หนี้ยุโรป

ทุกสิ่งที่คุณอยากรู้เกี่ยวกับวิกฤตหนี้ยูโร แต่มันก็เป้นเพียงเรื่องซับซ้อนที่น่ารำคาญ!!!!



อยากดูภาพให้ชัดกว่านี้ คลิ๊ก ดูแล้วเอาไปอ่านและแปลเองเลยนะคัฟ

นิวยอร์กไทม์สได้แสดงแผนภูมินี้ เพื่อจะช่วยให้นักเศรษฐศาสตร์คนทั่วไปได้ให้เข้าใจทั้งหมดของกระแสศักยภาพของวิกฤตหนี้ยูโร

สิ่งที่หายไปคือความเสี่ยงของระบบธนาคารสหรัฐวิกฤตในรูปแบบของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เป็นเจ้าของที่แท้จริงของหนี้สาธารณะโดยสถาบันการศึกษาสหรัฐอเมริกาคือ "ค่อนข้าง"

หลายคนสงสัย ปัญหาหนี้ยุโรปจะอยู่กับเราอีกนานไหม จะกระทบกับไทยเราแค่ไหน
ความเห็นส่วนตัวผมเอง ก็บอกเลยว่า ทางออกที่เป็นไปได้มีสองทางคือ 1. เจ็บยาว 2. เจ็บแรง ขึ้นอยู่กับว่า จะเลือกเจ็บแบบไหน แต่ครั้นจะหาทางออกที่ทำให้ทุกคนไม่เจ็บ มาถึงตรงนี้ ผมว่าสายไปเสียแล้ว
มีภาพๆหนึ่งให้ดูครับ ถือเป็นภาพที่ดูยากหน่อย แต่หากลองเข้าไปพิจารณาแต่ละประเด็น มันได้อธิบายไว้หมดแล้วว่า ปัญหาหนี้ของยุโรปคราวนี้ ผลกระทบของมัน อาจรุนแรงกว่าวิกฤตเมื่อปี 2007 หลายเท่านัก แถมช่วงเวลาก็ห่างจากวิกฤตเดิมไม่นาน เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นกันดี เมื่อภาคเอกชนยังอ่อนแอ ภาครัฐก็เหลือเครื่องมือช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไม่มาก แบบนี้แล้ว ในระยะยาว เหนื่อยกันแน่นอน
จากรูป (แนะนำให้กดคลิ๊กดูภาพขยายครับ) คุณจะทราบทันทีว่า แต่ละประเทศก็เป็นเจ้าหนี้กันและลูกหนี้กันคร่อมกันไปมา และไม่ใช่แค่ในยูโรโซนเท่านั้น จะเห็นว่า สหรัฐอเมริกา กับ ญี่ปุ่น ก็มีเอี่ยวในมหกรรมครั้งนี้ ยังไม่รวมถึงตัวเลขการถือครองตราสารหนี้ในยุโรปของจีน ซึ่งจากข้อมูลยังระบุไม่ได้แน่ชัดว่าเป็นตัวเลขเท่าไหร่ แต่รับรองว่าไม่น้อยครับ
ถ้าเอาเฉพาะตอนกรีซขอรับเงินช่วยเหลือ ตอนนั้นจะเห็นว่า ตลาดหุ้นอเมริกาอาจกังวลบ้าง แต่พอตัวเลขเศรษฐกิจและประกาศงบบริษัทของอเมริกาออกมายังดี ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ผลกระทบจากรีซนั้น อเมริกาไม่ได้แคร์มากมาย ซึ่งในภาพนี้ ก็ย้ำให้ชัดขึ้นไปอีกว่า เป็นเพราะ เศรษฐกิจของกรีซนั้นเล็ก และอเมริกามีส่วนได้ส่วนเสียกับกรีซน้อยมากๆ แต่ลองดูสเปนกับอเมริกานะครับ ผลกระทบเยอะกว่ากรีซแน่นอน หากสเปนเป็นอะไรไป เพราะอเมริกาก็เป็นเจ้าหนี้ของสเปนโดยตรง (ยังไม่นับพวกสถาบันการเงินที่ไปลงทุนในนั้นอีก)
มาดูที่จีน ภาพนี้ อาจไม่บอกหมดว่ามันจะลามมาที่จีนยังไง แต่หากดูตัวเลขส่งออกของจีน จะพบว่า ตลาดส่งออกที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของเขาก็คือ กลุ่มยูโรโซน รองลงมาก็คือ อเมริกา
ดังนั้น การหดตัวใน GDP ของกลุ่ม PIIGS ย่อมหมายถึง การส่งออกที่ต้องชะลอตัวแน่นอน และยิ่งกรีซออกมายอมรับว่า เหมือนตัวเองจะเข้า Great Depression และสเปนก็ค่อนข้างชัวร์ว่า GDP จะติดลบในปีนี้ อิตาลี ก็ไม่น่าจะรอด ไอ้แบบนี้ จะหวังให้หุ้นจีนวิ่งแรงๆใน 1-2 ปีข้างหน้า คงต้องพักไว้ก่อนละครับ
คำถามสุดท้าย จะกระทบกับไทยไหม?
คำตอบคือ ตลาดส่งออกหลักของเราก็คือจีน ถ้าจีนชะลอตัว ภาคการส่งออกของเราก็ต้องชะลอตัวด้วย รวมทั้งสัดส่วนการส่งออกไปที่ยุโรปก็เช่นเดียวกัน
นั้นเป็นสาเหตุที่เราเห็นนโยบายของรัฐบาลชุดนี้ พยายามกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศ ผ่านมาตรการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ตรึงราคาสินค้า อนุมัติโครงการ Mega Project ก็เพื่อให้ GDP โดยรวม ไม่ทรุดลงเพราะภาคการส่งออกมากเกินไป
ที่เขียนมาทั้งหมดนี่ ตลาดรับรู้ไปหมดแล้วนะครับ แต่ความกังวลยังไม่หมดไป เพราะข่าวร้ายใหม่ๆ ก็มีมาให้อ่านอยู่ทุกวัน เมื่อตลาดเป็นแบบนี้ กลยุทธ์การลงทุนของเรา ก็คงต้องกระจายความเสี่ยงไว้ เลือกลงทุนในหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดีๆไว้ จะถือสะเปะสะปะไปเรื่อยๆเหมือน 2-3 ปีที่ผ่านมาไม่ได้แล้วนะครับ ตลาดมันเปลี่ยนไปแล้ว และท่าทางจะเปลี่ยนไปตลอดเลย :)
Credit http://www.iammrmessenger.com

ความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ