การวิเคราะห์ข่าว



ความหมายต่างๆในปฏิทินข่าวของ Forexfactory

"ข่าว" เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อราคาในตลาดเป็นอย่างมาก ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ซึ่งเราต่างเคยเห็นราคาที่วิ่งรุนแรงเนื่องจากเกิด panic buy หรือ panic sell ในช่วงที่มีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆออกมา บางครั้งราคาก็แค่กระชากไปแล้วกลับมาบริเวณเดิม หรือบางครั้งก็มีผลให้ราคาเปลี่ยนแนวโน้มไปเลยก็มี และเว็บข่าวแห่งหนึ่งที่ได้รับความนิยมสำหรับการใช้ดูปฏิทินข่าวก็คือ forexfactory.com

แต่เทรดเดอร์หลายๆคนโดยเฉพาะเทรดเดอร์ ใหม่ๆจะยังไม่รู้ว่าต้องดูข่าวอย่างไร❓ ความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆคืออะไร❓ อันที่จริงแล้วการดูข่าวและความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆนั้นไม่ยากเลย เรามาเริ่มกันเลยครับ









ลองดูทางมุมซ้ายด้านบน จะเห็นช่อง Today : เดือน,วันที่ 👇




จะเป็นวันที่ตามปฏิทิน และเราสามารถเลือกได้ถ้าเราอยากจะไปดูข่าวในช่วงไหน อันนี้ไม่ยากขอข้ามไปส่วนต่อไปเลยละกันนะ 


ที่นี้ลอง เลื่อนลงมาหน่อยใต้ป้ายโฆษณาดูทางขอบด้านซ้าย จะเห็น คำอธิบายความหมายต่างๆของคำศัพท์ คำย่อ และสัญลักษณ์ต่างๆ (Legend) ตามภาพด้านล่าง



ที่นี้มาไล่จากบนลงไปล่างเลยนะ 





 สี แดง หมายถึงข่าวที่มีความสำคัญมากและจะมีผลกระทบต่อตลาดอย่างมาก อย่างเช่นข่าว NFP ,ประกาศอัตราดอกเบี้ยและแถลงการณ์ต่างๆเกี่ยวกับนโยบายการเงินของประเทศ ต่างๆ เป็นต้น






สีส้ม หมายถึงข่าวที่มีความสำคัญเช่นกัน แต่น้อยกว่าข้อแรกและส่งผลกระทบต่อตลาดมากเช่นกันแต่ก็ยังน้อยกว่าในข้อแรก






 สี เหลือง หมายถึงข่าวที่มีความสำคัญน้อยลงมาอีกระดับหนึ่ง บางครั้งแทบไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเลย โดยเฉพาะถ้ามีประกาศออกมาในเวลาไล่เลี่ยกับข่าวที่เป็นสีแดงและสีส้ม แต่ถ้าวันไหนไม่มีข่าวสำคัญเลย ข่าวสีเหลืองหรือ Low Impact นี้ก็พอทำให้กราฟวิ่งได้อยู่





 สี เทา คือ Non-Impact หรือ ไม่มีความเคลื่อนไหว มักเป็นสัญลักษณ์เมื่อธนาคารของประเทศใดๆปิดทำการ คือ ตลาดของประเทศนี้นั้นปิดทำการไม่มีการซื้อขาย






สัญลักษณ์นี้ จะเจอในช่วงมีการประกาศข่าว คือ ข้อมูลกำลังส่งมา รอซัก 1-3 นาทีโดยประมาณ กดรีเฟรชอีกทีจะเห็นข้อมูลที่อัพเดท







เครื่อง หมายที่หน้าตาเหมือนแฟ้มงานนี้เราจะไปเห็นในช่อง Detail ซึ่งจะแสดงถึงข้อมูลล่าสุดที่ผ่านๆมา เราสามารถเข้าไปดูข้อมูลย้อนหลังของข่าวต่างๆได้ที่นี่





ส่วน ภาพนี้ เราก็จะเห็นได้ในช่องของ Detail เช่นกัน จะแสดงให้เรารู้ว่า ข้อมูลนี้มีหมายเหตุอะไรอยู่บ้าง ถ้าเราอยากรู้ก็คลิ๊กเข้าไปดูได้

ทีนี้มาต่อกันในอีกส่วนหนึ่งนะ













อันนี้ส่วนมากเรารู้กันอยู่แล้ว ถ้าตัวเลขออกมาเป็น สีเขียว คือ ตัวเลขปัจจุบันออกมาดีกว่าคาดการณ์ (Forecast) 

ส่วนสีแดงก็ตรงกันข้ามค่ะ คือตัวเลขออกมาห่วยกว่าคาดการณ์ ตัวเลขนี้จะแสดงผลในช่อง Actual (ปัจจุบัน )

แต่ในส่วนนี้ บางครั้งเทรดเดอร์จะงงในบางครั้ง เห็นตัวเลขออกมาเขียวแต่ทำไมค่าเงินสกุลนั้นกลับอ่อนค่าลง หรือ ไม่แข็งค่าขึ้นตามอย่างที่ควรจะเป็น (ตามที่เข้าใจ) 🤔

ส่วนนี้เราก็ต้องมาดูด้วยว่า ตัวเลขคาดการณ์มันดีกว่าหรือแย่กว่าตัวเลข Previous (ตัวเลขเดิม) ในบางครั้งตัวเลขคาดการณ์ (ที่คาดโดยนักเศรษฐศาสตร์) ก็คาดการณ์ไว้ว่าจะออกมาดีกว่าเดิม บางทีก็คาดว่าจะออกมาต่ำกว่าเดิม หรือบางทีก็คาดไว้เท่าเดิม

อันนี้ก็แล้วแต่ความเห็นของนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ที่เค้าประเมินกันออกมา ซึ่งเราอาจดูตัวเลขคาดการณ์ตรงนี้เพื่อเป็นตัวชี้ทิศทางแนวโน้มของดัชนีตัวเลขต่างๆในอนาคตได้เช่นกันว่าแนวโน้มน่าจะออกมาเป็นเช่นไร❓

ส่วนต่อไปเรามาดูตัวย่อเกี่ยวกับกรอบเวลาของดัชนีตัวเลขต่างกัน
















m/m ก็คือ ตัวเลขที่เปรียบเทียบระหว่างเดือนต่อเดือน
q/q ก็คือ ตัวเลขที่เปรียบเทียบระหว่างไตรมาสต่อไตรมาส
y/y ก็คือ ตัวเลขที่เปรียบเทียบระหว่างปีต่อปี คือ เทียบจากเดือนเดียวกันของปีนี้และปีที่แล้ว

นอกเหนือจากนี้ เราก็อาจจะเห็น 👀

ytd/y  ก็คือ ตัวเลขที่เปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า อย่างว่าเป็นวันที่เดียวกันแต่คนละปี
q/y  ก็คือ ตัวเลขที่เปรียบเทียบกันระหว่างไตรมาสเดียวของปีนี้และปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ก็อาจมีสัญลักษณ์แปลกๆของช่วงเวลาอื่นๆอีก แต่การดูไม่ยาก ขอแค่เรารู้ว่าสัญลักษณ์หลักๆ คือ m,q,y คืออะไรเราก็จะรู้ว่าเค้าเทียบระยะเวลาแบบไหนค่ะ และรายละเอียดตรงนี้เราสามารถดูได้ในส่วนของ Detail  ดังนั้นแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะงงนะ

มาดูส่วนต่อไปกัน ตัวย่อของหน่วยที่เป็นจำนวนนับ













ความหมายกก็ตามภาพเลย ☝️

K = หลักพัน ถ้าตัวเลขออกมา 1K ก็เท่ากับ 1,000 และถ้าตัวเลขออกมา 10 K ก็เท่ากับ 10,000  คือ ออกมาเท่าไหร่ คูน 1,000 เข้าไปจบ
= หลักล้าน ตัวเลขที่ออกมาจะเป็นหลักล้าน
B = กลักพันล้าน ตัวเลขที่ออกมาจะเป็นหน่วยพันล้านค่ะ และถ้าออกมาเป็น 14.5 B ก็เท่ากับ 14.5 พันล้าน หรือ 1.45 หมื่นล้าน
T =  หลักล้านล้าน ตัวเลขที่ออกมาจะคิดเป็นหน่วยล้านล้าน

นอกจากนี้ด้านล่างของลงมาอีกนิด เราจะเห็น ตารางอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินต่างๆ ที่มีส่วนสำคัญในตลาดอัตราแลกเปลี่ยนให้ดูกันค่ะว่าตอนนี้เรทอัตราดอกเบี้ยเค้าอยู่ที่ระดับไหนกันบ้าง 

























อาจจะสงสัยว่าทำไมดอกเบี้ยของบางประเทศ ถึงเป็น na ก็อัตราดอกเบี้ยเค้าอยู่ที่ 0  ก็เท่ากับว่าไม่มีดอกเบี้ย 

ต่อไปเราจะมาดูส่วนข้อมูลกันบ้างนะ





ดูที่ปุ่ม Up next กันก่อนนะ ถ้าเรากดที่ปุ่มนี้ ข่าวที่จะอัพเดทต่อไปก็จะเด้งขึ้นมาให้เราเห็น สังเกตได้จาก แถบสีเขียวเล็กๆหน้าเวลานั่นแหละใช้ในกรณีที่ขี้เกียจเลื่อนเม้าท์ลงไปหาข่าว กดให้ข่าวมันเด้งขึ้นมาหาเราเอง 

ต่อไปลองดูปุ่ม Filter ปุ่มนี้เราสามารถเข้าไปเลือกฟังก์ชั่นเองได้ ว่าอยากให้หน้าปฏิทินของเราโชว์ข่าวประเภทไหน หรือไม่โชว์อะไรบ้าง อย่างถ้าเราอยากดูแค่ข่าวที่สำคัญมากๆกับข่าวสำคัญรองลงมา แต่ไม่อยากดูข่าวที่มีความสำคัญน้อยและ non- impact เราก็เลือกติ๊กถูกแค่ช่องสีแดงกับสีส้ม สีเหลืองกับเทาเราก็เว้นให้มันว่างๆไว้ และก็เลือกได้ด้วยว่าเราจะดูข่าวสกุลเงินไหน หรือไม่ดูสกุลเงินไหนบ้าง นอกจากนี้ก็เลือประเภทข่าวได้ด้วยว่าจะดูข่าวประเภทไหนบ้าง เมื่อทำรายการเสร็จก็กดปุ่ม Apply filter ก็เสร็จเรียบร้อย หน้าเว็บคุณก็จะมีเฉพาะสิ่งที่คุณต้องการเท่านั้น  ส่วนตัวดิฉัน เลือกดูหมด:)



อันดับต่อไป เรามาดูที่ ช่อ Detail กันค่ะ ส่วนนี้ ก็จะเป็นข้อมูลทั้งหมดของข่าว โดยจะมีสัญลักษณ์เป็นแฟ้มงานสีเหลือง คลิ๊กเข้าไปดูได้เลย เมื่อคลิ๊กมันขึ้นมาแล้วหน้าตาก็จะเป็นเหมือนภาพตัวอย่างด้านล่าง



ในส่วนนี้ก็สมชื่อ Detail จริงๆเพราะจะมีข้อมูลทั้งหมดของข่าวนั้นๆ ว่ามันคืออะไร ตัวเลขออกมามากหรือน้อยกว่าคาดการณ์ถึงจะดี เปรียบเทียบในกรอบเวลาไหน ทำไมนักลงทุนจึงต้องสนใจ ใช้อะไรเป็นตัวชี้วัดดัชนีหรือตัวเลข และชื่อเรียกอื่นๆ ถ้าเป็นข่าวการแถลงการณ์ต่างๆ ก็จะบอกว่าใครพูด มีตำแหน่งอะไร พูดเกี่ยวกับอะไรที่ไหน ฯลฯ

นอกจากนี้ในส่วนนี้ทางด้านขวา เราจะเป็นตาราง History ซึ่งก็คือตัวเลขที่ออกมาในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งคุณสามารถดูย้อนหลังได้หลายปีทีเดียว ถ้าข้อมูลตรงหน้าไม่พอ ก็กดปุ่ม More ที่ อยู่ใต้วันที่ล่างสุด และถ้าเหลือบมองไปทางขวา จะเห็นปุ่ม Graph ซึ่งเมื่อกดปุ๊ป ข้อมูลสถิติก็จะโชว์เป็นรูปกราฟเด้งออกมาให้คุณดูและเปรียบเทียบได้เลย และเราก็สามารถเลือกได้ว่าจะดูย้อนหลังไปนานแค่ไหน



ส่วนต่อมาคือ ช่อง Actual (ตัวเลขปัจจุบัน) Forecast (ตัวเลขคาดการณ์) และ  Previous (ตัวเลขก่อนหน้าล่าสุด) เราน่าจะรู้แล้วว่าคืออะไร ส่วน ช่อง Graph ก็ทำหน้าที่เหมือนปุ่ม Graph ในส่วนของ Deatail นั่นเอง


ช่วงนี้อิทธิพลของข่าวเป็นปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้ตลาดแปรปรวนอย่างมาก แม้ว่าคุณรู้เรื่องเทคนิคอลดีแล้ว แต่ก็ควรเหลือบมองสภาวะการต่างๆจากข่าวดูด้วย เพราะมันจะช่วยให้คุณวางแผนรับมือสถานการณ์ได้ดียิ่งขึ้น ไม่มีอะไรแน่นอน 100% ในตลาด

ความหมายข่าวใน ForexFactory.com

ระดับที่เรียกว่าสำคัญมากมีอะไรบ้าง... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

1. Non farm Payrolls
2. Unemployment Rate
3. Trade Balance : โดยปกติประกาศทุกวันที่ 20 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของ 2 เดือนก่อนหน้านี้ โดยการประกาศจะบอกให้รู้ถึงทิศทางของการส่งออกและการนำเข้า ซึ่งตัวเลข Trade Balance จะสามารถคาดคะเนตัวเลข GDP ในอนาคตได้ ตัวเลข Trade Balance จะนำค่าตัวเลข Export ลบกับ ตัวเลข Import หากผลที่ออกมามีค่าเป็น + จะหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี และมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

4. GDP ( Gross Domestic Production ) : จะประกาศทุก ๆ สัปดาห์ที่ 3 หรือ 4 ของเดือน โดย GDP คือตัววัดที่กว้างที่สุดเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ การที่ตัวเลข GDP เปลี่ยนแปลงไปจะหมายถึงความเปลี่ยนแปลงของอัตราการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งจะบ่งบอกเกี่ยวพันถึงอัตราเงินเฟ้อ การที่ตัวเลข GDP เพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นตามไปด้วย

5. PCE Price Deflator ( Personal Consumption Expenditure) : ประกาศทุก ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน โดย PCE จะบอกถึงการอุปโภคบริโภคของภาคครัวเรือน โดย PCE จะบ่งบอกถึงความสามารถในการจับจ่ายของภาคครัวเรือน โดยตัวเลข PCE ที่สูงจะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่เติบโต ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

6. CPI ( Consumer Price index ) : ประกาศทุก ๆ วันที่ 13 ของเดือน โดย CPI จะเป็นตัววัดเกี่ยวกับระดับราคาของสินค้าและบริการที่ซื้อโดยผู้บริโภค CPI ที่เห็นประกาศกันจะมี CPI กับ Core CPI ซึ่งต่างกันตรงที่ว่า Core CPI จะไม่รวม ภาคอาหารและ ภาคพลังงานโดยปกติ CPI จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงอัตราเงินเฟ้อ โดยตัวเลข CPI ที่สูงจะเป็นตัววัดเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่สูง ซึ่งจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

7. TICS ( Treasury International Capital System ) : ประกาศทุกวันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน โดย TIC จะรวบรวมข้อมูลของ US เพื่อดูว่าการลงทุนของคน US และ คนต่างชาติเป็นอย่างไรบ้าง โดยหากข้อมูล TICS เป็นตัวเลขที่สูงจะหมายถึงเศรษฐกิจของ US ที่แข็งแกร่งซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

8. FOMC ( Federal open Market committee meeting ) : จะประชุมเมื่อไร ไม่มีตายตัวแน่นอน แล้วแต่เค้าจะนัดกัน โดยการประชุมจะดูภาพรวมและผลของการประชุมที่สนใจกันคือเรื่องของอัตรา ดอกเบี้ย การปรับอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

9. Retail Sales : ประกาศทุกวันที่ 13 ของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนที่แล้ว โดยจะวัดจากใบเสร็จของการค้าปลีก ซึ่งโดยปกติจะมองในภาพของสินค้า ซึ่งจะไม่สนใจเรื่องของบริการ และอื่น ๆ (เช่นพวกค่าเบี้ยประกัน หรือค่าทนาย) Retail Sales ที่ไม่รวมการซื้อรถ จะเรียกว่า Core Retail Sales โดยการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขการขายจะหมายถึงราคาที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ได้หมายถึงความต้องการซื้อที่ลดลง การที่ตัวเลข Retail Sales มีตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีและแข็งแกร่ง ซึ่งมีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

10. Univ. Of Michigan Consumer Sentiment Survey : ออกทุกวันศุกร์ที่สองของเดือน โดย Michigan Index จะเปรียบเทียบระหว่างดัชนีสองตัวคือ สิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่เป็นไปจริง ๆ ถ้าสิ่งที่คาดหวังไว้และสิ่งที่เป็นจริงมีค่าใกล้เคียงกัน หมายถึงเศรษฐกิจเป็นไปในแนวทางเดียวกับที่หวังไว้ ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

11. PPI ( Producer Price Index ) : ประกาศแถว ๆ วันที่ 11 ของเดือนซึ่งจะเป็นข้อมูลของเดือนก่อน PPI จะเป็นตัววัดราคาของสินค้าในมุมมองของการค้าส่ง PPI ที่ไม่รวมพวกอาหารและพลังงานจะเรียกว่า Core PPI ซึ่งจะถูกจับตามองมากกว่า เพราะจะมีผลกับอัตราเงินเฟ้อ เนื่องจาก PPI จะเป็นตัวที่ออกมาก่อน CPI หาก PPI มีค่าสูงมักจะทำให้ CPI มีค่าที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นการที่ PPI มีค่าสูงจะทำให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

ระดับที่เรียกว่าสำคัญ... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

12. Weekly Jobless Claims : ประกาศทุกวันพฤหัส จะเป็นข้อมูลของสัปดาห์ปัจจุบันรวมถึงวันศุกร์ที่แล้วด้วย ซึ่งจะบอกถึงการว่างงาน โดยปกติจะสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้จากข้อมูลก่อนหน้าย้อนหลังไปราว ๆ 4 สัปดาห์ แล้วมาทำเป็นกราฟ ทั่วไปแล้วหากมีความเปลี่ยนแปลงเกิน 30,000 จะเป็นสัญญาณบอกถึงการจ้างงานที่เปลี่ยนแปลงไป (อาจจะดีขึ้นหรือแย่ลง) ตัวเลขที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงคนว่างงานที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง

13. Personal Income : ประกาศแถว ๆ วันที่ 5 ของการทำงานในแต่ละเดือน Personal Income เป็นตัววัดเกี่ยวกับรายได้ (ไม่สนว่าจะได้มาจากไหน เช่นพวก ค่าเช่า, ได้มาจากรัฐ, เงินเดือน, ดอกเบี้ย หรืออื่น ๆ) โดยตัวนี้จะเป็นตัวชี้ถึงความต้องการในการบริโภคในอนาคต (แต่ไม่เสมอไปนะ เพราะบางทีรายได้ที่มากขึ้น แต่คนอาจจะไม่จับจ่ายใช้สอยก็ได้) ตัวเลข Personal Income ที่สูงจะหมายถึงอำนาจในการซื้อและเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเศรษฐกิจน่าจะดี ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

14. Personal spending : ประกาศแถว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า Personal Spending จะเป็นตัวเลขเกี่ยวกับรายจ่ายของบุคคล การจับจ่ายที่ลดลงจะหมายถึงรายได้ที่ลดลง ซึ่งจะทำให้กระแสเงินโดยรวมลดลง (แต่ก็เช่นเดียวกับ Personal Income บางทีการจ่ายลดลงไม่ได้หมายถึงรายได้ที่ลดลง แต่อาจจะไม่อยากจะจับจ่ายก็เป็นได้) ตัวเลขการจับจ่ายที่มากขึ้น จะเป็นสัญญาณที่บ่งว่าเศรษฐกิจดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

15. BOE Rate Decision ( Bank Of England ) : การประกาศตัวเลขอัตราดอกเบี้ยของประเทศต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ US จะทำให้ค่าเงินของประเทศนั้น ๆ เปลี่ยนแปลงไป โดยการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น โดยปกติการปรับอัตราดอกเบี้ยจะคำนึงถึง 2 อย่างคือ 

1.อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (อาจจะอ่อนไป หรือแข็งไป)

2.อัตราเงินเฟ้อ และเงินฝืด (ECB ประกอบไปด้วย 25 ประเทศในยุโรป คือ Italy, France, Luxembourg, Belgium, Germany,Netherlands, Denmark, Ireland, United Kingdom, Greece, Spain, Portugal, Austria, Finland, Sweden,Czech Republic, Estonia, Cyprus, Latvia, Lithuania, Hungary, Malta, Poland, Slovakia และSlovenia)

16. ECB Rate Decision ( Europe Central Bank )

17. Durable Goods orders : ประกาศแถว ๆ วันที่ 26 ของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของเดือนก่อน โดยจะเป็นตัววัดปริมาณของการสั่งสินค้า การส่งสินค้า โดยจะเป็นตัววัดถึงภาคการผลิต ซึ่งหากว่าเศรษฐกิจมีปัญหาจะส่งผลให้ปริมาณการสั่งสินค้าลดลง ตัวนี้จะเป็นเหมือนตัวบอกถึง GDP และ PDE การที่ตัวเลข Durable Goods Orders มีค่าที่มากขึ้น จะบ่งบอกถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ซึ่งจะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

18. ISM Manufacturing Index ( Institute of Supply Manager ) : ออกทุกวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า ตัวนี้จะเป็นตัวที่บ่งบอกถึงภาคการผลิต ซึ่งรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับ การสั่งซื้อสินค้าใหม่, การผลิต, การจ้างงาน, สินค้าคงคลัง, เวลาในการขนส่ง, ราคา, การส่งออก และการนำเข้า การที่ตัวเลข ISM มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นจะแสดงถึงเศรษฐกิจที่ดี และสามารถทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้นได้

19. Philadelphia Fed. Survey : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อนหน้า โดยการสำรวจนี้จะมองมุมกว้างในทิศทางของภาคการผลิต ซึ่งจะมีความสัมพันธ์ร่วมกับ ISM ที่มองเป็นลักษณะของการผลิตเป็นตัว ๆ ไป โดย Philadelphia Fed Survey จะบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของยุทธวิธีของผู้ผลิต ประกอบด้วย ชั่วโมงการทำงาน, พนักงาน และอื่น ๆ ซึ่งตัววัดตัวนี้มีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจ การที่ตัวเลขเพิ่มขึ้นจะทำให้ค่าเงินแข็งขึ้น

20. ISM Non-Manufacturing Index : ออกราว ๆ วันที่สามของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งเป็นการสำรวจของกลุ่ม การเงิน, ประกันภัย, อสังหาริมทรัพย์, สื่อสาร และ ทั่วไป การที่ตัวเลข ISM เพิ่มขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น และทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

21. Factory Orders : ออกราว ๆ วันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน Factory Order เป็นการวัดการสั่งสินค้าทั้งหมด การสั่งสินค้าที่สูงหมายถึง demand ที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

22. Industrial Production & Capacity Utilization : ออกราว ๆ กลางเดือน เป็นข้อมูลย้อนหลัง 1 เดือน ซึ่งเป็นตัววัดว่าการผลิตของอุตสาหกรรมได้ผลออกมาจริง ๆ เท่าไร การที่ตัวเลขออกมาสูงขึ้นหมายถึง demand ที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

23. Non-Farm Productivity : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว อันนี้เป็นตัววัดของผลงานของคนงานและต้นทุนในการผลิตของสินค้า ในสถาวะที่เงินเฟ้อมีความสำคัญตัวเลขนี้ สามารถที่จะทำให้ตลาดเคลื่อนไหวได้ โดยถ้าตัวเลขที่ลดลงสามารถบอกถึงอนาคตที่เปลี่ยนไป เช่นตัวเลข GDP ที่ดี แต่ถ้าตัวเลขนี้ขัดกันก็สามารถทำให้ตลาดมีผลกระทบได้ การที่ตัวเลข Non-Farm Productivity เพิ่มขึ้น หมายถึงการยืนยันในเรื่องของพื้นฐานของเศรษฐกิจที่ดี และส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

24. Current Account Balance : ออกราว ๆ วันที่ 7 ของเดือนที่ 2 ของ ควอเตอร์ เป็นข้อมูลของควอเตอร์ที่แล้ว Current Account Balance จะบอกถึงความแตกต่างของเงินสำรอง และการลงทุน ตัวนี้เป็นตัวสำคัญในส่วนของการซื้อขายกับต่างประเทศ ถ้า Current Account Balance เป็น + จะหมายถึงเงินออมในประเทศมีสูง แต่ถ้าเป็น - จะหมายถึงการลงทุนภายในประเทศเป็นเงินจากต่างประเทศมาลงทุน ถ้า Current Account Balance เป็น + ส่งผลให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

25. Consumer Confidence ( Consumer Sentiment ) : ออกทุกวันอังคารสุดท้ายของเดือน เป็นข้อมูลเดือนปัจจุบัน เป็นการสำรวจในแต่ละครัวเรือน โดยตัวเลขตัวนี้จะมีความสัมพันธ์กับเรื่องของ การว่างงาน อัตราเงินเฟ้อ และรายได้ที่แท้จริง การที่ตัวเลขมีค่าที่เพิ่มมากขึ้นหมายถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินแข็งค่า

26. NY Empire State Index - ( New York Empire Index ) : ออกทุกสิ้นเดือน โดยเป็นการสำรวจจากผู้ผลิต หากตัวเลขมีค่ามากขึ้น จะทำให้ค่าเงินแข็งค่า

27. Leading Indicators : ออกราว ๆ สองสามวันแรกของการทำงานของเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน ซึ่งจะเป็นบทสรุปของตัวเลขเศรษฐกิจที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ประกอบไปด้วย New Order, Jobless Claim,Money Supply, Average Workweek, Building Permits และ Stock Prices

28. Business Inventories : ออกราว ๆ กลางเดือน ซึ่งเป็นข้อมูลของสองเดือนก่อน เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการขายและสินค้าคงคลังจากภาคการผลิต การค้าส่ง และการค้าปลีก ตัวเลขที่สูงขึ้นของ Business Inventory หมายถึงสภาวะเศรษฐกิจที่ดี ซึ่งทำให้ค่าเงินแข็งค่า

29. IFO Business Index ( Institute of IFO in Germany ) : ประกาศในสัปดาห์สุดท้ายของเดือน ซึ่งจะเป็นข้อมูลเดือนก่อน ซึ่งเป็นตัวที่ดูเกี่ยวกับภาคธุรกิจของประเทศเยอรมัน ตัวเลขที่สูงหมายถึงเศรษฐกิจที่ดี จะทำให้ค่าเงินแข็งค่าขึ้น

ระดับปานกลางถึงทั่วไป ... : ลำดับ ชื่อในปฏิทิน

30. Housing Starts
31. Existing Home sales
32. New Home Sales
33. Auto and Truck sales
34. Employee Cost Index - Labor Cost Index
35. M2 Money Supply - Money Cost
36. Construction Spending
37. Treasury Budget
38. Weekly Chain Stores - Beige Book -Red Book
39. Whole Sales Trade
40. NAPM ( National Association of Purchasing Management)



เพิ่มเติม: การวิเคราะห์ข่าว ภาค 2 
            ตัวชีวัดทางเศรษฐกิจ 

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

เรื่องราวที่น่าสนใจ