[จิตวิทยาการลงทุน] Part 4 : การฝึกซ้ำๆ เพื่อให้เกิดทักษะ

ต้นฉบับ Credit : Dr.Brett N. Steenbarger / www.brettsteenbarger.com

เพราะผม (Dr.Brett) เป็นทั้งนักจิตวิทยา และเป็นเทรดเดอร์, ผมจึงเป็นทั้ง โค้ช และ ลูกศิษย์สำหรับการฝึกเทรดให้ตัวเอง, งานที่ต้องทำหลักๆเลย คือ การเอาความรู้ที่มีอยู่แล้วมาใช้จริง, รับมือเรื่องอารมณ์, ปรับรูปแบบนิสัย และ เรื่องวินัยที่ดีอื่นๆ ซึ่งเรื่องพวกนี้เอง ที่แยกระหว่าง นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ กับนักกีฬาธรรมดา

มีงานวิจัยจำนวนมาก ที่ค้นคว้าไว้เกี่ยวกับเรื่อง จิตวิทยาของผู้ที่ประสบความสำเร็จ ทั้งในสาขา ศิลปะ, วิทยาศาสตร์, กีฬา และ การเมือง. Dean Keith Simonton นักจิตวิทยาจาก Univ. of California และ K. Anders Ericsson นักจิตวิทยาจาก Florida State Univ. เป็นสองท่านที่มีผลงานด้านนี้อย่างโดดเด่น, ทั้งสองได้ชี้ไว้ว่า ความสำเร็จขั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นในสาขาวิชาใด ล้วนเป็นผลมาจาก ความต่อเนื่อง, ความจริงจัง และ การฝึกฝนอย่างทุ่มเท ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นทักษะขั้นสูงฝังลึกเข้าไปในตัวบุคคล จนกระทั้งเมื่อถึงจุดหนึ่งจะทำได้อย่าง “อัตโนมัติ” (Note ผู้แปล : สำหรับเทรดเดอร์ ผมเคยพูดถึงเทรดเดอร์ขั้นสูงสุด ที่เรียกว่า Auto Pilot ไว้ในวีดีโอเผยแพร่เกี่ยวกับ “ระดับของเทรดเดอร์และวิธีพัฒนา”* ของผม)

มีบทความอันหนึ่ง ได้กล่าวถึง นักเบสบอลในตำนาน Sandy Koufax (ตำแหน่งคนขว้างลูก), Koufax ได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า สิ่งที่ดีกว่าการพยายาม นั่งหาว่าอะไรคือตัวแปรในการขว้างที่ดี คือ การซ้อมขว้างซ้ำๆไปเลย, การฝึกซ้ำ คือ กุญแจสำคัญสำหรับ การซ้อมกอล์ฟ หรือ ฝึกตีลูกเบสบอล, นักขว้างเบสบอล อยากขว้างให้ได้เหมือนเดิมเป๊ะ ทุกครั้งที่ต้องการ. Jane Leavy, ผู้แต่งหนังสือ ชีวประวัติ Koufax ได้เขียนไว้ว่า สี่งที่ยากที่สุดสำหรับนักกีฬาไม่ใช่ การทำให้ผลงานได้ดีหนึ่งครั้ง แค่เป็นการทำผลงานดีให้ได้ซ้ำๆ

ย้อนกลับมาที่การเทรดของผมเอง, ผมสามารถทำซ้ำในระดับที่น่าพอใจ โดยการพัฒนา “ชุดเงื่อนไข” ที่กำหนด การเข้า ออก และ ขนาดของออเดอร์ (Note ผู้แปล : เรื่องนี้ ผมบังเอิญคิดเหมือนผู้แต่ง โดยผมมักจะอธิบายเวลาว่า “ระบบเทรด” คือ “ชุดเงื่อนไช”ในการเข้า-ออก ออเดอร์), ชุดเงื่อนไข เหล่านี้ส่วนใหญ่ มาจากการค้นคว้าของผมในเรื่อง คุณภาพของเทรน, ผมต้องการจะเข้าเมื่อ ตลาดเริ่มมีทิศทาง และ ความเป็นเทรนเริ่มมากขึ้น จากนั้นก็ออกตอนที่เทรนเริ่มหมดลง, และ มีสามารถเข้าออเดอร์เพิ่มได้อีก ถ้า เทรนระยะสั้น กับ ระยะกลางเริ่มชี้ไปทางเดียวกัน เพื่อบังคับให้ตัวเอง อยู่ในเงื่อนไขเหล่านี้, ผม
ได้เขียน webblog ประจำวัน, ซึ่งก็คือบันทึกประจำวันออนไลน์ ที่ผมตั้งใจจะใช้ติดตาม การประเมินเทรน, สถานะของเทรน และ วางแผนการเทรดสำหรับวันต่อไป, Blog บังคับให้ผมโฟกัสอยู่กับ พื้นฐาน และ กำจัด “ตัวแปร” ที่ไม่จำเป็นออกจากการเทรดของผม, นั่นก็คือช่วยลด การคิดมากเกินควร และ การขัดแย้งกันเองภายในใจของผมระหว่างเทรด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการเข้า-ออก ออเดอร์ (Note ผู้แปล : เข้าใจว่าการเขียนช่วยอย่างที่ผู้แต่งบอกได้ เพราะเวลาเขียนบทความ เราจะต้องไม่ฟุ้มเฟ้อ พูดแตกประเด็นมั่วไปเรื่อย จำเป็นต้องโฟกัสว่า เรากำลังพูดประเด็นอะไรอยู่ จึงทำให้เราโฟกัสอยู่กับหัวข้อหลักได้) และมันเป็นเครื่องมือที่ไม่เลวเลยสำหรับการประจานตัวเอง เพราะเป็นการประกาศความผิดพลาดของผมสู่สาธารณะด้วย

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ