คำนวณภาษี ซื้อกองทุน LTF – RMF

นักลงทุนและผู้ที่ต้องการลงทุนใน mutual fund เพื่อที่จะลดหย่อนภาษี ที่ต้องการจะทราบว่า กองทุน LTF และ กองทุน RMF สามารถช่วยประหยัดภาษีได้เท่าไหร่ เราจำเป็นต้องเข้าใจวิธีการคิดภาษีกันก่อน สำหรับอัตราภาษีของปี 2556 นั้นเป็นอัตราภาษีใหม่ ที่เริ่มใช้ครั้งแรกสำหรับปีภาษี 2556 โดยมีการแบ่งลำดับขั้นของภาษีเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับลดอัตราภาษีลงทั้งแผง เริ่มต้นที่ 5% จากอดีตที่ 10% ขณะที่อัตราภาษีสูงสุดก็ลดลงจาก 37% ลงมาเหลือ 35% ซึ่งทั้งหมดนี้จะทำให้ภาระภาษีของทุกคนลดลง เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

การคำนวณภาษี จะนำเอายอดเงินได้สุทธิในแต่ละขั้นภาษี X กับอัตราภาษีของขั้นนั้น โดยเงินได้สุทธิเริ่มต้นที่ไม่เกิน 150,000 บาทนั้นจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องนำมาคำนวณภาษี ดังนั้น ภาษีเริ่มต้น ก็จะคำนวณจากเงินได้สุทธิของทั้งปี ในส่วนที่เกินจาก 150,000 บาทขึ้นไป โดยจะนำเงินได้ส่วนที่เกินมาคำนวณภาษีตามลำดับขั้นของอัตราภาษี

โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2556 
                      ตัวอย่าง การคิดอัตราภาษีใหม่ สำหรับปี 2556
อัตราภาษีใหม่ สำหรับปี 2556 โครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2556
•           ถ้ามีเงินได้สุทธิ 250,000 บาทต่อปี ส่วนที่เกิน 150,000 บาทก็จะเท่ากับ 100,000 บาท เมื่อนำเงินจำนวน 100,000 บาทคูณกับอัตราภาษีประจำขั้นที่ 5% ก็จะได้เป็น 100,000 x 0.05 เท่ากับ 5,000 บาท เป็นจำนวนภาษีที่ต้องเสีย สรุป (250,000-150,000) x 0.05 = 5,000 บาท

•           ถ้ามีเงินได้สุทธิ 400,000 บาทต่อปี เงินส่วนที่เกิน 150,000 บาทจนถึง 300,000 บาทนั้นเท่ากับ 150,000 บาท เมื่อนำเงินจำนวน 150,000 บาทคูณกับอัตราภาษีประจำขั้นที่ 5% ก็จะได้เป็น 150,000×0.05 เท่ากับ 7,500 บาท เป็นภาษีประจำขั้น ทีนี้ยังมีเงินอีก 100,000 บาทที่เกินจากขั้น 300,000 บาทที่ต้องนำมาคำนวณภาษีที่อัตรา 10% ได้เป็น 100,000×0.1 เท่ากับ 10,000 บาท ดังนั้นจึงต้องเสียภาษีรวมทั้งหมด 7,500 + 10,000 = 17,500 บาท                                                  
สรุป 150,000 x 0.05 = 7,500 บาท + 100,000 x 0.1 = 10,000 บาท รวมเป็น 17,500 บาท
คำนวณภาษี ซื้อกองทุน LTF - RMF


ต่อไปนี้ เราจะคำนวณภาษีเบื้องต้น ตามฐานเงินเดือนระดับต่างๆ เพื่อนำไปใช้เป็นต้นแบบในการคำนวณภาษีของท่าน เพื่อความง่าย ในที่นี้จะสมมุติว่าเงินได้นั้น มาจากเงินเดือนเพียงอย่างเดียวเท่านั้น โดยจะหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินเดือน 60,000 บาท และค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 30,000 บาท ตามปกติทั่วไป โดยยังไม่นำค่าเบี้ยประกันชีวิตและเงินสมทบกองทุนประกันสังคมมาคิด แต่อย่างใด เพราะตัวเลขในส่วนนี้ของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป ในกรณีที่คุณไม่มีรายได้ทางอื่นเพิ่มเติม เวลาที่คุณคิดภาษีจริงๆ ตัวเลขภาษีที่ต้องเสียก็จะน้อยลงไปอีก เนื่องจากมีค่าลดหย่อนต่างๆเพิ่มเข้ามา ตามข้อมูลของแต่ละคน 

ผู้มีเงินเดือน 15,000 บาท 
รายได้พึงประเมิน 15,000 บาท x 12 เดือน = 180,000 บาท เงินได้สุทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน = 180,000 – 60,000 – 30,000 = 90,000 บาท ภาษีที่ต้องเสีย = 0 บาท เนื่องจากเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากไม่มีภาระภาษีที่ต้องจ่าย จึงไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุน LTF/RMF แต่อย่างใด 

ผู้มีเงินเดือน 20,000 บาท 
รายได้พึงประเมิน 20,000 บาท x 12 เดือน = 240,000 บาท เงินได้สุทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน = 240,000 – 60,000 – 30,000 = 150,000 บาท ภาษีที่ต้องเสีย = 0 บาท เนื่องจากเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษี เนื่องจากไม่มีภาระภาษีที่ต้องจ่าย จึงไม่จำเป็นต้องซื้อกองทุน LTF/RMF แต่อย่างใด 

ผู้มีเงินเดือน 25,000 บาท 
รายได้พึงประเมิน 25,000 บาท x 12 เดือน = 300,000 บาท เงินได้สุทธิ หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเท่ากับ 300,000 – 60,000 – 30,000 = 210,000 บาท ภาษีที่ต้องเสีย ในอัตรา 5% เท่ากับ (210,000 – 150,000) x 0.05 = 3,000 บาท สามารถซื้อกองทุน LTF/RMF แต่ละประเภทได้สูงสุด 15% เท่ากับ 300,000 x 0.15 = 45,000 บาท นั่นคือสามารถซื้อกองทุน LTF ได้สูงสุด 45,000 บาท และสามารถซื้อกองทุน RMF ได้สูงสุด 45,000 บาท

หากต้องการประหยัดภาษีสูงสุดโดยการลงทุนใน mutual fund ประเภทกองทุนลดหย่อนภาษี ให้ซื้อกองทุน LTF 45,000 บาท จะลดภาษีลงได้ในอัตรา 5% เท่ากับ 45,000 x 0.05 = 2,250 บาท และซื้อกองทุน RMF อีก 15,000 บาท จะลดภาษีลงได้ในอัตรา 5% เท่ากับ 15,000 x 0.05 = 750 บาท รวมประหยัดภาษีได้ 2,250 + 750 = 3,000 บาท ทำให้ภาษีเป็น 0 บาท สรุปว่า สามารถประหยัดภาษีได้เต็ม 5% ตามอัตราภาษีที่ต้องจ่าย ด้วยการลงทุนซื้อกองทุน LTF/RMF เพิ่มรวม 60,000 บาท ทั้งนี้ ส่วนลดรวมที่ได้จากการลงทุนซื้อกองทุนทั้งหมด เท่ากับ (3,000/60,000) x 100 = 5%




Credit:http:www.fundsipo.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ