นโยบายงบประมาณ

นโยบายงบประมาณ คือการจัดการใส่สวนของรายได้ (ภาษี) และค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในประเทศหรือรัฐ
นโยบายงบประมาณ ยังรวมถึงนโยบายภาษี ในแต่ละปีเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจจะลงคะแนนเสียงสำหรับงบประมาณตามรายได้และการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย ซึ่งสามารถนำเสนอในสามรูปแบบ
- งบประมาณสมดุล
งบประมาณขาดดุล
งบประมาณเกินดุล
ดุลงบประมาณ (รายได้ – รายจ่าย) คือการประเมินผลของนโยบายงบประมาณที่ดำเนินการระหว่างปี ความสมดุลนี้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพทางเศรษฐกิจ ระยะเวลาของการเจริญเติบโตจะมีผลในเชิงบวกต่องบประมาณสมดุล ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยจะมีผลในเชิงลบต่องบประมาณสมดุล

นโยบายงบประมาณในช่วงภาวะถดถอย
ในภาวะถดถอยงบประมาณที่ได้ในเกือบทุกกรณีจะขาดดุล ที่จริงรัฐบาลหาทางที่จะกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของประชาชนเฟื่อฟื้นฟูการเติบโตของเศรษฐกิจ ในทฤษฎีของเคย์เนเซียน (JM Keynes 1936) งบประมาณแบบนี้ดูเหมือนว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ (เพิ่มค่าใช้จ่ายให้สูงขึ้น) แต่ในบางกรณีการขาดดุลงบประมาณอาจเนื่องมาจากการที่รายได้จากภาษีลดลง (การเก็บภาษีในอัตราที่ลดลง) เราจึงต้องแยกความแตกต่างว่าเป็นงบประมาณเชิงรุกหรืออยู่ในสถานการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงความล้มเหลวของรัฐบาลเพื่อให้มีการใช้จ่าย
งบประมาณขาดดุลนำไปสู่ช่วงเวลาในการสร้างเงิน อัตราเงินเฟ้อจะแข็งแกร่งขึ้นโดยอัตโนมัติจนในที่สุดก็ต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ย เพื่อควบคุมเงินเฟ้อ โดยมีจุดมุ่งหมายคือการอัดฉีดสูงสุดสำหรับสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเพิ่มการลงทุนในภาครัฐและเอกชน (ธนาคารจะให้เครดิตได้ง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจ) ซึ่งจะสร้างงานใหม่และเพิ่มรายได้ให้ภาคครัวเรือนด้วยเช่นกัน
เนื่องจากตัวคูณเงินฝากและผลกระทบของการแบ่งเครดิตเป็นที่ยอมรับว่าช่วยเพิ่มรายได้ภาคครัวเรือนได้มากกว่าปริมาณของหนี้สินที่เกิดจากมาตรการฟื้นฟู อันที่จริง การเพิ่มขึ้นของรายได้ภาคครัวเรือนจะเพิ่มรายได้จากภาษี ดังนั้นแล้วการขาดดุลจะได้รับการคุ้มครองและแก้ไขในทางทฤษฎี
ในทางปฏิบัติไม่ได้เป็นในกรณีเสมอไป การอัดฉีดเงินสดเข้าในระบบเศรษฐกิจโดยรัฐอาจจะเบี่ยงแบนไปจากวัตถุประสงค์เดิมของพวกเขาที่จะช่วยส่งเสริมเครดิต เมื่อบริษัทและผู้ประกอบการไม่ได้รับการจัดสรรเงินกู้จากธนาคาร ธนาคารก็จะใช้เงินสดนี้เพื่อวัตถุประสงค์ของตัวเอง เช่น การซื้อขายที่เป็นกรรมสิทธิ์ เมื่อเงินไม่ได้รับการจัดสรร การสร้างงานก็จะไม่เพียงพอที่จะเพิ่มรายได้ในภาคครัวเรือน ก็ไม่สามารถแก้ไขการเพิ่มขึ้นของการขาดดุล ซึ่งอาจส่งผลร้ายแรงตามมา

นโยบายงบประมาณในช่วงระยะเวลาการเติบโต
ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีการเติบโต วินัยทางงบประมาณในทางทฤษฎีจะทำเพื่อลดการขาดดุล อันที่จริงแล้วในช่วงเวลาแบบนี้จะมีรายรับเพิ่มขึ้นและรายจ่ายจะลดลงเพราะเศรษฐกิจอยู่ในการหมุนเวียนที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ต้องระวังไม่ให้ไปทำลายการเติบโตด้วยการลดค่าใช้จ่าย เพราะถ้าการลงทุนนำไปสู่การเพิ่มการจ้างงาน การลดสัดส่วนที่ตรงกันข้ามจะเหนี่ยวนำให้เกิดการลดการจ้างงาน ระยะเวลาของการขยายตัวนั้นไม่จำเป็นว่าจะต้องง่ายที่สุดสำหรับรัฐที่จะจัดการ เพราะเราต้องเลือกตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับรายได้ในส่วนที่เกินมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ดี ทางรัฐอาจจะ
- จ่ายคืนส่วนหนึ่งของหนี้สาธารณะ
- พัฒนาโครงการทางสังคม
- มีส่วนร่วมในนโยบายการลงทุนของประชาชน
- ลดภาระภาษี
- ใช้ส่วนเกินในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน
ซึ่งทางเลือกเหล่านี้มีผลกระทบที่แตกต่างกันมากทั้งในทันทีและระยะยาว
ผลที่ตามมาทันที
- จ่ายคืนส่วนหนึ่งของหนี้สาธารณะ (ลดอัตราดอกเบี้ยในระยะยาว, ลดการแข่งขันในภาครัฐ และเอกชนในการวิจัยเงินทุน , ลดน้ำหนักภาระหนี้)
- การพัฒนาโครงการทางสังคม (ไม่มี)
- นโยบายการลงทุนสาธารณะ (การสร้างงาน)
- ลดภาระภาษี (การบริโภคที่เพิ่มขึ้น)
- ใช้ส่วนเกินในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด (เป็นกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาหลังจาก 2001/09/11 รัฐบาลได้สร้างความประทับใจโดยการยกเว้นภาษี และให้ส่วนลดในเกณฑ์ต่างๆ  อาจตัดสินใจเพื่อครอบคลุมความเสียหายโดยตรง (40ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับสายการบิน และ บริษัทประกันภัยและการต่อประกันภัย) และกระตุ้นการบริโภค ( 100 ล้านล้านดอลลาร์ ในการยกเว้นภาษีสำหรับครัวเรือน)

ผลกระทบในระยะยาว
- จ่ายกลับส่วนหนึ่งของหนี้สาธารณะ (ลดภาษี ส่งผลให้รายได้หลังการหักภาษีสูงขึ้น ซึ่งจะมีการแยกระหว่างการบริโภคและการออมทรัพย์)
- การพัฒนาโครงการทางสังคม (สวัสดิการในภาครัฐเพิ่มมากขึ้น และ ภาคครัวเรือนมีรายได้หลังการหักภาษีมากขึ้น)
- ลดภาระภาษี (ผลที่ตามมาขึ้นอยู่กับลักษณะของการลดลงของการเก็บภาษี ถ้าเป็นการลดภาษีทางตรง (สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา) ในระยะยาวเมื่อการบริโภคเติบโตก็จะเพิ่มรายได้จากภาษีได้ในทางอ้อม ส่วนในกรณีของการปรับลดลดฐานภาษีจะไม่มีผลกระทบในระยะยาว
- ใช้ส่วนเกินในสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน (ผลกระทบในระยะยาวจะขึ้นอยู่กับสองกรณี ทั้งกับความรุนแรงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และทางเลือกของนโยบายที่ทำเพื่อแก้ไขสถานการณ์นั้น)
อย่างไรก็ตาม หากไม่คำนึงถึงทางเลือกของนโยบายการเงิน  ดุลงบประมาณที่สูงจะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจ และด้วยเหตุนี้ทำให้บางครั้งนโยบายงบประมาณมีผลกระทบในทางตรงกันข้ามเมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ในการแก้ไขปัญหาโดยรัฐ


Credit:thaiforexschool

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ