การลด QE มีผลต่อเศรษฐกิจโลกอย่างไร?

มาตรการ QE3 และ QE4 ในวงเงินรวมกัน $85,000 million ต่อเดือน

ปฏิเสธไม่ได้เลย ปัจจัยหลักๆที่ทำให้ตลาดหุ้นเกิดใหม่ทั่วโลกผันผวนในช่วที่ผ่านมา มันก็เป็นเพราะเรื่องการคาดการณ์ QE นี่ล่ะครับ

ลองย้อนกลับไปดูกัน นับตั้งแต่สัปดาห์สุดท้ายของเดือน พ.ค. จนถึงเมื่อวานนี้ ตลาดไหนลงแรงที่สุดในโลก 10 อันดับแรก จะเห็นว่า มีเพียง Nikkei ของญี่ปุ่นเท่านั้น ที่ติดกลุ่ม ทั้งๆที่อยู่ใน Developed market ส่วนนอกนั้น ตระกูล Emerging Market (ตลาดเกิดใหม่) ทั้งหมดเลย





คราวนี้ ถ้ากลับมาถามว่า QE การมี หรือ ไม่มี มันกระทบกับสินทรัพย์ใดบ้าง ทุกคนก็คงรู้กันว่า มันกระทบกับ ทั้งตราสารหนี้ และหุ้น ทั่วโลก แต่ที่สำคัญ และกระทบโดยตรง การเกิดขึ้นของ QE ตั้งแต่ครั้งแรกนั้น กระทบกับค่าเงิน US Dollar โดยตรง



จากรูปด้านบน จะเห็นว่า ทุกครั้งที่ Fed ส่งสัญญาณจะออกมาตรการ QE มากระตุ้น จะฉุดให้ Dollar Index ร่วงลงมา (อ่อนค่า) ในทุกครั้ง แต่ระดับของการอ่อนค่า ก็ขึ้นอยู่กับมุมมองของนักลงทุนในตลาด ณ ตอนนั้น ที่มองว่า QE แต่ละครั้งมีประสิทธิภาพขนาดไหน และเมื่อดูเข้าไปที่การเคลื่อนไหวของ Dollar Index หลังการทำ QE จะเห้นได้เลยว่า เงินค่า USD อ่อนค่าในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับ QE1 และ QE2 ซึ่งนักวิเคราะห์ในตอนนั้นก็บอกว่า มันดื้อยาไปแล้ว แต่เฮียเบอร์นันเก้ก็ยืนยันว่าได้ผลนะ

มาวันนี้ เริ่มมีการพูดถึงการยกเลิก QE3 และ 4 เมื่อคาดว่าจะไม่มีเงินอัดเข้ามาในระบบในระยะสั้น ค่าเงิน USD ก็แข็งค่า และตามมาด้วยการเทขายสินทรัพย์ต่างๆอย่างที่เราเห็นๆกัน

แล้วเศรษฐกิจอเมริกามันดีขึ้นจริงหรอ??
ไปดูรูปข้อมูลเศรษฐกิจอเมริกากัน ที่ดีก็คือ ตัวเลขการจ้างงาน ส่วนภาคการผลิตยังทรงๆ ในขณะที่ GDP Growth ดูเหมือนจะไม่เป็นปัญหา โตได้อ่อนๆอย่างที่ Fed ต้องการ และนั้นจึงเป็นที่มา ที่ทำให้เฮียเบน กล้าพูดออกสื่อให้นักข่าวและนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า QE มันต้องถอนนน!!



แล้วเขาจะถอนไหม??
ก็นั่นหล่ะครับ ที่ตลาดกังวล และเดากันไปต่างๆนานาๆ เอาเป็นว่า เราไปดูผลกระทบกันดีกว่า ว่า ที่เขาคาดกันว่าจะถอน แล้วมันมีผลยังไงบ้าง นอกจากกับ USD

1. ตลาดพันธบัตร
จาก Research ของ MBKET 

จะเห็นว่า Bond Yield เด้งขึ้นกันหมด ทั้งไทย อเมริกา และญี่ปุ่น รวมถึงประเทศอื่นๆ เป็นเพราะตลาดคาดกันว่า ถ้าไม่มี QE ก็แปลว่า Demand มาซื้อพันธบัตรก็จะลดลง เลยเป็นที่มาให้กองทุน Bond Fund อย่าง Templeton World Bond หรือ Aberdeen Emergning Opportunities Bond หรือ PIMCO Emerging Local ร่วงไปก่อนหน้าในช่วงเดือน พ.ค. และ

2. ตลาดหุ้น
รูปแรกข้างบนบอกไปแล้วนะครับว่าลงกันแรง คราวนี้ คำถามคือ ทำไมตลาดพวกนี้ถึงลงแรงกว่าที่อื่น และทำไมไทย ฟิลิปปินส์ถึงลงแรงกว่าตลาดอื่นในเอเชีย อันนี้เป็นเรื่องการใช้ Valuation ที่เปลี่ยนไป



ต้องยอมรับก่อนนะครับว่า QE เป็นหนึ่งในตัวกระตุ้นให้ต่างชาติเร่งขนเงินมาลงทุนในต่างประเทศ และด้วยสภาพคล่องที่เยอะเนี่ย มันก็ดันให้ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมา วิ่งเร็วกว่า Valuation ที่เป็นจริง ยิ่งภาพอะไรที่เคยวาดไว้สวยๆ มันดูจะไม่มาเร็วอย่างที่คิด มันก็ทำให้ตลาดหุ้นบางตลาด เทรดที่ PE แพงกว่าคนอื่น รวมทั้งหุ้นไทย ซึ่งขึ้นไปเทรดที่ PE S.D. +2 ทีเดียว ดังนั้นต่างชาติรอบนี้จึงเทขายหุ้นไทยลงมาเพื่อลดความเสี่ยงไปก่อน

3. ทอง
ดูจะเป็นสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวกับการเทขายของต่างชาติในรอบนี้ แต่นึกดูดีๆ ปัจจัยที่ทำให้เกิดแรงเทขายทองในช่วงเดือน เม.ย. จริงๆ มันก็เรื่อง QE นี่หล่ะครับ เพราะที่ทองขึ้นมาตั้งแต่ Subprime Crisis นั้น Theme หลักๆก็คือ เงินอัดฉีดที่ทำให้ USD อ่อน
... ก็ในเมื่อ QE อาจจะถูกถอน และเศรษฐกิจอเมริกามันอาจจะฟื้นจริงๆ แล้วจะไปอยู่ในทองกันทำไม นักลงทุนส่วนใหญ่ในตลาดเขาก็คิดแบบนี้



หลายคน พอเห็นการเคลื่อนไหวของ Fund Flow ที่รุนแรงแบบนี้ ก็อาจพาลคิดไปว่า ขนาดแค่คาดการณ์ว่าจะยกเลิก QE ยังผันผวนขนาดนี้ แล้วยกเลิกจริงๆ มันไม่เป็น Crisis ของโลกเลยหรอ??

เท่าที่ผมเห็นมา Crisis มักจะเกิดจากไม่ภาคอสังหาฯ ก็ระบบการเงิน นะครับ ไม่เคยเห็นว่าจะเกิดจากแบงก์ชาติถอน QE
ผมมองในมุมนี้ การที่เฮียเบน พูดออกมาตอนเดือน พ.ค. ว่ามีโอกาสลดปริมาณวงเงิน QE ก็เพื่อหยั่งให้ตลาดรับรู้ และลองเชิงดูก่อน ถ้ารู้ว่า ถอด QE แล้วตลาดพัง เขาคงไม่ทำ แต่การทำให้ตลาดรับรู้ไปเรื่อยๆ ความตกใจของตลาดน่าจะลดลง

ประเด็นคือ แล้วมันจะเขย่าแบบนี้อีกนานไหม ชาวหุ้นหวั่นไหว งั้นไปดูภาพนี้ 


ทุกๆปี มันจะมีช่วง Grand Sale นะครับ ปีนี้อาจจะหนักกว่าปี 2011 ที่มีเรื่อง Debt Ceiling แต่หากตั้งสติกันดีๆ ครั้งนี้ก็เหมือนครั้งนั้นตรงที่ "มันไม่ได้กระทบอะไรกับปัจจัยพื้นฐานบ้านเราเลย มันเป็นเรื่องฝรั่งทำกำไร ก็เท่านั้น" แต่ประเด็นคือ เราไม่รู้ว่า เขาจะขายเท่าไหร่ และทำไมต้องรีบขายเยอะขนาดนี้มากกว่า

แล้วไม่คิดว่า จะขายไปแล้วไปเลยหรอ??
ผมไม่คิดว่าจะไปเลย และถึงไปเลย มันก็ยังมีฝรั่งกลุ่มที่ชอบหุ้นไทยอยู่ในโลกอีกเยอะครับ ดูรูปด้านล่าง


จะเห็นว่า เงินที่ไหลกลับอเมริกา ไม่ได้เข้าไปลงทุนในพันธบัตรระยะยาว เพราะ Bond Yield ปรับตัวสูงขึ้นทุกช่วงอายุ แต่เป็นการเข้าไปอยู่ในตราสารหนี้ระยะสั้น ส่วนเงินที่ออกจากกองทุนในเอเชีย ก็ออกมาอยู่ในรูปของเงินสด

เห็นแบบนี้ก็เดาไปก่อนครับว่า เขาขายออกมาก่อนเพื่อลดความเสี่ยง แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปลงทุนอะไร เลยถือเป็นพวกเงินสด หรือใกล้เคียงเงินสดไว้ เมื่อไหร่เขาสบายใจ มั่นใจ เด๋วก็น่าจะกลับมา

แล้วจะกลับมาเมื่อไหร่??
อันนี้ล่ะปัญหา เพราะว่า
1. ความไม่ชัดเจนต่อประเด็นการถอน QE ยังคงมีอยู่ 
2. เขาอาจจะไม่ได้ Bullish ในหุ้นไทยเหมือนเก่าแล้ว 
3. ถ้ามีตลาดหุ้นที่อื่นที่ดูดีกว่าไทย เงินก็อาจจะไหลไปอยู่ตรงนั้นแทน

แต่เราคนไทย เราต้องมั่นใจในศักยภาพครับ !! (ฮึกเหิมม๊ะ)

สรุปคือ ตลาดทุนและตลาดเงินทั่วโลกยังจะเป็นการต่อสู้กันระหว่าง ฝ่ายที่คาดว่า QE จะยกเลิกปีนี้ กับฝ่ายที่คิดว่า QE จะไปยกเลิกปีหน้า เถียงกันไปเถียงกันมา จนกว่า Fed จะประกาศอย่างเป็นทางการ

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ