่อมาเริ่มมีการขุดเจาะน้ำบาดาลเกิดขึ้น แต่มีบางครั้งที่หลุมน้ำนี้เจาะไปเจอเข้ากับ gas หรือ oil ทำให้มนุษย์เราเริ่มที่จะเอา Hydrocarbon มาใช้ประโยชน์มากขึ้น และเนื่องจาก Hydrocarbon  เริ่มมีราคา ทำให้ค้นคว้าทดลองและเริ่มแขนงวิทยาศาสตร์และความรู้เกี่ยวกับการขุดเจาะและผลิตมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก้อผลักดันให้มีการเอา Hydrocarbon มาใช้ในระดับ Mass scale และในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีการขุดเจาะก้อพัฒนาขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน
เปรียบเทียบง่ายคือการก่อสร้าง แต่ก่อนมนุษย์เริ่มจากการก่อสร้างที่อยู่อาศัยเล็กๆ แต่ปัจจุบันเราสามารถสร้างตึกสูงระฟ้าได้ทุกที่ทั่วโลก เทคโนโลยีการขุดเจาะเองก้อเช่นกัน

Brent – WTI


Brent และ WTI (West Texas Intermediate) คือราคาอ้างอิง (Benchmark) ของน้ำมันที่ใช้กันอยู่ทั่วโลก ที่มาคือ Brent เปนของน้ำมันที่ซื้อขายหลักอยู่ในยุโรป (North Sea) ในขณะที่ WTI คือการซื้อขายในอเมริกา
เนื่องจาก Hydrocarbon นั้นเกิดเองตามธรรมชาติ คุณสมบัติของ Hydrocarbon จากแหล่งต่างๆ จึงไม่เหมือนกัน สิ่งที่ต่างคือตัวของ Hydrocarbon ที่มีส่วนผสมของโมเลกุลใหญ่เล็กต่างกัน รวมถึงสิ่งเจือปนต่างที่ติดขึ้นมาตามธรรมชาติเช่น Sulfur หรือ Mercury
ทั้ง Brent และ WTI นั้นก้อมีนิยามทางเทคนิคของส่วนผสมที่ต่างกัน

สัญญาซื้อขายที่เกิดขึ้นจริงๆ นั้นราคาจะขึ้นอยู่กับส่วนผสมและสิ่งเจือปน โดยใช้ราคา benchmark เปนตัวอ้างอิง ไม่ได้ขายกัน bbl ละตาม Brent และ WTI โดยตรง
ที่น่าสนใจคือตามนิยามแล้ว WTI นั้นน่าจะแพงกว่า Brent เพราะส่วนผสมที่กลั่นน้ำมันได้มากกว่าและปริมาณ sulfur น้อยกว่า
แต่โดยปกติแล้ว Brent จะแพงกว่า WTI เพราะเรื่องของกลไกตลาด ปริมาณ Supply และสเปคของโรงกลั่นที่มีอยู่ในโลก

Hydraulics Fracturing

เทคโลโลยีการขุดเจาะและผลิต Hydrocarbon อย่างหนึ่งที่มีใช้มานานแล้ว แต่เริ่มมาบูมในช่วง 6-7 ปีนี้คือการทำ Hydraulics Fracturing หรือที่บางทีเรียกว่า Shale gas หรือ Shale oil
Shale คือชื่อของชั้นหินชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติคือมีรูพรุนน้อย และรูพรุนนี้ไม่ต่อเนื่องกัน ทำให้ Hydrocarbon ไหลผ่านไม่ได้
แต่ส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญของหิน Shale คือสาร organic ที่เปนสารตั้งต้นของ Hydrocarbon
บ่อยครั้งที่มีการเจาะเจอชั้นหิน Shale ที่มี Hydrocarbon อยู่ แต่ว่าไม่สามารถผลิตขึ้นมาได้ เพราะ Hydrocarbon ไม่สามารถไหลผ่านได้

Shale


Hydraulics Fracturing คือการรวมกันของคำว่า Hydraulics ที่แปลว่า ของเหลว และ Fracturing ที่แปลว่า ทำให้แตก
รวมกันแล้วก้อแปลว่าการทำให้เกิดการแตกโดยใช้ของเหลว (อย่าแปลสลับหน้าหลังกันนะ)
เปนชื่อของกระบวนการเจาะและผลิต ที่ทำให้ชั้นหินใต้ดินแตกอย่างตั้งใจ โดยการปิดหลุมเมื่อเจาะเสร็จแล้วใช้ปั๊มอัดของเหลวลงไปเพิ่มความดันจนชั้นหินแตก
รอยแตกนี้เมื่อเกิดขึ้นจะทำให้ Hydrocarbon ไหลเข้ามา และอาจสามารถทำการผลิตจากแหล่งกักเก็บที่ไม่สามารถผลิตอย่างปกติได้
เปนขบวนการที่ใช้ได้ทั้งกับแหล่งกักเก็บที่เปน Shale และแหล่งแบบ Sand Stone ที่รูพรุนน้อยหรือไหลไม่ดี
บางครั้งมีคนแปลคำว่า Shale gas เปนการสกัด gas จากหิน shale ซึ่งอาจจะให้ความเข้าใจที่ไม่ถูกนัก เพราะเราไม่ได้ไปเอาหิน shale มาสกัด แต่เราทำให้หินมันแตกและไหลได้เท่านั้น
Hydrocarbon ที่ได้ก้อเหมือนกันกับ Hydrocarbon ที่ได้จากหลุมที่มีแหล่งกักเก็บประเภท Carbonate และ Sand Stone นั่นแหละ


การทำ Hydraulics Fracturing คือขั้นตอนที่เพิ่มขึ้นมาจากขั้นตอนขุดเจาะปกติ ทำให้ต้นทุนในการขุดเจาะมากขึ้น
ทั้งนี้ต้นทุนของ Shale oil & gas แต่ละทีหรือแต่ละหลุมนั้นไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของแหล่งกักเก็บ คุณสมบัติของ Hydrocarbon ความลึก ตำแหน่งที่อยู่ของหลุม และปัจจัยอื่น
การทำ Hydraulics Fracturing อย่างแพร่หลายทำให้ราคาของเทคโนโลยีถูกลง และมีการผลิตจากแหล่งกักเก็บที่แต่ก่อนไม่สามารถผลิตได้ เพิ่มเข้ามาในตลาดโลก
OPEC – China – US - Russia

OPEC คือกลุ่มประเทศผู้ส่งออกปิโตรเลียม ข้อมูลหาดูได้จากอินเตอร์เนทมากมาย แต่ประเด็นที่อยากจะบอกคือกลุ่มนี้นำโดยซาอุเปนพี่ใหญ่ มีการผลิตมากสุดในโลกและคิดเปน 1/3 ของการผลิตจากประเทศกลุ่ม OPEC ทั้งหมด
ประเทศในกลุ่ม OPEC พึ่งพารายได้เข้าประเทศส่วนใหญ่จาก Hydrocarbon ดังนั้นราคาและปริมาณการขาย (Market Share) จึงมีความสำคัญมาก ถึงน้ำมันราคาดีแต่ Market Share น้อย พวกตนก้อได้เงินน้อยอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องหาจุดที่ทำให้ทั้งสองอย่างมัน balance กัน
ลูกค้าที่ซื้อน้ำมันก้อคือประเทศที่พัฒนาแล้ว (ยุโรป เมกา) และประเทศที่เป็นผู้ผลิต (จีน เอเชีย)
ช่วงที่ผ่านมา 6-7 ปี มีน้ำมันที่ได้จากกระบวนการ Hydraulics Fracturing ทำให้ Market Share จากกลุ่ม OPEC ลดลง จึงมีมาตรการเพิ่ม Quota การผลิตเพื่อทำให้ราคาน้ำมันถูกลงและกำจัดคู่แข่งทางการค้าเพื่อแย่ง Market Share กลับมา แต่การที่น้ำมันราคาลดลงมามันก้อมีผลกระทบกับประเทศในกลุ่ม OPEC โดยตรง เพราะ Revenue ที่ได้และมูลค่าของปริมาณสำรองที่เหลือมันมีผลกับจำนวนเงินที่สามารถกู้ยืมจากสถาบันการเงินได้ ดังนั้นยิ่งราคาน้ำมันตกต่ำอยู่นานก้อยิ่งไม่ดี

สำหรับซาอุ รายได้เกือบทั้งหมดได้จากการขายน้ำมัน นอกจากการขายน้ำมันดิบแล้วซาอุไม่มี Infrastructure สำหรับธุรกิจอื่น (เอาง่ายๆเลย ซาอุเป็นผู้นำเข้าสุทธิสำหรับน้ำมันกลั่นแล้ว เพราะไม่มี Infrastructure โรงกลั่นเพียงพอ) ดังนั้นถึงแม้ว่าต้นทุนการขุดเจาะและผลิตน้ำมันจะอยู่แค่ระดับ 10 US$ กว่าๆต่อ bbl แต่ราคาที่ลดลงก้อเท่ากับ revenue ที่หายไปและ loan service ability ที่หายไป
โดยเฉพาะหลังจากอาหรับสปริงส์ ซาอุเพิ่มสวัสดิการรัฐเป็นสองเท่า ประกอบกับ conflict กับ  Yemen ทางใต้ และ Syria ทางเหนือ (สนับสนุน IS) ซาอุจึงจำเป็นต้องใช้เงินจากการขายน้ำมัน และไม่ยอมลดการผลิตแม้ว่าประเทศในกลุ่ม OPEC อื่นๆจะต้องการ แต่ในขณะเดียวกันราคาที่ลดลงทำให้ซาอุต้องไปควัก Money Reserve ของตนเองมาใช้ คำถามก้อคือซาอุจะสามารถทนสถานการณ์นี้อยู่ได้นานเท่าไหร่ ปีที่แล้ว IMF มีรายงานว่าที่ราคาน้ำมัน ณ ขณะนั้น ถ้ารายจ่ายภาครัฐจองซาอุยังอยู่ที่ระดับเดิม ซาอุจะล้มละลายภายใน 5 ปี
แต่ซาอุก้ออกมาตอบโต้เมื่อต้นปีนี้ว่าซาอุเองมีแผนการที่จะอยู่รอดโดยการเอาหุ้น Saudi ARAMCO มาขายในตลาด

จีน - การเติบโตแบบก้าวกระโดของจีนทำให้ demand น้ำมันในตลาดมากขึ้น เมื่อเศรษฐกิจจีนเติบโตน้อยกว่าที่คาดก้อทำให้ปริมาณ demand ลดลง แต่จีนเองก้อพอใจที่ราคาน้ำมันต่ำ เพราะเป็นการประหยัด cost ในการผลิตของตนเองลงไป ประกอบกับช่วยพยุงค่าหยวนและเพิ่มความสำคัญของหยวน เพราะน้ำมันส่วนใหญ่ในโลกเทรดกันด้วยสกุล US$ ส่วนหยวนเองยังเป็นสกุลเงินที่ใช้ gold standard อยู่

อเมริกา - เนื่องจากอเมริกามีเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม บริษัทน้ำมันที่อยู่ในประเทศเลยมีความคล่องตัวและความสามารถในการอยู่รอดสูง มีการลดการผลิต ลดคน และเพิ่มประสิทธิภาพทางด้านต่างๆ ทำให้มีบริษัทที่สามารถเอาตัวรอดได้และ Shale Oil พวกนี้อึดกว่าที่คาด โดยบริษัทที่มีต้นทนการผลิตสูงคือพวกแรกที่ได้รับผลกระทบ ทางเลือกเดียวคือหยุดการผลิตและขายทอดตลาด
OPEC คาดว่าที่ระดับราคา US$40 น่าจะหยุดการผลิต Shale Oil ได้ แต่ความจริงกับปรากฎว่ามีบริษัทส่วนมากสามารถปรับตัวและอยู่รอดได้ที่ราคานี้ ปริมาณ Supply จาก US ลดลงแค่ 3-4% เท่านั้นเอง
ประเทศในกลุ่ม OPEC เลยเริ่มเดือดร้อน และมีมติให้ลดการผลิต แต่ซาอุปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามตามเหตุผลข้างต้น

รัสเซีย - รายรับของรัสเซียส่วนใหญ่อยู่ที่การขาย Gas ให้กับยุโรป ดังนั้นการแข่งขันจากประเทศในตะวันออกกลางจึงเป็นปัจจัยสำคัญ
ที่ผ่านมารัสเซียต้องการเข้าไปมีอิทธิพลในตะวันออกกลาง ผ่านการสนับสนุนรัฐบาลซีเรียของ Assad เพื่อให้ตนสามารถมีฐานทัพเรือในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และสนับสนุนการวางท่อก๊าซจากอิหร่านผ่านอิรัก ซีเรีย และทะเลเมดิเตอเรเนี่ยนเพื่อไปยังยุโรป เพราะหากสำเร็จตนจะสามารถควบคุม Supply ที่ไปยุโรปได้เต็มที่ จากทั้งทางตะวันออกกลางและจากรัสเซีย ดังนั้นตอนนี้รัสเซียจึงเป็นแค่ประเทศเดียวที่ทุ่มเทกับการกำจัดกลุ่ม IS รวมถึงกลุ่มกบฏในซีเรียอย่างจริงจัง
แต่ในขณะเดียวกัน ด้วยราคาน้ำมันที่ตกต่ำ รายได้ของรัสเซียเองก้อลดลงเองเช่นกัน

อเมริกาอีกรอบ - เมื่อ supply ไม่ได้ลดลงมาก อเมริกาจึงต้องหาตลาดให้กับ Shale Oil ของตน เลยอณุญาติให้มีการ Export น้ำมันได้ เพราะน้ำมันตรงนี้มันแค่ไม่ถึง 10% ของ Supply จากประเทศกลุ่ม OPEC ดังนั้นการตัดสินใจตรงนี้เป็นไปเพื่อ Market Share ไม่ใช่ ราคา ทั้งหมดเพื่อให้บริษัทในอเมริกาอยู่รอดได้ เพราะอุตสาหกรรทน้ำมันเปนอุตสาหกรรมขน่ดใหญ่ในอเมริกา และเป็นการตัดส่วนแบ่งจากประเทศในกลุ่ม OPEC
อีกอย่างคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีใกล้เข้ามาแล้ว และ Republican ก้อคือเจ้าของ Oil Company ใหญ่ๆ ทั้งนั้น ที่น่าสนใจคือนโยบายเรื่อง Syria/IS/Saudis จะเปลี่ยนไปในแนวทางไหน เพราะที่ผ่านมาเมกานั้นเปนมิตรที่ดีกับซาอุและไม่เคยทำอะไรเรื่อง IS อย่างจริงจังเลย

OPEC อีกรอบ + Iran – ประเทศในกลุ่ม OPEC มีความสัมพันกันแค่ด้านเดียวคือน้ำมัน เพราะประเทศในกลุ่มในตะวันออกกลางก้อมีข้อขัดแย้งกันโดยตรง ซาอุเปนคู่ขัดแย้งโดยตรงกับ Iran ที่ผ่านมาซาอุมีความสัมพันธ์กับอเมริกาและประเทศในยุโรปผ่านการแลกเปลี่ยนน้ำมันกับเทคโนโลยีและอาวุธ แต่การที่ Iran ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องเรื่องอาวุธนิวเคลียร์ทำให้น้ำมันจาก Iran ออกสู่ตลาดได้ น้ำมันตรงนี้จะทำให้ supply ในตลาดมากขึ้น แต่อเมริกาและยุโรปสามารถหันไปหา Iran แทนซาอุได้ ดังนั้นปัจจัยที่สำคัญคือความสัมพันของ Iran กับประเทศตะวันตก การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่จะเกิดขึ้นแน่ถ้าทุกคนหันไปหา Iran และลดความสำคัญของซาอุ

Hedge Fund

ปัจจัยอีกอย่างที่ทำให้บริษัทต่างๆ ในค่ายเสรีนิยมสามารถเอาตัวรอดได้นานคือการ Hedge ราคาน้ำมัน ซึ่งสำคัญมากสำหรับบริษัทเล็กๆ
การ Hedge ราคาน้ำมันก้อเหมือนกับการซื้อประกันเพื่อกันผลกระทบเมื่อราคาน้ำมันตกต่ำกว่าระดับหนึ่ง บริษัทหลายบริษัทที่ Hedge ราคาน้ำมันไว้จึงสามารถอยู่ในระดับที่เอาตัวรอดได้แม้ว่ารายได้จะลด
แต่บริษัทที่ได้ผลกระทบเต็มๆ และไม่รอดคือบริษัทที่ทำสัญญาแบบ 3-Ways Hedging ไว้ สัญญาลักษณะนี้คือการ Cap ราคา High ไว้ที่ราคาหนึ่ง ในขณะที่ประกันราคาด้าน Low นั้นมีสองระดับ คือที่ระดับ Low นั้นบริษัทยังได้ความคุ้มครองอยู่ แต่ถ้าเลยระดับ Low-Low ไปแล้วจะไม่ได้อะไรเลย
ตัวอย่าง สมมติว่าบริษัททำ 3-Ways Hedging ไว้ที่ High $120, Low $60, Low-Low $40 สำหรับสัญญาแบบนี้บริษัทจะเสียเงินถ้าราคาเกิน 120 แต่จะได้กำไรถ้าราคาลงมาต่ำกว่า 60 แต่เมื่อใดก้อตามที่ราคาต่ำกว่า 40 บริษัทจะไม่ได้อะไรเลยและต้องโดนผลกระทบจากราคาน้ำมันไปเต็มๆ
สัญญาแบบนี้อาจฟังดูไม่ฉลาด แต่ตอนที่ราคาน้ำมันอยู่ที่ $100 ต่อ bbl นั้นสัญญาแบบนี้ช่วยลด Cost ได้มากมาย

การมีอยู่ของ Hedge Fund นั้นเหมือนดาบสองคม หนึ่งคือทำให้บริษัทน้ำมันอยู่รอดได้และช่วยประคองราคาตลาด แต่มันก้อทำให้ความผันผวนของราคามากขึ้นเช่นกัน ดังจะเหนได้จากความผันผวนของราคาในปัจจุบัน และราคาบางทีก้อไม่สะท้อนสภาพพื้นฐานในปัจจุบัน ซึ่งตอนนี้เองจำนวนสัญญาของทั้งสองด้าน (Long & Short) เองก้อขึ้นไปถึงระดับ 52 wks high

Winner? – Loser?

สรุปแล้วประเทศในกลุ่ม OPEC และรัสเซีย ต่างเจ็บตัวจากการที่ราคาน้ำมันตกต่ำ แต่แต่ละฝ่ายก้อไม่สามารถลดการผลิตได้เพราะต้องการ Revenue
ในขณะที่บริษัทน้ำมันในอเมริกานั้นก้อได้ผลกระทบไปเต็มๆ เหมือนกัน โดยบริษัทที่ต้นทุนสูงก้อต้องหยุดผลิตในขณะที่บริษัทที่ต้นทุนต่ำก้อ Revenue หาย ทำให้ต้องเพิ่มปริมาณการผลิต
ปริมาณ Supply ที่เพิ่มขึ้น จึงเกิดสภาวะ Oversupply ขึ้นทั่วโลก และกลับไปกดดันราคาน้ำมันให้ต่ำลงไปอีก
ภาวะที่ผ่านมาจึงเป็น Lose-Lose Game สำหรับประเทศที่ผลิตน้ำมันและบริษัทน้ำมันในอเมริกา ที่ต่างฝ่ายต่างก้อต้องทำร้ายตัวเองเพื่อให้ตนอยู่รอด
ซาอุ - รัสเซียเปนคู่ขัดแย้งในวิกฤติซีเรีย แต่ก้อเจ็บตัวจากราคาน้ำมันต่ำทั้งคู่ ทั้งคู่จึงมีทีท่าแปลกๆ ในเรื่องนี้ อย่างเช่นการที่ซาอุออกมาบอกว่า Aramco จะไม่ลดการผลิต แต่รัสเซียกลับบอกว่ามีการคุยกันกับซาอุเรื่องลดการผลิต แล้วล่าสุดก้อมีการออกข่าวว่าจะมีการเจรจา เพราะการลด Quota การผลิตจะเกิดขึ้นได้ก้อต่อเมื่อทุกฝ่ายยอมทำตามเท่านั้น

อีกกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงคือกลุ่ม Investment Banking ที่ลงทุนในหุ้นน้ำมัน ซึ่งก้อคือ Investment Banking ใหญ่ๆ ในอเมริกาเกือบทุกเจ้า ที่น่าสนใจคือกลุ่มนี้อาจมีผลกระทบกับเศรษฐกิจโลกมากกว่าผลกระทบจากกลุ่มบริษัทน้ำมันเองซะอีก

ส่วนกลุ่มที่เปน Winner คือกลุ่มผู้ผลิต กลุ่มโรงกลั่น กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และ retail น้ำมัน เพราะ Demand ในตลาดของกลุ่มนี้จะมากขึ้น ในขณะที่ Profit Margin เองก้อมากขึ้นเช่นกัน
และเมื่อใดก้อตามที่ราคาน้ำมันฟื้นตัว บริษัทน้ำมันที่อยู่รอดจะสามารถ Capture ตลาดได้มากขึ้นจากการที่มีคู่แข่งน้อยลงเพราะต้องปิดตัวไปในช่วงราคาตกต่ำ

ความเห็นจากสมาชิก
เรื่องการ fracking ต้องบอกด้วยว่าส่วนผสมหลักๆ คือน้ำ ในไทยใช้ส่วนผสมจาก Guar Gum (กัวร์ กัม) เพื่อเพิ่มความหนืด และ ชั้นหินความลึกนั้นลึกลงไปหลายกิโลมาก


Credit: www.thaiforexschool.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ