การประชุม G20

G20
G20 ถูกก่อตั้งขึ้นนอกเหนือจาก G7 เมื่อ 25 กันยายน 1999 ในกรุงวอชิงตันในประชุมของรัฐมนตรีคลังของกลุ่มหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากวิกฤตทางการเงินในปี 1990 วัตถุประสงค์ของกลุ่มใหม่นี้ก็เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางการเงินระหว่างประเทศและสร้างโอกาสให้กับการเจรจาระหว่างประเทศอุตสาหกรรมและประเทศเกิดใหม่ เช่น ประเทศที่ไม่ได้รับอนุญาตในการประชุมของรัฐมนตรีคลังจากกลุ่มประเทศ G8 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเจรจาระหว่างประเทศ ผสมผสานหลักการของการเจรจาโดยคำนึงถึงน้ำหนักทางเศรษฐกิจในวงกว้างจากตัวเลขการเติบโตของประเทศ  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตทั่วโลก G20 จึงยังเป็นที่ประชุมเพื่ออภิปรายเกี่ยวกับงบประมาณ การเจริญเติบโตทางการเงิน การค้า และ พลังงาน
การพัฒนาของกลุ่มนี้ คิดเป็น 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ทั่วโลก 80% ได้จากการค้าระหว่างประเทศ (รวมถึงการค้าภายใน EU) และสองในสามของประชากรโลกให้น้ำหนักทางการเมืองและความถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญ

G20

 20 ประเทศสมาชิกของ G-20 ซึ่งรวมถึงรัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของ 19 ประเทศ ในปี 2009
 อาเจนตินา: ประธานาธิบดี คริสติน่า ฟรอนาดอส ดิ เครอสเนอร์
 ออสเตรเลีย: นายกรัฐมนตรี เควิน รุดด์
 บราซิล : ประธานาธิบดี ลูอิส ลอนเซีย ลูล่า ดา ซิลว่า
 แคนาดา : นายกรัฐมนตรี สตีเฟ่น ฮาเปอร์
 จีน : ประธานาธิบดี ฮู จินโถว
 ฝรั่งเศส : ประธานาธิบดี นิโคลัส ซาโคซี่
 เยอรมนี : เสนาบดี แองเจลล่า เมอเคล
 อินเดีย : นายกรัฐมนตรี มานโมฮาน ซิง
 อินโดนีเซีย : ประธานาธิบดี ซูวิโล แบมเบง ยุดโฮโยโน่
 อิตาลี : นายกรัฐมนตรี ซิลวาโน่ เบอลุสดคนี่
 ญี่ปุ่น : นายกรัฐมนตรี โตโต อะโซะ
 แม็กซิโก : ประธานาธิบดี เฟลิเป้ คอลเดอลอน
 รัสเซีย : ประธานาธิบดี ดีมิททรี มิดวานอฟ
ซาอุดิอาราเบีย : กษัตริย์ อับดุลลาร์
 แอฟริกาใต้ : ประธานาธิบดี จาคอบ ซูมา
 เกาหลีใต้ : ประธานาธิบดี ลี มุง แบ็ค
ตุรกี :  นายกรัฐมนตรี รีเซพ เทยิบ เออร์ดดกัน
สหรัฐอเมริกา : ประธานาธิบดี โอบาม่า

ใน G 20 จะมีสมาชิก G8 และ 11 ประเทศสมาชิกซึ่งเป็นประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ส่วนสหภาพยุโรปจะเป็นตัวแทนจากประธานสภาและคนหนึ่งจากธนาคารกลางยุโรป รวมกันกลายเป็น G 20 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ก็รวมอยู่ด้วยเช่นกัน

G20 – บทบาทที่เพิ่มขึ้นกับวิกฤต
เริ่มแรก การประชุมของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและธนาคารกลางจัดขึ้นเฉพาะทุกปี บทบาทของ G20 ก็มีมากขึ้นเมื่อปีก่อนที่เกิดวิกฤตทางการเงิน มีการประชุมสุดยอดครั้งแรกของผู้นำประเทศได้จัดขึ้นเมื่อ 15 พฤศจิกายนในกรุงวอชิงตันตามคำเชิญของอดีตประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่เหล่าผู้นำของประเทศและรัฐบาลได้พบกัน โดยไม่ได้มีเพียงแต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
การประชุมสุดยอด G20 ได้ประณามสิ่งล่อใจในการปกป้องและแนะนำไว้ในแถลงการณ์ในครั้งสุดท้ายของมาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศที่มีผลอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังได้เน้นความสำคัญของการสนับสนุนนโยบายการเงินที่สามารถทำให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมกับแต่ละประเทศ
การประชุมสุดยอดครั้งใหม่ได้มีขึ้นไม่กี่เดือนหลังจาก 2 เมษายน 2009 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่ม G 20 ในช่วงวิกฤต G20 มองหาวิธีที่จะแบ่งปันและแนะนำกฎใหม่ไปพร้อมกัน โลกจะสามารถเอาชนะวิกฤตครั้งนี้ และวิกฤตินี้จะไม่เกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่สอง การกระทำที่เป็นรูปธรรมอย่างจริงจังได้ถูกนำมาใช้หลังจากที่มีประชุมสุดยอดนี้

การประชุมสุดยอดที่ลอนดอน กับ จุดเปลี่ยนที่สำคัญ
มาตรการหลักที่ถูกนำมาใช้หลังจากการประชุมสุดยอด คือ
1. เพิ่มเงินอีก 1,000 พันล้านดอลลาร์ สำหรับกองทุนการเงินระหว่างประเทศและธนาคารโลก
G20 ให้คำมั่นสัญญาว่าจะเพิ่ม 1,000 พันล้าน เพื่อเป็นทรัพยากรสำหรับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และ ธนาคารโลก (World Bank) ตามแถลงการณ์สุดท้ายที่ผู้นำของทั้งสองสถาบันจะได้รับอย่างเหมาะสม
ในทางปฏิบัติกองทุนการเงินระหว่างประเทศจะได้รับเงินทุนเป็นสามเท่าของความสามารถ ด้วยเงิน 500 พันล้านดอลลาร์   นายกอร์ดอน บราวน์ ได้กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวว่า เงินเหล่านี้จะประกอบด้วยเงินใหม่และสิทธิพิเศษในการถอนเงิน (SDRs) ของ IMF
กองทุนยังสามารถที่จะขายทองคำ เพื่อเป็นเงินทุนช่วยเหลือแก่ประเทศที่ยากจนที่สุด และ 250 พันล้านดอลลาร์ในการจัดสรรเพื่อช่วยเหลือทางการเงินในด้านการค้าซึ่งจะช่วยรื้อฟื้นการค้าโลก
ทั้งหมดนี้จะส่งเสริมพลังของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ไม่ว่าอย่างไรก็ตามมักจะมีการวิพากษ์วิจารณ์จากผู้เชี่ยวชาญ ที่มักกล่าวว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศคือ หนี้ที่ค้างชำระ และวิกฤติการจะเกิดขึ้นตามมาทีหลัง นี่คือส่วนหนึ่งจากความสำคัญทางการเมือง กองทุนการเงินระหว่างประเทศมักจะเป็นแง่มุมที่ดีมากในการช่วยไม่ให้ตลาดตื่นตระหนกทางการเงิน

2 .บัญชีดำของการหลีกเลี่ยงภาษี
รายการการหลีกเลี่ยงภาษีได้รับการตีพิมพ์โดย OECD เพื่อกีดกันการหลีกเลี่ยงภาษี OECD ได้เผยแพร่รายการหลีกเลี่ยงภาษี 2 รายการ บัญชีดำกับ คอสตาริกา, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, และ อุรุกวัย รายการนี้รวมถึงประเทศที่ไม่เคยมีความมุ่งมั่นกับมาตรฐานสากล รายการที่สองรวมทั้ง 38 ประเทศรวมทั้ง โมนาโก, ลิกเตนสไตน์, วิตเซอร์แลนด์, ลักเซมเบิร์ก และเบลเยียม ระบุถึวสหรัฐฯว่า ได้ให้คำมั่นสัญญาที่จะปฏิบัติตามกฎของ OECD แต่ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง OECD ยังมีการเผยแพร่รายชื่อของประเทศที่มีนัยยะสำคัญด้านกฎสากลระหว่างประเทศ รวมทั้งฝรั่งเศส, รัสเซีย, สหรัฐอเมริกาและจีน ด้วย
“ความลับของธนาคารได้หมดไปแล้ว” เป็นการกล่าวแสดงความยินดีของ นิโคลัส ซาโกซี้ ระหว่างการแถลงข่าวของเขาหลังจากการประชุมสุดยอด หลักการของบัญชีดำของประเทศที่มีผลกระทบต่อภาษีที่ไม่ให้ความร่วมมือ ได้รับการรับรองโดย G20, OECD จะต้องเผยแพร่รายการของประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบทั่วโลกสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลภาษีในชั่วโมงต่อ
รายการของบทลงโทษจะมีให้สำหรับประเทศที่ไม่ให้การร่วมมือ นิโคลัส ซาโคซี่ กล่าวว่า “ในการประกาศ พวกเขาอยู่ระหว่างภาระการจัดการที่เพิ่มขึ้น เพื่อยับยั้งองค์กรระหว่างประเทศในการวางเงินในประเทศนั้นๆ และช่วงของการลงโทษจะต้องกำหนดโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง แม้ว่าจำนวนจะถูกจัดให้อยู่ในงบ”

3 . กฎใหม่ในการกำกับดูแลตลาดการเงิน
นอกจากนี้ประเทศในกลุ่ม G20 ได้ตกลงที่จะดำเนินการตาม "กฎใหม่” เกี่ยวกับค่าจ้างและโบนัสทั่วโลก ได้ประกาศโดยนายกรัฐมนตรีอังกฤษหลังจากที่ประชุมสุดยอด
ผู้นำได้ยอมรับหลักการและบทลงโทษที่มีการวางแผนในการบังคับใช้ นิโคลัส ซาโคซี่ กล่าวว่า “ผู้ที่มีนโยบายความเสี่ยง โดยการแบกค่าใช้จ่ายในแง่ของความต้องการเงินทุน เพื่อให้ชัดเจน ผู้ควบคุมดูแลอาจจะต้องใช้ธนาคารที่ไม่ได้มีนโยบายที่เหมาะสมที่จะจ่ายเงินผู้ค้า ภาระผูกพันในแง่ของการเพิ่มทุนของพวกเขาที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน”
กองทุนป้องกันความเสี่ยงและกองทุนยังจะได้รับคำปรึกษาจากผู้ควบคุมดูแล กิจกรรมของธนาคารยังจะถูกตรวจสอบ รวมถึงกิจกรรมแปลงทรัพย์สินเป็นสินทรัพย์ใดๆ และรายการนอกงบดุลควรจะโปร่งใสมากขึ้น และควรจะมีการตั้งองค์กรใหม่ของเงินทุนทั่วโลก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤตใดๆ

ข้อสรุป
ผู้นำระดับโลกที่สำคัญจะมีการประชุมกันอีกใน 6 เดือน หลังจากการประชุมสามัญครั้งถัดไปของสหประชาชาติในนิวยอร์ก ในเดือนกันยายน 2009 รายละเอียดจาก นิโคลัส ซาโคซี่ คือ “การประชุมสุดยอดครั้งแรกของ G20 ที่วอชิงตัน คือ เรื่องของหลักการ การประชุมสุดยอด G20 ครั้งที่สอง คือเรื่องของการดำเนินงาน, การประชุมสุดยอด G20 ครั้งที่สาม คือเรื่องของการประเมิน”




ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ