วิธีการตั้ง Stop Loss มีกี่แบบ? อะไรบ้าง?






การนำความรู้เทคนิคอล มาใช้ในการเทรด Forex การมีจุด Stop Loss ในทุกครั้งที่เข้าเทรด เป็นเรื่องจำเป็น เพื่อที่เราจะได้รักษาทุนไว้ไม่ให้เสียหายมากหรือล้างพอร์ต แต่วิธีการกำหนด ว่า ราคาไหน ควรจะใช้เป็น Stop Loss กลับกลายเป็นปัญหาคาใจ ของใครหลายๆ คน ..
สิ่งที่เราต้องเจออยู่บ่อยๆ ในการตั้ง stop loss คือ ตั้งตรงไหนดี, ตั้งแล้วราคาดีดมากิน stop loss แล้วกลับไปทางเดิมที่เราเข้าออเดอร์ไว้ เป็นไง ช้ำใจไหมล่ะ? ....
แล้วคำถาม สุดฮิต ก็ถาโถม เข้ามา .... ทำไม ล่ะ? ... ทำไม?...เป็นเยี่ยงนี้ !!... กรู ทำอะไร ผิดไปเหรอ ....?
แต่ใครจะรู้ล่ะว่า ที่จริงแล้ว วิธีการวาง Stop Loss แบบเทคนิคอล มันไม่ได้มีแบบเดียว มีอย่างน้อยที่ผมใช้ หรือเคยใช้ บ่อยๆ ก็ยังมี ตั้ง 8 แบบ ที่จะเอามาเล่าสู่กันฟัง
ตั้ง 8 แบบ เชียวรึ .... ? น่าสนใจละสิ ... มีอะไรบ้าง มาอ่านกันแบบสรุปก่อนนะ จะได้รู้ Concept ของแต่ละแบบก่อนนะครับ
1. Initial Stop หรือ Breakout Pyramid
เป็นวิธีการ ง่ายๆ ที่ใช้กับ การวาง Stop Loss ในเวลาที่ราคาหุ้น มีการ Break Out แนวรับหรือแนวต้าน หรือ เวลาที่ราคาหุ้นBreak Out ออกจากการพักตัว วิ่งข้ามราคา High Price เราก็วาง Stop Loss ที่แนวราคาที่เป็นจุดกลับตัวของราคาล่าสุดก่อนการ Break out ก็ง่ายๆ แค่นี้เอง



2. X-Bars Stop
คือ ใช้จุด Low Price ของแท่งราคา ที่ถัดจากแท่งราคา ต่ำลงไป กว่าเดิมอีกกี่แท่ง ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 1 แท่งก็เรียกว่า 1-Bar Stop ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 2 แท่งก็เรียกว่า 2-Bars Stop หรือจะเอา 3 แท่ง เป็น 3-Bars Stop

แบบนี้ก็ตามชื่อเลย คือ ใช้จุด Low Price ของแท่งราคา ที่ถัดจากแท่งราคา ต่ำลงไป กว่าเดิมอีกกี่แท่ง ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 1 แท่งก็เรียกว่า 1-Bar Stop ถ้าเอาต่ำกว่าลงไป 2 แท่งก็เรียกว่า 2-Bar Stop หรือจะเอา 3 แท่ง เป็น 3-Bar Stop หรือใน หนังสือ โต้คลื่นหุ้น...เทคนิคทำกำไรทะลุฟ้า (อยู่ในคลื่น 16) จะเรียก 3-Bar Stop ว่า Safety Belt ลองไปอ่านกันดูนะครับ

3. Moving Average Stop
ก็เป็นการใช้ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average Line) ใช้เป็นแนวในการ Stop
การใช้เส้น MA ก็ดีนั้น เส้นมันก็ขยับตามราคา ไปเรื่อยๆ ก็ง่ายดี ไม่ต้องกังวลมาก ราคาถอยลงมาหลุด เส้น MA ที่เราเลือกใช้เมื่อไหร่ ก็ขายทิ้ง
เส้น MA มีหลายแบบ เช่น MA ที่ 10 , 25 , 50 , 100 ก็มี วิธีเลือกใช้ควรดูสไตล์การเทรด เทรดสั้นเทรดยาว ดูคู่เงิน และเลือกให้เหมาะสม


4. Resistant / Support Line
แบบนี้เกิดมาจากหลักการที่ว่า " ... เมื่อแนวรับ/แนวต้าน ถูกราคาทะลุผ่านได้ แนวรับจะกลายเป็นแนวต้าน หรือแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับ ... "
ราคา Break out แนวต้านขึ้นไปได้แล้ว ไม่ควรจะถอยย้อนกลับลงมาใต้แนวต้านนั้น เราจึงใช้แนวต้านที่ราคาทะลุผ่านไปได้เป็น Stop Loss


5. Trend Line - Speed Line Stop
การใช้ Trend Line มาช่วยในการ Stop Loss ก็ทำได้ ในเวลาที่ราคาวิ่งแล้วพักตัว แล้วก็ไปต่อ เราสามารถตีเส้น Trend Line ผ่านจุดกลับตัว ที่ราคาพักตัวนั้น จะได้เส้นเฉียงที่บอก Trend ให้กับเรา
เมื่อราคาอ่อนตัว อ่อนกำลังลงมาจนไม่สามารถวิ่งอยู่เหนือเส้น Trend Line ที่เราได้ตีไว้ ราคาลงมาเป็นการบอกว่า เราควรจะต้องขาย Stop Loss ออกมาเพื่อความปลอดภัย เพราะไม่รู้ว่า ราคาที่ตก Trend Line นั้น มันแค่อ่อนแรงพักตัว แล้วไปต่อ หรือว่ากลับตัวเปลี่ยนทิศวิ่งเป็นขาลงเลย รึไม่
เมื่อราคาตก Trend Line เราจึงควรขายออกไปก่อน แต่ถ้าตรงกันข้าม ราคา วิ่งแรงขึ้น เชิดชันขึ้นจนราคาออกห่างจาก เส้น Trend Line ไปมากแล้ว แบบนี้เราก็ควรจะตี Speed Line แนบไปกับการพักตัวย่อยๆ ในราคารอบใหม่ เพื่อทำการ Lock Profit เอาไว้


6. Volatility Stop
Volatility แปลว่า ความไม่แน่นอน ในที่นี้หมายถึง ราคาหุ้นที่มีลักษณะความผันผวน ขึ้นลงไม่แน่นอน หุ้นที่มีการเหวี่ยงตัวขึ้นลง แรงๆ บ่อยๆ ก็จะถือว่าเป็นหุ้นที่มี High Volatility คือ มีความผันผวนสูง ส่วนหุ้นที่เหวี่ยงตัวขึ้นลงไม่รุนแรง ก็เป็น หุ้นที่มี Low Volatility
ดังนั้น Tools ที่ใช้ในการ Stop Loss ด้วย Volatility ของราคาหุ้น ก็จะใช้ ATR - Average True Range นำมาคำนวณ และสร้างเครื่องมือมาใช้ในการช่วยวาง Stop Loss เช่น
-- Chandelier Exit by Alexander Elder
-- Volatility Stop by J. Welles Wilder
-- ATR Band by J. Welles Wilder
-- ATR Trailing Stop by Chester Keltner
-- Keltner Channel by Chester Keltner ... เป็นต้น
ในรูปเป็นการใช้ ATR STOP


7. Parabolic SAR
Parabolic SAR คำว่า SAR ย่อมาจาก Stop And Reversal เป็น เครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดย J. Welles Wilder, Jr. อยู่ในหนังสือ New Concepts in Technical Trading Systems ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ.1978
Parabolic SAR จะสร้างจุดขึ้นมารองรับใต้ แท่งราคา ในเวลาที่หุ้นวิ่งขึ้น และจะกลับไปอยู่ด้านบนของแท่งราคาในเวลาที่หุ้นวิ่งลง ดังนั้นเวลาที่ ราคาหุ้นวิ่งขึ้นอยู่ แล้วพอราคาชะลอตัว SAR จะบีบเข้าหา แท่งราคา เมื่อแท่งราคาไหนที่ถอยทะลุ SAR ได้ SAR หายไปจากด้านล่างของแท่งราคา ไปอยู่ด้านบนของแท่งราคา
เมื่อเกิด SAR กลับข้างถ้า แท่งราคาถัดไปลง ต่ำกว่า Low ของแท่งราคาที่เกิด SAR พลิกกลับ จึงเป็น เวลาที่เหมาะที่จะ ขายหุ้นได้


8. Timing Stop
Stop Loss แบบนี้ล่ะ ที่ประหลาดที่สุด เพราะไม่ได้ดูที่ราคา แต่เป็นดูที่เวลา เมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ก็ควรจะต้อง Stop Loss ขายออกไป โดยดูจากการเคลื่อนที่ของราคาในอดีตที่ผ่านมา นำมาประเมินการวิ่งของราคาในช่วงเวลาถัดไป ว่าจะสามารถวิ่งไปได้ไกล อีกกี่แท่ง
เมื่อถึงเวลาที่คาดไว้ ก็พิจารณา อาการของราคา หรือ Indicator อีกที ถ้ามีอาการอ่อนแรงให้เห็น ก็ขายออกไปตาม เป้าหมายเวลา
การ Stop Loss ด้วยเวลาแบบนี้ จึงประโยชน์มากกับ การเทรดในสินค้าที่มี Time Dilution เช่น Option เป็นต้น
วิธี ที่ใช้ในการ ทำ Timing Stop หรือ Tempo Stop แบบนี้ ก็มี
-- Time Cycle
-- Fibonacci Time Projection by Elliott Wave
-- Swing Counting by John Crane
-- TD Sequential Count by Thomas DeMark
ในรูปเป็นการใช้ Time Cycle

แหล่งที่มา : stock2morrow.com

ความรู้เพิ่มเติม

กลยุทธ์การตั้ง Stop Loss (จุดขาดทุน)


ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ