Leading vs. Lagging Indicators

สำหรับเทรดเดอร์ที่เทรดมาซักระยะหนึ่งแล้ว ต่างก็น่าจะพอรู้จัก Indicators หรือเครื่องไมเครื่องมือต่างๆที่เรสามารถนำมาช่วยในการวิเคราะห์กราฟได้พอสมควรแล้ว ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการปรับใช้เครื่องเมือต่างต่างๆเหล่านั้น เพื่อให้เข้าใจถึงจุดเด่นและจุดด้อยของเครื่องมือแต่ละอย่าง และให้คุณสามารถเลือกใช้ Indicator แต่ละชนิดให้เหมาะสมกับสภาวะตลาด

Indicators แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
  • Leading indicator เป็นตัวชี้วัดที่ให้สัญญาณก่อนที่จะเกิดเทรนใหม่ หรือ ก่อนที่ราคาจะมีการกลับตัว
  • Lagging indicator เป็นตัวชี้วัดที่ให้สัญญาณหลังจากที่เทรนใหม่เกิดขึ้นแล้ว หรือหลังจากที่ราคามีการกลับตัวแล้ว เพื่อเป็นการยืนยันการกลับตัวหรือการเปลี่ยนเทรนของราคา และคุณควรรู้ว่าแนวโน้มใหม่ได้เริ่มขึ้นแล้ว
คุณอาจจะคิดว่าถ้าเป็นอย่างนั้น การใช้ Leading indicators ก็อาจทำให้คุณรวยได้ เพราะคุณสามารถได้กำไรจากการเข้าเทรดตั้งแต่ต้นเทรน ซึ่งมันก็ถูก ถ้าคุณสามารถเข้าได้ทุกครั้งที่มีสัญญาณและ Indicator นั้นให้สัญญาณที่ถูกต้องทุกครั้ง แต่ในความเป็นจริงสัญญาณมันไม่ได้เป็นอย่างนั้น แต่ถ้าคุณใช้ Leading indicator ก็จะพบว่าบ่อยครั้งที่คุณจะได้เจอกับสัญญาณหลอก (Fakeouts) ทำให้คุณเข้าใจผิดและเทรดผิดที่ผิดทางได้ เราเชื่อว่าเทรดเดอร์หลายคนเคยมีประสบการณ์แบบนี้
ส่วนตัวเลือกอื่นๆก็คือการเลือกใช้ Lagging indicators ซึ่งจะไม่ส่งสัญญาณหลอก เพราะมันจะส่งสัญญาณก็ต่อเมื่อมีกลับตัวของราคาให้เห็นว่าเริ่มมีการเปลี่ยนเทรนอย่างชัดเจน ข้อเสียของมันก็คือ คุณจะหาจังหวะเข้าออเดอร์เพื่อทำกำไรได้น้อยลงเพราะส่วนมากกำไรเยอะๆมักจะมาจากแท่งเทียน 2-3 แท่งแรกดังนั้นการใช้ Indicators ที่ให้สัญญาณช้ากว่าราคาอาจทำให้คุณพลาดโอกาสในการทำกำไรก้อนโต

ก่อนอื่นเรามาแยกประเภท Indicators ต่างๆที่เรานิยมใช้กันอย่างแพร่หลายออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. Leading indicators หรือ Oscillators
2. Lagging , trend-following หรือ momentum indicators
ในขณะที่ Indicator ทั้งสองประเภทนี้สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกัน แต่ก็บ่อยครั้งที่มันให้สัญญาณที่ขัดแย้งกัน เราไม่สามรถบอกได้ว่า Indicator ประเภทไหนที่ควรหรืออันไหนที่ไม่ควรนำมาใช้ สิ่งที่คุณควรทำคือต้องทำความเข้าใจถึงจุดด้อย หรือข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้จากการใช้ Indicator แต่ละประเภท

Leading Indicators (Oscillators)
Oscillator คือ การแกว่งตัว เป็นเครื่องมือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวที่เคลื่อนย้ายไปมาระหว่างจุดสองจุด อาจกล่าวได้ว่ามันเป็นเครื่องมือที่จะวิ่งไปตกอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่งระหว่างจุด A และ จุด B ลองนึกภาพเวลาคุณเปิดพัดลม แล้วกดที่สวิสเพื่อให้พัดลมส่ายหน้าไปมา
ทีนี้ลองมานึกถึง Indicators ซึ่งจะให้สัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งคือ เปิด หรือ ปิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Oscillator ที่ปรกติจะให้สัญญาณว่าจะต้อง บาย หรือ เซล  มีข้อยกเว้นเพียงอย่างเดียวคือกรณีที่เมื่อ Oscillator ไม่ได้อยู่ตรงช่วงท้ายสุดของรอบการซื้อหรือการขาย
Stochastic, Parabolic SAR, และ Relative Strength Index (RSI) ต่างก็เป็น Oscilltors ซึ่ง แต่ละตัวต่างถูกออกแบบมาเพื่อส่งสัญญาณถึงความเป็นไปได้ของการกลับตัวของราคา ซึ่งแนวโน้มก่อนหน้าได้วิ่งมาถึงระดับราคาที่พร้อมจะมีการเปลี่ยนทิศทาง
ลองมาดูตัวอย่างกันซักสองสามตัวอย่าง เราได้ใส่ Oscillators ทั้ง 3 อย่างไปในกราฟ GBP/USD ด้านล่าง เราจะเห็นว่าสัญญาณจากทั้ง 3 ตัวชี้วัดส่งสัญญาณบายในช่วงปลายเดือนธันวาคม และการเทรดครั้งนั้นจะได้กำไรประมาณ 400 จุด

Leading Indicators (Oscillators)


จากนั้นในช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนมกราคม Stochastic , Parabolic SAR และ RSI ต่างก็ให้สัญญาณขาย และเป็นอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาสามเดือนหลังจากนั้น ถ้าคุณได้เซลในครั้งนี้คุณก็จะได้กำไรก้อนโต  และต่อมาประมาณกาลางเดือนเมษายน Oscillators ทั้งสาม ก็ให้สัญญาณเซลอีกครั้ง หลังจากที่ราคามีการดีดขึ้นไปอย่างรวดเร็ว นี่คือตัวอย่างการให้สัญญาณที่ถูกต้องของทั้งสาม Oscillators 
ทีนี้เรามาดูการให้สัญญาณที่ผิดพลาดของกันบ้าง เพื่อให้คุณตระหนักไว้ว่าสัญญาณจาก Oscillators เหล่านี้ไม่ได้สมบูรณ์แบบเสมอไป ตามภาพกราฟตัวอย่างด้านล่าง เราจะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดสามารถให้สัญญาณที่ขัดแย้งกันได้ อย่างเช่น Parabolic SAR ให้สัญญาณเซลในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ในขณะที่ Stochastic ให้เห็นสัญญาณที่ตรงข้าม แล้วทีนี้เราจะเชื่อสัญญาณไหนดีล่ะ? และ RSI ก็ดูเหมือนจะลังเลอยู่ เพราะมันไม่ได้ให้สัญญาณบาย หรือ เซลในเวลานั้นเลย

Leading Indicators (Oscillators)

จากภาพตัวอย่างด้านบน คุณเห็นได้อย่างชัดเจนว่ามีการเกิดสัญญาณหลอกเกิดขึ้นเยอะมาก ตั้งแต่ช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนเมษายน ทั้ง Stochastic และ RSI ให้สัญญาณเซลในขณะที่ Parabolic SAR ไม่ได้ส่งสัญญาณใดๆ ราคาได้ปรับตัวขึ้นจากตรงนั้นอีกระยะหนึ่ง และคุณอาจจะขาดทุนอยู่ช่วงหนึ่งในตอนนั้นถ้าคุรตัดสินใจเซลตั้งแต่เมื่อเห็นสัญญาณ  และคุณอาจจะขาดทุนอีกครั้งในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ถ้าคุณเข้าออเดอร์ตามสัญญาณบายจาก Stochastic และ RSI โดยที่ไม่สนใจสัญญาณขายจาก Parabolic SAR

จากตัวอย่างดังกล่าวเป็นการรวมตัวเป็นเซทของ Indicators ที่ดีหรือไม่นั้น คำตอบอยู่ที่วิธีการคำณวนและวิเคราะห์ของแต่ละคน
Stochastic มีหลักการทำงานที่ขึ้นอยู่กับช่วง สูง-ต่ำของช่วงเวลา (ในกรณีนี้เป็นกราฟรายชั่วโมง) ส่วน RSI จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อจากราคาปิดหนึ่งไปยังราคาปิดต่อไป (แท่งต่อแท่ง) และ Parabolic SAR มีการคำนวณเฉพาะของตัวเองที่สามารถก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นได้
และนั่นก็เป็นธรรมชาติของ Oscillators พวกมันจะคิดว่าการเคลื่อนไหวของราคาโดยเฉพาะเจาะจงจะเป็นการกลับตัวเสมอ ซึ่งดูเหมือนว่า Oscillators ของเราจะคิดเอาแต่ได้ไปหน่อย :)
และในขณะที่เรารู้ถึงเหตุผลที่ว่าทำไม Leading indicator อาจจะให้สัญญาณที่ผิดพลาดได้ในบางครั้ง โดยที่เราไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงมันได้  และถ้าคุณได้รับสัญญาณที่ขัดแย้งกันของ Oscillators ก็จะเป็นการดีกว่าถ้าคุณอยู่เฉยๆ ดีกว่าที่จะเดาสุ่ม ถ้าราคาในกราฟไม่ได้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของคุณแล้วก็จงอย่าฝืนเทรด !!!


Lagging Indicators (Momentum Indicators)
เราจะมองแนวโน้มได้อย่างไร ?  Indicators ที่สามารถที่สามารถช่วยเราในเรื่องนี้ได้ก็คือ MACD และ Moving averages (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่) ซึ่ง ตัวชี้วัดเหล่านี้จะชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มเมื่อเกิดแนวโน้มขึ้นแล้ว แต่เราอาจจะเข้าออเดอร์ได้ช้ากว่า  แต่ข้อดีของมันก็คือ มีโอกาสน้อยมากที่จะเจอสัญญาณหลอก

 Lagging Indicators (Momentum Indicators)

จากตัวอย่าง GBP/USD ใน Daily chart ด้านบน เราได้ใส่ EMA10 (สีน้ำเงิน), EMA20 (สีแดง) และ MACD ในช่วงประมาณ วันที่ 15 ตุลาคม EMA10 ได้ตัดขึ้นเหนือ EMA20 เป็น Bullish crossover และ MACD ก็ตัดกันขึ้น และให้สัญญาณบายเช่นกัน และถ้าคุณถือโอกาสนี้เข้าบาย คุณก็จะได้กำไรมากทีเดียวในรอบนี้
และต่อมาเมื่อเส้นค่าเฉลี่ยทั้งสองและ MACD ให้สัญญาณเซลสองครั้ง ก็คือการบอกว่านี่คือเทรนขาลงที่แข็งแกร่ง และถ้าเราเซลก็จะทำให้เราได้กำไรก้อนโตจากการเทรดตามเทรน
ทีนี้เราลองมาดูตัวอย่างอื่นกันบ้าง เพื่อให้เห็นว่าสัญญาณ Crossover ในบางครั้งก็มีผิดพลาดได้เหมือนกัน  

Lagging Indicators (Momentum Indicators)

วันที่ 15 มีนาคม  MACD มีการตัดขึ้นเป็นครั้งแรก ขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยไม่ได้ให้สัญญาณอะไรเลย และถ้าคุณทำตามสัญญาณบายที่ได้จาก MACD คุณก็จะทุรนทุรายจากการที่โดนราคาลากลงมา และในทำนองเดียวกัน สัญญาณบายจาก MACD ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ไม่ได้มาพร้อมกับการตัดกันของเส้นค่าเฉลี่ย ถ้าคุณเข้าบายทันทีในตอนนั้น คุณก็อาจจะขาดทุนได้เพราะหลังจากนั้นราคาได้ปรับตัวลงมาเล็กน้อย

และสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็คือตัวอย่างของจุดเด่นและจุดด้อยของ Indicators ทั้งสองประเภท ตัวนึงจะให้สัญญาณที่เร็วมากทำให้ไม่พลาดโอกาสทำกำไรก้อนโต แต่ก็มีสัญญาณหลอกที่พบได้บ่อย ส่วนอีกตัวให้สัญญาณที่แน่นอนกว่า แต่ช้ากว่าทำให้เสียโอกาสในการทำกำไรก้อนโต 

Indicators ทั้งสองอย่างมีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกัน
แล้วตอนนี้คุณพอจะรู้หรือยังว่าคุณควรจะใช้ Indicators ประเภทไหน หรือจะใช้ทั้งสองอย่างร่วมกันดี ? ถ้าคุณสามารถบอกได้ว่าสภาวะตลาดที่คุณเทรดอยู่ตอนนี้เป็นแบบไหน คุณก็จะรู้ว่าคุณควรเลือก Indicators ประเภทไหนมาใช้ และประเภทไหนที่ไม่ควรใช้ในช่วงเวลานั้นๆ ส่วนคนที่ยังไม่รู้ว่า  Indicators ประเภทไหนเหมาะกับสภาพตลาดแบบไหนแนะนำให้ไปดูบทความเรื่องสภาพแวดล้อมในตลาด แต่ตรงนี้เราจะซิกให้สั้นๆว่า
Leading Indicator เหมาะกับตลาดที่เป็น Sideway หรือ Ranging Market
Lagging Indicator เหมาะกับตลาดที่เป็นเทรน


Credit:http://www.thaiforexschool.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ